พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเพิกถอนการโอนในคดีล้มละลาย: ศาลพิจารณาเหตุงดการบังคับคดีอย่างเคร่งครัด
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม การบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยปกติผู้ที่ถูกบังคับคดีย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งงด การ บังคับคดีไว้ก่อนโดย แสดงเหตุผลให้ปรากฏในคำร้องส่วนศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดี หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ให้เหมาะสมแก่รูปคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) การร้องขอให้เพิกถอนการโอน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายซึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153 ให้ดำเนินเป็นการด่วน เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนการโอน การบังคับคดีจึงต้องดำเนินการเป็นการด่วนเพื่อประโยชน์ในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยดังนั้นการพิจารณาให้งดการบังคับคดีจึงต้องกระทำโดยเคร่งครัดยิ่งกว่าคดีแพ่งสามัญ ข้ออ้างตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ว่า ผู้คัดค้านติดต่อเจรจาผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จนเจ้าหนี้ทุกรายพอใจ และเมื่อเจ้าหนี้ได้รับ ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วจะขอถอนคำขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านกระทำเองโดยผู้ร้องมิได้รับรู้ด้วยข้อตกลงใด ๆระหว่างผู้คัดค้านกับเจ้าหนี้หากจะพึงมี ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่อาจยกขึ้นใช้ยันผู้ร้องในชั้นนี้ได้ จึงหาเป็นเหตุที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง ให้งดการบังคับคดีไว้ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และความรับผิดในหนี้สิน
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่าจำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารเมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วโจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2หรือไม่ และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9) ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล้มละลาย: เอกสารมหาชน, ความรับผิดไม่จำกัด, พิทักษ์ทรัพย์
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่า จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว โจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการในคดีล้มละลาย และความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วน
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1021 และ 1022 หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2ที่ถูกเอกสารนั้นมายัน ต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารเมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วโจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่ และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะเมื่อจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ.มาตรา 1070 และ 1077
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วโจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่ และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะเมื่อจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ.มาตรา 1070 และ 1077
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินรวมในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมและการขายทอดตลาด
ปัญหาที่ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วกันเงินกึ่งหนึ่งที่ได้จากการขายทอดตลาดตามสิทธิของผู้ร้องทั้งสี่ให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ได้หรือไม่นั้นแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกเป็นข้อคัดค้านในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมีผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยมีบ้านเลขที่ 113/10ปลูกคร่อมอยู่โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ร้องทั้งสี่ได้ครอบครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนใดมาก่อน แสดงว่าผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยมิได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดผู้คัดค้านซึ่งมีหน้าที่จัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยจึงมีสิทธิยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเพื่อนำออกขายทอดตลาดได้ จะเจาะจงให้ผู้คัดค้านยึดเฉพาะส่วนของจำเลยและให้ขายทอดตลาดเฉพาะส่วนของจำเลยไม่มีทางจะกระทำได้ เรื่องเช่นนี้ แม้แต่ในกรณีระหว่างผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ถ้าการแบ่งกันเองไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ศาลก็ต้องสั่งให้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 วรรคสอง เมื่อผู้คัดค้านยืนยันให้ขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดจึงชอบที่จะปฏิบัติไปตามนั้นและผู้ร้องทั้งสี่ย่อมมีทางจะร้องขอให้แบ่งส่วนของตนตามสิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในทางการบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายและการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน การยอมรับข้อเสนอของเจ้าหนี้ทำให้สิทธิในการเพิกถอนสิ้นสุด
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนตามมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้โดยผู้คัดค้านที่ 3ได้ชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลย การที่ผู้คัดค้านที่ 3ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอผู้ร้องขอชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1,400,000 บาทแทนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (5)ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของผู้คัดค้านที่ 3แล้ว จึงเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านที่ 3 และโดยผลแห่งการประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิบังคับให้เพิกถอนการโอนอีกต่อไป กรณีไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนของผู้ร้อง และการที่จะพิจารณาฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 ที่คัดค้านการเพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับที่ 3 ย่อมไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้คัดค้านที่ 3 ออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ การถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนหลังประนีประนอมยอมความ
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนตามมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้โดยผู้คัดค้านที่ 3 ได้ชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลย การที่ผู้คัดค้านที่ 3 ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอผู้ร้องขอชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1,400,000 บาท แทนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 145(5) ดังนี้เมื่อปรากฏว่าที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ ผู้คัดค้านที่ 3 แล้ว จึงเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านที่ 3และโดยผลแห่งการประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิบังคับให้เพิกถอนการโอนอีกต่อไป กรณีไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนของผู้ร้อง และการที่จะพิจารณาฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 ที่คัดค้านการเพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับที่ 3 ย่อมไม่เป็นประโยชน์ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้คัดค้านที่ 3 ออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนเลิกแล้ว การชำระบัญชีไม่เสร็จ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างต่อนายทะเบียนไว้แล้วก่อนจะถูกโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแต่การชำระบัญชีก็ยังไม่เสร็จ ถือได้ว่าสภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ยังคงมีอยู่ต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 แต่ข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ย่อมต้องห้าม อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาลศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่เฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการบังคับคดีและการคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารกับให้ใช้ค่าเสียหาย เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวแล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นฎีกา ซึ่งเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการเก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นแม้แต่คำสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นก็จะใช้ยันแก่ จ.พ.ท.ของลูกหนี้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22(2) และมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจจะฎีกาขอให้ศาลในคดีนี้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือตัวแทนของโจทก์เข้าไปตรวจสอบรายรับรายจ่ายของรายได้จากเงินค่าเช่าทรัพย์สินที่พิพาท แล้วให้นำเงินค่าเช่าบางส่วนหลังจากหักค่าใช้จ่ายมาวางศาลให้ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของการพิทักษ์ทรัพย์ต่อคดีเช่า: สิทธิการบังคับคดีและการตรวจสอบรายรับรายจ่าย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารกับให้ใช้ค่าเสียหาย เมื่อปรากฎว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวแล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นฎีกา ซึ่งเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการเก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้แต่คำสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นก็จะใช้ยันแก่ จ.พ.ท.ของลูกหนี้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) และมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจจะฎีกาขอให้ศาลในคดีนี้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือตัวแทนของโจทก์เข้าไปตรวจสอบรายรับรายจ่ายของรายได้จากเงินค่าเช่าทรัพย์สินที่พิพาท แล้วให้นำเงินค่าเช่าบางส่วนหลังจากหักค่าใช้จ่ายมาวางศาลในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ มาตรา 264 ได้