คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 153

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเป็นของผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องไม่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียม
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว อำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22ไม่มีบทบัญญัติให้บุคคลอื่นมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยด้วย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ฟ้องเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นคดีอื่น จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดใด ๆ เป็นส่วนตัวตามกฎหมายล้มละลายในเรื่องค่าธรรมเนียมในคดีนี้ การที่ผู้ร้องเสนอตัวเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลย และผู้คัดค้านเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของผู้ร้องต้องถือว่าผู้คัดค้านได้ใช้ดุลพินิจดำเนินการยึดทรัพย์สินเองผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจที่จะอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาออกคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายมาชำระต่อผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการยกเหตุไม่ควรให้ล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ในชั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายจำเลยอุทธรณ์ 2 ประการ คือไม่มีเหตุที่จะถือว่าจำเลยทุจริตดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประการหนึ่ง และคดีมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากมีการแก้ไขกฎหมายล้มละลายโดย พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กำหนดจำนวนหนี้ขั้นต่ำที่จะฟ้องคดีล้มละลายไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และในคดีมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียง 4 ราย ขอให้ศาลอุทธรณ์หยิบยกมาตรา 14 ขึ้นพิจารณาอีกประการหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาที่สองว่าจำเลยจะสามารถขอให้ศาลยกเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มลายตามมาตรา 14 มาพิจารณาในชั้นขอประนอมหนี้ได้หรือไม่ อย่างไร จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แต่เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วสมดั่งเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลาย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียว
ในการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น กฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนแล้วกล่าวคือ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14 ลูกหนี้มีสิทธิทำคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายตามมาตรา 45 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอต่อศาลให้สั่งว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาในชั้นนี้ ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากมีข้อเท็จจริงตามมาตรา 53 และมาตรา 54 ในชั้นพิจารณาว่าจะเห็นชอบกับการประนอมหนี้ก่อน ล้มละลายหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาเพียงแต่ว่ามีเหตุที่ห้ามมิให้ศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำการทุจริต จำเลยมิได้ฎีกาจึงเป็นอันยุติไป ส่วนที่ว่าจะมีเหตุไม่ควรให้จำเลย ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์อายุความหนี้ในคดีล้มละลาย: หน้าที่นำสืบพยานหลักฐานของเจ้าหนี้
ที่เจ้าหนี้ฎีกาว่า หนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังไม่ขาดอายุความ เพราะก่อนยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาไปฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อขอให้ลูกหนี้ล้มละลายภายในอายุความ และในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถึงการฟ้องคดีแล้ว แต่ปรากฏในสำนวนสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า พยานเจ้าหนี้ให้การและเสนอพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนแต่เพียงเรื่องมูลหนี้และจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอรับชำระเท่านั้น มิได้ให้การหรือแจ้งถึงเหตุที่หนี้ตามคำพิพากษายังไม่ขาดอายุความ ทั้งที่เจ้าหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระตามคำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1) ดังนั้น ข้ออ้างของเจ้าหนี้จึงนอกจากจะระงับฟังไม่ได้แล้ว ยังเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นโต้เถียงในชั้นฎีกา มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมาย ใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ฎีกาของเจ้าหนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการเพิกถอนกระบวนพิจารณา
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอ บริษัท ส. จะถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของบริษัท ส. โดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โดยผู้ร้องมิได้กล่าวหาว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้ร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติบังคับให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ส. การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์ กับส่งหมายและสำเนาคำร้องขอแก่บริษัท ส.กับบริษัท ค. ผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวก่อนการไต่สวน จึงมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทั้งการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ก็หาได้เสียสิทธิไม่ เพราะผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก หากคำสั่งศาลชั้นต้นทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท ส. ถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการทรัพย์สินของบริษัท ส. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 จะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัท ส. เพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส.มีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) หรือหากการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีนี้มีผลกระทบต่อสิทธิของบริษัทซึ่งเป็นบุคคลผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว บริษัท ส. ก็อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำสั่งนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีเพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส.มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวดีกว่าผู้ร้อง โดยไม่จำต้องไปฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยชอบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอและศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้ บริษัท ส. จะถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของบริษัท ส. โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โดยผู้ร้องมิได้กล่าวหาว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้ร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติบังคับให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ส. การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์ กับส่งหมายและสำเนาคำร้องขอแก่บริษัท ส. กับบริษัท ง. ผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวก่อนการไต่สวน จึงมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทั้งการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ก็หาได้เสียสิทธิไม่ เพราะผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก หากคำสั่งศาลชั้นต้นทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท ส. ถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการทรัพย์สินของบริษัท ส. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 จะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัท ส. เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหากเพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส. มีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) หรือหากการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีนี้มีผลกระทบต่อสิทธิของบริษัท ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีชื่อโฉนดถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว บริษัท ส. ก็อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำสั่งนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งนั้น เพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส. มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวดีกว่าผู้ร้อง โดยไม่จำต้องไปฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ ดังนั้นผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีนี้ของศาลชั้นต้นที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยชอบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้อง เหตุเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในประเด็นเดียวกัน
ในคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาให้ได้ความจริงว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ประเด็นพิพาทในคดีจึงมีว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่
คดีก่อน โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องขอให้จำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. และ ส. ล้มละลาย แต่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า ส. ยังมีที่ดินอีก 11 แปลง ที่โจทก์อาจยึดมาชำระหนี้ได้ คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. และ ส. ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้จำเลยจึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกโดยอ้างว่า เมื่อได้ยึดที่ดินของ ส. ที่ปลอดจำนองทั้งหมดอีก 6 แปลงแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนเมื่อคู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันเป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเดียวกันและเหตุที่อ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวก็เป็นมูลเหตุเช่นเดียวกันซึ่งศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้อง หากประเด็นหนี้สินล้นพ้นตัวเคยถูกวินิจฉัยชี้ขาดแล้วในคดีก่อน
เดิมโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องขอให้จำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.และส. ล้มละลาย ศาลวินิจฉัยถึงที่สุดว่าส. ยังมีที่ดินอีก 11 แปลงที่โจทก์อาจยึดมาชำระหนี้ได้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.และส. ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ จำเลยจึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกโดยอ้างว่าเมื่อยึดที่ดินของ ส. ที่ปลอดจำนองทั้งหมดอีก 6 แปลงแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้เพียง 474,000 บาท ไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมดและจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีล้มละลายเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีล้มละลายเนื่องจากขาดนัดพิจารณา และข้อจำกัดในการขอให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขอศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณาเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดเวลาซึ่งโจทก์ได้ทราบนัดโดยชอบแล้ว และจำเลยแถลงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อไป กรณีนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่ง(เดิม) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งเช่นว่านี้ หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนำคดีที่ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีไปแล้วกลับมาทำการพิจารณาต่อไป เป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่นั่นเอง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีล้มละลายเนื่องจากโจทก์ขาดนัด และข้อจำกัดในการขอให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขอศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณาเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดเวลาซึ่งโจทก์ได้ทราบนัดโดยชอบแล้ว และจำเลยแถลงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อไป กรณีนี้ ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งเช่นว่านี้ หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนำคดีที่ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีไปแล้วกลับมาทำการพิจารณาต่อไป เป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่นั่นเอง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลทันที ทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ทนายโจทก์ได้รับสำเนาแล้วแถลงคัดค้านว่าทนายจำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ การแถลงคัดค้านของโจทก์ดังกล่าวเป็นการคัดค้านเพื่อประกอบดุลพินิจของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตต่อไปเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวให้ปรากฏไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แต่หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้แล้วไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ โจทก์จะถือเอาคำแถลงคัดค้านของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นการโต้แย้งคำสั่งโดยปริยายหาได้ไม่
of 44