คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 153

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าปรับและค่าจ้างจากการบอกเลิกสัญญาก่อสร้างหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้: สิทธิในการรับชำระหนี้
แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก้เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวันดังนี้ มูลหนี้ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94
ตามสัญญาก่อสร้างระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้ เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อเจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94
เมื่อปรากฏว่าธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าปรับและค่าจ้างเพิ่มหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การลดหนี้จากหนังสือค้ำประกัน
เจ้าหนี้ตกลงว่าจ้างให้ลูกหนี้ทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต ท่อส่งน้ำถึงบ่อพักน้ำ บ้านพักพนักงานสูบน้ำ1 หลัง อาคารควบคุมระบบไฟฟ้าและโรงเก็บพัสดุ 1 หลังรั้วลวดหนามพร้อมประตูตาข่ายและป้ายชื่อสถานีฐานรองรับและท่อส่งน้ำ ณ สถานีสูบน้ำ กำหนดแล้วเสร็จภายใน250 วัน ลูกหนี้ได้รับการต่ออายุสัญญา 3 ครั้ง เป็นเวลา510 วัน ครบกำหนดส่งมอบงานในวันที่ 28 ตุลาคม 2532แต่ลูกหนี้ทำการก่อสร้างตามสัญญาไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์และไม่สามารถส่งมอบงานในวันที่ครบกำหนดดังกล่าว ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2536ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาเข้าทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำให้แล้วเสร็จตามสัญญาภายใน 15 วัน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิเสธ ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก่อสร้างตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122จนกระทั่งวันที่ 31 มกราคม 2537 เจ้าหนี้จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อสร้างแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และในการที่ลูกหนี้ผิดนัดผิดสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิปรับลูกหนี้เป็นรายวันตามสัญญาวันละ 3,627 บาท นับแต่วันที่ 29ตุลาคม 2532 เป็นต้นไป แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้ มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อน วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับ แก่เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวัน ดังนี้ มูลหนี้ ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลัง วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สิน ของลูกหนี้ได้ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 ตามสัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่าการที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน ตราบใดที่เจ้าหนี้ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเจ้าหนี้จะเรียกเอาเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะว่าจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างไม่ได้ การที่เจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาเมื่อเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ในการที่ลูกหนี้ทำสัญญาก่อสร้างคลองส่งน้ำกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำนวนเงิน 362,610 บาท มอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาแก่ลูกหนี้และในวันเดียวกันนั้นเจ้าหนี้ได้เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันและธนาคารดังกล่าวได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้วเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท ดังนั้น สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เงินค่าปรับรายวันโดยไม่หักจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท จึงไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าหุ้น: สิทธิเรียกร้องเกิดเมื่อมีคำบอกกล่าวเรียกชำระจากกรรมการบริษัท และไม่ขาดอายุความหากยังไม่มีการบอกกล่าว
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องถือหุ้นบริษัท จำเลยจำนวน 100 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 100,000 บาท ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้น ขณะจัดตั้งบริษัทเป็นเงิน 25,000 บาท คงค้างชำระเงินค่าหุ้น อีก 75,000 บาท แต่ในการวินิจฉัยปัญหาข้อที่ว่าสิทธิเรียกร้อง ในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระขาดอายุความหรือไม่ ศาลอุทธรณ์กลับฟังข้อเท็จจริงว่ากรรมการบริษัทจำเลย เรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 ให้ครบมูลค่าของหุ้น อันแสดงว่าผู้ร้องค้างชำระเงินค่าหุ้น เพียง 50,000 บาท เท่านั้น ฉะนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงขัดกันไม่เป็นไปในทางเดียวกันว่าผู้ร้อง ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอยู่เพียงใดศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริง ใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (3) (ก)ประกอบด้วยมาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 ตามบทบัญญัติมาตรา 1120 และ 1121 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้อำนาจกรรมการบริษัทจะเรียกผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ และเมื่อกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีก สิทธิเรียกร้องก็เกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการบริษัทส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเนื่องจากสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อกรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยจึงยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระอายุความจึงไม่เริ่มนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้คัดค้านจึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าหุ้น - การบอกกล่าวเรียกหุ้น - สิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย
ที่ผู้ร้องฎีกาว่า คดีฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นหนี้ค่าหุ้นบริษัทจำเลยจำนวน 75,000 บาท ตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างนั้น ล้วนเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีนี้คู่ความฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องถือหุ้นบริษัทจำเลยจำนวน 100 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาทรวมเป็นเงิน 100,000 บาท ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นขณะจัดตั้งบริษัทเป็นเงิน 25,000 บาท คงค้างชำระเงินค่าหุ้นอีก75,000 บาท แต่ในการวินิจฉัยปัญหาข้อที่ว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระขาดอายุความหรือไม่ศาลอุทธรณ์กลับฟังข้อเท็จจริงว่า กรรมการบริษัทจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระภายในวันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ซึ่งปรากฏข้อความว่ากรรมการบริษัทจำเลยเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 ให้ครบมูลค่าของหุ้น อันแสดงว่าผู้ร้องค้างชำระเงินค่าหุ้นเพียง 50,000 บาท เท่านั้นข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงขัดกัน ไม่เป็นไปในทางเดียวกันว่าผู้ร้องยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอยู่เพียงใดศาลฎีกาย่อมฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3)(ก)ประกอบด้วยมาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1120 และ 1121 ให้อำนาจกรรมการบริษัทจะเรียกผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ และเมื่อกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกสิทธิเรียกร้องก็เกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการบริษัทส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น สิทธิเรียกร้อง ในมูลหนี้เช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30แต่กรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น บริษัทจำเลยจึงยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระ อายุความย่อมไม่เริ่มนับสิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านในอันที่จะเรียกให้ผู้ร้องชำระจึงไม่ขาดอายุความ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดผู้คัดค้านจึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 25เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ตลอดมา โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิ่งยื่นคำร้องขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา และตามพฤติการณ์แห่งคดี ถือได้ว่าโจทก์ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป รวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 25ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีกับให้ยกคำร้อง ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังประสงค์จะเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องขอเข้าดำเนินคดีใหม่ หากโจทก์ยังคงดำเนินคดีเอง
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ตลอดมา โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิ่งยื่นคำร้องขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา และตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าโจทก์ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป รวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังประสงค์จะเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3845/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: เจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ และสิทธิในการร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้คัดค้าน
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่มีผู้ขอรับชำระหนี้ต่อศาล แม้จะมีความเห็นควรให้ได้รับชำระหนี้ แต่ความเห็นของผู้คัดค้านนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะศาลอาจพิจารณาวินิจฉัยและมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้น จึงย่อมไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้าน ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้อย่างไรแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
ข้อฎีกาของผู้ร้องที่ว่า ตามคำสั่งของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยให้ธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อเป็นกรณีเดียวกับที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้แก้ไขความเห็นของผู้คัดค้านโดยให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. แต่เมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านว่าก่อนที่ผู้ร้องฟ้องให้จำเลยล้มละลายเพียง 21 วัน ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจดทะเบียนจำนองที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมให้ไว้แก่ธนาคาร ก. ตามพฤติการณ์เป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ขอให้ผู้คัดค้านพิจารณายกคำร้องขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. ซึ่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้มีคำวินิจฉัยว่า ในปัญหาเรื่องการเพิกถอนการจำนองนั้น เนื่องจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนอง ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินและให้สินเชื่อแก่บุคคลทั่วไป การที่ลูกหนี้ (จำเลย)กู้เงินประจำเพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคาร ก.โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันซึ่งเป็นเรื่องปกติทางการค้าของธนาคาร จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนการโอนตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว ผู้คัดค้านวินิจฉัยให้ธนาคาร ก.ได้รับชำระหนี้ .. ย่อมแสดงว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าว ผู้คัดค้านเห็นไม่สมควรเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าวและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 และมีคำขอให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองตามสัญญจำนองที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.และให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องต่อไป จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินรายนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านแล้ว ผู้ร้องทั้งสองชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามมาตรา 146แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้
การเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115เพียงแต่ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตของเจ้าหนี้ผู้ถูกเพิกถอน
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537 ธนาคาร ก.ได้ให้จำเลยกู้เงินโดยจำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67669 และ 67670 ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองให้แก่ธนาคาร ก. แต่จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายในวันที่ 6 ตุลาคม2537 ธนาคาร ก.จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 115 การที่จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้กับธนาคาร ก.ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ย่อมจะทำให้ธนาคาร ก.เจ้าหนี้รายนี้แต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาของจำเลยว่ามุ่งหมายให้ธนาคาร ก.ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ๆ
ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน ขอให้เพิกถอนการจำนองโดยผลของกฎหมายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 การที่ผู้คัดค้านนำสืบหักล้างเพียงว่าธนาคาร ก.และจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้มาก่อน จึงไม่ขอเพิกถอนการจำนองให้ตามที่ผู้ร้องร้องขอนั้น เมื่อจำเลยกับธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้และต้องด้วยเงื่อนไขที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้ และผู้คัดค้านมีคำสั่งไม่ดำเนินการเพิกถอนการจำนองให้ผู้ร้อง จึงถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยหรือการกระทำของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 146 และกรณีตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก็ปรากฏว่ามีการขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองรายนี้โดยสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องที่ขอไว้กับผู้คัดค้านต่อไป เท่ากับว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 จึงชอบที่ศาลจะสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3845/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการจำนอง - ล้มละลาย - เจ้าหนี้ - มุ่งหมายให้ได้เปรียบ - มาตรา 115
