คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายของเครื่องหมายการค้าเพื่อป้องกันการลวงสาธารณชน โดยพิจารณาส่วนประกอบทั้งหมดของเครื่องหมาย
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่นจนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าทั้งหมดรวมกันโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวกน้ำยาฆ่ายางตราวัวแดงส่วนของจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าตราแพะแดง แม้สลากของจำเลยจะระบุชื่อร้านค้าและจังหวัดที่ผลิตสินค้าของจำเลยต่างกับของโจทก์แต่การประดิษฐ์รูปแพะแดงของจำเลยให้มีโหนก มีเขายาว หางยาวคล้ายวัวแดง ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดการสับสนยากที่จะแยกแยะได้ว่าเครื่องหมายใดเป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์หรือจำเลย ทั้งข้อความที่แตกต่างเป็นข้อความเพียงสั้น ๆ ปนอยู่กับข้อความอื่นทั้งหมดในสลากซึ่งเหมือนกับข้อความในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกตัวอักษรทั้งลักษณะและขนาด กรณีถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว ในคดีเครื่องหมายการค้า ศาลจะพิพากษาให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ไม่ได้ เพราะเป็นการบังคับบุคคลที่มิได้เป็นคู่ความในคดี และโจทก์ก็สามารถไปขอจดทะเบียนได้เองอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายของเครื่องหมายการค้าเพื่อป้องกันการลวงสาธารณชน เน้นการพิจารณาส่วนประกอบทั้งหมดของเครื่องหมาย
การพิจารณา ว่าเครื่องหมายการค้าใดเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่นจนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณา ส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าทั้งหมดรวมกัน โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวกน้ำยาฆ่ายางตราวัวแดง ส่วนของจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าตราแพะ แดง แม้สลากของจำเลยจะระบุชื่อร้านค้าและจังหวัดที่ผลิตสินค้าของจำเลยต่างกับของโจทก์ แต่การประดิษฐ์รูปแพะ แดงของจำเลยให้มีโหนกมีเขายาว หางยาวคล้ายวัวแดง ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดการสับสนยากที่จะแยกแยะได้ว่าเครื่องหมายใดเป็นที่หมาย แห่งสินค้าของโจทก์หรือจำเลยทั้งข้อความที่แตกต่างเป็นข้อความเพียงสั้น ๆ ปนอยู่กับข้อความอื่นทั้งหมดในสลากซึ่งเหมือนกับข้อความในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกตัวอักษรทั้งลักษณะและขนาดกรณีถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน.
ในคดีเครื่องหมายการค้า ศาลจะพิพากษาให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นการบังคับบุคคลที่มิได้เป็นคู่ความในคดีและโจทก์ก็สามารถไปขอจดทะเบียนได้เองอยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด และสิทธิในการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "NICCO" ซึ่งจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 13 จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาประมาณ 15 ปีแล้ว การที่จำเลยใช้ เครื่องหมายการค้า"NICCO" จดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวกที่ 18 จึงเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นตัวอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ต่างกันแต่เพียงว่า ของโจทก์อยู่ภายในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและตัวอักษร "O" เป็นตัวทึบ ส่วนของจำเลยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย และมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้านั้นด้วย.
