คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายและความเสี่ยงต่อการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่าสแตนเล่ย์ อีกแบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอยู่ด้านบนตัวอักษรไทยอยู่ด้านล่างทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรไทยอ่านว่า สแตนเล่ย์ทั้งสองแบบอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปคล้ายใบมีดโกน ตัวอักษรสีโปร่ง แต่กรอบสีทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันอ่านว่า แสตนอัพ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม รูปร่างคล้ายไม้นวดแป้ง ตัวอักษรสีทึบ ส่วนกรอบสี่เหลี่ยมสีโปร่งเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตัวอักษรอยู่ติดกันทั้งหมด ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตัวอักษรแยกกันเป็นสองส่วน คือคำว่าแสตนกับคำว่า อัพ อยู่ห่างกัน เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะแตกต่างกันทั้งตัวอักษร สี และกรอบ คำว่า สแตนเล่ย์เป็นชื่อเฉพาะไม่มีความหมาย ส่วนคำว่าแสตนอัพ นั้น เป็นภาษาอังกฤษแปลว่ายืนขึ้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4154/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้ให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว และการพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงจนลวงสาธารณชน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือ ภาพถ่ายโจทก์ที่ 1 ซึ่งมีผ้าผูกคอเป็นรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง และอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง อยู่ใต้ภาพโจทก์ที่ 1 โดยระบุว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่โจทก์แต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรจีนว่าลิ้มจิงเฮียง และอักษรไทยว่า ลิ้มจิงเฮียง ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยซึ่งนำอักษรจีนและอักษรไทยดังกล่าวไปใช้กับสินค้าของจำเลย
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้และขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) และอักษรไทยว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) อยู่ใต้ภาพถ่ายจำเลยส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าวข้างต้น กับสินค้าที่ออกสู่ท้องตลาด โดยมีลวดลายประกอบและมีอักษรจีนกับอักษรไทยพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมขึ้นจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ ดังนั้นเมื่อตัดคำว่า ลิ้มจิงเฮียง ซึ่งมิใช่สิทธิของโจทก์ที่จะใช้แต่ผู้เดียวตลอดจนลวดลายและอักษรจีนกับอักษรไทยซึ่งมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ออกจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแล้ว ก็คงเหลือเพียงภาพถ่ายของโจทก์ซึ่งมีผ้าผูกคอแบบรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี ส่วนของจำเลยคงเหลือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี ดังนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4154/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้ผูกขาดชื่อ ‘ลิ้มจิงเฮียง’ และการพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อการลวงสาธารณชน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะประกอบกัน 2ประการ คือ ภาพถ่ายโจทก์ที่ 1 ซึ่งมีผ้าผูกคอเป็นรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง และอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง อยู่ใต้ภาพโจทก์ที่ 1 โดยระบุว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่โจทก์แต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรจีนว่าลิ้มจิงเฮียงและอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยซึ่งนำอักษรจีนและอักษรไทยดังกล่าวไปใช้กับสินค้าของจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้และขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อนกลาสีอยู่ภายในวงรีกับมีอักษรจีนว่าลิ้มจิงเฮียง(ฮะกี่)และอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง(ฮะกี่) อยู่ใต้ภาพถ่ายจำเลยส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าวข้างต้น กับสินค้าที่ออกสู่ท้องตลาด โดยมีลวดลายประกอบและมีอักษรจีนกับอักษรไทยพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมขึ้นจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ ดังนั้นเมื่อตัดคำว่า ลิ้มจิงเฮียง ซึ่งมิใช่สิทธิของโจทก์ที่จะใช้แต่ผู้เดียวตลอดจนลวดลายและอักษรจีนกับอักษรไทยซึ่งมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ออกจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแล้ว ก็คงเหลือเพียงภาพถ่ายของโจทก์ซึ่งมีผ้าผูกคอแบบรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี ส่วนของจำเลยคงเหลือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี ดังนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: แม้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ แต่หากมิได้จดทะเบียนในไทย โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
