คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้สับสนและเสียหาย: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
กล่องสินค้าของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องสินค้าของโจทก์ทั้ง 6 ด้าน รูปร่างลักษณะของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกันสีสัน และลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน ด้านหน้ากล่องของโจทก์ใช้คำว่า "น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันกีฬา" ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นสีขาวและอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน ด้านหลังของกล่องมีอักษรโรมันของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT" ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTSOIL" เป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันมีขนาดเท่ากัน สีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากัน ฝากล่องด้านบนของโจทก์มีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้"ส่วนของจำเลยมีรูปสิงห์ 5 ตัวเหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราห้าสิงห์ เหยียบโลก" แม้จะมีลักษณะแตกต่างกันในส่วนนี้ แต่รูปและข้อความดังกล่าวมีลักษณะเล็กมากและอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบสามชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยัก ในลักษณะเหมือนกัน นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่ปี 2498 ก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยประมาณ 30 ปี จึงเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 421.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นทำให้สับสนและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
เมื่อนำเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏที่ฉลากกล่องกระดาษสำหรับใส่ขวดน้ำมันทาถูนวดของจำเลยเปรียบเทียบกับของโจทก์ ปรากฏว่ากล่องของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ทั้งหกด้าน รูปร่างของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกัน สีสรรและลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน นอกจากนี้ด้านหน้าของกล่องมีตัวอักษรที่เด่นชัดเหมือนกันคือคำว่า "น้ำมัน" แม้จะมีตัวอักษรที่ต่างกันคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "มวย" ของจำเลยใช้คำว่า "กีฬา"กล่าวคือรวมแล้วของโจทก์ใช้คำว่า "น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า"น้ำมันกีฬา" แต่ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นตัวสีขาว และอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน โดยเฉพาะกล่องของจำเลยอยู่ในกรอบแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ด้วย สำหรับด้านหลังของกล่องซึ่งมีอักษรโรมัน แม้จะมีคำต่างกันกล่าวคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT" ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTOIL" ก็ตาม แต่คำทั้งสองเป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากันสีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากันสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้เลย ส่วนที่ฝากล่องกระดาษของโจทก์ด้านบนมีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้" แต่ที่ฝากล่องของจำเลยด้านบนมีรูปสิงห์ 5 ตัว เหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราห้าสิงห์เหยียบโลก" นั้น ก็มีลักษณะเล็กมากมองในระยะห่าง 1 เมตร จะอ่านตัวอักษรดังกล่าวของทั้งโจทก์และจำเลยไม่ออก อย่างไรก็ตาม รูปและอักษรดังกล่าวอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบ3 ชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยักในลักษณะเหมือนกันและภาพนักมวยกำลังชกต่อยกันบนกล่องของโจทก์ซึ่งของจำเลยไม่มีก็เป็นเพียงภาพเงาและไม่เด่นชัด ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2527 ถึง30 ปี จึงเป็นการที่จำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้แก่กันจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการโอนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2474(ฉบับที่ 1)ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2474 ข้อ 12 ซึ่งบังคับว่าต้องใช้แบบค.ม. 8 ก. เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่จำเลยอ้างว่าโจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ก. ไม่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าและข้อความในเอกสารดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.แต่ระบุว่าโจทก์ให้ท. เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้แทนโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตลอดมาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เต็มจำนวนนับแต่วันที่จำเลยทำละเมิด จำนวนเงินค่าทนายความที่ศาลกำหนดให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลที่จะกำหนดให้ โดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง โดยศาลต้องกำหนดค่าทนายความระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4559/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้งหมดควบคู่กัน และพฤติการณ์แห่งการใช้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปจระเข้มีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยว่าแกรนด์แสลม และตัวหนังสืออักษรโรมันว่า GRANDSLAMยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าในจำพวก 48 รายการสินค้ายาสีฟันน้ำยาสระผม ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปจระเข้และมีตัวหนังสืออักษรโรมันว่า LACOSTE ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วสำหรับสินค้าจำพวก 48 รายการสินค้าน้ำหอม น้ำหอมชโลมตัวหลังอาบน้ำ น้ำหอมหลังโกนหนวด และน้ำหอมทาผิว แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปจระเข้เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งและอาจเรียกได้ว่าตราจระเข้เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าจะเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ต้องพิจารณาส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งตามลำพังหาได้ไม่ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวหนังสืออักษรโรมันเป็นชื่อยี่ห้อสินค้าอ่านออกเสียงว่า ลาคอสท์ประกอบด้วยจระเข้อยู่เหนือตัวหนังสือดังกล่าว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนอกจากตัวหนังสืออักษรโรมันแล้ว ยังมีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยอ่านได้ชัดเจนว่า แกรนด์แสลม อยู่เหนือตัวหนังสืออักษรโรมันด้วย อันเป็นการบอกให้ทราบแน่ชัดว่าสินค้าของจำเลยเรียกชื่อยี่ห้อว่า แกรนด์แสลม ชื่อยี่ห้อและการอ่านออกเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงแตกต่างจากของโจทก์เป็นอันมากย่อมเป็นที่สังเกตของสาธารณชนทั่วไป และไม่ทำให้สาธารณชนทั่วไปที่ซื้อสินค้ายี่ห้อ แกรนด์แสลม เข้าใจผิดว่าสินค้านั้นเป็นสินค้ายี่ห้อลาคอสท์ของโจทก์ ส่วนคำว่าจระเข้หรือรูปจระเข้ก็มิใช่สิ่งบ่งเฉพาะ เป็นเพียงคำหรือชื่อสามัญทั่วไปโจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปจระเข้ดังกล่าวไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าคนละชนิดกับของโจทก์สาธารณชนย่อมไม่เกิดความสับสนหรือหลงผิดในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ไม่อาจเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: แม้ต่างจำพวกสินค้า แต่หากทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ ก็ถือเป็นการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY" อ่านว่า"ลักกี้"แปลว่าโชคดี ใช้กับสินค้าที่นอนสปริง ในจำพวกสินค้าประเภท 51 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า"LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้ " แปลความหมายไม่ได้ ใช้กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันและจำนวนตัวอักษรเท่ากันตัวอักษรต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 เท่านั้น แต่คงอ่านออกเสียงเหมือนกันแม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่างจำพวกกันแต่ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียวกับโจทก์ สาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ดังนี้ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยงดใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY" และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงจนอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่สาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญและการ เรียกขานชื่อ อย่างเดียวกันคือ ไก่ ซึ่ง มีลักษณะโดดเด่น อยู่ที่รูปไก่ตัวผู้อยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง และมี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แนวตั้งอีกรูปหนึ่งมีขนาดสูงเท่ากันอยู่ด้านขวามือมีตัวอักษร โรมันวางอยู่ในกรอบรูปทั้งสองเกือบอยู่ใน ลักษณะเหมือนกัน สีแดง อย่างเดียวกันใช้ กับสินค้า จำพวกเดียว กัน แม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น คำและพยางค์ ของอักษรโรมัน ลวดลายของเส้นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีรูปดวงอาทิตย์มีตัวอักษรภาษาไทยกับมีรูปพื้นดินและต้นหญ้าที่ตีนไก่ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และแตกต่าง กันตรง ที่ของโจทก์ ขาไก่ยืนชิด กันไม่แยกเหมือนของจำเลยและไก่หันหน้าไปคนละทิศทางก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น เมื่อโจทก์นำมาใช้ กับสินค้าประเภทเดียว กันกับของจำเลย อาจเป็นเหตุให้ผู้ซื้อหลงผิดได้ เพราะในที่สุดผู้ซื้อก็จะเรียกขานว่า ตรา ไก่ อักษรโรมันไม่มีลักษณะเด่นเป็นที่สังเกตส่วนอักษรภาษาไทยก็ไม่เด่น จึงเห็นได้ ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ จด ทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อนอันอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าที่ผลิตโดย จำเลย นับได้ ว่าเป็นการลวงสาธารณชน จำเลยชอบที่จะยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องคัดค้านหรือขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือสั่งให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: พิจารณาความคล้ายคลึงจนทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้หรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LACOVO"อ่านออกเสียงว่า "ลาโคโว" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "TACOLAVO" อ่านออกเสียงว่า "ทาโคลาโว"เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ พยางค์ หน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่า "ลา" เป็นเสียงอักษร "ล"ส่วนพยางค์ หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านว่า "ทา" เป็นเสียงอักษร "ท" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีเสียงอักษร "ท" เลย แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงเหมือนกันอยู่ 3 พยางค์ คือ ลาโคและโว แต่ ทั้งสามพยางค์นั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้อยู่ในตำแหน่ง เดียว กับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ยกเว้นเสียงโว เท่านั้นที่เป็นพยางค์ สุดท้ายเช่นเดียว กัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยมีข้อแตกต่างกันมากไม่อาจกล่าวได้ ว่าเหมือนหรือคล้ายกันถึง ขนาดทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าและการเกิดความสับสน: การพิจารณาความเหมือน/คล้าย และการประเมินผลกระทบต่อสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LACOVO"อ่านออกเสียงว่า "ลาโคโว" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "TACOLAVO" อ่านออกเสียงว่า "ทาโคลาโว"เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ พยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่า "ลา" เป็นเสียงอักษร "ล"ส่วนพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านว่า "ทา"เป็นเสียงอักษร "ท" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีเสียงอักษร "ท" เลย แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงเหมือนกันอยู่ 3 พยางค์ คือลา โค และโว แต่ทั้งสามพยางค์นั้นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ยกเว้นเสียงโวเท่านั้นที่เป็นพยางค์สุดท้ายเช่นเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยมีข้อแตกต่างกันมาก ไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนหรือคล้ายกันถึงขนาดทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า เพื่อวินิจฉัยการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่าสแตนเล่ย์ อีกแบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอยู่ด้านบนตัวอักษรไทยอยู่ด้านล่างทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรไทยอ่านว่า สแตนเล่ย์ ทั้งสองแบบอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปคล้ายใบมีดโกน ตัวอักษรสีโปร่ง แต่กรอบสีทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันอ่านว่า แสตนอัพ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม รูปร่างคล้ายไม้นวดแป้ง ตัวอักษรสีทึบ ส่วนกรอบสี่เหลี่ยมสีโปร่งเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตัวอักษรอยู่ติดกันทั้งหมด ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตัวอักษรแยกกันเป็นสองส่วน คือคำว่าแสตนกับคำว่า อัพ อยู่ห่างกัน เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะแตกต่างกันทั้งตัวอักษร สี และกรอบ คำว่า สแตนเล่ย์เป็นชื่อเฉพาะไม่มีความหมาย ส่วนคำว่าแสตนอัพ นั้น เป็นภาษาอังกฤษแปลว่ายืนขึ้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนหลงผิด ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่าสแตนเล่ย์อีกแบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอยู่บน ตัวอักษรไทยอยู่ด้านล่าง ทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรไทย อ่านว่า สแตนเล่ย์ ทั้งสองแบบอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปคล้ายใบมีดโกน ตัวอักษรสีโปร่งแต่กรอบสีทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันอ่านว่า แสตนอัพ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมรูปร่างคล้ายไม้นวดแป้งตัวอักษรสีทึบ ส่วนกรอบสี่เหลี่ยมสีโปร่ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นตัวอักษรอยู่ติดกันทั้งหมด ส่วนตัวอักษรเครื่องหมายการค้าของจำเลยแยกกันเป็นสองส่วนคือคำว่าแสตนกับคำว่าอัพ อยู่ห่างกัน ดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะแตกต่างกันทั้งตัวอักษรสี และกรอบ ไม่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้ การกำหนดประเด็นว่า เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้สาธารณชนหลงผิด หรือไม่นั้น มีความหมายอย่างเดียวกับการกำหนดประเด็นว่า จำเลยร่วมกันกระทำละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ เมื่อหลักฐานตามคำฟ้องคำให้การ และเอกสารท้ายฟ้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้วศาลก็ชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชนได้ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่าสแตนเล่ย์ อีกแบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอยู่ด้านบนตัวอักษรไทยอยู่ด้านล่างทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรไทยอ่านว่า สแตนเล่ย์ทั้งสองแบบอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปคล้ายใบมีดโกน ตัวอักษรสีโปร่ง แต่กรอบสีทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันอ่านว่า แสตนอัพ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมรูปร่างคล้ายไม้นวดแป้งตัวอักษรสีทึบ ส่วนกรอบสี่เหลี่ยมสีโปร่ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตัวอักษรอยู่ติดกันทั้งหมด ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตัวอักษรแยกกันเป็นสองส่วน คือคำว่า แสตนกับคำว่าอัพ อยู่ห่างกันเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะแตกต่างกันทั้งตัวอักษร สี และกรอบ คำว่า สแตนเล่ย์เป็นชื่อเฉพาะไม่มีความหมาย ส่วนคำว่า แสตนอัพ นั้น เป็นภาษาอังกฤษแปลว่ายืนขึ้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคือ เครื่องหมายการค้าของโจทก์
of 19