พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งหนี้ทางไปรษณีย์ และผลของการปฏิเสธหนี้เกินกำหนดตามกฎหมายล้มละลาย
ลูกจ้างของผู้ร้องซึ่งอยู่ที่สำนักทำการงานของผู้ร้องมีอายุเกิน 20 ปี ได้รับหนังสือทวงหนี้จากผู้คัดค้านไว้เมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2531 จึงถือได้ว่ามีการส่งหนังสือทวงหนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ,76 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119,153ดังนี้ ผู้ร้องชอบที่จะปฏิเสธหนี้ต่อผู้คัดค้านภายใน 14 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับหนังสือทวงหนี้ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 6 มกราคม2532 โดยวันดังกล่าวมิใช่วันหยุดราชการ เมื่อผู้ร้องทำหนังสือปฏิเสธหนี้ถึงผู้คัดค้านในวันที่ 9 มกราคม 2532 ซึ่งเกินกำหนด14 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงหนี้ของผู้คัดค้าน ต้องถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งไปเป็นการเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งหนี้และการปฏิเสธหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย การพิจารณาวันได้รับแจ้งหนี้ที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคแรกไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิและ 76 มาใช้โดยอนุโลมตามมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ป. ลูกจ้างของผู้ร้องซึ่งอยู่ที่สำนักทำการงานของผู้ร้องมีอายุเกิน 20 ปี ได้รับหนังสือทวงหนี้จากผู้คัดค้านไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2531 ตามใบไปรษณีย์ตอบรับ ซึ่งถือได้ว่ามีการส่งหนังสือทวงหนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ,76แต่อย่างไรก็ยังถือเป็นเด็ดขาดไม่ได้ว่าผู้ร้องได้รับหนังสือทวงหนี้จากผู้คัดค้านในวันที่ส่งนั้น ผู้ร้องอาจนำสืบความจริงว่า ตนได้รับเมื่อใด เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าตนได้ตอบปฏิเสธหนี้ผู้คัดค้านภายในกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนและจำนองในคดีล้มละลาย และขอบเขตความรับผิดของผู้รับจำนองเมื่อไม่สามารถกลับสู่ฐานะเดิม
การร้องขอเพิกถอนการโอนหรือการกระทำตามมาตรา 114แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นอำนาจของผู้ร้องโดยเฉพาะที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่ง เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคน และประชาชนเพื่อที่ผู้ร้องจะจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายต่อไป การที่ผู้ร้องขออนุญาตแก้ไขคำร้องเดิมโดยเพิ่มคำว่า "สิ่งปลูกสร้าง" ลงในส่วนคำขอท้ายคำร้องขอเพิกถอนนั้น จึงเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานและเมื่อผู้คัดค้านไม่หลงผิดในคำร้องเดิมโดยได้คัดค้านและนำสืบพยานไว้แล้ว ผู้คัดค้านย่อมไม่เสียเปรียบและไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพื่อให้คัดค้านและนำสืบอีก การที่ผู้ร้องนำสืบว่า พ.เป็นตัวแทนของลูกหนี้ซื้อที่ดินแทนลูกหนี้นั้นเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงระหว่างกันในกรณีเป็นตัวแทนไม่ใช่นำสืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาหรือเกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาจะขายที่ดินโดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลกรณี จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจำนองแล้ว ก็เท่ากับไม่มีการจำนองรายที่ถูกเพิกถอนอีกต่อไป คู่กรณีตามสัญญาจำนองย่อมกลับสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่มีการจำนองกัน ไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งให้มีการชดใช้ราคาทรัพย์ในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานเพิ่มเติมในคดีล้มละลาย: ศาลมีอำนาจรับฟังได้หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่ต้องเป็นไปตามกระบวนการ
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเพื่อจะนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างคำพยานโจทก์และให้เห็นว่าตนมีทรัพย์สินซึ่งมีราคาพอชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือไม่ควรตกเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งเป็นประเด็นข้อสำคัญในคดี และพยานหลักฐานดังกล่าวก็เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว ก็มีอำนาจที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ซึ่งในชั้นนี้และในกรณีนี้หมายถึงมีอำนาจอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติม และทำการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้เอง ส่วนการสืบพยานที่จะกระทำต่อไปนั้น คู่ความยังคงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกระบวนพิจารณาที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 หรือมาตรา 89 เป็นต้นแล้วแต่กรณี วิธีการนำสืบพยานหลักฐานในคดีล้มละลายนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่มาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483บัญญัติไว้ว่าในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้ ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 นั้น มิได้หมายความว่าศาลจำต้องรับฟังพยานหลักฐานที่นำสืบโดยวิธีที่มิชอบด้วยกฎหมาย เอกสารแสดงการตีราคาทรัพย์สินที่บริษัทเอกชนทำขึ้นซึ่งจำเลยนำมาเป็นพยานหลักฐานด้วยการถ่ายสำเนามาโดยไม่มีต้นฉบับมาแสดงและโจทก์จำเลยมิได้ตกลงกันว่าสำเนาเอกสารฉบับดังกล่าวถูกต้องแล้ว ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่ศาลอนุญาตให้นำสำเนามาสืบเนื่องจากต้นฉบับหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นและมิใช่สำเนาเอกสารที่อยู่ในความอารักขาของทางราชการที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องรับรองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 แต่อย่างใดยิ่งกว่านั้นการนำสืบเอกสารดังกล่าวของจำเลยเป็นการนำสืบเพื่อหักล้างคำพยานโจทก์ที่นำสืบถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่กฎหมายสันนิษฐานว่า มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ในเวลาที่พยานโจทก์เบิกความ จำเลยหาได้นำเอกสารดังกล่าวมาถามค้านเพื่อให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายข้อความในเอกสารดังที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 กำหนดไว้ไม่ เอกสารดังกล่าวจึงเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยมิชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้คัดค้านแล้วดังนั้น เอกสารและคำพยานที่เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว จึงเป็นเอกสารและคำพยานที่ต้องห้าม จะรับฟังหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบพยานเพิ่มเติมในคดีล้มละลาย & การเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าโดยสุจริต
การที่คู่กรณีฝ่ายใดได้ให้ถ้อยคำหรือแสดงพยานหลักฐานอย่างใดต่อผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้แล้ว เมื่อมีปัญหาเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาล คู่กรณีฝ่ายนั้นย่อมมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนั้น ๆ ได้ แม้จะเป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงก็ตาม หามีกฎหมายห้ามไว้ไม่ เมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการสืบพยานหลักฐานเป็นไปโดยชอบแล้วพยานหลักฐานที่นำสืบก็ย่อมรับฟังได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านรับโอนสิทธิการเช่าอาคารและที่ดินราชพัสดุมาจากลูกหนี้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เป็นกรณีที่จะเพิกถอนการโอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ล้มละลายคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากราคาต่ำกว่าราคาตลาด และการเพิกถอนการขายทอดตลาด
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2ตาม มาตรา 22 คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้ แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่าราคาขายทอดตลาดดังกล่าวต่ำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาต่ำกว่าท้องตลาด จำเลยมีสิทธิคัดค้านได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่า การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตาม มาตรา 22
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้
แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังนับคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่า ราคาขายทอดตลาดดังกล่าวตำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้
แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังนับคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่า ราคาขายทอดตลาดดังกล่าวตำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
การที่ ศ. ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับเจ้าหนี้ซึ่งนอกจากจะมีข้อความระบุว่าเป็นการค้ำประกันหนี้เงินกู้ที่ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมเงินจากโจทก์ตามสัญญากู้ยืมและบันทึกข้อความต่อท้ายสัญญากู้ยืมแล้ว ตอนท้ายของสัญญาค้ำประกันดังกล่าวยังระบุด้วยว่าผู้ค้ำประกันสมัครใจค้ำประกันหนี้สินอื่น ๆ ทุกชนิด และทุกประเภทของผู้กู้ ทั้งที่มีอยู่แล้วหรือจะมีขึ้นในภายหน้าอันพึงมีต่อผู้ให้กู้ และ/หรือในนิติกรรมสัญญาใด ๆ ที่ผู้กู้ได้ทำไว้กับผู้ให้กู้ทั้งหมดจนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้ถูกต้องครบถ้วนด้วยดังนั้น เมื่อลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้อันดับที่ 2และอันดับที่ 3 ไว้ต่อเจ้าหนี้ย่อมต้องถือว่า ศ. ตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวด้วย เมื่อ ศ. นำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมิได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด การที่เจ้าหนี้นำไปจัดสรรชำระดอกเบี้ยของหนี้ทั้งสามอันดับตามส่วน ย่อยชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328และมาตรา 329 แล้ว การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้อันดับที่ 3 โดยอ้างส่งแต่เฉพาะสำเนาเอกสารเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าวเป็นพยาน แต่ไม่นำส่งต้นฉบับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้หมายนัดให้เจ้าหนี้ทราบโดยชอบ ทั้งไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังสำเนาเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารในสำนวนคดีล้มละลาย: การเปิดเผยเอกสารและอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
สำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย เอกสารใน สำนวนการสอบสวนดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่น ผู้ร้องสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้นกรณีเข้าข้อยกเว้น ที่ผู้คัดค้านไม่ต้องส่งสำเนาให้ผู้ร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90(1) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย: อำนาจสถานที่, การออกเสียง, และผลผูกพันคำสั่งศาล
การประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเป็นกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 31 มิได้บังคับว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกภายในเขตศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองจัดการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกที่ราชตฤณมัยสมาคม โดยคำนึงถึงความสะดวกของเจ้าหนี้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมีจำนวนหลายพันคนเป็นสำคัญ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งจำเลยทั้งสอง การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองจัดให้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกนอกเขตศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายคดีนี้ จึงกระทำได้โดยชอบ ในวันประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก การที่เจ้าหนี้บางรายกลับไปก่อนโดยไม่ร่วมพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก็เป็นสิทธิเฉพาะตัวของเจ้าหนี้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับว่าเจ้าหนี้ต้องอยู่ร่วมด้วยทุกคนเสมอไป ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองไว้เด็ดขาด ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานแล้วเห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองไม่อาจอ้างว่าตนไม่ใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเพื่อขอให้ศาลรอการพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายไว้ก่อนได้อีก