คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุทัย ศุภนิตย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811-1812/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง แม้ลูกจ้างไม่มีหน้าที่ขับรถ หากเป็นการใช้ให้ทำกิจการของนายจ้าง
ลูกจ้างของกรมทางหลวงแผ่นดินประจำหน่วยควบคุมและตรวจสอบวัสดุก่อสร้างทาง ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์วิจัยดิน หิน กรวดไม่มีหน้าที่ในการขับรถยนต์ ได้ขับรถยนต์ของกรมทางหลวงแผ่นดินไปล้างโดยช่างตรีผู้บังคับบัญชาใช้ให้ไป เมื่อล้างเสร็จได้ขับรถกลับที่พักแต่ระหว่างทางได้ขับรถแวะไปเอาของที่บ้านพี่สาว และเกิดชนกับรถยนต์อื่นโดยประมาท เป็นเหตุให้คนตาย แม้ลูกจ้างนั้นไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขับรถยนต์ แต่การนำรถไปล้างก็โดยผู้บังคับบัญชาใช้ให้ไป และการล้างรถก็เป็นกิจการของกรมทางหลวงแผ่นดินย่อมถือได้ว่าลูกจ้างนั้นได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของนายจ้างซึ่งกรมทางหลวงแผ่นดินผู้เป็นนายจ้างจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันและการยินยอมเปลี่ยนแปลงสัญญา ก่อให้เกิดความผูกพันตามจำนวนหนี้ที่เพิ่มขึ้น
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 150,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีอีก 150,000 บาท และขอต่ออายุสัญญาอีก 2 ครั้ง จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญา และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ด้วย ครั้งหลังสุดจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่เป็นเงิน 1,163,475.31 บาท จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญานี้ และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต่อไปตามข้อกำหนดแห่งสัญญาที่ได้ทำไว้นั้น ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,163,475.31 บาท ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ครั้งหลังสุด ตามที่จำเลยที่ 2 ยินยอมเข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 ด้วย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันและการยินยอมเปลี่ยนแปลงหนี้: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ที่ยินยอมล่าสุด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 150,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีอีก150,000 บาท และขอต่ออายุสัญญาอีก 2 ครั้ง จำเลยที่ 2ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญา และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ด้วย ครั้งหลังสุดจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่เป็นเงิน 1,163,475.31 บาท จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญานี้ และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์และยินยอมเข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อไปตามข้อกำหนดแห่งสัญญาที่ได้ทำไว้นั้นดังนี้ จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,163,475.31 บาท ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ครั้งหลังสุด ตามที่จำเลยที่ 2 ยินยอมเข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้บุพการีตามความเป็นจริง แม้มิได้เป็นผู้บุพการีโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้บุพการีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)นั้น หมายถึงผู้บุพการีตามความเป็นจริง
โจทก์กับนางลั่นแต่งงานกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ผู้ตายอายุ 17 ปียังเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรอยู่เรือนเดียวกันและอยู่ในความปกครองของโจทก์กับนางลั่น โจทก์เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดว่าผู้ตายเป็นบุตรของตน และเป็นผู้ให้การศึกษาแก่ผู้ตายตลอดมา แต่โจทก์ไม่เคยยื่นคำร้องต่ออำเภอรับรองผู้ตายว่าเป็นบุตร แม้ผู้ตายจะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่โจทก์ก็เป็นผู้บุพการีของผู้ตายตามความเป็นจริง เมื่อผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้บุพการีตามความเป็นจริงของผู้ตายย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตายได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของ 'ผู้บุพการีตามความเป็นจริง' แม้มิได้เป็นบุพการีโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้บุพการีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) นั้นหมายถึง ผู้บุพการีตามความเป็นจริง
โจทก์กับนางลั่นแต่งงานกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายผู้ตายอายุ 17 ปียังเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรอยู่เรือนเดียวกันและอยู่ในความปกครองของโจทก์กับนางลั่น โจทก์เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดว่าผู้ตายเป็นบุตรของตน และเป็นผู้ให้การศึกษาแก่ผู้ตายตลอดมาแต่โจทก์ไม่เคยยื่นคำร้องต่ออำเภอรับรองผู้ตายว่าเป็นบุตร แม้ผู้ตายจะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่โจทก์ก็เป็นผู้บุพการีของผู้ตายตามความเป็นจริง เมื่อผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงแก่ความตายโจทก์ซึ่งเป็นผู้บุพการีตามความเป็นจริงของผู้ตายย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตายได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าซ่อมรถ: สิทธิเรียกร้องเริ่มนับแต่วันปิดบัญชี หากฟ้องเกิน 2 ปี ฟ้องขาดอายุความ
จำเลยได้เปิดบัญชีค่าซ่อมรถรวมทั้งค่าเครื่องอะไหล่รถกับโจทก์ ตั้งแต่ 28 กันยายน 2509 ตลอดมาจนถึงวันที่ 10พฤศจิกายน 2510 โจทก์จึงปิดบัญชีคิดเงิน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปี และโจทก์ชอบที่จะใช้บังคับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันปิดบัญชีเป็นต้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น และเมื่อนับถึงวันฟ้องมีระยะเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซ่อมรถและซื้อเครื่องอะไหล่: สิทธิเรียกร้องเริ่มนับจากวันที่ปิดบัญชี
จำเลยได้เปิดบัญชีค่าซ่อมรถรวมทั้งค่าเครื่องอะไหล่รถกับโจทก์ตั้งแต่ 28 กันยายน 2509 ตลอดมาจนถึงวันที่ 10พฤศจิกายน 2510โจทก์จึงปิดบัญชีคิดเงิน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปี และโจทก์ชอบที่จะใช้บังคับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันปิดบัญชีเป็นต้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น และเมื่อนับถึงวันฟ้องมีระยะเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา แม้ศาลยกฟ้อง
ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์กับขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายด้วยนั้น แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา แต่เมื่อคำขอส่วนแพ่ง เป็นคำขอที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งยังคงมีต่อไป ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2516 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งคืนทรัพย์ในคดีอาญา แม้ศาลยกฟ้อง คำขอส่วนแพ่งยังคงมีผล
ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์กับขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายด้วยนั้น แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา แต่เมื่อคำขอส่วนแพ่ง เป็นคำขอที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งยังคงมีต่อไป ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการควบคุมตัวโดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การข่มขืนใจและหน่วงเหนี่ยวเสรีภาพ
การบรรยายฟ้องเกี่ยวแก่การกระทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) หาได้บัญญัติว่าต้องใช้ถ้อยคำของกฎหมายไม่โจทก์จะบรรยายถ้อยคำอย่างใดพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยได้กระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดก็ใช้ได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309และ มาตรา 295 โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยมีจิตคิดร้ายเจตนากลั่นแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันจับมือขา กระชากและเตะโจทก์ ใส่กุญแจมือโจทก์ไพล่หลังจนโจทก์มีบาดแผลและทั้งควบคุมโจทก์ไว้ 2 คืน โจทก์ได้รับความเสียหาย" ข้อความดังกล่าวเข้าใจได้ดีแล้วว่า พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำต่อโจทก์นั้น เป็นการที่จำเลยได้ข่มขืนใจให้โจทก์ต้องจำยอมต่อการกระทำของจำเลย โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพของโจทก์ และการที่จำเลยจับมือ ขา กระชากและเตะโจทก์จนมีบาดแผล ถือได้ว่าเป็นการประทุษร้ายให้เกิดอันตรายแก่กายเพราะการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นผิด จึงเป็น ฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มิได้ยกเลิกไปเสียทีเดียวเพียงแต่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 13 และยังคงเป็นบทบังคับอยู่เช่นเดิม แม้ฟ้องโจทก์อ้างแต่พระราชบัญญัติและมาตราเดิมไม่อ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทลงโทษก็ใช้ได้ ถือว่าเป็นหน้าที่ของศาลต้องรู้เองศาลย่อมมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 157 ที่แก้ไขได้
โจทก์ได้กระทำผิดซึ่งหน้า แต่ความผิดที่โจทก์กระทำเป็นแต่เพียงความผิดฐานลหุโทษ ฐานฉายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เก็บค่าดูจากประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทุกคนรู้จักหลักแหล่งของโจทก์แล้ว จึงไม่เป็นเหตุให้ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(2)การที่จำเลยทั้งหมดผู้เป็นเจ้าพนักงานไปทำการจับกุมโจทก์ในที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมาย จึงไม่มีอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย โจทก์มีสิทธิป้องกันการจับกุมได้และการที่จำเลยทั้งหมดควบคุมโจทก์จากโรงภาพยนตร์ไปสถานีตำรวจ ถือได้ว่าเป็นการหน่วงเหนี่ยวโจทก์ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายเช่นกัน
of 26