คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันทำให้สาธารณชนสับสน และการมีอำนาจฟ้องคดี
แม้โจทก์ไม่มีตัวผู้มอบอำนาจมาเบิกความก็ตาม แต่มี ธ.ผู้รับมอบอำนาจเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจและคำแปลภาษาไทยซึ่งโนตารีปับลิกแห่งมลรัฐเท็กซัสรับรองว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐเท็กซัสจ.เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์และลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อ จ. ประกอบกับมีหนังสือรับรองของรัฐมนตรีแห่งมลรัฐเท็กซัสรับรองโนตารีปับลิกและมีหนังสือรับรองของกงสุลไทย ณ นครลอสแองเจลีสรับรองดวงตราและลายมือชื่อรัฐมนตรี จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นทั้งไม่มีเหตุควรสงสัยว่าไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามข้อความที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญเพราะเลข 7 มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 ของจำเลยมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นเพียงรายละเอียดไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรELEVEn ของโจทก์ และBIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4ตัวท้ายเขียนเหมือนกันและอักษรตัว n ท้ายสุดเป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกัน ลักษณะการวางรูปแบบเครื่องหมายการค้าเหมือนกันคืออักษรพาดกลางตัวเลข เมื่อคำนึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกัน และโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลยจนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยการที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชนและเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงและการลวงสาธารณชน
โจทก์ไม่มีตัวผู้มอบอำนาจมาเบิกความแต่โจทก์มีผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจและคำแปลภาษาไทยว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายของมลรัฐเท็กซัส จำเลยทั้งสามมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นทั้งไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามข้อความที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้า 7-ELEVEn ของโจทก์และ7-BIGSEVEn ของจำเลยต่างมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญ เพราะเลข 7 มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 อารบิคของจำเลยจะมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับเลข 7 อารบิคของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นแต่เพียงรายละเอียด ไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์ และคำว่า BIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4 ตัวท้ายเขียนเหมือนกัน และอักษรตัว n ท้ายสุดก็เป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกันลักษณะการวางรูปแบบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกัน กล่าวคืออักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์พาดกลางตัวเลข 7 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น อักษรโรมันคำว่าBIGSEVEn ก็พาดกลางตัวเลข 7 อารบิคเช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงคล้ายกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ในภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างกัน จึงถือได้ว่าการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้มาก่อนจำเลย จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย การที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมาย-การค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชน และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายที่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการเลียนแบบและละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้า 7-ELEVEn ของโจทก์และ 7-BIGSEVEnของจำเลยต่างมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญ เพราะเลข 7มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 อารบิคของจำเลยจะมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับเลข 7 อารบิคของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรโรมันคำว่า ELEVEnของโจทก์ และคำว่า BIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4 ตัวท้ายเขียนเหมือนกัน และอักษรตัว n ท้ายสุดก็เป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกันลักษณะการวางรูปแบบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกัน กล่าวคืออักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์พาดกลางตัวเลข 7 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น อักษรโรมันคำว่า BIGSEVEnก็พาดกลางตัวเลข 7 อารบิคเช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงคล้ายกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ในภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างกันจึงถือได้ว่าการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้มาก่อนจำเลย จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยการที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชน และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อการจดทะเบียน: หลักเกณฑ์และข้อพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียน ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดำเนินการจดทะเบียนให้นั้นคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยให้การว่า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทในการชี้สองสถานไว้ว่า คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ย่อมมีความหมายจำกัดเฉพาะประเด็นที่โต้เถียงกันในคำฟ้องคำให้การเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คำวินิจฉัยของจำเลยชอบแล้วเพราะเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนได้มีการจดทะเบียนในต่างประเทศผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศโดยสุจริตแม้เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันก็ตาม นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมรับจดทะเบียนได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 18คำวินิจฉัยของจำเลยในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ให้รับจดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนประกอบ 3 ส่วน ส่วนบนเป็นอักษรโรมันคำว่า "ANCHORBRAND" มีลักษณะโค้งเลี้ยวเป็นวงกลมคว่ำลง ส่วนกลางเป็นรูปสมอเรือและส่วนล่างเป็นอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราสมอ" ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็นอักษรโรมัน 2 คำ อยู่ตรงบรรทัดเดียวกัน คำหนึ่งว่า "ULYSSE"อีกคำหนึ่งว่า "NARDIN" ระหว่างคำทั้งสองนี้มีรูปภาพสมอเรือตั้งเอียงไปทางขวาเล็กน้อย ลักษณะภาพสมอเรือเองตัดกับอักษรโรมันเป็นรูปกากบาท เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนแล้ว ลักษณะโครงสร้างหรือการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองรายต่างกันมากเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนเครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งของโจทก์เป็นรูปสมอเรือ (ไม่มีโซ่) ตั้งอยู่บนข้อความอักษรโรมันว่า "SPERA"แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนทั้งในภาพรวมตัวรูปสมอเรือ การวางรูป ข้อความภาษาโรมันเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจึงไม่คล้ายกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และข้อยกเว้นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ใช้ในต่างประเทศ
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าตามคำขอของผู้ขอจดทะเบียนเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงได้ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนต่อจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยวินิจฉัยว่าเครื่องหมาย-การค้าของผู้ขอจดทะเบียนไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงยกคำคัดค้านของโจทก์และให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียน โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของจำเลย เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลย จำเลยให้การว่า เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ชอบที่จะให้จดทะเบียนได้ ฉะนั้น ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นในการชี้สองสถานไว้ว่าคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ย่อมมีความหมายจำกัดเฉพาะในประเด็นที่โต้เถียงกันในคำฟ้องคำให้การเท่านั้น