พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขยายเวลาชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจขยายเวลาได้ ต้องเป็นอำนาจศาล
++ เรื่อง ล้มละลาย ++
++ (ชั้นคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9มิถุนายน 2540 เป็นคำสั่งที่สมบูรณ์มีผลบังคับแล้วหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ในคำร้องดังกล่าว (เอกสารหมาย ร.1) ปรากฏว่า นางอุษณีย์ อยู่แย้ม เกษียนสั่งเป็นคนแรกว่า หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินภายในวันดังกล่าว ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัด ให้ริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ประกาศขายทอดตลาดใหม่
++ ต่อมานางกรองกาญจน์สถิตมิลินทากาศ สั่งว่า ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัดให้ริบเงินมัดจำ และประกาศขายทอดตลาดต่อไป และนางกรองกาญจน์ยังได้เขียนบันทึกต่อไปว่า ขอประทานเสนอ ท่านอธิบดีเพื่อโปรดทราบ
++ นอกจากเกษียนสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์ดังกล่าวแล้วในคำร้องดังกล่าวยังปรากฏอีกว่า นายสำเร็จ บุษยากรณ์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมบังคับคดี ได้ลงลายมือชื่อรับทราบ พร้อมกับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า อธิบดีกรมบังคับคดีเห็นด้วยกับคำสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์แล้ว
++ คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 จึงสมบูรณ์และมีผลว่าหากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่ขาดในวันดังกล่าว ต้องริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ที่ผู้ซื้อทรัพย์วางไว้และประกาศขายทอดตลาดใหม่อันเป็นการยืนยันให้ผู้ซื้อทรัพย์ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งได้ขยายระยะเวลาวางเงินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งของผู้คัดค้านส่วนนี้ชอบแล้ว
++ แต่คดีนี้ ผู้ซื้อทรัพย์กลับยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีก และผู้คัดค้านมีคำสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยว่า คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไป ไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ จึงเป็นการไม่ชอบ ++
++ (ชั้นคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9มิถุนายน 2540 เป็นคำสั่งที่สมบูรณ์มีผลบังคับแล้วหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ในคำร้องดังกล่าว (เอกสารหมาย ร.1) ปรากฏว่า นางอุษณีย์ อยู่แย้ม เกษียนสั่งเป็นคนแรกว่า หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินภายในวันดังกล่าว ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัด ให้ริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ประกาศขายทอดตลาดใหม่
++ ต่อมานางกรองกาญจน์สถิตมิลินทากาศ สั่งว่า ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัดให้ริบเงินมัดจำ และประกาศขายทอดตลาดต่อไป และนางกรองกาญจน์ยังได้เขียนบันทึกต่อไปว่า ขอประทานเสนอ ท่านอธิบดีเพื่อโปรดทราบ
++ นอกจากเกษียนสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์ดังกล่าวแล้วในคำร้องดังกล่าวยังปรากฏอีกว่า นายสำเร็จ บุษยากรณ์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมบังคับคดี ได้ลงลายมือชื่อรับทราบ พร้อมกับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า อธิบดีกรมบังคับคดีเห็นด้วยกับคำสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์แล้ว
++ คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 จึงสมบูรณ์และมีผลว่าหากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่ขาดในวันดังกล่าว ต้องริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ที่ผู้ซื้อทรัพย์วางไว้และประกาศขายทอดตลาดใหม่อันเป็นการยืนยันให้ผู้ซื้อทรัพย์ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งได้ขยายระยะเวลาวางเงินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งของผู้คัดค้านส่วนนี้ชอบแล้ว
++ แต่คดีนี้ ผู้ซื้อทรัพย์กลับยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีก และผู้คัดค้านมีคำสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยว่า คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไป ไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ จึงเป็นการไม่ชอบ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขยายเวลาชำระหนี้จากการขายทอดตลาดอยู่ในอำนาจศาล ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจขยายเวลาเอง
ในคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ นอกจาก อ. และ ก. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เขียนเกษียนสั่งแล้ว ยังปรากฏว่า ส. รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดีได้ลงลายมือชื่อรับทราบพร้อมกับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงว่าอธิบดีกรมบังคับคดีเห็นด้วยกับคำสั่งของ อ. และ ก. แล้ว คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน2540 จึงสมบูรณ์ คำสั่งของผู้คัดค้านที่มีคำสั่งว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัดให้ริบเงินมัดจำและประกาศขายทอดตลาดใหม่จึงชอบแล้ว
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีกการขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไปไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ คำสั่งของผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีกการขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไปไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ คำสั่งของผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด ห้ามฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
คดีล้มละลายเรื่องก่อน ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาแล้วไม่มีการอุทธรณ์ต่อไป คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายคดีนี้ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด เพราะอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ประกอบด้วยพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้วโดยพิพากษายกฟ้องเพราะพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกันและข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้วโดยพิพากษายกฟ้องเพราะพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกันและข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: แม้ฟ้องก่อนคดีถึงที่สุด แต่ฟ้องซ้ำด้วยเหตุเดิมต้องห้าม
