คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 153

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยวิธีประกาศเนื่องจากจำเลยย้ายภูมิลำเนาหลีกเลี่ยงการรับเอกสาร และเหตุผลไม่อนุญาตให้พิจารณาใหม่
โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 โดยก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 จำเลยได้แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นขอย้ายภูมิลำเนาไปอยู่บ้านเลขที่ 50ถนนเรศ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการแจ้งย้ายภูมิลำเนาเข้าบ้านดังกล่าวแต่อย่างใดจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535 หลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วเป็นเวลา 7 วัน จำเลยจึงได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 70/16 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ดังนั้นจึงต้องถือว่าในระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2534ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2535 จำเลยเป็นบุคคลที่ไม่ปรากฎภูมิลำเนาซึ่งศาลไม่อาจส่งหมายเรียกและสำเนาคำร้องโดยวิธีธรรมดาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่ง แล้ว จำเลยย้ายภูมิลำเนาหลายครั้งโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริตเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับคำคู่ความหรือเอกสารใดถ้ามีถึงตนจนต้องขาดนัดพิจารณาจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกกรณีจำเลยย้ายภูมิลำเนาหลีกเลี่ยงการรับคำคู่ความ ศาลชอบด้วยกฎหมายที่จะส่งหมายเรียกโดยการประกาศ
โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 โดยก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 จำเลยได้แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นขอย้ายภูมิลำเนาไปอยู่บ้านเลขที่ 50 ถนนนเรศ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการแจ้งย้ายภูมิลำเนาเข้าบ้านดังกล่าวแต่อย่างใด จนถึงวันที่17 กุมภาพันธ์ 2535 หลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วเป็นเวลา 7 วัน จำเลยจึงได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 70/16 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ดังนั้นจึงต้องถือว่าในระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์2535 จำเลยเป็นบุคคลที่ไม่ปรากฏภูมิลำเนาซึ่งศาลไม่อาจส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคหนึ่ง แล้ว
จำเลยย้ายภูมิลำเนาหลายครั้งโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริต เป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับคำคู่ความหรือเอกสารใดถ้ามีถึงตนจนต้องขาดนัดพิจารณา จึงไม่มีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุด ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกาตามกฎหมายล้มละลาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง มีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคแรกประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์คดีล้มละลาย: มูลค่าหุ้น 75,000 บาท
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง 75,000 บาทจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง75,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อมีทุนทรัพย์พิพาทน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดในคดีล้มละลาย
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง75,000บาทจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง75,000บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในชั้นฎีกา: ทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่าเกณฑ์
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง 75,000 บาท จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 75,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสามจะกำหนดให้การร้องคัดค้านหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านให้ทำเป็นคำร้องก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้คัดค้าน ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นโดยขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่มีหนังสือแจ้งยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้และให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแม้ผู้ร้องจะอ้างว่าหนี้จะระงับสิ้นไปแล้วโดยการหักกลบลบหนี้ก็ตาม แต่ผลก็คือขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งยืนยันไป และหากศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระ คดีของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 ข้อ (1) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179 วรรคท้าย ซึ่งกำหนดให้ค่าธรรมเนียมนอกจากที่บัญญัติไว้ให้คิดอัตราเดียวกันกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้อง ซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้ว ผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ต้องจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้ผู้ร้องจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเท่านั้น หามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่ การที่ผู้ร้องฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การพิจารณาประเภทคดีมีทุนทรัพย์ การทิ้งฟ้อง และคำสั่งระหว่างพิจารณา
แม้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119วรรคสองและวรรคสามจะกำหนดให้การร้องคัดค้านหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านให้ทำเป็นคำร้องก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้คัดค้านผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นโดยขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่มีหนังสือแจ้งยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้และให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ซึ่งแม้ผู้ร้องจะอ้างว่าหนี้จะระงับสิ้นไปแล้วโดยการหักกลบลบหนี้ก็ตามแต่ผลก็คือขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งยืนยันไปและหากศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระคดีของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง1ข้อ(1)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา179วรรคท้ายซึ่งกำหนดให้ค่าธรรมเนียมนอกจากที่บัญญัติไว้ให้คิดอัตราเดียวกันกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้วผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2),246ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153ต้องจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ถูกต้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้ผู้ร้องจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นเพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเท่านั้นหามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่การที่ผู้ร้องฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(1)ประกอบมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลในคดีล้มละลาย: ผู้ร้องไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมหากคู่ความอีกฝ่ายไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมจริง
การยื่นอุทธรณ์ในคดีล้มละลายในส่วนที่ผู้อุทธรณ์ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่ตนต้องใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งนั้นพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229ที่ว่าผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นมาใช้บังคับโดยอนุโลมหมายความว่าคู่ความฝ่ายที่จะได้รับชดใช้ค่าธรรมเนียมคืนจากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะต้องได้เสียค่าธรรมเนียมไปจริงจึงมีสิทธิจะได้รับชดใช้คืนเมื่อผู้คัดค้านไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมใดๆในการดำเนินคดีนี้เลยผู้ร้องจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลในการอุทธรณ์คดีล้มละลาย: ต้องวางศาลเมื่ออีกฝ่ายเสียค่าธรรมเนียมจริงเท่านั้น
การยื่นอุทธรณ์ในคดีล้มละลายในส่วนที่ผู้อุทธรณ์ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่ตนต้องใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งนั้น พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ.มาตรา 229 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 ที่ว่าผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น มีความหมายว่า คู่ความฝ่ายที่จะได้รับชดใช้ค่าธรรมเนียมคืนจากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น จะต้องได้เสียค่าธรรมเนียมไปจริง จึงมีสิทธิจะได้รับชดใช้คืน เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการดำเนินคดีนี้เลย ผู้ร้องจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์
of 44