คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 153

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณา: ผู้ร้องไม่ทราบวันนัดไต่สวน ไม่ถือว่าขาดนัดตามกฎหมาย
คำร้องที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องไม่ทราบวันนัดไต่สวนพยานผู้ร้องการที่ผู้ร้องไม่มาศาลในวันไต่สวนจะถือว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 ไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีของผู้ร้องจากสารบบความเป็นการไม่ชอบ เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่เกี่ยวกับการพิจารณาโดยขาดนัดในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม อันเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ผู้ร้องทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น
กรณีที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดขาดนัดพิจารณาได้ ต้องปรากฏว่าคู่ความฝ่ายนั้นทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วไม่มาศาล เมื่อตามคำร้องของผู้ร้องยังโต้เถียงข้อเท็จจริงอยู่ว่าผู้ร้องไม่ทราบกำหนดวันนัดไต่สวนสืบพยานผู้ร้องลายมือชื่อทราบวันนัดไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ร้องหรือทนายผู้ร้อง เช่นนี้คำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่การขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งขาดนัดพิจารณาต้องยื่นภายใน 8 วันนับแต่ทราบเหตุ หากเกินกำหนดสิทธิขาด
ในวันนัดพิจารณาคำร้องขอปฏิเสธหนี้ผู้ร้องไม่ไปศาลศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาผู้ร้องยื่นคำร้องว่าไม่ทราบกำหนดนัดมาก่อนขอให้เพิกถอนคำสั่งเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่เกี่ยวกับการพิจารณาโดยขาดนัดในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมอันเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา27ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา153ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นก่อนมีคำพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ผู้ร้องทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่5กรกฎาคม2536ฉบับหนึ่งมาแล้วแสดงว่าผู้ร้องทราบกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวแล้วอย่างช้าวันที่5กรกฎาคม2536แต่ผู้ร้องเพิ่งยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อวันที่11สิงหาคม2536ซึ่งช้ากว่าแปดวันนับแต่ผู้ร้องทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ กรณีที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดขาดนัดพิจารณาได้ต้องปรากฏว่าคู่ความฝ่ายนั้นทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วไม่มาศาลเมื่อผู้ร้องยังโต้เถียงข้อเท็จจริงอยู่ว่าผู้ร้องไม่ทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่การขอพิจารณาคดีใหม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการชำระค่าธรรมเนียมศาลนอกกำหนดเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 ว่า คดีผู้ร้องไม่มีมูล ให้ยกคำร้อง หากผู้ร้องประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้ผู้ร้องนำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายใน 15 วัน เมื่อผู้ร้องไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้น ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคท้าย แต่ผู้ร้องได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้อง ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แต่ผู้ร้องหาได้กระทำไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 จึงยังคงมีผลบังคับต่อไปและย่อมเป็นอันถึงที่สุดการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในเวลาต่อมาต่อศาลชั้นต้นอ้างว่า พอที่จะรวบรวมเงินเป็นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนได้แล้ว ขอนำค่าธรรมเนียมศาลมาวางต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลา 10 วันนับแต่วันยื่นคำร้อง จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้ว แม้พอถือได้ว่าเป็นการที่ผู้ร้องขอขยายระยะเวลานำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระต่อศาลชั้นต้น แต่ก็ไม่เข้ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตตามคำขอของผู้ร้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 คดีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตและกำหนดเวลาให้ผู้ร้องนำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระต่อศาลอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่28พฤษภาคม2536ว่าคดีผู้ร้องไม่มีมูลให้ยกคำร้องหากผู้ร้องประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้ผู้ร้องนำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายใน15วันเมื่อผู้ร้องไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด7วันนับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคท้ายแต่ผู้ร้องได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องซึ่งผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ภายใน15วันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234แต่ผู้ร้องหาได้กระทำไม่คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่28พฤษภาคม2536จึงยังคงมีผลบังคับต่อไปและย่อมเป็นอันถึงที่สุดการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในเวลาต่อมาต่อศาลชั้นต้นอ้างว่าพอที่จะรวบรวมเงินเป็นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนได้แล้วขอนำค่าธรรมเนียมศาลมาวางต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลา10วันนับแต่วันยื่นคำร้องจึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วแม้พอถือได้ว่าเป็นการที่ผู้ร้องขอขยายระยะเวลานำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระต่อศาลชั้นต้นแต่ก็ไม่เข้ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตตามคำขอของผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23คดีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตและกำหนดเวลาให้ผู้ร้องนำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระต่อศาลอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ข้อตกลงโมฆะและสิทธิในการกันส่วนเงินจากการขายทอดตลาด
ผู้ร้องกับลูกหนี้ได้จดทะเบียนหย่ากัน และได้ทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 125591 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของผู้ร้อง ส่วนที่พิพาททั้งห้าแปลงเป็นของลูกหนี้ ในชั้นสอบสวนคำร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่ดินโฉนดเลขที่ 125591 ของผู้ร้องนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟังข้อเท็จจริงว่า บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าระหว่างผู้ร้องกับลูกหนี้ ที่ตกลงกันให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 125591 เป็นของผู้ร้องนั้นเป็นการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ข้อเท็จจริงดังกล่าวต้องผูกพันเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์และผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอกันส่วนเงินค่าขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งห้าแปลง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอ้างว่า คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 125591 เพียงแปลงเดียว ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกห้าแปลงที่เหลือย่อมไม่ได้ เพราะที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่า ซึ่งเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์วินิจฉัยว่า เป็นการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะไปแล้วนั่นเอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ทรัพย์สินของผู้ร้องกับลูกหนี้ตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ายังไม่มีการแบ่งกัน ที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงตามคำร้องจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของผู้ร้องและลูกหนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งห้าแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บันทึกข้อตกลงเป็นโมฆะ ทรัพย์สินยังเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้ร้องมีสิทธิขอรับส่วนแบ่ง
