พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีล้มละลาย หากไม่โต้แย้งทันที ย่อมถูกตัดสิทธิการอุทธรณ์
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ทนายโจทก์ได้รับสำเนาแล้วแถลงคัดค้านว่าทนายจำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ การแถลงคัดค้านของโจทก์ดังกล่าวเป็นการคัดค้านเพื่อประกอบดุลพินิจของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตต่อไปเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวให้ปรากฏไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา153 แต่หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้แล้วไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์โจทก์จะถือเอาคำแถลงคัดค้านของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นการโต้แย้งคำสั่งโดยปริยายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีล้มละลายและการสืบพยานจำเลย ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตเลื่อนคดีหากจำเลยไม่เตรียมพยาน
คดีล้มละลาย ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก จำเลยไม่มาศาลศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและโจทก์นำพยานเข้าสืบในวันนัดแรกเพียงปากเดียวแล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไปการสืบพยานโจทก์จึงยังไม่เสร็จบริบูรณ์ ในนัดต่อมาทนายจำเลยมาศาลและได้ถามค้านพยานโจทก์ที่มาเบิกความ เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จทนายจำเลยขอสืบพยานตัวจำเลย ศาลชั้นต้นอนุญาตและนัดสืบพยานจำเลยต่อไปเช่นนี้ จำเลยนำพยานคือตัวจำเลยเข้าเบิกความได้เพราะจำเลยมาศาลเมื่อยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ขาดนัดพิจารณาหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบภายหลังที่ตนมาศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสาม (2) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153 ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานเมื่อจำเลยขอเลื่อนคดีและศาลชั้นต้นเห็นว่าการขอเลื่อนคดีไม่มีเหตุสมควรจึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ศาลชั้นต้นก็ต้องสั่งให้สืบพยานจำเลยในวันนั้น เพราะตัวจำเลยซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานจำเลยได้มาศาล ศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยไม่ได้เตรียมพยานมาพร้อมสืบตามที่ศาลชั้นต้นกำชับไว้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีซ้ำๆ และสิทธิในการสืบพยานหลังขาดนัดพิจารณาในคดีล้มละลาย
จำเลยขอเลื่อนคดีในการนัดสืบพยานจำเลยมา 2 ครั้ง แล้วซึ่งศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีโดยกำชับให้จำเลยเตรียมพยานให้พร้อมสืบเมื่อถึงวันนัดทนายจำเลยก็ขอเลื่อนคดีอีก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้และจำเลยมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรมดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี จึงชอบแล้ว
นัดสืบพยานโจทก์นัดแรก จำเลยไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและโจทก์นำพยานเข้าสืบในวันนัดแรกเพียงปากเดียว แล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไปการสืบพยานโจทก์จึงยังไม่เสร็จบริบูรณ์ในนัดต่อมาทนายจำเลยมาศาลและได้ถามค้านพยานโจทก์ที่มาเบิกความ เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จทนายจำเลยขอสืบพยานตัวจำเลย ศาลชั้นต้นอนุญาตและนัดสืบพยานจำเลยต่อไป เช่นนี้ จำเลยนำพยานคือตัวจำเลยทั้งสองเข้าเบิกความได้เพราะจำเลยมาศาลเมื่อยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ขาดนัดพิจารณาหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบภายหลังที่ตนมาศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสาม(2)(เดิม) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อจำเลยขอเลื่อนคดีและศาลชั้นต้นเห็นว่าการขอเลื่อนคดีไม่มีเหตุสมควร ศาลชั้นต้นก็ต้องสั่งให้สืบตัวจำเลยในวันนั้น เพราะตัวจำเลยซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานจำเลยได้มาศาลศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยไม่ได้เตรียมพยานมาพร้อมสืบตามที่ศาลชั้นต้นกำชับไว้ไม่ได้
นัดสืบพยานโจทก์นัดแรก จำเลยไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและโจทก์นำพยานเข้าสืบในวันนัดแรกเพียงปากเดียว แล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไปการสืบพยานโจทก์จึงยังไม่เสร็จบริบูรณ์ในนัดต่อมาทนายจำเลยมาศาลและได้ถามค้านพยานโจทก์ที่มาเบิกความ เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จทนายจำเลยขอสืบพยานตัวจำเลย ศาลชั้นต้นอนุญาตและนัดสืบพยานจำเลยต่อไป เช่นนี้ จำเลยนำพยานคือตัวจำเลยทั้งสองเข้าเบิกความได้เพราะจำเลยมาศาลเมื่อยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ขาดนัดพิจารณาหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบภายหลังที่ตนมาศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสาม(2)(เดิม) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อจำเลยขอเลื่อนคดีและศาลชั้นต้นเห็นว่าการขอเลื่อนคดีไม่มีเหตุสมควร ศาลชั้นต้นก็ต้องสั่งให้สืบตัวจำเลยในวันนั้น เพราะตัวจำเลยซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานจำเลยได้มาศาลศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยไม่ได้เตรียมพยานมาพร้อมสืบตามที่ศาลชั้นต้นกำชับไว้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในค่าเสียหายและราคาขาดประโยชน์จากการไม่ส่งมอบรถยนต์
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม และมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และตามมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดจากการเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองรถยนต์อยู่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยให้ผู้ค้ำประกันชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่วินิจฉัยว่าที่ศาลชั้นต้นฟังว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อมีราคาแท้จริงเท่าใด และกำหนดให้ผู้ค้ำประกันใช้ราคาแทนตามจำนวนดังกล่าวหากผู้ค้ำประกันไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบและเหมาะสมแล้ว ผู้ค้ำประกันมิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์ให้ผู้ค้ำประกันชดใช้แทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนสูงเกินไปหรือไม่ ถูกต้องอย่างไรแต่กลับฎีกาว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เพราะหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระงับไป ดังนี้ฎีกาของผู้ค้ำประกันมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
สัญญาเช่าซื้อมิได้ระบุถึงการสิ้นสุดของสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อจึงสิ้นสุดลงเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและให้ผู้ค้ำประกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากไม่สามารถส่งมอบคืนให้ใช้ราคาแทน เป็นเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ใช้สิทธิในฐานะลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกเอารถยนต์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดครอบครองรถยนต์ของลูกหนี้ ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายความได้สิทธิ ส่วนค่าเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3
ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยให้ผู้ค้ำประกันชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่วินิจฉัยว่าที่ศาลชั้นต้นฟังว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อมีราคาแท้จริงเท่าใด และกำหนดให้ผู้ค้ำประกันใช้ราคาแทนตามจำนวนดังกล่าวหากผู้ค้ำประกันไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบและเหมาะสมแล้ว ผู้ค้ำประกันมิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์ให้ผู้ค้ำประกันชดใช้แทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนสูงเกินไปหรือไม่ ถูกต้องอย่างไรแต่กลับฎีกาว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เพราะหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระงับไป ดังนี้ฎีกาของผู้ค้ำประกันมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
สัญญาเช่าซื้อมิได้ระบุถึงการสิ้นสุดของสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อจึงสิ้นสุดลงเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและให้ผู้ค้ำประกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากไม่สามารถส่งมอบคืนให้ใช้ราคาแทน เป็นเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ใช้สิทธิในฐานะลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกเอารถยนต์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดครอบครองรถยนต์ของลูกหนี้ ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายความได้สิทธิ ส่วนค่าเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้องเมื่อประเด็นทรัพย์สินและหนี้สินเคยวินิจฉัยแล้ว
คดีก่อนโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 144/2532 มาฟ้องขอให้จำเลย ล้มละลาย และศาลฎีกาได้หยิบยกเอาที่ดินที่จำเลยมีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นขึ้นวินิจฉัยว่า จำเลยมีทรัพย์สินที่โจทก์อาจยึดมาชำระหนี้ได้ กรณีไม่ต้องด้วยเหตุที่กฎหมายสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงยกฟ้อง ต่อมาโจทก์นำเอา มูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 144/2532 มาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีก โดยอ้างว่านำยึดที่ดินดังกล่าวแล้วแต่ติดจำนองและไม่มีผู้เข้าประมูล อีกทั้งหากขายได้ก็จะได้เงินส่วนของจำเลยไม่พอชำระหนี้ ดังนี้ หนี้สินและทรัพย์สินที่โจทก์กล่าวในฟ้องล้วนแต่เป็นหนี้สินและทรัพย์สินที่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีก่อน จึงเป็นการที่โจทก์รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่วินิจฉัยไว้แล้วในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถามแล้วไม่ปฏิเสธ ถือเป็นหนี้เด็ดขาด มีสิทธิบังคับคดีได้ภายใน 10 ปี
หนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้มีหนังสือทวงหนี้และจำเลยมิได้ปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งความ ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้กองทรัพย์สินของเจ้าหนี้เป็นการเด็ดขาดและถือเสมือนว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเสมือนหนึ่งว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดเวลาให้ปฏิเสธหนี้ อันถือเสมือนว่าเป็นวันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 มิใช่นับแต่วันที่ศาลออกคำบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในหนี้รายนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีแล้ว หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีในคดีล้มละลาย: นับจากวันถือเสมือนมีคำพิพากษา ไม่ใช่วันออกคำบังคับ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้มีหนังสือทวงหนี้ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ เป็นการดำเนินการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 เมื่อลูกหนี้มิได้ปฏิเสธหนี้ที่ทวงถามภายในกำหนดเวลา 14 วัน ต้องถือว่าลูกหนี้เป็นหนี้กองทรัพย์สินของเจ้าหนี้ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งไปเป็นการเด็ดขาด โดยถึงที่สุดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2529 อันเป็นวันถัดจากวันครบกำหนดเวลาให้ปฏิเสธหนี้ ต้องถือเสมือนว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2529 กรณีเช่นนี้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการบังคับคดีไว้โดยเฉพาะ ซึ่งมาตรา 153 กำหนดให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอบังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2529 อันถือเสมือนว่าเป็นวันมีคำพิพากษา มิใช่นับแต่วันที่ศาลออกคำบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย ไม่สามารถขอทุเลาการบังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231
คดีล้มละลาย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยต่อไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ประกอบกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายจะต้องดำเนินเป็นการด่วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 และ 153 จำเลยจะมาขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังเช่นการขอทุเลาการบังคับคดีแพ่งธรรมดาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 231 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีซ้ำๆ และการงดสืบพยาน: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันการประวิงคดี
กรณีที่คู่ความจะมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จะต้องเป็นคู่ความซึ่งศาลแสดงว่า ขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท
ฎีกาจำเลยที่ขอให้ไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ พอถือได้ว่าจำเลยมุ่งหมายจะให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้วให้จำเลยนำพยานเข้าสืบตามที่จำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้จึงต้องพิจารณาว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียง ครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้วจะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว
ฎีกาจำเลยที่ขอให้ไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ พอถือได้ว่าจำเลยมุ่งหมายจะให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้วให้จำเลยนำพยานเข้าสืบตามที่จำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้จึงต้องพิจารณาว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียง ครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้วจะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่สมเหตุผล และการงดสืบพยานในคดีล้มละลาย ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
กรณีที่คู่ความจะมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา207 ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 จะต้องเป็นคู่ความซึ่งศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท
ฎีกาจำเลยที่ขอให้ไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณา พอถือได้ว่าจำเลยมุ่งหมายจะให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้ว ให้จำเลยทั้งสองนำพยานเข้าสืบตามที่จำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ จึงต้องพิจารณาว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีมีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้วจะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยเคยได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีมาแล้ว 2 ครั้ง โดยปกติจำเลยไม่มีสิทธิขอเลื่อนคดีได้อีก ที่จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีในนัดที่ 3 โดยอ้างว่าจำเลยป่วยมีอาการท้องร่วงเช่นเดียวกับครั้งที่ 2 แม้จะมีใบรับรองแพทย์และท้ายคำร้องจะระบุว่า "เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต"คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยทั้งสองเช่นนี้ มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ในการเลื่อนคดีครั้งที่ 1 และที่ 2 ศาลชั้นต้นได้กำชับทนายความจำเลยว่า หากจำเลยขอเลื่อนคดีอีกไม่ว่าด้วยเหตุใด จะถือว่าจำเลยประวิงคดีและจะงดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยก็หาได้นำพาไม่ และจำเลยก็ไม่ได้นำพยานอื่นมาศาล ทั้งที่ตามบัญชีพยานจำเลยระบุพยานนำไว้หลายปากพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองส่อถึงความไม่เอาใจใส่หรือไม่ให้ความสำคัญแก่คดีของจำเลยเท่าที่ควรถือได้ว่าจำเลยทั้งสองประวิงคดี
ฎีกาจำเลยที่ขอให้ไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณา พอถือได้ว่าจำเลยมุ่งหมายจะให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้ว ให้จำเลยทั้งสองนำพยานเข้าสืบตามที่จำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ จึงต้องพิจารณาว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีมีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้วจะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยเคยได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีมาแล้ว 2 ครั้ง โดยปกติจำเลยไม่มีสิทธิขอเลื่อนคดีได้อีก ที่จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีในนัดที่ 3 โดยอ้างว่าจำเลยป่วยมีอาการท้องร่วงเช่นเดียวกับครั้งที่ 2 แม้จะมีใบรับรองแพทย์และท้ายคำร้องจะระบุว่า "เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต"คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยทั้งสองเช่นนี้ มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ในการเลื่อนคดีครั้งที่ 1 และที่ 2 ศาลชั้นต้นได้กำชับทนายความจำเลยว่า หากจำเลยขอเลื่อนคดีอีกไม่ว่าด้วยเหตุใด จะถือว่าจำเลยประวิงคดีและจะงดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยก็หาได้นำพาไม่ และจำเลยก็ไม่ได้นำพยานอื่นมาศาล ทั้งที่ตามบัญชีพยานจำเลยระบุพยานนำไว้หลายปากพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองส่อถึงความไม่เอาใจใส่หรือไม่ให้ความสำคัญแก่คดีของจำเลยเท่าที่ควรถือได้ว่าจำเลยทั้งสองประวิงคดี