คดีล้มละลายเรื่องก่อน ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาแล้วไม่มีการอุทธรณ์ต่อไปคดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายคดีนี้ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด เพราะอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้วโดยพิพากษายกฟ้องเพราะพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกันและข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ แม้ฟ้องก่อนคดีถึงที่สุด การฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2540 และไม่มีการอุทธรณ์ต่อไป คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง คือวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุดเพราะอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายอีกโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกัน และข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายอีกโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกัน และข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ถือว่าทิ้งคำร้องแม้ผู้ร้องไม่ดำเนินการทันตามกำหนด หากศาลมิได้แจ้งคำสั่งและผู้ร้องยังมีความพยายาม
เมื่อเจ้าพนักงานเดินหมายส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยครั้งแรกไม่ได้ผู้ร้องได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยใหม่ แม้จะไม่ได้ยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้อง กลับสั่งให้คำแถลงของผู้ร้องว่า "ไม่พบ ให้ปิด" โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย และเมื่อพนักงานเดินหมายนำหมายนัดและสำเนาคำร้องไปส่งให้แก่จำเลยครั้งที่สอง ก็ส่งให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะไม่พบป้ายชื่อจำเลย ผู้จัดการจำเลย และไม่มีผู้รับหมายไว้แทนแต่มีผู้แจ้งว่าจำเลยย้ายสำนักงานไปนานแล้ว พนักงานเดินหมายจึงไม่ได้ปิดหมายศาลชั้นต้นสั่งในรายงานการเดินหมายว่า "รอผู้ร้องแถลง" โดยมิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ร้องทราบผู้ร้องไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้น ฉะนั้นแม้ผู้ร้องจะมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องต่อไป ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยถึงเกือบ 8 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รอผู้ร้องแถลง" ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อความว่าให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อปรากฏว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาตามหนังสือต่ออายุสัญญาดังกล่าว เจ้าหนี้และบริษัท พ. ยังคงมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อบริษัท พ. นำเงินเข้าฝากในรูปตั๋วเงินและกู้เงินโดยผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวันครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2531 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเท่านั้น และเจ้าหนี้คิดหักทอนบัญชีกับบริษัท พ. ในวันที่ 31 มกราคม 2533 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 และ 859 สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2538 เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนด 10 ปี หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความ
ลูกหนี้ที่ 4 ร่วมค้ำประกันหนี้ของบริษัท พ. เป็นเงิน 5,000,000 บาท แม้จะยอมตกลงค้ำประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง แต่ก็หาใช่รับผิดชำระหนี้แทนบริษัท พ. โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ คงรับผิดชำระหนี้เป็นเงิน 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น และการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ยอดหนี้ของบริษัท พ. อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยการนำเงินเข้าหรือถอนเงินออกจากบัญชี ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงินค้ำประกันเป็นต้นไป แต่ถ้าบริษัท พ. นำเงินมาชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่บริษัท พ. ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะได้มีการเบิกถอนจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนั้นอีก ฉะนั้น ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่ บริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้าย ตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อบริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้ายคือวันที่ 30 ธันวาคม 2526 ลูกหนี้ที่ 4 จึงต้องชำระดอกเบี้ยทบต้นให้แก่เจ้าหนี้นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2526 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2533 อันเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง แต่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นจากลูกหนี้ที่ 4 เกินกว่า 5 ปี เพราะอายุความในการเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ย้อนหลังไปเท่านั้น แต่จากวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระในส่วนนี้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100
ลูกหนี้ที่ 4 ร่วมค้ำประกันหนี้ของบริษัท พ. เป็นเงิน 5,000,000 บาท แม้จะยอมตกลงค้ำประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง แต่ก็หาใช่รับผิดชำระหนี้แทนบริษัท พ. โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ คงรับผิดชำระหนี้เป็นเงิน 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น และการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ยอดหนี้ของบริษัท พ. อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยการนำเงินเข้าหรือถอนเงินออกจากบัญชี ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงินค้ำประกันเป็นต้นไป แต่ถ้าบริษัท พ. นำเงินมาชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่บริษัท พ. ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะได้มีการเบิกถอนจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนั้นอีก ฉะนั้น ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่ บริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้าย ตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อบริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้ายคือวันที่ 30 ธันวาคม 2526 ลูกหนี้ที่ 4 จึงต้องชำระดอกเบี้ยทบต้นให้แก่เจ้าหนี้นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2526 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2533 อันเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง แต่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นจากลูกหนี้ที่ 4 เกินกว่า 5 ปี เพราะอายุความในการเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ย้อนหลังไปเท่านั้น แต่จากวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระในส่วนนี้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5360/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ของผู้ไม่เป็นคู่ความ: กรณีบุคคลภายนอกคดีล้มละลายไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันนำยึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาทซึ่งมีลูกหนี้ที่ 2 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์และจำนองไว้แก่ผู้ร้อง ส. ยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านว่าบ้านหลังดังกล่าวเป็นของตนขอให้ผู้คัดค้าน ถอนการยึด ผู้คัดค้านสอบสวน แล้วมีคำสั่งให้ถอนการยึด ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งกลับหรือแก้ไขคำสั่งของ ผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความใน คดีโดยยื่นคำคัดค้านต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านโดยไม่ให้ถอนการยึด ผู้คัดค้านไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ แต่ ส. อุทธรณ์ คู่ความในคดีคือ ผู้ร้องและผู้คัดค้านเท่านั้น ส่วนส.เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่ใช่คู่ความที่ถูกโต้แย้งสิทธิในชั้นนี้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ไม่มีสิทธิที่จะเข้ามาในคดีเพื่ออุทธรณ์ และฎีกาในคดีนี้ได้ สิทธิของ ส. จะมีอย่างไรเป็นเรื่องที่ส.จะต้องไปดำเนินการอีกเรื่องหนึ่งส. จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือแจ้งให้โอนทรัพย์สินจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ถือเป็นคำสั่งที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม
การที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องโอนที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นการกระทำในขั้นตอนของการจัดกิจการและทรัพย์สิน ของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ 24 แต่ตามหนังสือของผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงแจ้งข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายให้ผู้ร้องทราบ แม้ในตอนท้ายจะมี ข้อความขอให้ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 หาก ไม่ปฏิบัติตาม ผู้คัดค้านจะดำเนินการตามกฎหมายก็ตาม ก็มีลักษณะเป็นเพียงคำชี้แนะของผู้คัดค้าน มิใช่เป็นคำสั่ง หรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม ถ้าผู้ร้องเห็นว่า คำชี้แนะไม่ถูกต้อง ผู้ร้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ฉะนั้น ลำพัง หนังสือของผู้คัดค้านที่แจ้งไปยังผู้ร้องดังกล่าว จึงยังไม่เป็นการ กระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มี อำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งกลับหรือแก้ไขได้ ฎีกาผู้ร้องที่ว่า ภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด ผู้คัดค้านมิได้ตรวจสอบอายัดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1โดยเร็ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับซื้อที่ดินในภายหลังได้ รับความเสียหาย และผู้คัดค้านไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอน การโอนที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นโมฆะเพราะคดีขาดอายุความ เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้เป็นประเด็นประกอบ กับคดีนี้ศาลชั้นต้นงดไต่สวนคำร้องโดยเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ แล้วมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยข้อกฎหมาย จึงเป็นการที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องขอของ ผู้คัดค้านซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 คดีจึงเสร็จไปทั้งเรื่องตามปัญหาข้อกฎหมายดังที่วินิจฉัยแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่นตามฎีกาผู้ร้องอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และข้อโต้แย้งเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
คดียังคงเหลือประเด็นต้องวินิจฉัยเฉพาะจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น แต่พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ระบุพยานเพิ่มเติมซึ่งเป็นพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้นำพยานหลักฐานเฉพาะต่อจำเลยที่ 2 มานำสืบสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 เพราะเป็นพยานหลักฐานคนละส่วนกัน
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังบัญญัติไว้ในมาตรานี้เกิดขึ้นให้เชื่อไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนฟ้องเสมอไปไม่ แม้เจ้าหนี้มิได้ทวงถามหรือการทวงถามไม่ชอบตามมาตรา 8 (9) ดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ นำสืบได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่ฟ้อง เจ้าหนี้ก็มีอำนาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องตามคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องของจำเลยไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 โดยอ้างว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อปรากฏว่ากรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวมาตราใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งปัญหาดังกล่าวได้ล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา ซึ่งจำเลยก็มิได้ ยื่นคำคัดค้านหรือฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาด้วย กรณีจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ ทั้งไม่มีเหตุที่จะส่ง คำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังบัญญัติไว้ในมาตรานี้เกิดขึ้นให้เชื่อไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนฟ้องเสมอไปไม่ แม้เจ้าหนี้มิได้ทวงถามหรือการทวงถามไม่ชอบตามมาตรา 8 (9) ดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ นำสืบได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่ฟ้อง เจ้าหนี้ก็มีอำนาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องตามคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องของจำเลยไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 โดยอ้างว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อปรากฏว่ากรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวมาตราใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งปัญหาดังกล่าวได้ล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา ซึ่งจำเลยก็มิได้ ยื่นคำคัดค้านหรือฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาด้วย กรณีจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ ทั้งไม่มีเหตุที่จะส่ง คำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย