พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5231/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้าขาดอายุความหนึ่งปี และการแสวงหากำไรจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่เข้าข้อยกเว้น
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 วรรคสอง (2) ยังต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่เพื่อประโยชน์ในธุรกิจของจำเลยที่ 1 คือ เพื่อใช้ในการออกแบบ เขียนแบบ และงานด้านเอกสาร เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 แสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่โดยนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสี่ อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามปกติของโจทก์ทั้งสี่ และเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสี่ จึงไม่เข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 อย่างไรก็ตาม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 เป็นการนำไปใช้ในการทำงานเกี่ยวกับเอกสารทั่วไป โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 นำไปใช้ในการออกแบบ เขียนแบบผลิตภัณฑ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 3 นำไปใช้ในการออกแบบซ่อมแซมเครื่องจักร และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 4 นำไปใช้ในการแปลภาษา โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวเป็นเวอร์ชันที่ใช้สำหรับองค์กรบริษัท จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันทำซ้ำหรือดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่เพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจผลิตอาหารและขนมของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้มีการนำไปใช้แสวงหากำไรจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวในเชิงพาณิชย์โดยตรง ดังนั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิได้ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่เพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 30 (1) เท่านั้น ซึ่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 66 บัญญัติแต่เพียงว่า "ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นความผิดอันยอมความได้" โดยไม่ได้กำหนดอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติใน ป.อ. ภาค 1 หมวด 9 ว่าด้วยอายุความมาใช้บังคับกับความผิดคดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง, 74 (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบมาตรา 30 (1) และ ป.อ. มาตรา 83 ซึ่งมีระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท กรณีจึงมีกำหนดอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4249/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: การโต้แย้งดุลพินิจ vs. ข้อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานภาค 8 ฟังข้อเท็จจริงว่า ตามสัญญาจ้างระบุค่าจ้างไว้ชัดเจนว่า โจทก์ตกลงรับค่าจ้างเดือนละ 60,000 บาท จึงฟังได้ว่า โจทก์มีเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นเงิน 60,000 บาท ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า แม้ค่าจ้างอีก 40,000 บาท จะไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาจ้าง แต่จำเลยตกลงจ่ายเงินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ตามจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล ตัวอย่างการชำระค่าจ้าง และใบสำคัญจ่ายเจ้าหนี้ เป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงตามพยานเอกสารอื่นขึ้นโต้แย้ง อันเป็นอุทธรณ์ที่มุ่งประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยังได้รับค่าตอบแทนอื่นที่กำหนดจำนวนแน่นอนอีกเดือนละ 40,000 บาท ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค 8 อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การรับสภาพหนี้อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้น บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้างค้างจ่ายของโจทก์เป็นเอกสารที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและบัญชีของจำเลยเป็นผู้จัดทำขึ้นแล้วจัดเก็บอยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในฐานข้อมูลของจำเลย แม้โจทก์ได้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้างค้างจ่ายดังกล่าวของโจทก์ แต่ไม่ปรากฏว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเป็นผู้จัดส่ง หรือแต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและบัญชีหรือลูกจ้างคนหนึ่งคนใดของจำเลย เป็นตัวแทนส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้างค้างจ่ายดังกล่าวไปยังโจทก์เพื่อเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้ให้แก่โจทก์ตามสิทธิเรียกร้องเพื่อให้ชำระหนี้ หรือเป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง อายุความตามสิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างชำระจึงไม่สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เรียกค่าจ้างที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 ด้วย สิทธิเรียกร้องค่าจ้างที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 จึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ได้กำหนดขั้นตอนให้ศาลแรงงานพิจารณาสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง แต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้แทน ซึ่งการที่นายจ้างจะรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปนั้นมิใช่พิจารณาเพียงนายจ้างอาจรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปได้เท่านั้น ยังต้องพิจารณาด้วยว่า นายจ้างกับลูกจ้างนั้นมีความเข้าใจอันดีต่อกันและกลับไปทำงานร่วมกันโดยไม่เป็นปัญหาแก่ทั้งสองฝ่าย หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ จึงจะกำหนดค่าเสียหายให้แทน ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายนี้ศาลแรงงานจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอย่างอื่นเกี่ยวกับลูกจ้างดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ประกอบการพิจารณาด้วย เมื่อศาลแรงงานภาค 8 เห็นว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ แต่ไม่ได้พิพากษาสั่งให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง แสดงว่าศาลแรงงานภาค 8 เห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานภาค 8 จะต้องกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แทน การที่ศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยว่า ก่อนหน้านั้น จำเลยประสบปัญหาทางการเงินอย่างมากและมีการฟื้นฟูกิจการ จึงเห็นสมควรไม่กำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์นั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ได้คำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ อันเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์แล้ว แต่ไม่กำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่นั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นดุลพินิจซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษและศาลฎีกาไม่อาจกำหนดเองได้ ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 8 กำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของ และศาลแรงงานภาค 8 ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะการทำงานของโจทก์ เวลาทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดพักผ่อนประจำปี สิทธิในการรับเงินโบนัส และการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ที่ไม่ปรากฏในคำให้การและยังเป็นอุทธรณ์ที่มุ่งประสงค์จะให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษรับฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่า ลักษณะการทำงานของโจทก์ เวลาทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดพักผ่อนประจำปี สิทธิในการรับเงินโบนัส และการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค 8 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การรับสภาพหนี้อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้น บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้างค้างจ่ายของโจทก์เป็นเอกสารที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและบัญชีของจำเลยเป็นผู้จัดทำขึ้นแล้วจัดเก็บอยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในฐานข้อมูลของจำเลย แม้โจทก์ได้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้างค้างจ่ายดังกล่าวของโจทก์ แต่ไม่ปรากฏว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเป็นผู้จัดส่ง หรือแต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและบัญชีหรือลูกจ้างคนหนึ่งคนใดของจำเลย เป็นตัวแทนส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้างค้างจ่ายดังกล่าวไปยังโจทก์เพื่อเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้ให้แก่โจทก์ตามสิทธิเรียกร้องเพื่อให้ชำระหนี้ หรือเป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง อายุความตามสิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างชำระจึงไม่สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เรียกค่าจ้างที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 ด้วย สิทธิเรียกร้องค่าจ้างที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 จึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ได้กำหนดขั้นตอนให้ศาลแรงงานพิจารณาสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง แต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้แทน ซึ่งการที่นายจ้างจะรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปนั้นมิใช่พิจารณาเพียงนายจ้างอาจรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปได้เท่านั้น ยังต้องพิจารณาด้วยว่า นายจ้างกับลูกจ้างนั้นมีความเข้าใจอันดีต่อกันและกลับไปทำงานร่วมกันโดยไม่เป็นปัญหาแก่ทั้งสองฝ่าย หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ จึงจะกำหนดค่าเสียหายให้แทน ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายนี้ศาลแรงงานจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอย่างอื่นเกี่ยวกับลูกจ้างดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ประกอบการพิจารณาด้วย เมื่อศาลแรงงานภาค 8 เห็นว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ แต่ไม่ได้พิพากษาสั่งให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง แสดงว่าศาลแรงงานภาค 8 เห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานภาค 8 จะต้องกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แทน การที่ศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยว่า ก่อนหน้านั้น จำเลยประสบปัญหาทางการเงินอย่างมากและมีการฟื้นฟูกิจการ จึงเห็นสมควรไม่กำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์นั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ได้คำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ อันเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์แล้ว แต่ไม่กำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่นั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นดุลพินิจซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษและศาลฎีกาไม่อาจกำหนดเองได้ ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 8 กำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของ และศาลแรงงานภาค 8 ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะการทำงานของโจทก์ เวลาทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดพักผ่อนประจำปี สิทธิในการรับเงินโบนัส และการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ที่ไม่ปรากฏในคำให้การและยังเป็นอุทธรณ์ที่มุ่งประสงค์จะให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษรับฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่า