คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม. 14 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลเปลี่ยนแปลงหลังเกิดเหตุ: คดีต้องฟ้องต่อศาลแขวง แม้ฟ้องศาลจังหวัด ศาลมีดุลพินิจไม่รับ
ขณะเกิดเหตุคดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดที่จะต้องรับฟ้องไว้พิจารณา แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอำนาจศาลให้คดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวง โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลแขวง
คดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงถ้ายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ผลของพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจหลังเกิดเหตุ และดุลพินิจศาลในการไม่รับฟ้อง
ขณะเกิดเหตุคดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดที่จะต้องรับฟ้องไว้พิจารณา แต่เมื่อโจกท์ยื่นฟ้องได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอำนาจศาลให้คดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวง โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลแขวง
คดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจังหวัดในการรับคดีแขวง: ดุลพินิจต้องใช้เมื่อยื่นฟ้อง การพิจารณาจนเสร็จสิ้นถือเป็นการยอมรับคดี
อำนาจของศาลจังหวัดที่จะใช้ดุลพินิจสั่งรับหรือปฏิเสธไม่รับคดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(2) นั้น ศาลจังหวัดจะต้องสั่งเมื่อมีการยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดนั้น และการที่ศาลจังหวัดได้ดำเนินการพิจารณาจนเสร็จสำนวนแล้ว ย่อมแสดงว่าได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีไว้อยู่ในตัวแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงตาม พ.ร.บ.ศาลแขวงฯ พ.ศ.2499: บทบาทผู้ว่าคดีและอัยการ
คดีเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 ส่วนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 ยังมิได้ออกใช้บังคับ เมื่อผู้ว่าคดีฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงธนบุรีไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่า คดีมีมูลฐานวิ่งราวทรัพย์(ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลอาญา) และให้ประทับฟ้องไว้ อัยการได้รับสำนวนจากศาลแขวงธนบุรีและพิจารณาแล้วสั่งไม่ฟ้องฐานวิ่งราวคงสั่งฟ้องฐานลักทรัพย์ (ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง) เช่นนี้เมื่ออัยการฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ต่อศาลอาญาศาลอาญาจำต้องรับคดีนี้ไว้พิจารณา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2503)
ความในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(2) ที่ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ใช้ได้แต่ในระบบที่ศาลแขวงมิได้เป็นศาลไต่สวนความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น
นอกจากราษฎรฟ้องกันเองแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ว่าคดีตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 เท่านั้นที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีในศาลแขวงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ อัยการหาอาจเป็นโจทก์ในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 นี้ได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2503)