คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุทัย ศุภนิตย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน: สิทธิของบุคคลภายนอกที่ทำสัญญาซื้อขายก่อน vs. สิทธิจากคำพิพากษาหลัง
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอขายที่พิพาทแก่โจทก์โดยโจทก์ตกลงซื้อและทำสัญญามัดจำไว้แล้ว ตามสัญญาจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาททันที และจะโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเจ้าพนักงานให้เสร็จภายในกำหนด 2 เดือนนับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป ต่อมาจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขายที่พิพาทให้กับโจทก์ จึงยื่นคำร้องคัดค้านต่อนายอำเภอ มิให้จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ จนกว่าจำเลยที่ 1 จะได้ชำระเงินกู้ให้จำเลยที่ 2 นายอำเภอเรียกโจทก์กับจำเลยที่ 2 มาเปรียบเทียบ แต่ไม่ตกลงกัน จำเลยที่ 2ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เรียกเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ไปคืน และทำสัญญาประนีประนอมยอมความในวันเดียวกันนั้นเองโดยขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ศาลพิพากษาตามยอมแต่ยังไม่ได้โอนที่พิพาท เพราะโจทก์คัดค้านไว้ ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ได้ตกลงรับซื้อที่พิพาทตามสัญญามัดจำ และยื่นเรื่องราวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของโจทก์ได้อยู่ก่อนจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 เพิ่งมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะได้รับโอนที่พิพาทภายหลัง ทั้งจำเลยก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไปยื่นคำร้องขอขายที่พิพาทให้โจทก์ก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นไปโดยไม่สุจริต จะนำมาใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะให้จดทะเบียนสิทธิที่พิพาทหรือประมูลที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หรือขายทอดตลาดที่พิพาทเอาเงินแบ่งกันตามส่วนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อขายที่ดินก่อนการบังคับคดี: การซื้อขายก่อนการจดทะเบียนและการกระทำที่ไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอขายที่พิพาทแก่โจทก์โดยโจทก์ตกลงซื้อและทำสัญญามัดจำไว้แล้ว ตามสัญญาจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาททันที และจะโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเจ้าพนักงานให้เสร็จภายในกำหนด 2 เดือนนับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป ต่อมาจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1ยื่นคำร้องขอขายที่พิพาทให้กับโจทก์ จึงยื่นคำร้องคัดค้านต่อนายอำเภอ มิให้จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ จนกว่าจำเลยที่ 1 จะได้ชำระเงินกู้ให้จำเลยที่ 2 นายอำเภอเรียกโจทก์กับจำเลยที่ 2มาเปรียบเทียบ แต่ไม่ตกลงกัน จำเลยที่ 2 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เรียกเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ไปคืน และทำสัญญาประนีประนอมยอมความในวันเดียวกันนั้นเองโดยขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ศาลพิพากษาตามยอมแต่ยังไม่ได้โอนที่พิพาท เพราะโจทก์คัดค้านไว้ ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ได้ตกลงรับซื้อที่พิพาทตามสัญญามัดจำ และยื่นเรื่องราวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของโจทก์ได้อยู่ก่อนจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 เพิ่งมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะได้รับโอนที่พิพาทภายหลัง ทั้งจำเลยก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไปยื่นคำร้องขอขายที่พิพาทให้โจทก์ก่อนแล้วการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นไปโดยไม่สุจริตจะนำมาใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะให้จดทะเบียนสิทธิที่พิพาทหรือประมูลที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หรือขายทอดตลาดที่พิพาทเอาเงินแบ่งกันตามส่วนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3059-3060/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบในคดีมรดก: โจทก์ต้องพิสูจน์ก่อนว่าทรัพย์สินเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยอ้างว่าเป็นมรดกของมารดาตกได้แก่โจทก์จำเลยร่วมกัน จำเลยให้การว่ามารดายกที่พิพาทให้จำเลยแต่ผู้เดียว จำเลยครอบครองเพื่อตนมากว่า 10 ปีแล้ว ที่พิพาทมิใช่มรดกอันจะตกไปยังโจทก์จำเลย เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าที่พิพาทมิใช่มรดกของมารดา เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองอยู่. จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1369,1372 ว่า มีสิทธิครอบครอง โจทก์กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นมรดกของมารดา จึงมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าที่พิพาทเป็นมรดก
ตามกฎหมายโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน แต่ศาลชั้นต้นกลับกำหนดให้จำเลยนำสืบก่อน แม้จำเลยจะไม่คัดค้าน เมื่อไม่มีการสืบพยานศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไปทีเดียวไม่ได้ เพราะการที่ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดีโดยถือหน้าที่นำสืบเป็นหลักนั้น ต้องถือตามหน้าที่นำสืบที่ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่แรงงานตามประกาศ คณะปฏิวัติ และ พ.ร.บ. ระงับข้อพิพาทแรงงาน การจ่ายค่าจ้างทำงานวันหยุด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2501 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2508มาตรา 3 ให้ยกเลิกข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 แล้วบัญญัติวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานขึ้นใหม่ ส่วนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ข้อ 2 และข้อ 7 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดเวลาทำงานวันหยุดงานของลูกจ้าง ฯลฯ ตลอดจนการสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทย ตามความในข้อ 2ยังมีผลใช้บังคับอยู่และเป็นกรณีข้อมูลคนละเรื่องกับพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2508 เพราะกฎหมายฉบับนี้มีหลักการว่าด้วยการกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานและให้ยกเลิกเฉพาะในข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เท่านั้น
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ได้กำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างในงานอุตสาหกรรมว่า โดยปกติจะเกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงไม่ได้นั้นไม่ได้หมายความว่าลูกจ้างต้องทำงานจนครบสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงเมื่อลูกจ้างได้ทำงานตามวันเวลาที่ตกลงจ้างกันแล้ว แม้เวลาทำงานไม่ครบ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามอัตราที่ตกลงกัน ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดงาน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างอีกเป็นพิเศษตามที่กฎหมายบังคับไว้นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะหักชั่วโมงทำงานในวันหยุดงานไปชดเชยชั่วโมงทำงานในวันทำงานตามปกติที่ยังไม่ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมงให้ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมง แม้ลูกจ้างจะตกลงยินยอมด้วยก็ไม่มีผลบังคับเพราะเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ระหว่างคดีความ: ระยะเวลาครอบครองระหว่างคดีไม่นำมารวมกับระยะเวลาครอบครองเพื่ออ้างเป็นปรปักษ์
การที่คู่ความฝ่ายหนึ่งครอบครองทรัพย์ที่พิพาทในระหว่างคดีนั้นคู่ความฝ่ายนั้นจะอ้างว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหาได้ไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงอ้างการครอบครองในช่วงระยะเวลาที่กำลังพิพาทเป็นคดีอยู่นั้นขึ้นเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ และเมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ชนะคดีจำเลยที่ 1 คำพิพากษาของศาลในคดีนั้นย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทจากเจ้าของกรรมสิทธิ์มาก็ย่อมได้รับสิทธิดังกล่าวจากเจ้าของกรรมสิทธิ์มาด้วย จำเลยที่ 1 จึงอ้างการครอบครองปรปักษ์ในช่วงระยะเวลาที่เป็นความกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ขึ้นโต้แย้งยันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์สืบต่อมาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ระหว่างคดีความ: ระยะเวลาครอบครองระหว่างการดำเนินคดีไม่อาจนำมารวมกับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้
การที่คู่ความฝ่ายหนึ่งครอบครองทรัพย์ที่พิพาทในระหว่างคดีนั้นคู่ความฝ่ายนั้นจะอ้างว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหาได้ไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงอ้างการครอบครองในช่วงระยะเวลาที่กำลังพิพาทเป็นคดีอยู่นั้นขึ้นเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ และเมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ชนะคดีจำเลยที่ 1คำพิพากษาของศาลในคดีนั้นย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทจากเจ้าของกรรมสิทธิ์มา ก็ย่อมได้รับสิทธิดังกล่าวจากเจ้าของกรรมสิทธิ์มาด้วย จำเลยที่ 1 จึงอ้างการครอบครองปรปักษ์ในช่วงระยะเวลาที่เป็นความกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ขึ้นโต้แย้งยันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์สืบต่อมาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีปล้นทรัพย์และการลงโทษฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามคนร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้มีดและปืนขู่ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 มีปืนพกไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองหนึ่งกระบอกโดยไม่รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 และพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่โจทก์ฟ้อง แต่ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 อันเป็นกระทงหนักที่สุด จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนนั้นโจทก์ไม่นำสืบให้ชัด ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานนี้ไม่ได้พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เฉพาะข้อหานี้เสีย โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่ายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้ปืนจี้ผู้เสียหาย และเห็นว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษเฉพาะจำเลยที่ 1ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาต แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นแปลได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความผิดฐานนี้ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ไว้ คำพิพากษาของศาลล่างยังคลาดเคลื่อนอยู่ ดังนี้ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีปล้นทรัพย์และการลงโทษฐานมีอาวุธปืน การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามคนร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้มีดและปืนขู่ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 มีปืนพกไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองหนึ่งกระบอกโดยไม่รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 และพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่โจทก์ฟ้องแต่ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 อันเป็นกระทงหนักที่สุด จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนนั้นโจทก์ไม่นำสืบให้ชัด ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานนี้ไม่ได้พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เฉพาะข้อหานี้เสีย โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่ายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ใช้ปืนจี้ผู้เสียหาย และเห็นว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษเฉพาะจำเลยที่ 1ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาต แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นแปลได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความผิดฐานนี้ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ไว้ คำพิพากษาของศาลล่างยังคลาดเคลื่อนอยู่ ดังนี้ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอม: ศาลฎีกายกฟ้องเมื่อศาลอุทธรณ์เปลี่ยนคำพิพากษาโดยไม่มีอำนาจ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกับพวกปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยปลอมเอกสารและลงโทษฐานนี้ จำเลยอุทธรณ์โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาฐานใช้เอกสารปลอมจึงยุติไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยความผิดฐานใช้เอกสารปลอมอีก เมื่อศาลอุทธรณ์ว่าฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเอกสาร แล้วกลับฟังว่าจำเลยใช้เอกสารปลอม และพิพากษาลงโทษฐานนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบเมื่อจำเลยฎีกาต่อมา ส่วนโจทก์ไม่ฎีกา ข้อหาฐานปลอมเอกสารจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องทั้ง 2 ข้อหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151-2152/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำตามคำสั่งเจ้าพนักงานโดยสุจริตและผลกระทบต่อความรับผิดทางละเมิด
จำเลยกับพวกได้ทำทำนบปิดกั้นน้ำเพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้ในการทำนาโดยได้รับคำสั่งจากนายอำเภอให้ทำ ซึ่งจำเลยกับพวกได้กระทำไปโดยสุจริต เชื่อว่าเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำไปเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ เมื่อทำทำนบแล้ว น้ำได้ท่วมข้าวในนาของโจทก์เสียหาย ดังนี้ จำเลยหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449 แต่โจทก์อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลผู้ให้คำสั่งโดยละเมิดนั้นได้ตามบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว
of 26