พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าหลังสัญญาก่อสร้างเลิก: โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเช่าเมื่อสัญญาหมดผล
กระทรวงการคลัง ทำสัญญากับโจทก์ให้โจทก์เป็นผู้ออกทุนทรัพย์ปลูกสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินราชพัสดุ ยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงการคลังยอมให้โจทก์มีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี หากโจทก์ปลูกสร้างไม่เสร็จตามกำหนดสัญญา โจทก์ต้องส่งมอบสิ่งปลูกสร้างส่วนที่สร้างไม่เสร็จให้กระทรวงการคลังพร้อมกับชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังริบเอาเป็นของกระทรวงการคลัง และให้บอกเลิกสัญญาได้ทันที ปรากฏว่าโจทก์ปลูกสร้างอาคารตึกแถวงวดที่ 1 ซึ่งจะต้องทำรวม 52 คูหา เสร็จเพียง 40คูหารวมทั้งห้องพิพาทด้วย อีก 12 คูหายังไม่เสร็จกระทรวงการคลังได้บอกเลิกสัญญาทั้งหมดและบอกริบเอาตึกแถวที่สร้างเสร็จ 40 คูหา เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับกระทรวงการคลังได้ยกเลิกกันไปโดยชอบเสียก่อนแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีเหตุที่จะอาศัยข้อสัญญาที่หมดผลไปแล้วนั้น มาฟ้องขอให้บังคับกระทรวงการคลังยอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทได้ ส่วนผลงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องจากกระทรวงการคลังประการใด เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าหลังเลิกสัญญาก่อสร้าง: โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเช่าห้องพิพาท แม้สร้างเสร็จตามสัญญา
กระทรวงการคลัง ทำสัญญากับโจทก์ให้โจทก์เป็นผู้ออกทุนทรัพย์ปลูกสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินราชพัสดุ ยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงการคลังยอมให้โจทก์มีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี หากโจทก์ปลูกสร้างไม่เสร็จตามกำหนดสัญญาโจทก์ต้องส่งมอบสิ่งปลูกสร้างส่วนที่สร้างไม่เสร็จให้กระทรวงการคลังพร้อมกับชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังริบเอาเป็นของกระทรวงการคลัง และให้บอกเลิกสัญญาได้ทันที ปรากฏว่าโจทก์ปลูกสร้างอาคารตึกแถวงวดที่ 1 ซึ่งจะต้องทำรวม 52 คูหาเสร็จเพียง 40คูหารวมทั้งห้องพิพาทด้วย อีก 12 คูหายังไม่เสร็จกระทรวงการคลังได้บอกเลิกสัญญาทั้งหมดและบอกริบเอาตึกแถวที่สร้างเสร็จ 40 คูหา เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับกระทรวงการคลังได้ยกเลิกกันไปโดยชอบเสียก่อนแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีเหตุที่จะอาศัยข้อสัญญาที่หมดผลไปแล้วนั้น มาฟ้องขอให้บังคับกระทรวงการคลังยอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทได้ ส่วนผลงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้วโจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องจากกระทรวงการคลังประการใดเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858-1859/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเทศบาลในการครอบครองที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ที่ว่า ถ้ารัฐบาลต้องการจะหวงห้ามที่ดินรกร้างว่าเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อประโยชน์ใดๆ ก็ให้ดำเนินการหวงห้ามตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ โดยต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น เป็นบทบัญญัติกำหนดวิธีการที่รัฐบาลต้องการจะหวงห้ามที่ดินสาธารณสมบัติไว้เพื่อประโยชน์ของรัฐในภายหน้า
ไม่มีกฎหมายห้าม ณ ที่ใดว่า ส่วนราชการของรัฐจะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติออกโฉนดซึ่งใช้อยู่ขณะนั้น สำหรับให้พลเมืองใช้ร่วมกันตามหน้าที่ของส่วนราชการไม่ได้
เทศบาลซึ่งมีหน้าที่จัดให้มีสุสานและฌาปนสถานตามพระราชบัญญัติเทศบาล ดำเนินการขอจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่าจนได้รับใบเหยียบย่ำและทำเป็นฌาปนสถานสำหรับราษฎร ใช้ฝังและเผาศพมา 20 ปีเศษแล้ว จนกลายสภาพเป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) แล้ว จังหวัดซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และเทศบาล ย่อมมีสิทธิและอำนาจฟ้องผู้บุกรุกเข้ายึดถือเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตนให้ออกไปได้
ไม่มีกฎหมายห้าม ณ ที่ใดว่า ส่วนราชการของรัฐจะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติออกโฉนดซึ่งใช้อยู่ขณะนั้น สำหรับให้พลเมืองใช้ร่วมกันตามหน้าที่ของส่วนราชการไม่ได้
เทศบาลซึ่งมีหน้าที่จัดให้มีสุสานและฌาปนสถานตามพระราชบัญญัติเทศบาล ดำเนินการขอจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่าจนได้รับใบเหยียบย่ำและทำเป็นฌาปนสถานสำหรับราษฎร ใช้ฝังและเผาศพมา 20 ปีเศษแล้ว จนกลายสภาพเป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) แล้ว จังหวัดซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และเทศบาล ย่อมมีสิทธิและอำนาจฟ้องผู้บุกรุกเข้ายึดถือเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตนให้ออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดหลายกรรมต่างกัน: การยิงผู้อื่นและขัดขวางการจับกุม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140,288,289,80,90,91 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้ปืนยิง อ.และพ. ซึ่งนั่งอยู่ด้วยกันก่อน อ.ถึงแก่ความตายส่วนพ. ได้รับอันตรายสาหัสครั้นเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้เห็นเหตุการณ์เข้าจับกุมจำเลยตามหน้าที่ จำเลยได้ยิงเจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นเพื่อขัดขวางการจับกุม จนเจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นได้รับอันตรายแก่กายการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน กล่าวคือที่ยิง อ.และพ. นั้นเป็นกรรมหนึ่ง ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, และ 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และที่ยิงต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจนั้นเป็นอีกกรรมหนึ่ง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140 และ 289ประกอบด้วยมาตรา 80 เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษ เฉพาะบทหนักอันเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เสียได้ โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดยกประเด็นข้อนี้ขึ้น ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ยิงผู้อื่นเสียชีวิตและทำร้ายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140, 288, 289, 80, 90, 91 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้ปืนยิง อ. และ พ. ซึ่งนั่งอยู่ด้วยกันก่อน อ. ถึงแก่ความตาย ส่วน พ. ได้รับอันตรายสาหัสครั้นเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้เห็นเหตุการณ์เข้าจับกุมจำเลยตามหน้าที่ จำเลยได้ยิงเจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นเพื่อขัดขวางการจับกุม จนเจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นได้รับอันตรายแก่กายการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน กล่าวคือที่ยิง อ. และ พ. นั้นเป็นกรรมหนึ่ง ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, และ 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และที่ยิงต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจนั้นเป็นอีกกรรมหนึ่ง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138, 140 และ 289ประกอบด้วยมาตรา 80 เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษ เฉพาะบทหนักอันเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เสียได้ โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดยกประเด็นข้อนี้ขึ้น ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ผู้จัดการมรดกต้องซื้อที่ดินทดแทนเพื่อประโยชน์ของวงศ์ญาติ
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอน พระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 681/2481)
พินัยกรรมซึ่งเจ้ามรดกทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2460 และมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังท้ายพินัยกรรมให้เป็นอันใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรม ดังนี้ พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายที่ยังใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นอยู่ได้ตลอดมา ศาลจะพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรม เป็นการขัดพระบรมราชโองการหาได้ไม่
พินัยกรรมซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้วกำหนดให้ที่ดินที่ระบุของเจ้ามรดกคงเป็นสมบัติของเจ้ามรดก อยู่เสมอไปและให้มีผู้ดูแลรักษาที่ดินนั้นไว้เป็นที่อยู่อาศัยแก่วงศ์ญาติผู้หาที่อยู่ไม่ได้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ หากจำเป็นต้องขายหรือแลกเปลี่ยนที่ดินด้วยความประสงค์แห่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้จัดการ(มรดก)เอาเงินนั้นหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ในพินัยกรรมโดยดีที่สุดที่จะทำได้ ดังนี้ เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไปก็มีหน้าที่ต้องนำเงินไปซื้อที่ใหม่เพื่อให้วงศ์ญาติของเจ้ามรดกได้อยู่อาศัยตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จะนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินมาแบ่งให้แก่ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่ใหม่เอาเองหาได้ไม่เพราะมีผลเท่ากับถือเอาว่าทายาทผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทำให้ที่ดินที่กำหนดไว้ตามพินัยกรรมให้เป็นที่อยู่อาศัยของวงศ์ญาติต้องสลายตัวไป แม้จะมีเจตนาแบ่งเงินให้ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เอาเอง ที่ดินที่ซื้อใหม่ก็เปลี่ยนสภาพมิใช่เป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติอาศัยอยู่ แต่กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ซื้อแต่ละคนซึ่งมีอำนาจหวงกันมิให้ทายาทหรือวงศ์ญาติอื่นๆ เข้าไปอยู่อาศัยอันเป็นการขัดต่อข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม
การที่ผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมไปและต้องเอาเงินที่ขายได้จัดหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์นั้นเป็นการหาที่ดินมาแทนที่ดินที่ขายไปซึ่งผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่หาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นใหม่ในขณะนี้นอกเหนือจากข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ที่กำหนดให้ที่ดินที่ระบุไว้เป็นอาศัยสถานแก่วงศ์ญาตินั้น เจ้ามรดกมีเจตนาที่จะให้ที่ดินนั้นเป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติ ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยจะได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไปซึ่งหมายถึงทั้งวงศ์ญาติที่มีตัวอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรมและที่เกิดมาในเวลาข้างหน้า โดยไม่ประสงค์ให้ใครถือเอาที่ดินนั้นเป็นของตน และเพื่อมิให้ขัดกับหลักกฎหมายในเรื่องกรรมสิทธิ์และมรดกและให้มีผลบังคับได้ เจ้ามรดกจึงได้นำพินัยกรรมขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชโองการเพื่อจะได้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไปโจทก์เป็นเหลนของเจ้ามรดกแม้จะเกิดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ ก็เป็นวงศ์ญาติคนหนึ่งที่มีส่วนจะได้รับประโยชน์ในการเข้าอยู่อาศัยในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกที่มิได้จัดการมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมเพื่อรักษาประโยชน์ของโจทก์ในฐานะวงศ์ญาติคนหนึ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้จัดการมรดกได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-16/2515)
พินัยกรรมซึ่งเจ้ามรดกทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2460 และมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังท้ายพินัยกรรมให้เป็นอันใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรม ดังนี้ พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายที่ยังใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นอยู่ได้ตลอดมา ศาลจะพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรม เป็นการขัดพระบรมราชโองการหาได้ไม่
พินัยกรรมซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้วกำหนดให้ที่ดินที่ระบุของเจ้ามรดกคงเป็นสมบัติของเจ้ามรดก อยู่เสมอไปและให้มีผู้ดูแลรักษาที่ดินนั้นไว้เป็นที่อยู่อาศัยแก่วงศ์ญาติผู้หาที่อยู่ไม่ได้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ หากจำเป็นต้องขายหรือแลกเปลี่ยนที่ดินด้วยความประสงค์แห่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้จัดการ(มรดก)เอาเงินนั้นหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ในพินัยกรรมโดยดีที่สุดที่จะทำได้ ดังนี้ เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไปก็มีหน้าที่ต้องนำเงินไปซื้อที่ใหม่เพื่อให้วงศ์ญาติของเจ้ามรดกได้อยู่อาศัยตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จะนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินมาแบ่งให้แก่ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่ใหม่เอาเองหาได้ไม่เพราะมีผลเท่ากับถือเอาว่าทายาทผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทำให้ที่ดินที่กำหนดไว้ตามพินัยกรรมให้เป็นที่อยู่อาศัยของวงศ์ญาติต้องสลายตัวไป แม้จะมีเจตนาแบ่งเงินให้ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เอาเอง ที่ดินที่ซื้อใหม่ก็เปลี่ยนสภาพมิใช่เป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติอาศัยอยู่ แต่กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ซื้อแต่ละคนซึ่งมีอำนาจหวงกันมิให้ทายาทหรือวงศ์ญาติอื่นๆ เข้าไปอยู่อาศัยอันเป็นการขัดต่อข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม
การที่ผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมไปและต้องเอาเงินที่ขายได้จัดหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์นั้นเป็นการหาที่ดินมาแทนที่ดินที่ขายไปซึ่งผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่หาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นใหม่ในขณะนี้นอกเหนือจากข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ที่กำหนดให้ที่ดินที่ระบุไว้เป็นอาศัยสถานแก่วงศ์ญาตินั้น เจ้ามรดกมีเจตนาที่จะให้ที่ดินนั้นเป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติ ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยจะได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไปซึ่งหมายถึงทั้งวงศ์ญาติที่มีตัวอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรมและที่เกิดมาในเวลาข้างหน้า โดยไม่ประสงค์ให้ใครถือเอาที่ดินนั้นเป็นของตน และเพื่อมิให้ขัดกับหลักกฎหมายในเรื่องกรรมสิทธิ์และมรดกและให้มีผลบังคับได้ เจ้ามรดกจึงได้นำพินัยกรรมขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชโองการเพื่อจะได้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไปโจทก์เป็นเหลนของเจ้ามรดกแม้จะเกิดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ ก็เป็นวงศ์ญาติคนหนึ่งที่มีส่วนจะได้รับประโยชน์ในการเข้าอยู่อาศัยในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกที่มิได้จัดการมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมเพื่อรักษาประโยชน์ของโจทก์ในฐานะวงศ์ญาติคนหนึ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้จัดการมรดกได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-16/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินตามพินัยกรรม: ผู้จัดการมรดกต้องซื้อที่ดินทดแทนหากขายทรัพย์สินตามพินัยกรรม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอนพระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 681/2481)
พินัยกรรมซึ่งเจ้ามรดกทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2460 และมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังท้ายพินัยกรรมให้เป็นอันใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมดังนี้ พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายที่ยังใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นอยู่ได้ตลอดมา ศาลจะพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมเป็นการขัดพระบรมราชโองการหาได้ไม่
พินัยกรรมซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้วกำหนดให้ที่ดินที่ระบุของเจ้ามรดกคงเป็นสมบัติของเจ้ามรดกอยู่เสมอไปและให้มีผู้ดูแลรักษาที่ดินนั้นไว้เป็นที่อยู่อาศัยแก่วงศ์ญาติผู้หาที่อยู่ไม่ได้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ หากจำเป็นต้องขายหรือแลกเปลี่ยนที่ดินด้วยความประสงค์แห่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้จัดการ(มรดก)เอาเงินนั้นหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ในพินัยกรรมโดยดีที่สุดที่จะทำได้ ดังนี้เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไปก็มีหน้าที่ต้องนำเงินไปซื้อที่ใหม่เพื่อให้วงศ์ญาติของเจ้ามรดกได้อยู่อาศัยตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จะนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินมาแบ่งให้แก่ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่ใหม่เอาเองหาได้ไม่เพราะมีผลเท่ากับถือเอาว่าทายาทผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทำให้ที่ดินที่กำหนดไว้ตามพินัยกรรมให้เป็นที่อยู่อาศัยของวงศ์ญาติต้องสลายตัวไป แม้จะมีเจตนาแบ่งเงินให้ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เอาเอง ที่ดินที่ซื้อใหม่ก็เปลี่ยนสภาพมิใช่เป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติอาศัยอยู่ แต่กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ซื้อแต่ละคนซึ่งมีอำนาจหวงกันมิให้ทายาทหรือวงศ์ญาติอื่นๆ เข้าไปอยู่อาศัยอันเป็นการขัดต่อข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม
การที่ผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมไปและต้องเอาเงินที่ขายได้จัดหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์นั้นเป็นการหาที่ดินมาแทนที่ดินที่ขายไปซึ่งผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่หาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นใหม่ในขณะนี้นอกเหนือจากข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ที่กำหนดให้ที่ดินที่ระบุไว้เป็นอาศัยสถานแก่วงศ์ญาตินั้น เจ้ามรดกมีเจตนาที่จะให้ที่ดินนั้นเป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติ ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยจะได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไปซึ่งหมายถึงทั้งวงศ์ญาติที่มีตัวอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรมและที่เกิดมาในเวลาข้างหน้า โดยไม่ประสงค์ให้ใครถือเอาที่ดินนั้นเป็นของตน และเพื่อมิให้ขัดกับหลักกฎหมายในเรื่องกรรมสิทธิ์และมรดกและให้มีผลบังคับได้ เจ้ามรดกจึงได้นำพินัยกรรมขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชโองการเพื่อจะได้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไปโจทก์เป็นเหลนของเจ้ามรดกแม้จะเกิดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ก็เป็นวงศ์ญาติคนหนึ่งที่มีส่วนจะได้รับประโยชน์ในการเข้าอยู่อาศัยในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกที่มิได้จัดการมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมเพื่อรักษาประโยชน์ของโจทก์ในฐานะวงศ์ญาติคนหนึ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้จัดการมรดกได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-16/2515)