ลักษณะการทำงานของโจทก์ เวลาทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดพักผ่อนประจำปี สิทธิในการรับเงินโบนัส และการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค 8 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงนายจ้างและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 13 (เดิม) กรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลจะต้องเป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด แต่การที่จำเลยขายกิจการในแผนกคอนซูมเมอร์ เฮลแคร์ และโอนลูกจ้างรวมทั้งโจทก์ไปทำงานกับบริษัทที่ซื้อกิจการนั้นมิใช่การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคลหรือมีผลเป็นการโอนหรือควบรวมนิติบุคคลกับบริษัทดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง แต่เป็นการโอนสิทธิการเป็นนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคหนึ่ง ซึ่งการโอนสิทธิการเป็นนายจ้างจะกระทำได้ต่อเมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอในการโอนสิทธิการเป็นนายจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เอกสารหมาย ล.3 และ ล.4 ที่มีข้อความระบุว่า หากโจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอการโอนสิทธิการเป็นนายจ้างภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 จำเลยจะสันนิษฐานว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะรับข้อเสนอ และข้อเสนอถือว่าถูกเพิกถอนไป โดยจำเลยจะไม่มีตำแหน่งให้โจทก์อีกต่อไป นับแต่วันที่ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงหากโจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอของจำเลยภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 การจ้างงานของโจทก์จะสิ้นสุดลงในวันที่ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์นั้น แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า แต่เมื่อไม่ได้กำหนดวันที่จะเลิกจ้างไว้ให้ชัดเจนว่าจะเลิกจ้างโจทก์ในวันใด การบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าจึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 582
เอกสารหมาย ล.3 และ ล.4 ที่มีข้อความระบุว่า หากโจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอการโอนสิทธิการเป็นนายจ้างภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 จำเลยจะสันนิษฐานว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะรับข้อเสนอ และข้อเสนอถือว่าถูกเพิกถอนไป โดยจำเลยจะไม่มีตำแหน่งให้โจทก์อีกต่อไป นับแต่วันที่ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงหากโจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอของจำเลยภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 การจ้างงานของโจทก์จะสิ้นสุดลงในวันที่ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์นั้น แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า แต่เมื่อไม่ได้กำหนดวันที่จะเลิกจ้างไว้ให้ชัดเจนว่าจะเลิกจ้างโจทก์ในวันใด การบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าจึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 582
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนก่อการร้าย-อั้งยี่: หลักฐานแน่น ศาลฎีกายืนโทษจำคุก
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยกับพวกไปซื้อซิมการ์ดเพื่อนำไปใช้เป็นอุปกรณ์ในการทำและประกอบวัตถุระเบิด แล้วมีขบวนการก่อการร้ายนำวัตถุระเบิดดังกล่าวไปใช้ก่อเหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานสนับสนุนการก่อการร้ายโดยสะสมอาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สินเพื่อก่อการร้าย ฐานสนับสนุนการทำและประกอบวัตถุระเบิด และฐานสนับสนุนการก่อการร้ายโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย เพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย แต่เมื่อจำเลยกับพวกมีเจตนาเดียวในการกระทำความผิดทั้งสามฐานนี้ในคราวเดียวกัน จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานสนับสนุนการก่อการร้ายโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย เพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนการจดทะเบียนเมื่อเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมีสิทธิก่อนและอาจทำให้สับสน
คดีนี้โจทก์ฟ้องใจความว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าภาพลูกศรอยู่ระหว่างอักษร N และ M กับคำว่า นิวมอส และเครื่องหมายการค้าภาพสมอเรือ ลูกศร อยู่ระหว่างอักษร N และ M กับคำว่า นิวมอส โดยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนแล้วกับสินค้าจำพวกที่ 25 และจำพวกที่ 16 ต่อมาจำเลยนำคำว่า มอส ประกอบภาพสมอเรือไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้กับสินค้าประเภทชุดเครื่องแบบนักเรียน เสื้อ เสื้อกีฬา กางเกง และกางเกงกีฬา เช่นเดียวกับโจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ซึ่งต่อมาจำเลยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้ง 3 เครื่องหมายทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสามดังกล่าว กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเพราะเหตุว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียจึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนโดยไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดที่ต้องร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน
เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย มีลักษณะตัวอักษรของคำว่า มอส ที่ใช้ในเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยเป็นตัวอักษรหนาขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีเครื่องหมายการค้าใช้คำว่า ตรามอส ประกอบอยู่ด้วยในลักษณะเป็นการบ่งบอกยี่ห้อของสินค้า และเมื่อพิจารณาสินค้าที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยแล้ว พบว่าเป็นสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ กางเกง กระโปรง รองเท้า รองเท้าบู๊ท รองเท้าแตะ อันเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์ดังกล่าวใช้คำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญเช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเหมือนกัน ใช้กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ย่อมอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