แม้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศ อังกฤษ ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศ ไทยอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 2729 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนโดยฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงกันของเครื่องหมาย, อายุความ, และสิทธิในเครื่องหมายการค้า
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดีโดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่า ได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริงเมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้านก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ ในการโฆษณาตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "HansGrohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์กับตัวอักษรโรมันว่า "HanGroh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าเดิมย่อมเหนือกว่าการจดทะเบียนภายหลัง แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน และได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "HansGrohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "HanGroh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้า, ความเหมือน/คล้ายคลึง, อายุความ, และการใช้ก่อน
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "Hans Grohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "Han Groh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึง, ความแตกต่าง, และการเข้าใจผิดของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างมีสองส่วนคือรูปภาพส่วนหนึ่งกับข้อความอักษรโรมันส่วนหนึ่ง ในส่วนที่เป็นรูปภาพซึ่งเป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนนั้นคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนที่สองมีข้อความว่า "E.RemyMartin&Co"อีกบรรทัดหนึ่ง และคำว่า "REMYMARTIN" อีกบรรทัดหนึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยในส่วนนี้มีเพียงคำว่า "CENTAUR"แตกต่างกับคำว่า "REMYMARTIN" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์จนเป็นที่เข้าใจทั่วไปและมีความสำคัญยิ่งกว่าหรือเท่ากับรูปภาพดังกล่าว เมื่อประชาชนไม่เห็นคำนี้อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าไม่ใช่สินค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนและห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าจนเป็นเหตุให้เกิดการลวงสาธารณชน โดยต้องพิจารณาส่วนประกอบทั้งหมดของเครื่องหมาย
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่นจนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าทั้งหมดรวมกันโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวกน้ำยาฆ่ายางตราวัวแดงส่วนของจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าตราแพะแดง แม้สลากของจำเลยจะระบุชื่อร้านค้าและจังหวัดที่ผลิตสินค้าของจำเลยต่างกับของโจทก์ แต่การประดิษฐ์รูปแพะแดงของจำเลยให้มีโหนกมีเขายาว หางยาวคล้ายวัวแดง ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดการสับสนยากที่จะแยกแยะได้ว่าเครื่องหมายใด เป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์หรือจำเลย ทั้งข้อความที่แตกต่างเป็นข้อความเพียงสั้น ๆ ปนอยู่กับข้อความอื่นทั้งหมดในสลากซึ่งเหมือนกับข้อความในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกตัวอักษรทั้งลักษณะและขนาด กรณีถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
ในคดีเครื่องหมายการค้า ศาลจะพิพากษาให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ไม่ได้ เพราะเป็นการบังคับบุคคลที่มิได้เป็นคู่ความในคดีและโจทก์ก็สามารถไปขอจดทะเบียนได้เองอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายของเครื่องหมายการค้าเพื่อคุ้มครองสิทธิและป้องกันการลวงสาธารณชน
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใด เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่นจนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจะต้อง พิจารณาส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าทั้งหมดรวมกันโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวกน้ำยาฆ่ายางตรา วัวแดงส่วนของจำเลยใช้ เครื่องหมายการค้าตรา แพะแดง แม้สลากของจำเลยจะระบุชื่อ ร้านค้าและจังหวัดที่ผลิตสินค้าของจำเลยต่างกับของโจทก์แต่ การประดิษฐ์รูปแพะแดง ของจำเลยให้มีโหนกมีเขายาว หางยาวคล้ายวัวแดง ซึ่ง ทำให้ประชาชนเกิดการสับสนยากที่จะแยกแยะได้ว่าเครื่องหมายใด เป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์หรือจำเลย ทั้งข้อความที่แตกต่าง เป็นข้อความเพียงสั้น ๆ ปนอยู่กับข้อความอื่นทั้งหมดในสลากซึ่ง เหมือนกับข้อความในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกตัวอักษรทั้งลักษณะและขนาด กรณีถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว ในคดีเครื่องหมายการค้า ศาลจะพิพากษาให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม คำขอของโจทก์ไม่ได้ เพราะเป็นการบังคับบุคคลที่มิได้เป็นคู่ความในคดีและโจทก์ก็สามารถไปขอจดทะเบียนได้เองอยู่แล้ว.
of 19