ผู้ร้องกับลูกนี้ได้จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าว่าที่ดินโฉนดเลขที่125591พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของผู้ร้องส่วนที่พิพาททั้งห้าแปลงเป็นของลูกหนี้ในชั้นสอบสวนคำร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่ดินโฉนดเลขที่125591ของผู้ร้องนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟังข้อเท็จจริงว่าบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าระหว่างผู้ร้องกับลูกหนี้ที่ตกลงกันให้ที่ดินโฉนดเลขที่125591เป็นของผู้ร้องนั้นเป็นการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับข้อเท็จจริงดังกล่าวต้องผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ร้องเมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอกันส่วนเงินค่าขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอ้างว่าคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่125591เพียงแปลงเดียวไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกห้าแปลงที่เหลือย่อมไม่ได้เพราะที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์วินิจฉัยว่าเป็นการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะไปแล้วนั่นเองเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์สินของผู้ร้องกับลูกหนี้ตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ายังไม่มีการแบ่งกันที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงตามคำร้องจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของผู้ร้องและลูกหนี้ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งห้าแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2399/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีล้มละลายต้องตีราคาหลักประกันในฟ้องเพื่อให้ครบถ้วนตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ถึง308,394,169.33บาทจำเลยที่2ถึงที่4เป็น ผู้ค้ำประกันในวงเงินถึง177,000,000บาท480,960,008.90บาท63,600,000บาทและ61,128,163.50บาทส่วนหลักประกันที่จำเลยที่2และที่3นำมา จดทะเบียน จำนองรวมกันมีจำนวนเพียง22,000,000บาทและมี คำขอท้ายฟ้อง ขอให้นำทรัพย์สินของจำเลยทั้งห้ามาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ถือว่าโจทก์ ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องแล้วซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้แล้วยังขาดอยู่ไม่น้อยกว่า500,000บาทจึงเป็นการ บรรยายฟ้องที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา10(2)แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องหลังพิทักษ์ทรัพย์: ผู้คัดค้านทวงหนี้จากผู้ดูแลทรัพย์ที่สูญหายไม่ได้ เพราะสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นหลังศาลมีคำสั่ง
การที่ผู้คัดค้านจะใช้ สิทธิเรียกร้องของจำเลยทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119ได้นั้นสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และแม้มีบุคคลใดที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้คัดค้านในกรณีทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านได้ยึดไว้สูญหายไปก็เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านต้องติดตามเอาคืนมาหรือเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ที่ต้องรับผิดต่อไปเมื่อสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องต้องรับผิดเนื่องจากทรัพย์สินที่ยึดสูญหายไปเกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา119เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระเงินดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านได้และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองติดตามทรัพย์สิน แม้มีการเปลี่ยนตัวผู้จำนอง และการเพิกถอนการโอนไม่กระทบสิทธิผู้รับจำนองสุจริต
ทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ติดจำนองอยู่แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 1และที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทจากลูกหนี้โดยกู้เงินจากผู้คัดค้านที่ 3 เท่ากับยอดเงินต้นที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านที่ 3 นำไปชำระราคาทรัพย์พิพาทส่วนหนึ่ง แล้วลูกหนี้ได้นำเงินไปไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จากนั้นผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านที่ 3 ในวันเดียวกัน มีลักษณะเป็นการเปลี่ยนตัวผู้จำนองจากลูกหนี้มาเป็นผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ซึ่งแม้จะไม่เปลี่ยนตัวผู้จำนอง สิทธิจำนองก็ย่อมติดไปกับตัวทรัพย์พิพาทอยู่แล้ว ทั้งจำนวนเงินจำนองที่เปลี่ยนไปก็ลดลงจากเดิมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเพิ่มขึ้นแก่ผู้คัดค้านที่ 3 หรือทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้เสียหายแต่อย่างใด ฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองโดยสุจริต แม้ศาลจะเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 116
การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังคงถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเท่านั้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อล้มละลาย แม้ผู้ซื้อสุจริต แต่รู้ถึงหนี้สินของลูกหนี้ การคิดดอกเบี้ยเริ่มเมื่อศาลสั่งเพิกถอน
ทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ติดจำนองอยู่แก่ผู้คัดค้านที่3ผู้คัดค้านที่1และที่2ซื้อทรัพย์พิพาทจากลูกหนี้โดยกู้เงินจากผู้คัดค้านที่3เท่ากับยอดเงินต้นที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านที่3นำไปชำระราคาทรัพย์พิพาทส่วนหนึ่งแล้วลูกหนี้ได้นำเงินไปไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้คัดค้านที่1และที่2จากนั้นผู้คัดค้านที่1และที่2ได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านที่3ในวันเดียวกันมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนตัวผู้จำนองจากลูกหนี้มาเป็นผู้คัดค้านที่1และที่2ซึ่งแม้จะไม่เปลี่ยนตัวผู้จำนองสิทธิจำนองก็ย่อมติดไปกับตัวทรัพย์พิพาทอยู่แล้วทั้งจำนวนเงินจำนองที่เปลี่ยนไปก็ลดลงจากเดิมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเพิ่มขึ้นแก่ผู้คัดค้านที่3หรือทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้เสียหายแต่อย่างใดฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่3รับจำนองโดยสุจริตแม้ศาลจะเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่1และที่2ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านที่3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116 การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังคงถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่1และที่2ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเท่านั้นปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153
of 44