พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6825/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยเจตนาทุจริตตั้งแต่แรกทำสัญญา โอนสิทธิเรียกร้องก่อนทำสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 2 มีเจตนาทุจริตตั้งแต่ในขณะที่ทำสัญญาร่วมดำเนินการกับโจทก์ โดยไม่เปิดเผยความจริงที่โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีตามสัญญาดังกล่าวซึ่งควรบอกให้แจ้งให้แก่ผู้ทำการแทนโจทก์ทราบ ก็เพื่อให้ผู้ทำการแทนโจทก์หลงเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิรับเงินค่าขายจากผู้ซื้ออันเป็น กรณีปกติของการค้า อันเป็นอุบายของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการหลอกลวง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินเครื่องส่งโทรทัศน์สีดังกล่าวจากโจทก์ ซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นสิทธิที่จะได้รับชำระเงินจำนวน 13,000,000 บาทเศษอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงมือกระทำต้องรับผิดเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยการให้คำรับรองเท็จเพื่อหลอกลวงเอาทรัพย์สิน ผู้กระทำมีความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยติดต่อขอซื้อข้าวเปลือกจากผู้เสียหาย โดยขอชำระราคาด้วยเช็คที่ ว.เป็นผู้ลงชื่อสั่งจ่ายให้ไว้ และจำเลยพูดรับรองว่าหากเช็คที่จำเลยมอบให้ขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยจะเป็นผู้รับผิดชอบเองโดยจะขายนา 30 ไร่ ของจำเลยมาชำระราคาข้าวเปลือกให้แก่ผู้เสียหายจนครบ ดังนี้ การที่ผู้เสียหายยินยอมขายข้าวเปลือกตามฟ้องให้แก่จำเลยกับพวกโดยยอมรับเช็คซึ่ง ว.สั่งจ่ายไว้เพื่อการชำระราคาข้าวเปลือก ก็เพราะจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง เมื่อผู้เสียหายนำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้จำเลยกลับปฏิเสธความรับผิดไม่ยอมรับรู้ใด ๆ ทั้งสิ้น อ้างว่าตนเป็นเพียงนายหน้าให้ ว.เท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงเพื่อเอาข้าเปลือกของผู้เสียหายทั้งสาม มีแผนการร่วมกับ ว.เจ้าของเช็ค โดยการให้คำรับรองด้วยข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้เสียหายมาแต่ต้น จนผู้เสียหายหลงเชื่อยอมมอบข้าวเปลือกให้แก่จำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกฉ้อโกงโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของผู้เสียหายที่ร่วมมือให้จำเลยติดสินบนเจ้าพนักงานเพื่อช่วยเหลือบุตร ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้อง
บุตรผู้เสียหายต้องหาว่าลักทรัพย์บุคคลอื่น จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านรับจะช่วยเหลือให้หลุดพ้นแต่ต้องให้เงินแก่จำเลยเพื่อเอาไปให้พนักงานสอบสวน ผู้เสียหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลย โดยประสงค์ที่จะให้บุตรของตนไม่ต้องรับโทษนั้น เข้าลักษณะเป็นการที่ผู้เสียหายใช้ให้จำเลยไปกระทำผิด จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวได้
แต่พนักงานอัยการย่อมมีสิทธิดำเนินคดีขอให้ลงโทษจำเลยฐานเรียกเอาเงินเพื่อจะเอาไปจูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของจำเลย เพื่อไม่ให้กระทำการอันเป็นโทษแก่บุตรผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143 อันเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดินได้.
แต่พนักงานอัยการย่อมมีสิทธิดำเนินคดีขอให้ลงโทษจำเลยฐานเรียกเอาเงินเพื่อจะเอาไปจูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของจำเลย เพื่อไม่ให้กระทำการอันเป็นโทษแก่บุตรผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143 อันเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดินได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง: การอุทธรณ์คดีทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลงจนกว่าจะมีคำสั่งศาลอุทธรณ์
จำเลยทำผิดฐานฉ้อโกงตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304 เหตุเกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2492 และถูกฟ้องที่ศาลแขวง พระนครใต้ ศาลแขวงพระนครใต้พิพากษาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2492 ให้ยกฟ้อง อ้างว่าคดีเกินอำนาจศาลแขวง จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ระหว่างอุทธรณ์ จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์ได้ โจทก์ และจำเลยได้ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2493 โจทก์ยืนฟ้องจำเลย ต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2498 จากวันที่ 16 ตุลาคม 2493 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2498 ยังไม่ล่วงพ้น กำหนด 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะระหว่างก็ที่จำเลย ยังอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลแขวงพระนครใต้อยู่นั้น ต้องถือว่าคดีมีจำเลยถูกฟ้องนี้ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 79 ถือว่าอายุความยังสดุดหยุดอยู่ตลอดมาจนถึงวันที่ จำเลยได้ฟังคำสั่ง ของศาลอุทธรณ์ คือวันที่ 16 ตุลาคม 2493 ที่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2503)