คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 153

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อล้มละลาย แม้ผู้ซื้อสุจริต แต่รู้ถึงหนี้สินของลูกหนี้ การคิดดอกเบี้ยเริ่มเมื่อศาลสั่งเพิกถอน
ทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ติดจำนองอยู่แก่ผู้คัดค้านที่3ผู้คัดค้านที่1และที่2ซื้อทรัพย์พิพาทจากลูกหนี้โดยกู้เงินจากผู้คัดค้านที่3เท่ากับยอดเงินต้นที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านที่3นำไปชำระราคาทรัพย์พิพาทส่วนหนึ่งแล้วลูกหนี้ได้นำเงินไปไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้คัดค้านที่1และที่2จากนั้นผู้คัดค้านที่1และที่2ได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านที่3ในวันเดียวกันมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนตัวผู้จำนองจากลูกหนี้มาเป็นผู้คัดค้านที่1และที่2ซึ่งแม้จะไม่เปลี่ยนตัวผู้จำนองสิทธิจำนองก็ย่อมติดไปกับตัวทรัพย์พิพาทอยู่แล้วทั้งจำนวนเงินจำนองที่เปลี่ยนไปก็ลดลงจากเดิมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเพิ่มขึ้นแก่ผู้คัดค้านที่3หรือทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้เสียหายแต่อย่างใดฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่3รับจำนองโดยสุจริตแม้ศาลจะเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่1และที่2ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านที่3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116 การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังคงถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่1และที่2ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเท่านั้นปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาขายต่ำเกินไป และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจาก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ทำการ ขายทอดตลาดแทนมีฐานะเป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์สินของจำเลยในราคาต่ำทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลา14วันนับแต่วันที่ได้ทราบขอให้ศาล เพิกถอนการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา146กรณีไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองที่จะอนุโลมนำมาใช้ได้เพราะพระราชบัญญัติล้มละลายฯบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังการขอให้ล้มละลาย สิทธิผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ดอกเบี้ยผิดนัด
ผู้คัดค้านที่3และที่4ซึ่งรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากผู้คัดค้านที่1จะอ้างว่าได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนต่อเมื่อได้รับโอนมาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา116เมื่อรับโอนมาภายหลังมีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้วไม่ว่าผู้คัดค้านที่3และที่4จะได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งเฉพาะส่วนของจำเลยย่อมเป็นผลให้ทรัพย์สินดังกล่าวเฉพาะส่วนของจำเลยกลับคืนเป็นของจำเลยทันทีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่1ที่3และที่4ต้องชดใช้ราคาแทนในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนหากทรัพย์สินนั้นไม่สามารถโอนกลับคืนมาได้และหากไม่ชำระราคาต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในราคาที่ต้องใช้แทนนับแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างล้มละลาย ผู้รับโอนต้องคืนเงินค่าขายหากรับโอนไม่สุจริต และไม่ชอบที่จะเรียกค่าทนาย
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่2เข้าว่าความด้วยตนเองโดยมิได้แต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนซึ่งไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความจึงไม่ชอบที่จะกำหนดให้ผู้คัดค้านชดใช้ค่าทนายความแทนผู้ร้อง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่2กับผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา114ผู้คัดค้านต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนแก่จำเลยที่2เมื่อผู้คัดค้านไม่อาจโอนคืนได้เพราะได้ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วในราคา1,900,000บาทผู้คัดค้านก็ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่2เต็มจำนวนเพราะผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตไม่ชอบที่จะนำเงินที่ผู้คัดค้านไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทมาหักออกจากเงินที่ผู้คัดค้านต้องชดใช้ราคาแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ผู้รับโอนต้องพิสูจน์ความสุจริตและค่าตอบแทน
การโอนทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 นั้นเป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะต้องนำสืบแสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 ต้องเป็นค่าฤชาธรรมเนียมรวมทั้งค่าทนายความที่คู่ความฝ่ายชนะคดีได้เสียไปจริง ๆ ในการดำเนินคดี การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเข้าว่าความด้วยตนเองโดยมิได้แต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทน ผู้ร้องก็ไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความแต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุที่จะให้ผู้คัดค้านต้องชดใช้ค่าทนายความแทนผู้ร้อง
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 114 แล้ว มีผลให้จำเลยผู้โอนและผู้รับโอนผู้คัดค้านกลับคืนสู่ฐานะเดิม ผู้คัดค้านต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลย แต่เนื่องจากผู้คัดค้านไม่อาจคืนที่ดินให้แก่จำเลยได้ เพราะผู้คัดค้านได้ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ผู้คัดค้านก็ต้องคืนเงินให้แก่จำเลยโดยเต็มจำนวนตามราคาที่ดินเพราะเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินไว้โดยไม่สุจริต อันฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: หนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์ไม่ได้บังคับคดีภายใน 10 ปี ไม่อาจนำมาฟ้องล้มละลายได้
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่1ธันวาคม2523โจทก์ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271แม้โจทก์จะได้ร้องขอให้บังคับคดีและยึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดเมื่อวันที่22เมษายน2526ก็เป็นขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดีแต่เมื่อเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้และโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยจึงไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้มีการชำระหนี้บางส่วนโดยลูกหนี้อื่น
แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลูกหนี้ที่2ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ที่1และจำเลยอื่นในต้นเงิน40,000,000บาทพร้อมดอกเบี้ยลูกหนี้ที่2จึงต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่2จะต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองและมีลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนวน16,774,820บาทแต่ก็นำไปชำระหนี้ได้เพียงดอกเบี้ยส่วนหนึ่งของหนี้ที่ค้างชำระเท่านั้นจึงมีหนี้ที่ลูกหนี้ที่1ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่เป็นจำนวน76,321,642.55บาทส่วนที่ลูกหนี้ที่2ยังไม่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่2ต้องรับผิดเลยเมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วลูกหนี้ที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น แม้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ลูกหนี้ที่ 2 ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ที่ 1 และจำเลยอื่นในต้นเงิน 40,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยลูกหนี้ที่ 2 จึงต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 จะต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนอง และมีลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนวน 16,774,820 บาท แต่ก็นำไปชำระหนี้ได้เพียงดอกเบี้ยส่วนหนึ่งของหนี้ที่ค้างชำระเท่านั้น จึงมีหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่เป็นจำนวน 76,321,642.55 บาท ส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 ยังไม่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 ต้องรับผิดเลย เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายซ้ำ: เหตุล้มละลายต่างกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ แม้ประเด็นหนี้สินล้นพ้นตัวเหมือนกัน
โจทก์เคยฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องและวินิจฉัยว่ายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทราบการทวงถามให้ชำระหนี้แล้วการที่จำเลยย้ายที่อยู่มิใช่เพื่อประวิงการชำระหนี้ไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอีกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาซึ่งโจทก์ขอออกหมายบังคับคดีแล้วแต่จำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะมาชำระหนี้ได้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแม้จะมีประเด็นอย่างเดียวกันกับคดีก่อนว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่แต่เป็นคนละเหตุกันซึ่งเหตุในคดีนี้ยังมิได้มีการวินิจฉัยในคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจฟ้องคดีล้มละลายตามหนังสือมอบอำนาจ: การตีความอำนาจในการติดตามหนี้และการฟ้องคดี
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่าให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจเรียกร้องทวงถามให้ชำระหนี้แจ้งบังคับจำนองหรือจำนำดำเนินคดีฟ้องร้องแก้ต่างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญารวมตลอดถึงการร้องทุกข์กล่าวโทษและมอบคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในนามของธนาคารต่อพนักงานสอบสวนตลอดทั้งการเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมในคดีแพ่งคดีอาญาดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีขอรับชำระหนี้คดีล้มละลายฯลฯเป็นการมอบอำนาจให้มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับการติดตามทวงถามและฟ้องร้องในคดีแพ่งสามัญโดยตรงเพื่อให้ผู้มอบอำนาจได้รับชำระหนี้เท่านั้นทั้งการฟ้องคดีล้มละลายก็เป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ต้องตกเป็นผู้ไร้ความสามารถในบางประการโดยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ใช่เป็นการฟ้องเรียกหนี้ที่ค้างชำระกันอยู่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย
of 44