คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้โจทก์มีสิทธิก่อน แต่ยังไม่จดทะเบียน จึงไม่มีสิทธิฟ้องห้าม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลย ต่างเป็นรูปปลาโลมาที่มีลักษณะกระโจนตัวลอย ลำตัวโค้ง หัวปลาอยู่ทางซ้ายและหางปลาอยู่ทางขวาแบบเดียวกัน มีขนาดใกล้เคียงกัน ต่างใช้กับสินค้าพื้นรองเท้ายางที่ผลิตออกจำหน่าย ซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน แม้ โจทก์และจำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ใช้กับสินค้าคนละจำพวก กล่าวคือโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวก 40 พื้นรองเท้ายาง ส่วนจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 50 พื้นรองเท้าก็ตาม แต่ ก็เป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือพื้นรองเท้ายางดังกล่าว แม้รูปตัว ปลาโลมาตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์มีสีดำทึบ ส่วนรูปตัวปลาโลมาตาม คำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นตัวปลาโปร่งมีลาย เส้นประ ตาม ลำตัวปลาก็ตาม แต่เมื่อใช้หล่อติดเป็นเครื่องหมายการค้ากับพื้น รองเท้ายางแล้วย่อมจะไม่ปรากฏให้เห็นสีของตัวปลาว่าแตกต่างกัน อย่างไร นอกจากนี้ ในการเรียกขาน สินค้าที่โจทก์และจำเลยผลิตออก จำหน่ายนั้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายย่อมจะเรียกกันว่าพื้นรองเท้าตรา ปลาโลมาเท่านั้น ความสำคัญที่เด่นชัดของเครื่องหมายการค้าของ โจทก์และของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวปลาโลมา แม้จะมีตัวหนังสืออักษรโรมัน ซึ่งมีตัวสะกดและอ่านออกเสียงแตกต่างกันโดยของโจทก์ใช้คำว่า DOLPHIN ส่วนของจำเลยใช้คำว่า PORPOISE แต่ก็ปรากฏว่ามี คำแปลอย่างเดียวกันว่าปลาโลมาอักษรโรมันที่เป็นตัวหนังสือดังกล่าว จึงเป็นเพียงส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าที่มีความสำคัญน้อยกว่า รูปตัวปลาโลมาเป็นอันมากเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะ ทำนองเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงผิดได้ว่า สินค้า ของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกัน ดังนี้ กรณีจึงถือ ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนถึง นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึง ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นอันเป็น การฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าที่ไม่ จดทะเบียนได้ ทั้งนี้เพราะต้องห้ามตาม มาตรา 29 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯกรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้อง ของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้โจทก์มีสิทธิก่อน แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน จึงไม่มีสิทธิฟ้องห้าม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเป็นรูปปลาโลมาที่มีลักษณะกระโจนตัวลอย ลำตัวโค้ง หัวปลาอยู่ทางซ้ายและหางปลาอยู่ทางขวาแบบเดียวกันมีขนาดใกล้เคียงกัน ต่างใช้กับสินค้าพื้นรองเท้ายางที่ผลิตออกจำหน่าย ซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันแม้โจทก์และจำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้กับสินค้าคนละจำพวก กล่าวคือ โจทก์ใช้กับสินค้าจำพวก 40พื้นร้องเท้ายาง ส่วนจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 50 พื้นรองเท้าก็ตาม แต่ก็เป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือพื้นรองเท้ายางดังกล่าวแม้รูปตัวปลาโลมาตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์มีสีดำทึบ ส่วนรูปตัวปลาโลมาตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นตัวปลาโปร่งมีลายเส้นประ ตามลำตัวปลาก็ตาม แต่เมื่อใช้หล่อติดเป็นเครื่องหมายการค้ากับพื้นรองเท้ายางแล้วย่อมจะไม่ปรากฏให้เห็นสีของตัวปลาว่าแตกต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ ในการเรียกขานสินค้าที่โจทก์และจำเลยผลิตออกจำหน่ายนั้น ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายย่อมจะเรียกกันว่าพื้นรองเท้าตราปลาโลมาเท่านั้น ความสำคัญที่เด่นชัดของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวปลาโลมาแม้จะมีตัวหนังสืออักษรโรมันซึ่งมีตัวสะกดและอ่านออกเสียงแตกต่างกัน โดยของโจทก์ใช้คำว่า DOLPHIN ส่วนของจำเลยใช้คำว่า PORPOISEแต่ก็ปรากฏว่ามีคำแปลอย่างเดียวกันว่าปลาโลมา อักษรโรมันที่เป็นตัวหนังสือดังกล่าวจึงเป็นเพียงส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าที่มีความสำคัญน้อยกว่ารูปตัวปลาโลมาเป็นอันมากเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะทำนองเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงผิดได้ว่า สินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกันดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นอันเป็นการฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนได้ ทั้งนี้ เพราะต้องห้ามตาม มาตรา 29 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4030/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, ลักษณะคล้ายกัน, และข้อจำกัดระยะเวลาฟ้องร้อง
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นภาพแหวนและภาพมงกุฎ ส่วนคำขอของจำเลยเป็นภาพแหวนสวมมงกุฎประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า "NEPLUSULTRADARNERSDIMONDDRILLDEYED" และภาพมงกุฎเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์และจำเลยมีลักษณะของแหวนและมงกุฎเป็นชนิดเดียวกัน ตัวแหวน หัวแหวน รูปลักษณะ ของ มงกุฎและลวดลายของมงกุฎเหมือนกัน รูปรอยประดิษฐ์ภาพแหวนสวมมงกุฎสีขาวที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของโจทก์และของจำเลยอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมที่มีลวดลายโดยรอบคล้ายกันอยู่ในพื้นสีน้ำเงินทึบลวดลายสีขาว ลายเส้นก็คล้ายกัน ตัวอักษรโรมันสีขาวคำว่า "NEPLUSULTRADARNERSDRILLDEYED" ที่ใช้เขียนใต้เครื่องหมายการค้าก็เหมือนกัน แตกต่างกันเพียงว่ามีตัวเลขอารบิค สีขาว "3000" อยู่ระหว่างคำว่า "DIMOND" กับคำว่า "DRILLDEYED" และที่ขอบสี่เหลี่ยมไม่มีลวดลายสีขาวเท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมด ทั้งปรากฏว่าได้นำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกัน เครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์เป็นการนำเอาส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นคำขอไว้มาใช้ เป็นการมุ่งหมายจะลวงหรือทำให้เกิดสับสนกันได้ว่าเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเป็นเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน นอกจากคำขอให้พิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าและมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอที่จำเลยได้ยื่นไว้แล้วดีกว่าโจทก์ทั้งสอง และห้ามมิให้ขัดขวางการที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยแล้ว คำขออื่นตามฟ้องแย้งของจำเลยล้วนเป็นคำขอเพื่อป้องกันและเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสิ้น ดังนั้นแม้จะปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยดีกว่าโจทก์ เพราะจำเลยใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาก่อนโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังมิได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาจนถึงวันฟ้องแย้งก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ จำเลยจึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และฟ้องแย้งของจำเลยก็มิได้บรรยายให้ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองเอาสินค้าของโจทก์ทั้งสองไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย กรณีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการลวงขายที่จะต้องวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้ศาลบังคับตามคำขออื่นดังกล่าวตามฟ้องแย้งของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้มีคำ ‘กุ๊ก’ ร่วมกัน ศาลยืนคำพิพากษายกฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปพ่อครัวถือจานอาหารมืออีกข้างหนึ่งชู นิ้วหัวแม่มืออยู่ในวงกลมลวดลายประดิษฐ์ มีอักษรไทยคำว่า "มิสเตอร์กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "M.R.COOK"อยู่ด้านบนและรูปแถบคล้ายริบบิ้น อยู่ด้านล่าง ส่วนของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "COOK" กับเป็นรูปการ์ตูนคล้ายขวดบรรจุน้ำมันพืชมีอักษรไทย คำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "COOK" อยู่บนลำตัวของรูปดังกล่าว แม้ของจำเลยจะมีคำว่า "กุ๊ก" และคำว่า "COOK" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นคำเดียวกันกับคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป มิใช่คำประดิษฐ์ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าว และเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายก็มีเสียงเรียกขานแตกต่างกันโดยของโจทก์เรียกว่า กุ๊ก ส่วนของจำเลยเรียกว่า มีสเตอร์กุ๊กสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียว คือ น้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นน้ำปลา ซอส ชูรส น้ำมันหมู น้ำส้มสายชูและไส้กรอก ไม่มีน้ำมันพืช แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนที่ทำให้สาธารณชนสับสน และสิทธิของผู้มีเครื่องหมายการค้าที่ใช้ก่อน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า"DIMETAPP" กับของจำเลยคำว่า"MEDITAPP" ต่างก็เป็นคำของภาษาต่างประเทศพิมพ์ด้วยอักษรโรมันลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกัน สำเนียงอ่านออกเสียงคล้ายกันตัวอักษรมีจำนวนเท่ากัน ถ้าไม่สังเกตจะเข้าใจว่า เครื่องหมายการค้า ของโจทก์และของจำเลยเป็นอย่างเดียวกัน เพราะอักษรทุกตัวเหมือนกันเพียงแต่สลับคำพยางค์หน้า 2 คำ เท่านั้น และจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 3 เช่นเดียวกับของโจทก์แม้จะระบุรายการสินค้าว่า ยาแก้หวัด แต่ในข้อบ่งใช้ที่ยา ของจำเลยก็ระบุว่าเป็นยาบรรเทาอาการแพ้ เช่น แพ้อากาศ คัดจมูก น้ำมูกไหล แก้หืด เป็นต้น เช่นเดียวกับยาของโจทก์ ทั้งยาของโจทก์ จำเลยต่างก็เป็นยาเม็ดและยาน้ำด้วยกัน แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่จะลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ นำไปจดทะเบียนไว้แล้วเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจนถึงนับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชน ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 16 คำว่า "TAPP" แม้จะฟังว่าอักษร "TA" ย่อมาจากคำว่า"TABLET" และอักษร "PP" เป็นชื่อย่อของสารเคมี 2 ชนิดแต่เมื่อนำอักษรดังกล่าวมารวมกันเป็นคำว่า "TAPP" จึงจัดว่าเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นพึงรับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 หาใช่ชื่อสามัญหรือสิ่งใดที่ใช้กันสามัญในการค้าขายซึ่งต้องห้ามถือเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เป็นส่วนหนึ่ง แห่งเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันไม่ แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่นำไปจดทะเบียนจะไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และโจทก์ไม่ได้คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีตามสิทธิของโจทก์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเพราะโจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ายาของโจทก์ผลิตออกจำหน่ายเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ายาของจำเลยเป็นเวลาหลายปี โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยลอกเลียนนำไปจดทะเบียนดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การโต้แย้งคำวินิจฉัยคณะกรรมการฯ ต้องแสดงเหตุความไม่สมบูรณ์ ไม่ใช่แค่ความเห็นต่าง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่นายทะเบียนฯ ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้เพราะเห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการฯ มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนฯ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการฯไม่ตรงด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพราะเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ถูกนายทะเบียนฯเพิกถอนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการฯ วินิจฉัยว่า การเพิกถอนเครื่องหมายการค้ายังไม่ครบ 12 เดือน นับแต่วันที่นายทะเบียนฯสั่งเพิกถอน จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วยังอยู่ในระยะเวลาที่เจ้าของจะใช้สิทธิยื่นขอจดทะเบียนได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 38 ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้ถูกเพิกถอนแล้ว จึงไม่อาจรับฟังได้และคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและความเห็นในเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ว่าไม่ถูกต้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ของคำวินิจฉัยดังกล่าวอาทิ ความบกพร่องของการเป็นกรรมการ ความไม่ชอบของการประชุมหรือการออกเสียงลงคะแนน เป็นต้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 19 เบญจวรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: การโต้แย้งคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องไม่เกินขอบเขต
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่นายทะเบียนฯ ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้เพราะเห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มี ลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าคณะกรรมการฯ มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนฯ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการฯ ไม่ตรงด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพราะเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ถูกนายทะเบียนฯ เพิกถอนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการฯวินิจฉัยว่า การเพิกถอนเครื่องหมายการค้ายังไม่ครบ 12 เดือนนับแต่วันที่นายทะเบียนฯ สั่งเพิกถอน จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วยังอยู่ในระยะเวลาที่เจ้าของจะใช้สิทธิยื่นขอจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 38 ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้ถูกเพิกถอนแล้ว จึงไม่อาจรับฟังได้ และคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเห็นในเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ว่าไม่ถูกต้อง โจทก์มิได้กล่าวอ้างความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ของคำวินิจฉัยดังกล่าว อาทิความบกพร่องของการเป็นกรรมการ ความไม่ชอบของการประชุมหรือการออกเสียงลงคะแนน เป็นต้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 19 เบญจ วรรคท้ายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความเหมือน/คล้ายคลึงกัน, สิทธิเจ้าของเครื่องหมาย, การใช้ก่อน, และการลอกเลียนแบบ
โจทก์จำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์อักษรโรมันออกเสียงเหมือนกันว่า นิโคล ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า NICOLE ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กว่า nicole เช่นนี้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อผิดหลงได้ เมื่อจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อน รวมทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วกับสินค้าจำพวก 38รวมทั้งโฆษณาสินค้าดังกล่าวทางเอกสารสิ่งตีพิมพ์มาตลอด ในขณะที่โจทก์มิได้กระทำเลย อีกทั้งโจทก์อ้างว่าได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากนิตยสารญี่ปุ่น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นอันจะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของได้ กรีณีจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าของโจทก์ อันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อหลงเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์เป็นของจำเลย แม้จะเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ย่อมทำให้จำเลยเสียหายได้ จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกัน ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้สินค้าต่างจำพวก
โจทก์จำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5 ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์อักษรโรมันออกเสียงเหมือนกันว่านิโคล ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า NICOLEของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กว่า nicole เช่นนี้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อผิดหลงได้ เมื่อจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อน รวมทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วกับสินค้าจำพวก 38 รวมทั้งโฆษณาสินค้าดังกล่าวทางเอกสารสิ่งตีพิมพ์มาตลอดในขณะที่โจทก์มิได้กระทำเลย อีกทั้งโจทก์อ้างว่าได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากนิตยสารญี่ปุ่น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นอันจะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของได้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าของโจทก์อันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อหลงเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์เป็นของจำเลย แม้จะเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ย่อมทำให้จำเลยเสียหายได้ จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อนำเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏที่ฉลากกล่องกระดาษสำหรับใส่ขวดน้ำมันทาถูนวดของจำเลยเปรียบเทียบกับของโจทก์ปรากฏว่ากล่องของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ทั้งหกด้านรูปร่างของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกัน สีสรรและลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกันขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากันนอกจากนี้ด้านหน้าของกล่องมีตัวอักษรที่เด่นชัดเหมือนกันคือคำว่า "น้ำมัน" แม้จะมีตัวอักษรที่ต่างกันคือ ของโจทก์ใช้คำว่า"น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันกีฬา" แต่ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นตัวสีขาวและอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน โดยเฉพาะกล่องของจำเลยอยู่ในกรอบแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ด้วย สำหรับด้านหลังของกล่องซึ่งมีอักษรโรมัน แม้จะมีคำต่างกันกล่าวคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT"ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTSOIL" แต่คำทั้งสองเป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากัน สีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากัน สำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้เลย ส่วนที่ฝากล่องกระดาษของโจทก์ด้านบนมีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้"แต่ที่ฝากล่องของจำเลยด้านบนมีรูปสิงห์ 5 ตัว เหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราหน้าสิงห์เหยียบโลก" นั้น ก็มีลักษณะเล็กมาก มองในระยะห่าง 1 เมตร จะอ่านตัวอักษรดังกล่าวของทั้งโจทก์และจำเลยไม่ออก อย่างไรก็ตาม รูปและอักษรดังกล่าวอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบ 3 ชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยักในลักษณะเหมือนกัน และภาพนักมวยกำลังชกต่อยกันบนกล่องของโจทก์ซึ่งของจำเลยไม่มีก็เป็นเพียงภาพเงาและไม่เด่นชัด ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2527 ถึง 30 ปี จึงเป็นการที่จำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้แก่กันจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการโอนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2474(ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2474 ข้อ 12 ซึ่งบังคับว่าต้องใช้แบบ ค.ม.8ก. เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่จำเลยอ้างว่าโจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.ไม่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า และข้อความในเอกสารดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.แต่ระบุว่าโจทก์ให้ ท.เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้แทนโจทก์ โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตลอดมาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เต็มจำนวนนับแต่วันที่จำเลยทำละเมิด
of 19