มาตรา 21 และมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งแบ่งออกเป็นขั้น ๆ รวมทั้งขั้นประกาศตามมาตรา 21 และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา 22 ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศ เมื่อปรากฏว่าไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และไม่ตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตน ดังนั้น เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยแล้ว ถ้าหากโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1) สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลจึงยังไม่สิ้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า รูปธงและตัวอักษรที่หลากหลาย ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปธงมีเสา ชายธงสะบัดไปทางขวา มีอักษรโรมัน วี.เอฟ.(V.F.) อยู่ในธง ใต้ธงมีอักษรภาษาไทยว่า ตราธงชนะ และมีภาษาอังกฤษอ่านว่าวิกตอรีแฟล็กแบรนด์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปธงมีเสา ชายธงสะบัดไปทางขวามีอักษรโรมัน เจ.อาร์ (J.R.)อยู่ในธง ไม่มีอักษรโรมันใต้ธง แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะเป็นรูปธงมีเสา สะบัดชายธงไปทางขวาเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันจนอย่างมากอยู่หลายประการประการแรกคือการวางรูปโดยรูปธงของโจทก์เป็นรูปธงติดเสาตั้งตรงส่วนรูปธงของจำเลยติดเสาเอียงไปทางซ้าย ใต้ธงของโจทก์มีอักษรหรือข้อความถึงสองบรรทัด บรรทัดแรกเป็นภาษาไทยว่า "ตราธงชนะ" และบรรทัดที่สองเป็นภาษาโรมันว่า"VICTORYFLAGBRAND" ภาพรวมทั้งหมดนี้จะเห็นว่าแตกต่างกันมากส่วนรูปและตัวอักษรในชายธงนั้นก็แตกต่างกันมากเช่นเดียวกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์สะบัดพลิ้วแรง และเป็นธงสองสีอักษรโรมันตัว V อยู่มุมซ้ายด้านบนติดกับปลายเสาธงอยู่ในส่วนของสีบน ส่วนอักษรตัว F อยู่มุมขวาด้านล่าง ในส่วนของสีล่างห่างกันมาก และอักษรตัวเล็ก ๆ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นธงที่แทบจะไม่มีลักษณะสะบัด และเป็นธงพื้นสีเดียวทั้งผืน ตัวอักษรโรมันอยู่ตรงกลางใหญ่เกือบเต็มผืนธง และอักษร J และ R อยู่ในลักษณะตัวอักษรเชื่อมต่อเป็นตัวเดียวกันหรือทับกันครึ่งตัว รูปร่างลักษณะเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยแตกต่างกันมากเช่นนี้ ย่อมไม่อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ การที่ประชาชนเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยว่าตรงธงเช่นเดียวกัน เป็นเพียงสื่อความหมายมิใช่การหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเกือบเหมือนกัน สิทธิการจดทะเบียน และการใช้เครื่องหมายการค้าโดยลูกจ้าง
แม้เครื่องหมายการค้าตาม คำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 ที่ 2จะไม่มีรูปสิงโต และดาว ภายในวงกลมอยู่ตรง กลางเครื่องหมายการค้า-เหมือนกับเครื่องหมายการค้าตาม คำขอจดทะเบียนของโจทก์ โดย มีแต่ รูปวงกลมอยู่ตรง กลางเครื่องหมายการค้าเท่านั้นแต่ ตอนบนของเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขอจดทะเบียนดังกล่าว มีข้อความเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่า ไลอ้อนแบรนด์เหมือนกัน ถัด จากตัวอักษรโรมันดังกล่าว เครื่องหมายการค้าทั้งสองยังมีข้อความเป็นอักษรโรมันและอักษรจีนที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันตลอดจนมีอักษรไทยเขียนว่าผงวุ้นชั้นพิเศษตราไลอ้อน เหมือนกันและตัวอักษรทั้งสามภาษาดังกล่าวมีขนาดใกล้เคียงกัน และถูก จัดวางในลักษณะเดียวกันส่วนตอนล่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็เป็นชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ และห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ซึ่งต่าง ก็มีคำว่าพัฒนาสินอยู่ด้วย พร้อมทั้งเบอร์ โทรศัพท์อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่าง ใช้ กับสินค้าผงวุ้นเหมือนกันตลอดจนอาจถูก เรียกขานว่าตรา ไลอ้อน ได้ เหมือนกัน จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าว เป็นเครื่องหมายการค้าที่เกือบเหมือนกันใช้ สำหรับสินค้าเดียว หรือชนิดเดียวกัน ตาม นัยมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 แม้จำเลยที่ 2 จำหน่ายผงวุ้นบรรจุซอง พลาสติกร่วมกับโจทก์มาแต่ แรก