พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3: หน้าที่ของคู่สัญญาในการขอจดทะเบียนและผลของการผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความซื้อขายที่ดินมี น.ส.3 ต่างมีหน้าที่ต้องไปที่ว่าการอำเภอเพื่อร้องขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทตามสัญญา ซึ่งทางอำเภอจะต้องประกาศการขอจดทะเบียนสิทธิและนิตกรรมการขายดังกล่าวก่อนมีกำหนด 30 วัน หากไม่มีผู้คัดค้านจึงจะดำเนินการจดทะเบียนให้ต่อไปได้ การที่จำเลยไม่ยอมไปทำคำขอประกาศทำนิติกรรมซื้อขาย โดยเกี่ยงให้โจทก์ชำระค่าที่ดินให้ก่อน จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ: การแจ้งสิทธิครอบครองและผลกระทบต่อการซื้อขาย
บุคคลผู้จะได้มาซึ่งที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งทำไว้ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ต้องจดแจ้งสัญญานั้นไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 120 วัน นับแต่วันพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ เมื่อได้มีการซื้อขายไปตามสัญญานั้นแล้วจึงจะถือว่าผู้ซื้อมีสิทธิในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ มิฉะนั้นจะมีผลให้ที่ดินตกเป็นของรัฐ ซึ่งผู้ยึดถือครอบครองอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน เว้นแต่บุคคลนั้นจะอ้างความคุ้มครองจากสิทธิครอบครองของผู้โอนที่ดินนั้นแก่ตนในฐานะผู้รับโอน (เทียบฎีกาที่ 1748/2505)
ในกรณีผู้โอนดังกล่าวได้มาซึ่งที่ดินโดยได้รับอนุญาตให้จับจองตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 แต่ยังมิได้รับคำรับรองว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ใช้บังคับนั้น ผู้โอนต้องขอคำรับรองภายใน 180 วันนับจากวันสิ้นสุดแห่งการจับจองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หรือหากระยะเวลาดังกล่าวได้สิ้นสุดลงก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ก็ให้ยื่นคำขอต่อนายอำเภอภายใน 180 วันนับแต่วันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ มิฉะนั้นจะถือว่าที่ดินนั้นเป็นอันปลอดจากการจับจองและตกเป็นของรัฐ อันมีผลให้ถือว่า ผู้นั้นเข้าครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฉะนั้น การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้โอนกับจำเลยเมื่อปี 2501 โดยผู้โอนมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจึงใช้ยันกันได้ระหว่างกันเท่านั้น จะใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่อาจอ้างความคุ้มครองจากสิทธิของผู้โอนที่พิพาทแก่ตนดังกล่าวจำเลยจึงต้องมีความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (เทียบฎีกาที่ 1061/2503)
ในกรณีผู้โอนดังกล่าวได้มาซึ่งที่ดินโดยได้รับอนุญาตให้จับจองตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 แต่ยังมิได้รับคำรับรองว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ใช้บังคับนั้น ผู้โอนต้องขอคำรับรองภายใน 180 วันนับจากวันสิ้นสุดแห่งการจับจองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หรือหากระยะเวลาดังกล่าวได้สิ้นสุดลงก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ก็ให้ยื่นคำขอต่อนายอำเภอภายใน 180 วันนับแต่วันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ มิฉะนั้นจะถือว่าที่ดินนั้นเป็นอันปลอดจากการจับจองและตกเป็นของรัฐ อันมีผลให้ถือว่า ผู้นั้นเข้าครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฉะนั้น การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้โอนกับจำเลยเมื่อปี 2501 โดยผู้โอนมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจึงใช้ยันกันได้ระหว่างกันเท่านั้น จะใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่อาจอ้างความคุ้มครองจากสิทธิของผู้โอนที่พิพาทแก่ตนดังกล่าวจำเลยจึงต้องมีความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (เทียบฎีกาที่ 1061/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การแจ้งการครอบครอง/น.ส.3 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิหากที่ดินเป็นทางสาธารณะ
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เพราะมีหนังสือแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1) และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เป็นพยานหลักฐานจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นทางสาธารณะ แผนที่ที่ดินที่ปรากฏตามสำเนา ส.ค.1 และ น.ส.3 ท้ายฟ้องโจทก์ยังไม่ถูกต้อง เพราะความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ เป็นการตั้งประเด็นโต้แย้งโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ กับปฏิเสธแผนที่ตามสำเนา ส.ค.1 และ น.ส.3ท้ายฟ้องโจทก์ว่า ยังไม่ถูกต้อง จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเพียงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์จริงดังโจทก์ฟ้องหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จึงต้องเป็นฝ่ายนำสืบก่อน