กล่าวคือ มีประเด็นว่าคำวินิจฉัยของจำเลยชอบด้วยกฎหมายเพราะเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียน ไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ นั่นเอง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนได้มีการจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศโดยสุจริต แม้เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันก็ตาม นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมรับจดทะเบียนได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2478 มาตรา 18 คำวินิจฉัยของจำเลย จึงชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนได้มีการจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศโดยสุจริต นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมรับจดทะเบียนได้ จึงพิพากษายกฟ้อง แม้โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น แต่จำเลยก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขดจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลอุทธรณ์จึงได้วินิจฉัยต่อไป ในประเด็นที่ว่าเครื่องการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ แล้วพิพากษากลับ ให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของผู้ขอจดทะเบียนประเด็นที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่นี้จึงยังไม่ยุติ จำเลยชอบที่จะฎีกาต่อมาได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2 นั้นมีส่วนประกอบสามส่วนคือ ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่าง ส่วนบนเป็นอักษรโรมัน คำว่า "ANCHOR BRAND" ในลักษณะโค้งเลี้ยวเป็นวงกลมคว่ำลง ส่วนกลางเป็นรูปสมอเรือ และส่วนล่างเป็นอักษรภาษาไทยว่า "ตราสมอ" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.8 นั้น มีสองส่วน ส่วนบนเป็นรูปสมอเรือ (ไม่มีโซ่) ส่วนล่างเป็นตัวอักษรโรมันว่า "SPERA" ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียน ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น มีอักษรโรมันสองคำ อยู่ตรงบรรทัดเดียวกัน คำหนึ่งว่า "ULYSSE" อีกคำหนึ่งว่า"NARDIN" ระหว่างคำทั้งสองนี้มีรูปภาพสมอเรือตั้งเอียงไปทางขวาเล็กน้อยในลักษณะภาพสมอเรือเองตัดกับอักษรโรมันเป็นรูปกากบาท ฉะนั้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.2กับเครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย ล.1 แล้วจะเห็นได้ว่าลักษณะโครงสร้างหรือการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองรายนี้ต่างกันมากรูปสมอเรือก็ต่างกันมากทั้งลายเส้น แนวตั้ง และส่วนประกอบที่มีโซ่กับไม่มีโซ่ อักษรโรมันเป็นคนละคำ และวางอยู่คนละตำแหน่ง ลักษณะการวางของโจทก์เป็นบรรทัดโค้ง ส่วนของผู้ขอจดทะเบียนเป็นบรรทัดตรงทั้งการที่ของโจทก์มีอักษรภาษาไทย ส่วนของผู้ขอจดทะเบียนไม่มีอักษรภาษาไทย ย่อมเป็นความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.8 กับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปสมอเรือ (ไม่มีโซ่) ตั้งอยู่บนข้อความอักษรโรมันว่า "SPERA" ส่วนของผู้ขอจดทะเบียนมีลักษณะรูปกากบาทระหว่างรูปสมอเรือตัดกับอักษรโรมันรูปสมอเรือของโจทก์เป็นรูปภาพเหมือนตั้งตรงของผู้ขอจดทะเบียนเป็นภาพสเก็ตตั้งเอียง ข้อควมอักษรโรมันก็เป็นคนละคำ จึงแตกต่างกันทั้งในภาพรวม ตัวรูปสมอเรือ การวางรูป และข้อความภาษาโรมันเครื่องหมายการค้าทั้งสองนี้จึงไม่คล้ายกันอีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกันจนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด: สิทธิในเครื่องหมายการค้าลำดับก่อนมีน้ำหนักกว่า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรญี่ปุ่นและอักษรจีนอ่านออกเสียงตามภาษาญี่ปุ่นได้สองแบบว่า "อายิโนะโมะโต๊ะ" หรือ "อายิโนะมิโซะ"อ่านออกเสียงเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "บีจือซู" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรจีน อักษรไทย และอักษรโรมันว่า"บีซู" ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรจีนเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนกับอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "ปี" กับ "อายิ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "รส" และอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือคำว่า "ซู" กับ คำว่า "โมะโต๊ะ"และมีคำแปลเหมือนกันว่า "ส่วนสำคัญ" เครื่องหมายการค้าของจำเลยต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่มีอักษรตัวกลางแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรตัวกลางเป็นภาษาญี่ปุ่นอ่านออกเสียงว่า "โนะ"เท่านั้น จำเลยใช้อักษรภาษาจีนคำว่า "บีซู" เน้นเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เน้นจุดเด่นคำว่า "อายิ" กับคำว่า"โมะโต๊ะ" ตัวอักษรญี่ปุนคำว่า "โนะ" มีขนาดเล็กมากมิได้เน้นความเด่นชัดของเครื่องหมายการค้าโจทก์ จึงเป็นอักษรที่ไม่มีความหมายสำคัญแก่บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น และแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีอักษรไทยและอักษรโรมันอยู่ด้วยแต่ก็เน้นความเด่นอยู่ที่อักษรจีนเพราะจัดวางไว้ตรงกลาง ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อย การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นตัวอักษรเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัด การที่จำเลยนำเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายประเทศก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารายพิพาทดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกัน โจทก์ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือกว่า จำเลยต้องถอนคำขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรญี่ปุ่นและอักษรจีนอ่านออกเสียงตามภาษาญี่ปุ่นได้สองแบบว่า "อายิโนะโมะโต๊ะ" หรือ"อายิโนะมิโชะ"อ่านออกเสียงเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า"บีจือซู"ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรจีน อักษรไทย และอักษรโรมันว่า "บีซู"ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรจีนเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนกับอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "ปี" กับ "อายิ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "รส"และอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือคำว่า "ชู" กับ คำว่า"โมะโต๊ะ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "ส่วนสำคัญ" เครื่องหมายการค้าของจำเลยต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่มีอักษรตัวกลาง แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรตัวกลางเป็นภาษาญี่ปุ่นอ่านออกเสียงว่า "โนะ" เท่านั้น จำเลยใช้อักษรภาษาจีนคำว่า "บีซู"เน้นเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เน้นจุดเด่นคำว่า "อายิ"กับคำว่า"โมะโต๊ะ"ตัวอักษรญี่ปุ่นคำว่า"โนะ"มีขนาดเล็กมากมิได้เน้นความเด่นชัดของเครื่องหมายการค้าโจทก์จึงเป็นอักษรที่ไม่มีความหมายสำคัญแก่บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น และแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีอักษรไทยและอักษรโรมันอยู่ด้วย แต่ก็เน้นความเด่นอยู่ที่อักษรจีนเพราะจัดวางไว้ตรงกลาง ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อย การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นตัวอักษรเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายประเทศก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารายพิพาทดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงจนเป็นเหตุให้สับสน และการพิจารณาประเภทสินค้าและกลุ่มผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของรูปแบบแรกและรูปแบบที่ 2ประกอบด้วยรูปครึ่งม้าครึ่งคน ที่เป็นรูปตัวม้าท่อนล่างกำลังยืนยกขาหน้าทั้งสองข้างขึ้นโดยขาขวางขาซ้ายเหยียดตรงและรูปตัวคนท่อนบนอยู่ในท่าพุ่งหอก ใช้มือขวาถือหอกเงื้อไปข้างหลังส่วนมือซ้ายเหยียดตรงไปข้างหน้าในระดับเดียวกับแขนขา หันหน้าไปทางขวา รูปครึ่งม้าครึ่งคนรูปแบบแรกเป็นลายเส้นโปร่ง ส่วนรูปแบบที่ 2 เป็นรูปทึบ นอกจากนี้รูปแบบแรกยังมีข้อความ ภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า "E.RemyMartin$Co" บรรทัดหนึ่ง กับอีกบรรทัดหนึ่งมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ผืนผ้าว่า "REMYMARTIN" ส่วนของจำเลยรูปแบบ แรกและรูปแบบที่ 2เป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนเช่นเดียวกัน ส่วนบนเป็นรูปตัวคนอยู่ ในท่ากำลังพุ่งหอกซึ่งมีหัวหอกเป็นรูปสามเหลี่ยมในลักษณะท่าทาง เหมือนกับรูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนล่างเป็นตัวม้า อยู่ในท่าอย่างเดียวกับของโจทก์คือ ม้ายกขาหน้าทั้งสองข้าง แต่แตกต่างกันตรงที่ว่ารูปม้าของจำเลยเหยียดขาขวาตรง งอขาซ้าย หัน หน้าไปทางซ้าย และหักหอกของจำเลยเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรูปม้าของโจทก์งอขาขวาเหยียดขาซ้ายหันหน้าไปทางขวาและหัวหอกของโจทก์เป็นปลายเส้นตรง นอกจากนี้รูปครึ่งม้าครึ่งคน ของจำเลยมีส่วนบนเป็นลายเส้นเกือบทึบ ส่วนของโจทก์เป็นลายเส้น สำหรับรูปแบบแรก และเป็น รูปทึบสำหรับรูปแบบที่ 2 ยิ่งกว่านั้น รูปครึ่งม้าครึ่งคนของจำเลยยังอยู่ภายในวงกลม 4 วง มีลวดลาย คล้ายดอกไม้ล้อมรอบสำหรับรูปแบบแรก และอยู่ภายในวงกลม 1 วง ซึ่งมีช่อ ดอกไม้รองรับและยังมีคำว่า "ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทย" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "ตราม้าเทวดา" อยู่ด้านล่างของ รูปครึ่งม้าครึ่งคนสำหรับรูปแบบที่ 2 เครื่องหมายการค้า ของโจทก์รูปแบบแรกใต้รูปครึ่งคนครึ่งม้ายังมีข้อความ ภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า "E.RemyMartin$Co" บรรทัดหนึ่ง และมีคำว่า MEMYMARTIN" อีกบรรทัดหนึ่ง อยู่ในกรอบ สี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งเป็นชื่อบริษัทโจทก์ และตัวอักษรนี้ก็เป็น ชื่อเรียกสินค้าของโจทก์ว่า "เรมี่มาร์แตง" จนเป็น ที่เข้าใจกันทั่วไป ประกอบกับเมื่อเทียบขนาดและสัดส่วนของตัวอักษรคำว่า "REMYMARTIN" กับรูปภาพครึ่งม้าครึ่งคนแล้ว ปรากฏว่าตัวอักษรมีขนาดใหญ่กว่ารูปภาพ ตัวอักษรคำว่า"REMYMARTIN" จึงมีลักษณะเด่น และมีความสำคัญยิ่งกว่ารูปภาพดังกล่าว โจทก์เพิ่งมาจดทะเบียนเฉพาะรูปครึ่งม้าครึ่งคนในท่าพุ่งหอก สำหรับรูปแบบที่ 2 ภายหลังจากที่จำเลยได้รับการจดทะเบียน รูปม้าครึ่งคนของจำเลยรูปแบบแรก และสินค้าสุราของโจทก์ที่ส่ง เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตามใบส่งสินค้า ก็ระบุว่าเป็น บรั่นดีเรมี่มาร์แตง ไม่ปรากฏว่าคนไทยเรียกสินค้าของโจทก์ ว่าสุราตราครึ่งม้าครึ่งคนพุ่งหอกแต่อย่างใด ส่วนเครื่องหมาย การค้ารูปแบบที่ 2 ของจำเลยยังมีคำว่า "ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทย ตราม้าเทวดา" แตกต่างกับคำว่า "REMYMARTIN" ซึ่งเป็น ชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์ เมื่อประชาชนไม่เห็นคำว่า "REMYMARTIN" อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าสินค้าที่พบเห็น นั้นมิใช่สินค้าของโจทก์ ทั้งสินค้าของจำเลยก็เป็นจำพวกปุ๋ย ซึ่งมิใช่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวกสุราดังเช่นของโจทก์ ที่แพร่หลายอยู่แล้วผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และของจำเลย เป็นหลักก็เป็นผู้บริโภคคนละกลุ่มกัน จึงไม่ทำให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาจะใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้าย เครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อลวงผู้ซื้อและประชาชน ให้หลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือทำให้ผู้ซื้อและประชาชนหลงผิด ในแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึง นับได้ว่าเป็น การลวงสาธารณชนให้สับสน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกัน พิจารณาความแตกต่างของสินค้า กลุ่มผู้บริโภค และเจตนาของผู้ประกอบการเพื่อตัดสินว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของรูปแบบแรกและรูปแบบที่ 2 ประกอบด้วยรูปครึ่งม้าครึ่งคน ที่เป็นรูปตัวม้าท่อนล่างกำลังยืนยกขาหน้าทั้งสองข้างขึ้นโดยขาขวางอขาซ้ายเหยียดตรง และรูปตัวคนท่อนบนอยู่ในท่าพุ่งหอก ใช้มือขวาถือหอกเงื้อไปข้างหลัง ส่วนมือซ้ายเหยียดตรงไปข้างหน้าในระดับเดียวกับแขนขวาหันหน้าไปทางขวา รูปครึ่งม้าครึ่งคนรูปแบบแรกเป็นลายเส้นโปร่ง ส่วนรูปแบบที่ 2 เป็นรูปทึบ นอกจากนี้รูปแบบแรกยังมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า"E.Remy Martin & Co" บรรทัดหนึ่ง กับอีกบรรทัดหนึ่งมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าว่า "REMY MARTIN" ส่วนของจำเลยรูปแบบแรกและรูปแบบที่ 2 เป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนเช่นเดียวกัน ส่วนบนเป็นรูปตัวคนอยู่ในท่ากำลังพุ่งหอกซึ่งมีหัวหอกเป็นรูปสามเหลี่ยมในลักษณะท่าทางเหมือนกับรูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนล่างเป็นตัวม้าอยู่ในท่าอย่างเดียวกับของโจทก์คือ ม้ายกขาหน้าทั้งสองข้าง แต่แตกต่างกันตรงที่ว่ารูปม้าของจำเลยเหยียดขาขวาตรง งอขาซ้าย หันหน้าไปทางซ้าย และหัวหอกของจำเลยเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรูปม้าของโจทก์งอขาขวาเหยียดขาซ้าย หันหน้าไปทางขวา และหัวหอกของโจทก์เป็นปลายเส้นตรง นอกจากนี้รูปครึ่งม้าครึ่งคนของจำเลยมีส่วนบนเป็นลายเส้นเกือบทึบ ส่วนของโจทก์เป็นลายเส้นสำหรับรูปแบบแรก และเป็นรูปทึบสำหรับรูปแบบที่ 2 ยิ่งกว่านั้นรูปครึ่งม้าครึ่งคนของจำเลยยังอยู่ภายในวงกลม 4 วง มีลวดลายคล้ายดอกไม้ล้อมรอบสำหรับรูปแบบแรก และอยู่ภายในวงกลม 1 วง ซึ่งมีช่อดอกไม้รองรับและยังมีคำว่า"ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทย" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "ตราม้าเทวดา" อยู่ด้านล่างของรูปครึ่งม้าครึ่งคนสำหรับรูปแบบที่ 2 เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปแบบแรกใต้รูปครึ่งคนครึ่งม้ายังมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า "E.Remy Martin & Co"บรรทัดหนึ่งและมีคำว่า "REMY MARTIN" อีกบรรทัดหนึ่ง อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม-ผืนผ้าซึ่งเป็นชื่อบริษัทโจทก์ และตัวอักษรนี้ก็เป็นชื่อเรียกสินค้าของโจทก์ว่า"เรมี่ มาร์แตง" จนเป็นที่เข้าใจกันทั่วไป ประกอบกับเมื่อเทียบขนาดและสัดส่วนของตัวอักษรคำว่า "REMY MARTIN" กับรูปภาพครึ่งม้าครึ่งคนแล้ว ปรากฎว่าตัวอักษรมีขนาดใหญ่กว่ารูปภาพ ตัวอักษรคำว่า "REMY MARTIN" จึงมีลักษณะเด่นและมีความสำคัญยิ่งกว่ารูปภาพดังกล่าว โจทก์เพิ่งมาจดทะเบียนเฉพาะรูปครึ่งม้าครึ่งคนในท่าพุ่งหอกสำหรับรูปแบบที่ 2 ภายหลังจากที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนรูปม้าครึ่งคนของจำเลยรูปแบบแรก และสินค้าสุราของโจทก์ที่ส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตามใบส่งสินค้า ก็ระบุว่าเป็นบรั่นดี เรมี่ มาร์แตงไม่ปรากฎว่าคนไทยเรียกสินค้าของโจทก์ว่าสุราตราครึ่งม้าครึ่งคนพุ่งหอกแต่อย่างใดส่วนเครื่องหมายการค้ารูปแบบที่ 2 ของจำเลยยังมีคำว่า "ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทยตราม้าเทวดา" แตกต่างกับคำว่า "REMY MARTIN" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์ เมื่อประชาชนไม่เห็นคำว่า "REMY MARTIN" อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าสินค้าที่พบเห็นนั้นมิใช่สินค้าของโจทก์ ทั้งสินค้าของจำเลยก็เป็นจำพวกปุ๋ยซึ่งมิใช่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวกสุราดังเช่นของโจทก์ที่แพร่หลายอยู่แล้วผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นหลักก็เป็นผู้บริโภคคนละกลุ่มกัน จึงไม่ทำให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อลวงผู้ซื้อและประชาชนให้หลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือทำให้ผู้ซื้อและประชาชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความลวงหรือความสับสนของผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่า "STANLEY"อ่านว่า "แสตนเล่ย์" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางขอบด้านซ้ายและขวามีรอยหยักหักเหลี่ยมออกนอกกรอบ มีรูปลักษณะคล้ายใบมีดโกน พื้นเป็นสีทึบ ตัวอักษรโปร่งเรียงติดเป็นคำเดียวกัน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวอักษรโรมันคำว่า"STAND UP" อ่านว่า "แสตน อัพ" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางขอบด้านซ้ายและขวามีรอยหยักมนครึ่งวงกลมอยู่ภายนอกกรอบมีรูปลักษณะคล้ายไม้นวดแป้ง พื้นโปร่งไม่มีสี ตัวอักษรเป็นสีทึบและแยกออกจากกันเป็นสองส่วนสองคำ ตามปกติวิสัยของบุคคลธรรมดาโดยเฉพาะผู้ที่เป็นช่างก่อสร้างและช่างไม้ที่ใช้สินค้าเทปตลับสำหรับวัดความยาวซึ่งมีโอกาสเห็นสินค้าชนิดนี้ในท้องตลาดและมีความชำนาญในการเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวมากกว่าสาธารณชนโดยทั่วไป ย่อมต้องมีและควรใช้ความสังเกตเห็นข้อแตกต่างดังกล่าวได้โดยไม่ยากนัก แม้ชื่อสินค้าประเภทนี้จะเป็นภาษาต่างประเทศปรากฏอยู่ก็ตาม เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือน และไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิด หรือทำให้สับสนได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์
of 19