ส่วนประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยได้สิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว จำเลยรับว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า มอส เป็นคำประกอบในเครื่องหมายการค้าของเสื้อผ้าชุดนักเรียนของโจทก์ที่โจทก์เป็นผู้ผลิตและจัดส่งให้แก่จำเลยเพื่อนำไปจำหน่าย โดยโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ก่อนที่จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนี้ โจทก์จึงได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ดีกว่าจำเลย
เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย มีลักษณะตัวอักษรของคำว่า มอส ที่ใช้ในเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยเป็นตัวอักษรหนาขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีเครื่องหมายการค้าใช้คำว่า ตรามอส ประกอบอยู่ด้วยในลักษณะเป็นการบ่งบอกยี่ห้อของสินค้า และเมื่อพิจารณาสินค้าที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยแล้ว พบว่าเป็นสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ กางเกง กระโปรง รองเท้า รองเท้าบู๊ท รองเท้าแตะ อันเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์ดังกล่าวใช้คำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญเช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเหมือนกัน ใช้กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ย่อมอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
ส่วนประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยได้สิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว จำเลยรับว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า มอส เป็นคำประกอบในเครื่องหมายการค้าของเสื้อผ้าชุดนักเรียนของโจทก์ที่โจทก์เป็นผู้ผลิตและจัดส่งให้แก่จำเลยเพื่อนำไปจำหน่าย โดยโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ก่อนที่จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนี้ โจทก์จึงได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ ขาดเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยาและมีบุตรด้วยกัน เพิ่งเลิกคบหากันก่อนเกิดเหตุเพียงหนึ่งเดือน ความสัมพันธ์ยังคงมีอยู่ไม่ถึงกับตัดขาดทีเดียว การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ตามหาผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่เพิ่งมีปากเสียงกัน จำเลยจึงอยู่ในสภาวะอารมณ์ขุ่นเคืองและโกรธ มากกว่าที่จะวางแผนหรือใคร่ครวญตรึกตรองหาวิธีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 เมื่อจำเลยเห็นผู้เสียหายที่ 2 บริเวณบ้านที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ จำเลยเลี้ยวรถกลับไปจอดหน้าบ้านที่เกิดเหตุแล้วเดินเข้าไปหา ผู้เสียหายที่ 2 เห็นจำเลยก็วิ่งหนี จำเลยวิ่งตามไปใช้อาวุธมีดที่พกติดตัวมาแทงทำร้าย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ได้รับอันตรายสาหัส เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า จำเลยกระทำไปโดยขาดความยับยั้งชั่งใจและขาดสติด้วยคิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ตีจากและหันไปคบกับผู้เสียหายที่ 3 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลาง: เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องพิสูจน์ได้ และค่าใช้จ่ายในการส่งหมายแจ้งคู่ความเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เข้าข่ายค่าธรรมเนียม
ที่ผู้ร้องฎีกาทำนองว่า พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรัพย์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด เห็นว่า คดีร้องขอคืนของกลางมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดหรือไม่เท่านั้น แต่ประเด็นดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ร้องฎีกามานั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ต่อสู้ไว้ ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนของกลางไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในประเด็นดังกล่าว
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินค่านำส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้คู่ความทราบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้ร้องฎีกาทำนองว่า คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำร้องและหมายศาล เห็นว่า แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยในข้อนี้มานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินค่านำส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้คู่ความทราบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้ร้องฎีกาทำนองว่า คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำร้องและหมายศาล เห็นว่า แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยในข้อนี้มานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลายื่นฎีกาและการวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
ศาลจังหวัดกำแพงเพชรอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 แล้วศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้โจทก์และทนายจำเลยฟังวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ไม่ใช่วันที่อ่านให้ทนายจำเลยฟัง จำเลยมีอำนาจยื่นฎีกาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง จึงต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลย โดยไม่มีพฤติการณ์พิเศษและไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟัง