คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 153

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนได้ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดซึ่งพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,500 บาท และร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ แม้หนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แต่เมื่อรวมกับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แล้วก็ยังมีจำนวนน้อยกว่า 50,000 บาท ส่วนหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นการกำหนดให้จำเลยกระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างอันจำเลยจะพึงเลือกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 198 หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยจะต้องกระทำก่อนจึงเป็นหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน เมื่อโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อและมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลย และจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน และปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่ และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ กรณีจึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ หนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ดังนี้โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้
คดีล้มละลาย โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอน ทำให้ไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดซึ่งพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,500 บาท และร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์แม้หนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แต่เมื่อรวมกับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แล้วก็ยังมีจำนวนน้อยกว่า 50,000 บาทส่วนหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นการกำหนดให้จำเลยกระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างอันจำเลยจะพึงเลือกได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยจะต้องกระทำก่อนจึงเป็นหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน เมื่อโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อและมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลย และจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน และปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ กรณีจึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ หนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ดังนี้โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้ คดีล้มละลาย โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาทตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว, อายุความบังคับคดี, และการฟ้องซ้ำ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9หรือมาตรา 10 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีทรัพย์สินหลายอย่างเพียงพอชำระหนี้โจทก์ได้ แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในคำแก้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ แม้จำเลยมิได้นำสืบพยานมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นก็ตามแต่การที่จำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ได้โดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนให้เห็น จึงไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังเป็นความจริง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งเมื่อวันที่13 มิถุนายน 2529 แต่ในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าวจำเลยยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงย้ายไม่อาจอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมเพื่อบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ได้ทั้งอายุความในสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีกำหนดสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 ก็ยังไม่เริ่มนับเช่นกัน เนื่องจากมาตรา 193/12ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมถึงกำหนดที่จำเลยต้องชำระหนี้ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2529 แต่จำเลยผิดนัด โจทก์จึงอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมบังคับคดีได้ ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2529พร้อมกับอายุความในสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมที่เริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิร้องขอให้บังคับคดีและสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมยังไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ คดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว มีประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนคดีล้มละลายเรื่องนี้มีประเด็นว่า เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ การวินิจฉัยคดีสองเรื่องนี้จึงมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีล้มละลายและการบังคับคดี: การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อจำเลยผิดนัดชำระหนี้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีทรัพย์สินหลายอย่างเพียงพอชำระหนี้โจทก์ได้ แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในคำแก้อุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ทั้งที่จำเลยมิได้นำสืบพยานมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นก็ตาม แต่การที่จำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ได้โดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนให้เห็น จึงไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังเป็นความจริง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน2529 แต่ในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงยังไม่อาจอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมเพื่อบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 ได้ ทั้งอายุความในสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีกำหนดสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/32 ก็ยังไม่เริ่มนับเช่นกัน เนื่องจากมาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมถึงกำหนดที่จำเลยต้องชำระหนี้ในวันที่15 กรกฎาคม 2529 แต่จำเลยผิดนัด โจทก์จึงอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมบังคับคดีได้ ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม2529 พร้อมกับอายุความในสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมที่เริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 จึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิร้องขอให้บังคับคดีและสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมยังไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้
คดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว มีประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนคดีล้มละลายเรื่องนี้มีประเด็นว่า เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ การวินิจฉัยคดีสองเรื่องนี้จึงมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า/บริการจากบัตรเครดิต: การทดรองจ่ายไม่ใช่การเบิกเงินเกินบัญชี
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการค้า เจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้าของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้อง ชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสดแต่ร้านค้า และสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่ายไปเรียกเก็บเงิน จากเจ้าหนี้เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการ แทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้วจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ ได้ออกทดรองไป แต่การเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงิน จากโจทก์ไปโดยตรงหาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้า ของเจ้าหนี้ไปก่อนดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้า และบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงิน เกินบัญชีจึงมีลักษณะแตกต่างกัน แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีต่างมีวงเงิน กำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิต ซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้ สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัดมิให้ลูกค้าเบิกเงินจาก บัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่กำหนดใน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงิน ค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการ แทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจากวงเงินที่ให้สินเชื่อ บัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออก ทดรองไปสิ้นสุดลงและตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงินที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ ร้านค้าและสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ ออกทดรองแทนลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิต เจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้ง ดอกเบี้ยด้วย เจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตกรุงไทยของเจ้าหนี้ และการที่ เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการแทนลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงิน จากลูกหนี้ภายหลัง เป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ประกอบการค้ารับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป มีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา 193/14(1) ประกอบมาตรา 193/15 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าว ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจ บังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้อายุความจึงยัง ไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้น โต้เถียงในชั้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องเจ้าหนี้บัตรเครดิตและการล้มละลาย: การเบิกเงินเกินบัญชีกับสินเชื่อบัตรเครดิตมีลักษณะต่างกัน