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่มีผู้ขอชำระหนี้ต่อศาล แม้จะมีความเห็นควรให้ได้รับชำระหนี้ แต่ความเห็นของผู้คัดค้านนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะศาลอาจพิจารณาวินิจฉัยและมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ฉะนั้น จึงย่อมไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้าน ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้อย่างไรแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
ข้อฎีกาของผู้ร้องที่ว่า ตามคำสั่งของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยให้ธนาคาร ก. เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อเป็นกรณีเดียวกับผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้แก้ไขความเห็นของผู้คัดค้านโดยให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. แต่เมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันแต่ผู้คัดค้านเห็นไม่สมควรเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าวและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 และมีคำขอให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองตามสัญญาจำนองที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก. และให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องต่อไปจึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินรายนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านแล้ว ผู้ร้องทั้งสองชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้
การเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เพียงแต่ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตของเจ้าหนี้ผู้ถูกเพิกถอน
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537 ธนาคาร ก. ได้ให้จำเลยกู้เงินโดยจำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67669 และ 67670 ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองให้แก่ธนาคาร ก. แต่จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายในวันที่ 6 ตุลาคม 2537ธนาคาร ก. จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 การที่จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้กับธนาคาร ก. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ย่อมจะทำให้ธนาคาร ก. เจ้าหนี้รายนี้แต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาของจำเลยว่ามุ่งหมายให้ธนาคาร ก.ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ๆ
ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน ขอให้เพิกถอนการจำนองโดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 การที่ผู้คัดค้านนำสืบหักล้างเพียงว่าธนาคาร ก. และจำเลยไม่ได้เป็น เจ้าหนี้และลูกหนี้มาก่อน จึงไม่ขอเพิกถอนการจำนองให้ตามที่ผู้ร้องร้องขอนั้น เมื่อจำเลยกับธนาคาร ก. เป็นเจ้าหนี้และต้องด้วยเงื่อนไขที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้และผู้คัดค้านมีคำสั่งไม่ดำเนินการเพิกถอนการจำนองให้ผู้ร้อง จึงถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยหรือการกระทำของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 และกรณีตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก็ปรากฏว่ามีการขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองรายนี้โดยสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องที่ขอไว้กับผู้คัดค้านต่อไป เท่ากับว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 จึงชอบที่ศาลจะสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โดยไม่ต้องรอฎีกาถึงที่สุด
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลชั้นต้นว่า ไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นแสดงว่าคดีได้ดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติดังกล่าวครบถ้วนแล้วจึงเป็นการบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1ล้มละลายทันที แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาคัดค้านเกี่ยวกับศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาก็ไม่จำต้องรอให้ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวถึงที่สุดเพราะคดีล้มละลายต้องพิจารณาเป็นการด่วนตาม มาตรา 13 และ 153 หากต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายก็เป็นอันตกไปโดยปริยาย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายเป็นผลต่อเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของจำเลยเด็ดขาด และคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดนั้นได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีไว้แล้วมาตรา 61 ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ศาลพิพากษาให้จำเลย(ลูกหนี้) ล้มละลาย จึงไม่อาจนำมาตรา 141 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายโดยไม่จำต้องแสดงเหตุผลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 141แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีในคดีล้มละลาย: ศาลมีอำนาจพิจารณาให้งดการบังคับคดีได้ แต่ต้องดำเนินการโดยเคร่งครัดกว่าคดีแพ่งทั่วไป
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยปกติผู้ที่ถูกบังคับคดีย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ก่อนโดยแสดงเหตุผลให้ปรากฏในคำร้องส่วนศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ให้เหมาะสมแก่รูปคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 292(2)
การร้องขอให้เพิกถอนการโอน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายซึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ให้ดำเนินเป็นการด่วน เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนการโอน การบังคับคดีจึงต้องดำเนินการเป็นการด่วน เพื่อประโยชน์ในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลย ดังนั้นการพิจารณาให้งดการบังคับคดีจึงต้องกระทำโดยเคร่งครัดยิ่งกว่าคดีแพ่งสามัญ ข้ออ้างตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ว่า ผู้คัดค้านติดต่อเจรจาผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จนเจ้าหนี้ทุกรายพอใจ และเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วจะขอถอนคำขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านกระทำเองโดยผู้ร้องมิได้รับรู้ด้วยข้อตกลงใด ๆ ระหว่างผู้คัดค้านกับเจ้าหนี้หากจะพึงมี ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่อาจยกขึ้นใช้ยันผู้ร้องในชั้นนี้ได้ จึงหาเป็นเหตุที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ได้ไม่
of 44