พินัยกรรมซึ่งเจ้ามรดกทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2460 และมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังท้ายพินัยกรรมให้เป็นอันใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมดังนี้ พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายที่ยังใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นอยู่ได้ตลอดมา ศาลจะพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมเป็นการขัดพระบรมราชโองการหาได้ไม่
พินัยกรรมซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้วกำหนดให้ที่ดินที่ระบุของเจ้ามรดกคงเป็นสมบัติของเจ้ามรดกอยู่เสมอไปและให้มีผู้ดูแลรักษาที่ดินนั้นไว้เป็นที่อยู่อาศัยแก่วงศ์ญาติผู้หาที่อยู่ไม่ได้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ หากจำเป็นต้องขายหรือแลกเปลี่ยนที่ดินด้วยความประสงค์แห่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้จัดการ(มรดก)เอาเงินนั้นหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ในพินัยกรรมโดยดีที่สุดที่จะทำได้ ดังนี้เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไปก็มีหน้าที่ต้องนำเงินไปซื้อที่ใหม่เพื่อให้วงศ์ญาติของเจ้ามรดกได้อยู่อาศัยตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จะนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินมาแบ่งให้แก่ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่ใหม่เอาเองหาได้ไม่เพราะมีผลเท่ากับถือเอาว่าทายาทผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทำให้ที่ดินที่กำหนดไว้ตามพินัยกรรมให้เป็นที่อยู่อาศัยของวงศ์ญาติต้องสลายตัวไป แม้จะมีเจตนาแบ่งเงินให้ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เอาเอง ที่ดินที่ซื้อใหม่ก็เปลี่ยนสภาพมิใช่เป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติอาศัยอยู่ แต่กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ซื้อแต่ละคนซึ่งมีอำนาจหวงกันมิให้ทายาทหรือวงศ์ญาติอื่นๆ เข้าไปอยู่อาศัยอันเป็นการขัดต่อข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม
การที่ผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมไปและต้องเอาเงินที่ขายได้จัดหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์นั้นเป็นการหาที่ดินมาแทนที่ดินที่ขายไปซึ่งผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่หาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นใหม่ในขณะนี้นอกเหนือจากข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ที่กำหนดให้ที่ดินที่ระบุไว้เป็นอาศัยสถานแก่วงศ์ญาตินั้น เจ้ามรดกมีเจตนาที่จะให้ที่ดินนั้นเป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติ ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยจะได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไปซึ่งหมายถึงทั้งวงศ์ญาติที่มีตัวอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรมและที่เกิดมาในเวลาข้างหน้า โดยไม่ประสงค์ให้ใครถือเอาที่ดินนั้นเป็นของตน และเพื่อมิให้ขัดกับหลักกฎหมายในเรื่องกรรมสิทธิ์และมรดกและให้มีผลบังคับได้ เจ้ามรดกจึงได้นำพินัยกรรมขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชโองการเพื่อจะได้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไปโจทก์เป็นเหลนของเจ้ามรดกแม้จะเกิดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ก็เป็นวงศ์ญาติคนหนึ่งที่มีส่วนจะได้รับประโยชน์ในการเข้าอยู่อาศัยในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกที่มิได้จัดการมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมเพื่อรักษาประโยชน์ของโจทก์ในฐานะวงศ์ญาติคนหนึ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้จัดการมรดกได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-16/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้มีเหตุสุดวิสัยและโจทก์ไม่เร่งรัดหนี้
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ ได้ให้เครดิตแก่ลูกค้าของธนาคารไป จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายในกรณีไม่จำเป็นต้องเสีย โจทก์ได้สั่งย้ายจำเลยเข้าประจำสำนักงานใหญ่ จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ โดยสัญญาจะผ่อนชำระเป็นรายปี โจทก์ตกลงจะให้จำเลยกลับไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ ต่อไปเพื่อช่วยเหลือให้จำเลยมีโอกาสได้ไปเรียกร้องหนี้สินจากลูกค้าเพื่อโจทก์จะหักหนี้ให้จำเลย ข้อตกลงของโจทก์เช่นนี้เป็นเรื่องที่ โจทก์ช่วยเหลือจำเลย หาใช่เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนตาม สัญญาประนีประนอมยอมความไม่.
โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยกลับไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์แล้ว แต่จำเลยป่วยเป็นอัมพาต ไปรับหน้าที่ไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้ดำเนินการทวงถามหรือฟ้องร้องเรียกหนี้สินจากลูกหนี้ และทำให้โอกาสที่จะเอาชำระหนี้ จากลูกหนี้หมดไปก็ตามแต่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์อยู่แล้ว จำเลยจึงยังคงต้อง รับผิดตามสัญญา
ในสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยยอมรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย ก่อนทำสัญญาคณะกรรมการของโจทก์ก็ได้ประชุมกัน และมีมติให้งดคิดดอกเบี้ยจากจำเลย แม้สัญญาจะระบุว่า หากจำเลยผิดนัดชำระหนี้งวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด แต่เมื่อ จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนด โจทก์ก็มิได้ฟ้องร้องหรือถือว่าจำเลยผิดนัดจริงจังและเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยกลับมีหนังสือทวงถาม ให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนในสัญญาโดยมิได้เรียกดอกเบี้ยด้วย ดังนี้ต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามครั้งสุดท้ายของโจทก์แล้วและต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่นั้นไป
โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยกลับไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์แล้ว แต่จำเลยป่วยเป็นอัมพาต ไปรับหน้าที่ไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้ดำเนินการทวงถามหรือฟ้องร้องเรียกหนี้สินจากลูกหนี้ และทำให้โอกาสที่จะเอาชำระหนี้ จากลูกหนี้หมดไปก็ตามแต่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์อยู่แล้ว จำเลยจึงยังคงต้อง รับผิดตามสัญญา
ในสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยยอมรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย ก่อนทำสัญญาคณะกรรมการของโจทก์ก็ได้ประชุมกัน และมีมติให้งดคิดดอกเบี้ยจากจำเลย แม้สัญญาจะระบุว่า หากจำเลยผิดนัดชำระหนี้งวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด แต่เมื่อ จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนด โจทก์ก็มิได้ฟ้องร้องหรือถือว่าจำเลยผิดนัดจริงจังและเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยกลับมีหนังสือทวงถาม ให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนในสัญญาโดยมิได้เรียกดอกเบี้ยด้วย ดังนี้ต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามครั้งสุดท้ายของโจทก์แล้วและต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่นั้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเรื่องภูมิลำเนาไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ขอเช่า หากการอนุมัติไม่ได้ขึ้นอยู่กับภูมิลำเนา
โจทก์จำเลยต่างยื่นคำร้องต่ออำเภอเพื่อขอเช่าที่พิพาทตามคำร้องของจำเลยระบุว่าจำเลยตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเลขที่ 229 หมู่ที่ 5 ตำบลบัวชุมอำเภอไชยบาดาล จังหวัดลพบุรีโดยเช่าห้องของนายเฉื่อย คำทองแท้ และ จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทมาก่อน พ.ศ. 2499 ซึ่งความจริงจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลสระกรวด อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ นายอำเภออนุมัติให้จำเลยเช่าที่พิพาท แต่การที่นายอำเภอจะพิจารณาให้ผู้ใดเช่าที่ดินโครงการผังเมืองลำนารายณ์ซึ่งรวมถึงที่พิพาทรายนี้ด้วยนั้นนายอำเภอเป็นผู้มีอำนาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดเช่าได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้ขอเช่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด ดังนั้น การที่จำเลยได้รับอนุมัติให้เป็นผู้เช่าและโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติให้เช่านั้นจึงไม่ได้เป็นผลมาจากการที่จำเลยระบุในคำร้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด ความเสียหายของโจทก์มิได้สืบเนื่องมาจากข้อความอันเป็นเท็จนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่า: ที่รกร้างว่างเปล่าถือเป็นป่าตามกฎหมาย แม้ขึ้นทะเบียนสาธารณะประโยชน์
ที่พิพาทไม่ใช่เป็นที่ดินของจำเลย แต่เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ย่อมต้องถือว่าเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(1) เมื่อจำเลยเข้าทำการแผ้วถางป่านั้นซึ่งยังไม่เคยถูกแผ้วถางมาก่อน และเข้าไปยึดถือครอบครองที่ป่านั้นโดยมิได้รับอนุญาตย่อมต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54,72 ตรี ตามที่มีแก้ไขเพิ่มเติมและประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108 แม้โจทก์จะได้กล่าวในฟ้องว่าที่พิพาทนี้เป็นที่ดินซึ่งทางราชการสงวนไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ด้วย ข้อนี้ก็มิใช่องค์ประกอบความผิดของบทกฎหมายดังกล่าว การขึ้นทะเบียนที่ดินนี้ไว้เป็นที่สาธารณะประจำหมู่บ้านจะได้กระทำไปโดยถูกต้องครบถ้วนหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