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการเจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้าของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้องชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสดแต่ร้านค้าและสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่ายไปเรียกเก็บเงินจากเจ้าหนี้เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้วจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกทดรองไป แต่การเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยตรงหาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้าของเจ้าหนี้ไปก่อนดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีจึงมีลักษณะแตกต่างกัน
แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีต่างมีวงเงินกำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัดมิให้ลูกค้าเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่กำหนดในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงินค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการแทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจากวงเงินที่ให้สินเชื่อบัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองไปสิ้นสุดลงและตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงินที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองแทนลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิต เจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งดอกเบี้ยด้วย เจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตกรุงไทยของเจ้าหนี้ และการที่เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ภายหลัง เป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกเงินทดรองไป
สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ประกอบการค้ารับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7)ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา193/14 (1) ประกอบมาตรา 193/15 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นโต้เถียงในชั้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อเกิน 2 ปีนับจากวันที่ลูกหนี้ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้า เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการค้าโดยเจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้า ของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตนั้นไปซื้อสินค้าและบริการ จากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้องชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสด แต่ร้านค้าและสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่าย ไปเรียกเก็บเงินจากเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้ว จะเรียกเก็บเงินจากลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกทดรองไป ส่วนการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยตรง หาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้าของเจ้าหนี้ไปก่อน ดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชี จึงมีลักษณะแตกต่างกัน แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชี ต่างมีวงเงินกำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัด มิให้ลูกค้าเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่า วงเงินที่กำหนดในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่ เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงินค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการแทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจาก วงเงินที่ให้สินเชื่อบัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้ เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองไปสิ้นสุดลง และตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงิน ที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองแทน ลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตเจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตของเจ้าหนี้ และการที่เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ภายหลังจึงเป็นการเรียกเอาเงิน ที่เจ้าหนี้ได้ออกเงินทดรองไป คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าว ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจ บังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นโต้เถียง ในชั้นฎีกา เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการนำส่งเอกสารอุทธรณ์ล่าช้าและการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 7 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งได้โดยชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา70 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483ทั้งกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็เป็นเวลาที่สมควรแล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา174 (2) ซึ่งศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ ตามมาตรา 132 (1)ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมายไว้แล้วก็ตาม แม้หากจะฟังได้ว่าเป็นความจริง ก็หาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่
แม้กรณีจะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่มาตรา 132 แห่ง ป.วิ.พ.ที่ให้อำนาจศาลที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม สำหรับกรณีของผู้ร้องนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้อง ศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้ร้องจัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าปรับและค่าจ้างเพิ่มหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การลดหนี้จากหนังสือค้ำประกัน
เจ้าหนี้ตกลงว่าจ้างให้ลูกหนี้ทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต ท่อส่งน้ำถึงบ่อพักน้ำ บ้านพักพนักงานสูบน้ำ1 หลัง อาคารควบคุมระบบไฟฟ้าและโรงเก็บพัสดุ 1 หลังรั้วลวดหนามพร้อมประตูตาข่ายและป้ายชื่อสถานีฐานรองรับและท่อส่งน้ำ ณ สถานีสูบน้ำ กำหนดแล้วเสร็จภายใน250 วัน ลูกหนี้ได้รับการต่ออายุสัญญา 3 ครั้ง เป็นเวลา510 วัน ครบกำหนดส่งมอบงานในวันที่ 28 ตุลาคม 2532แต่ลูกหนี้ทำการก่อสร้างตามสัญญาไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์และไม่สามารถส่งมอบงานในวันที่ครบกำหนดดังกล่าว ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2536ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาเข้าทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำให้แล้วเสร็จตามสัญญาภายใน 15 วัน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิเสธ ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก่อสร้างตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122จนกระทั่งวันที่ 31 มกราคม 2537 เจ้าหนี้จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อสร้างแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และในการที่ลูกหนี้ผิดนัดผิดสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิปรับลูกหนี้เป็นรายวันตามสัญญาวันละ 3,627 บาท นับแต่วันที่ 29ตุลาคม 2532 เป็นต้นไป แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้ มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อน วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับ แก่เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวัน ดังนี้ มูลหนี้ ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลัง วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สิน ของลูกหนี้ได้ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 ตามสัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่าการที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน ตราบใดที่เจ้าหนี้ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเจ้าหนี้จะเรียกเอาเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะว่าจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างไม่ได้ การที่เจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาเมื่อเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ในการที่ลูกหนี้ทำสัญญาก่อสร้างคลองส่งน้ำกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำนวนเงิน 362,610 บาท มอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาแก่ลูกหนี้และในวันเดียวกันนั้นเจ้าหนี้ได้เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันและธนาคารดังกล่าวได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้วเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท ดังนั้น สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เงินค่าปรับรายวันโดยไม่หักจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท จึงไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าปรับและค่าจ้างจากการบอกเลิกสัญญาก่อสร้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ข้อจำกัดตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก้เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวันดังนี้ มูลหนี้ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94
ตามสัญญาก่อสร้างระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้ เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อเจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94
เมื่อปรากฏว่าธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
of 44