พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ล้มละลาย: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการยึดทรัพย์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยและขอให้บังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย จึงเป็นการบังคับแก่ทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย ซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินนั้นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และมาตรา 109 และปรากฏตามบันทึกของเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงานขอให้ศาลชั้นต้นเปิดคดีและขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดแล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย อันเป็นกรณีที่ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปฏิบัติการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22ประกอบกับมาตรา 6 การบังคับคดีที่โจทก์นำยึดทรัพย์สินต่าง ๆ ของจำเลยในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา158 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดที่เห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด จะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและมีคำสั่ง ซึ่งเป็นกระบวนพิจารณาที่ต้องกระทำในคดีล้มละลาย การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ล้มละลาย: อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และกระบวนการคัดค้าน
โจทก์ฟ้องและบังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22,109และเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลชั้นต้นเปิดคดีและขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้ในคดีนี้แล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายกรณีถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา22ประกอบกับมาตรา6การยึดทรัพย์สินเพื่อบังคับคดีในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายซึ่งผู้ใดจะคัดค้านจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา158ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีผู้ใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าหุ้น, เอกสารหลักฐาน, อายุความ และการฟ้องล้มละลาย: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น
ผู้ร้องฎีกาว่าพยานหลักฐานผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานผู้ร้องฟังได้ว่าผู้ร้องได้ชำระค่าหุ้นเต็มตามมูลค่าครบถ้วนแล้วเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกามาก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บัญชีผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญเป็นเอกสารที่จำเลยจัดทำส่งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องตรงกับ สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1141ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็น พยานหลักฐานอันถูกต้องและตามมาตรา1024ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุกประการการที่พยานผู้ร้องเบิกความว่าผู้ร้องชำระค่าหุ้นตามมูลค่าแล้วโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดสนับสนุนจึงไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าบัญชีผู้ถือหุ้นเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงผู้ร้องต้องรับผิดในหนี้ที่ค้างชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันหนี้ไป การที่บริษัทจะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1120หาใช่จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด10ปีนับแต่วันที่ผู้ร้องเข้าชื่อจองซื้อหุ้นไม่ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านในการเรียกให้ผู้ร้องส่งใช้เงินค่าหุ้นที่ค้างชำระนับแต่วันทำสัญญาเข้าชื่อจองซื้อหุ้นแม้จะเกิน10ปีก็ ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9153/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันหนี้: แม้การทำสัญญาจะไม่มีอำนาจ แต่หากตัวการรับชำระหนี้ ย่อมผูกพันตามสัญญา
การที่ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมีลูกหนี้ที่ 2 ลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวและประทับตราบริษัทของลูกหนี้ที่ 1 ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของลูกหนี้ที่ 1ที่นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้ซึ่งต้องมีกรรมการอื่นอีกคนหนึ่งลงชื่อร่วมกัน เป็นการกระทำของตัวแทนที่กระทำโดยปราศจากอำนาจแต่หลังจากที่ลูกหนี้ที่ 2 ทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ลูกหนี้ที่ 1 มิได้โต้แย้งคัดค้านกลับนำเงินไปผ่อนชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นบางส่วน ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ทำให้มีผลผูกพันลูกหนี้ที่ 1ในฐานะตัวการว่ายอมรับการกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่เจ้าหนี้และต้องชำระหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9153/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันหนี้ที่ตัวแทนทำโดยปราศจากอำนาจ และผลผูกพันของผู้ค้ำประกัน
การที่ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทลูกหนี้ที่ 1ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมีลูกหนี้ที่ 2ลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวและประทับตราบริษัทของลูกหนี้ที่ 1 ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของลูกหนี้ที่ 1ที่นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้ซึ่งต้องมีกรรมการอื่นอีกคนหนึ่งลงชื่อร่วมกัน เป็นการกระทำของตัวแทนที่กระทำโดยปราศจากอำนาจแต่หลังจากที่ลูกหนี้ที่ 2ทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ลูกหนี้ที่ 1 มิได้โต้แย้ง คัดค้านกลับนำเงินไปผ่อนชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามหนังสือ รับสภาพหนี้นั้นบางส่วน ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ให้ สัตยาบันแก่การกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ทำให้มีผลผูกพัน ลูกหนี้ที่ 1 ในฐานะตัวการว่ายอมรับการกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่เจ้าหนี้และต้องชำระหนี้ นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ลูกหนี้ ที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลายย่อมกระทบถึงสิทธิและความสามารถตลอดจนสถานะบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลนั้นเป็นเอนกประการซึ่งยังผลให้บุคคลภายนอกสามารถยกขึ้นอ้างและใช้ยันแก่บุคคลผู้นั้นได้ฉะนั้นก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวโจทก์ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา14จึงบัญญัติให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9และมาตรา10ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาดแต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายให้ศาลยกฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากค่าจ้างว่าความจากบุคคลตามที่ระบุในหนังสือสัญญาจ้างว่าความรวมประมาณ2,850,000บาทและหนังสือรับรองเงินเดือนอีกเดือนละ28,000บาทกับอ้างพยานบุคคลอีกหลายปากภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลยแต่ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลยแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อพิจารณาความจริงตามเจตนารมณ์แห่งโจทก์ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา4กรณีมีเหตุจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยตามบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต้องเปิดโอกาสลูกหนี้แสดงความสามารถชำระหนี้
การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลาย ย่อมกระทบถึงสิทธิและความสามารถตลอดจนสถานะบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลนั้นเป็นอเนกประการ ซึ่งยังผลให้บุคคลภายนอกสามารถยกขึ้นอ้างและใช้ยันแก่บุคคลผู้นั้นได้ ฉะนั้น ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 จึงบัญญัติให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากค่าจ้างว่าความจากบุคคลตามที่ระบุในหนังสือสัญญาจ้างว่าความรวมประมาณ 2,850,000 บาท และหนังสือรับรองเงินเดือนอีกเดือนละ 28,000บาท กับอ้างพยานบุคคลอีกหลายปากภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย แล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อพิจารณาความจริงตามเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 กรณีมีเหตุจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยตามบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากค่าจ้างว่าความจากบุคคลตามที่ระบุในหนังสือสัญญาจ้างว่าความรวมประมาณ 2,850,000 บาท และหนังสือรับรองเงินเดือนอีกเดือนละ 28,000บาท กับอ้างพยานบุคคลอีกหลายปากภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย แล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อพิจารณาความจริงตามเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 กรณีมีเหตุจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยตามบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานเอกสารเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์: หลักการความบกพร่องในการนำสืบพยาน
พยานเอกสารที่ผู้ร้องขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์นั้นเป็นพยานเอกสารที่ผู้ร้องสามารถนำมาสืบในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นได้ เมื่อผู้ร้องไม่ระบุพยานและนำมาสืบในตอนนั้น นับได้ว่าเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองซึ่งหากยอมรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวย่อมจะไม่เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความอีกฝ่าย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การพิจารณาหลักฐานประกอบหนี้และการยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า แม้ชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 ซึ่งเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เป็นหลักฐานประกอบหนี้ แต่ความจริงเมื่อพิจารณาจากบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ในช่องหลักฐานประกอบหนี้แล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28 มีนาคม 2527 หาใช่มูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม2521 ที่มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วไม่ น่าเชื่อว่าเจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดพลาด ถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ภายในกำหนดสองเดือน เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาว่า หนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ เจ้าหนี้ต้องนำมูลหนี้นั้นไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดสองเดือน การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยแนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 ซึ่งได้มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเป็นหลักฐานประกอบหนี้ และได้นำมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดสองเดือนมาให้การสอบสวน ทำให้เจ้าหนี้อื่นไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานประกอบหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ได้ จึงขัดต่อมาตรา 94และมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เป็นมูลหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในปัญหาที่ว่า ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นการขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 มิใช่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28มีนาคม 2527 และเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด อันจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าการที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม2521 มาท้ายคำขอรับชำระหนี้เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 และถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28มีนาคม 2527 ภายในกำหนดสองเดือนแล้วซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153หากแต่เป็นฎีกาข้อกฎหมายในปัญหาที่ว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 นั้นเป็นการชอบด้วยมาตรา 91 และมาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483หรือไม่ เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 และมาตรา 247 ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยพยานหลักฐานของเจ้าหนี้แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า การที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้มาท้ายคำขอรับชำระหนี้ เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวภายในกำหนดสองเดือนแล้ว ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวอยู่แก่เจ้าหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นมูลหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้
ตามสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นอกจากเจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังได้แนบสำเนารายการบัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเป็นรายการบัญชีเดินสะพัดที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 มาด้วยแล้ว เช่นนี้ย่อมนับเป็นหลักฐานประกอบหนี้เพียงพอที่เจ้าหนี้อื่นสามารถตรวจสอบได้ หาได้เป็นการฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยมาตรา91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พะ.ศ.2483 แต่อย่างใดไม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยพยานหลักฐานของเจ้าหนี้แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า การที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้มาท้ายคำขอรับชำระหนี้ เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวภายในกำหนดสองเดือนแล้ว ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวอยู่แก่เจ้าหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นมูลหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้
ตามสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นอกจากเจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังได้แนบสำเนารายการบัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเป็นรายการบัญชีเดินสะพัดที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 มาด้วยแล้ว เช่นนี้ย่อมนับเป็นหลักฐานประกอบหนี้เพียงพอที่เจ้าหนี้อื่นสามารถตรวจสอบได้ หาได้เป็นการฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยมาตรา91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พะ.ศ.2483 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญาที่ถูกต้อง แม้หลักฐานไม่ครบถ้วน
ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังข้อเท็จจริงว่าแม้ชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521ซึ่งเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเป็นหลักฐานประกอบหนี้แต่ความจริงเมื่อพิจารณาจากบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินค้านหลังคำขอรับชำระหนี้ในช่องหลักฐานประกอบหนี้แล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527หาใช่มูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521ที่มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วไม่น่าเชื่อว่าเจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดพลาดถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ภายในกำหนดสองเดือนเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาว่าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้เจ้าหนี้ต้องนำมูลหนี้นั้นไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดสองเดือนการที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยแนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521ซึ่งได้มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเป็นหลักฐานประกอบหนี้และได้นำมูลหนี้และได้นำมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกิดบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ซึ่งไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดสองเดือนมาให้การสอบสวนทำให้เจ้าหนี้อื่นไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานประกอบหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ได้จึงขัดต่อมาตรา94และมาตรา91แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เป็นมูลหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1ในปัญหาที่ว่าตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นการขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521มิใช่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527และเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดอันจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค1ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าการที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521มาท้ายคำขอรับชำระหนี้เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527และถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ภายในกำหนดสองเดือนแล้วซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153หากแต่เป็นฎีกาข้อกฎหมายในปัญหาที่ว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527นั้นเป็นการชอบด้วยมาตรา91และมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483หรือไม่เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำเนาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153 ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยพยานหลักฐานของเจ้าหนี้แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าการที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521เป็นหลักฐานประกอบหนี้มาท้ายคำขอรับชำระหนี้เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527ซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวภายในกำหนดสองเดือนแล้วดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวอยู่แก่เจ้าหนี้ทั้งไม่ปรากฎว่าเป็นมูลหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ ตามสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นอกจากเจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่5ตุลาคม2521เป็นหลักฐานประกอบหนี้แล้วเจ้าหนี้ยังได้แนบสำเนารายการบัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเป็นรายการบัญชีเดินสะพัดที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28มีนาคม2527มาด้วยแล้วเช่นนี้ย่อมนับเป็นหลักฐานประกอบหนี้เพียงพอที่เจ้าหนี้อื่นสามารถตรวจสอบได้หาได้เป็นการฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยมาตรา91แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483แต่อย่างใดไม่