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของถนนหรือทางสาธารณะ แม้โจทก์จะแจ้งการครอบครองหรือมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของถนนหรือทางสาธารณะ แม้โจทก์จะแจ้งการครอบครองหรือมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076-1079/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: สิทธิของผู้รับโอนย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน แม้จะสุจริตและจดทะเบียน
ผู้ที่ไม่มีสิทธิในที่ดิน แม้จะได้ไปแจ้งการครอบครอง ได้รับ ส.ค.1 และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่นั้น
รับซื้อที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ที่มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น ผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิอย่างใด
รับซื้อที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ที่มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น ผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022-1024/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังเวนคืน: การขอรับรองการทำประโยชน์และการใช้เงินค่าทดแทน
โจทก์จับจองที่พิพาทและได้ขอคำรับรองการทำประโยชน์จากนายอำเภอภายในกำหนด 180 วันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 แล้ว แต่นายอำเภองดเสียเองเพราะเหตุนอกเหนือประมวลกฎหมายที่ดินนั้น จะถือว่าที่พิพาทปลอดจากการจับจองเพราะโจทก์มิได้ขอคำรับรองว่าทำประโยชน์แล้วตามมาตรา 7 มิได้
แม้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทที่ต้องเวนตืนจะมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนแล้วก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองที่พิพาทนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้หรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว หากยังไม่ได้ใช้หรือวางเงิน ก็จะอ้างว่าครอบครองได้สิทธิแล้วหาได้ไม่.
แม้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทที่ต้องเวนตืนจะมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนแล้วก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองที่พิพาทนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้หรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว หากยังไม่ได้ใช้หรือวางเงิน ก็จะอ้างว่าครอบครองได้สิทธิแล้วหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022-1024/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน แม้มี พ.ร.บ.เวนคืน แต่เจ้าหน้าที่จะเข้าครอบครองได้ต่อเมื่อได้ใช้เงินค่าทดแทน
โจทก์จับจองที่พิพาทและได้ขอคำรับรองการทำประโยชน์จากนายอำเภอภายในกำหนด 180 วันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 แล้ว แต่นายอำเภองดเสียเองเพราะเหตุนอกเหนือประมวลกฎหมายที่ดินนั้น จะถือว่าที่ดินพิพาทปลอดจากการจับจองเพราะโจทก์มิได้ขอคำรับรองว่าทำประโยชน์แล้วตามมาตรา 7 มิได้
แม้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทที่ต้องเวนคืนจะตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนแล้วก็ตามแต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองที่พิพาทนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้หรือได้วางเงินค่าทดแทนแล้ว หากยังไม่ได้ใช้หรือวางเงิน ก็จะอ้างว่าครอบครองได้สิทธิแล้วหาได้ไม่
แม้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทที่ต้องเวนคืนจะตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนแล้วก็ตามแต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองที่พิพาทนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้หรือได้วางเงินค่าทดแทนแล้ว หากยังไม่ได้ใช้หรือวางเงิน ก็จะอ้างว่าครอบครองได้สิทธิแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลัง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน: การเพิกถอนสิทธิการจับจองและอำนาจของเจ้าพนักงาน
ผู้ยื่นคำร้องขอจับจองที่ดินในระหว่างระยะเวลาที่พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 บังคับไว้ เมื่อมีพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดินประกาศใช้ ผู้นั้นก็มิได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำรับรองว่าที่ดินได้ทำประโยชน์แล้วในกำหนด 180 วันนับแต่ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับตามมาตรา 7 วรรค 2 ถือว่า ที่ดินนั้นปลอดจากการจับจอง ผู้นั้นเข้าครอบครองที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่โดยชอบ ซึ่งตามพระราชบัญญัติออกโฉนด ที่ ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 มาตรา 15 ก็ดี ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 32 ก็ดี ย่อมให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกคำสั่งบังคับให้ผู้ครอบครองที่ดินนั้น ออกไปจากที่ดินได้อยู่
นายอำเภอได้ออกคำสั่ง โดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่มาตรา 122 และพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 ให้ผู้ที่เข้าครอบครองที่ สาธารณะสมบัติของแผ่นดินออกไปจากที่ดินได้
นายอำเภอได้ออกคำสั่ง โดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่มาตรา 122 และพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 ให้ผู้ที่เข้าครอบครองที่ สาธารณะสมบัติของแผ่นดินออกไปจากที่ดินได้