ก็เป็นเพียงช่วย จำหน่ายในฐานะ ลูกจ้างโจทก์เท่านั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีข้อความและภาพเกือบเหมือนกับที่โจทก์ใช้ บรรจุผงวุ้นมาก่อนดีกว่าสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่ 2 การนำเอาเหตุผลในคำพิพากษาฎีกาในคดีซึ่ง จำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ในคดีนี้มาประกอบคำเบิกความของพยานเพื่อวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ มิใช่เป็นการนำคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวมาผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 คดีนี้ซึ่ง มิใช่คู่ความในคดีก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบจนสับสนและการจดทะเบียนก่อนย่อมได้รับความคุ้มครอง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 3 แบบ ปรากฏอยู่ที่กระป๋องบรรจุขนมปังกรอบกับที่กล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ เมื่อนำกล่องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ กับนำกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์จะเห็นได้ว่ากล่องและกระป๋องดังกล่าวของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องและกระป๋องดังกล่าวของโจทก์ทั้ง 6 ด้าน รูปร่างลักษณะของกล่องและกระป๋องตลอดจนฝาก็เหมือนกันสีและภาพต่าง ๆ ในตำแหน่งเดียวกันก็เหมือนกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน นอกจากนี้ยังมีตัวอักษรที่เหมือนกันคือคำว่า "CREAMCRACKERS" และคำว่า "EXTRALIGHT"ด้วย ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันก็คือของโจทก์ใช้คำว่า "JACOB&COS"ส่วนของจำเลยใช้คำว่า "CHITCHATCO.,LTD." ของโจทก์ใช้คำว่า"JACOB'S" ของจำเลยใช้คำว่า "DRAGONBRAND" สำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกันก็ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง แม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากัน ก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าได้เลย เครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่กล่องขนมปังกรอบและกระป๋องขนมปังกรอบของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เริ่มมีการจดทะเบียนในประเทศไทยไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการ จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง มิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่สามารถได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบรวมและเจตนาของผู้ประกอบการ
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนส่วนที่เป็นเครื่องหมายเป็นเพียงภาพศิลปะที่มุ่งแสดงความหมายซึ่ง ประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่ยังไม่คุ้นเคยกับภาพศิลปะดังกล่าว อาจจะมองไม่ออกว่าเป็นรูปคน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นมองได้ง่ายและชัดเจนว่าเป็นรูปคนกระโดดเพราะเป็นภาพธรรมดา ส่วนที่เป็นตัวอักษรโรมันที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนมีเพียงพยางค์เดียวอ่านว่า จัมพ แต่ของโจทก์มี 3 พยางค์ อ่านว่า จั๊มมาสเตอร์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วไม่ทำให้ ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้าจึงไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า: ภาพศิลปะ vs. ภาพธรรมดา, จำนวนพยางค์, และความสับสนของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนส่วนที่เป็นเครื่องหมายเป็นเพียงภาพศิลปะที่มุ่งแสดงความหมายซึ่งประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่ยังไม่คุ้นเคยกับภาพศิลปะดังกล่าว อาจจะมองไม่ออกว่าเป็นรูปคน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นมองได้ง่ายและชัดเจนว่าเป็นรูปคนกระโดดเพราะเป็นภาพธรรมดา ส่วนที่เป็นตัวอักษรโรมันที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนมีเพียงพยางค์เดียวอ่านว่า จัมพ แต่ของโจทก์มี 3 พยางค์ อ่านว่าจั๊มมาสเตอร์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้า จึงไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า LIGHT MAN และ LION MAN เพื่อตัดสินว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LIGHT MAN (ไลท์ แมน) ของโจทก์ไว้ 4 แบบ ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ตัวอักษรขนาดต่างกันและลักษณะของตัวอักษรก็ต่างกันด้วยตัวอักษรคำว่า LIGHT และ MAN นั้นแยกกัน เว้นแต่ตามแบบที่ 3 เท่านั้นที่ตัวอักษรอยู่ติดกันและมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่าง ตามแบบที่ 2 มีรูปศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกอยู่ระหว่างตัวอักษร LIGHT และ MAN ส่วนตามแบบที่ 4 นั้นเป็นรูปสลากกระเป๋าหลังกางเกง มีคำว่า LIHGT MAN อยู่ด้านบนคำว่า FOR WORK AND PLAY และมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่างใช้กับกางเกงยีน ส่วนเครื่องหมายการค้า LION MAN (ไลออน แมน) ที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น ตัวอักษรอยู่ใต้ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตซึ่งอยู่ติดกันโดยศีรษะคนอยู่ด้านขวาส่วนหัวสิงโตอยู่ด้านซ้าย ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตนั้นมีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรประมาณ 5-6 เท่า ส่วนภาพศีรษะคนสวมหมวกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามแบบที่ 2 นั้นมีขนาดเล็กเท่าตัวอักษร และตามแบบที่ 3 กับแบบที่ 9 มีขนาดเล็กกว่าตัวอักษรมาก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรคำว่า ไลท์ แมน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นให้ความสำคัญที่ตัวอักษร ไลออน แมน เท่าเทียมกับภาพประกอบรูปศีรษะคนที่ติดกับหัวสิงโต โดยมีเจตนาให้ภาพดังกล่าวเป็นคำอธิบายความหมายของตัวอักษร คือหมายความว่ามนุษย์สิงโต ส่วนภาพในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งมีภาพศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกนั้น มิได้อธิบายความหมายของคำว่า ไลท์ แมน แต่ประการใด สำหรับตัวอักษรคำว่า แมน ที่เหมือนกันนั้นก็เป็นคำสามัญ ไม่ใช่เฉพาะและมีผู้นำไปใช้กับสินค้าหลายประเภท ส่วนคำว่าไลท์ กับคำว่า ไลออน นั้นมีความหมายแตกต่างกันมาก ทั้งคำว่า ไลท์ ก็อ่านออกเสียงพยางค์เดียวส่วนคำว่า ไลออน อ่านออกเสียงสองพยางค์ เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่เสื้ออันเป็นสินค้าของโจทก์กับที่เสื้ออันเป็นสินค้าของจำเลยแล้ว เห็นได้ชัดว่าลักษณะของตัวอักษร สี แบบ และขนาดแตกต่างกันมาก เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนกล่าวได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายกันจนอาจทำให้สับสน และการใช้คำทั่วไป
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LIGHTMAN(ไลท์แมน)ของโจทก์ไว้ 4 แบบ แต่ละแบบ ขนาดและลักษณะของตัวอักษรต่างกันตัวอักษรคำว่า LIGHT และ MAN นั้นแยกกัน เว้นแต่แบบที่ 3เท่านั้นที่ตัวอักษรอยู่ติดกันและมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านหลัง ส่วนแบบที่ 2 มีรูปศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกอยู่ระหว่างตัวอักษร LIGHT และ MAN แบบที่ 4 ซึ่งใช้กับกางเกงยีนสลากกระเป๋าหลังกางเกง มีคำว่า LIGHTMAN อยู่ด้านบนคำว่าFORWORKANDPLAY และมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่างด้วยส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า LIONMAN(อ่านว่า ไลออนแมน)ที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น ตัวอักษรอยู่ใต้ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตซึ่งอยู่ติดกันโดยศีรษะคนอยู่ด้านขวาส่วนหัวสิงโตอยู่ด้านซ้าย ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตนั้นมีขนิดใหญ่กว่าตัวอักษรประมาณ 4-6 เท่า ส่วนภาพศีรษะคนสวมหมวกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามแบบที่ 2 นั้นมีขนาดเล็กเท่าตัวอักษร และตามแบบที่ 3กับแบบที่ 4 มีขนาดเล็กกว่าตัวอักษรมาก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรคำว่าไลท์แมน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นให้ความสำคัญที่ตัวอักษรไลออนแมน เท่าเทียมกับภาพประกอบรูปศีรษะคนที่ติดกับหัวสิงโต โดยมีเจตนาให้ภาพดังกล่าวเป็นคำอธิบายความหมายของตัวอักษร คือหมายความว่ามนุษย์ สิงโต ส่วนภาพในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งมีภาพศีรษะของคนขนาดเล็กสวมหมวกนั้น มิได้อธิบายความหมายของคำว่า ไลท์แมน แต่ประการใด สำหรับตัวอักษรคำว่า แมน ที่เหมือนกันนั้น ก็เป็นคำสามัญ ไม่ใช่คำเฉพาะ และมีผู้นำไปใช้กับสินค้าหลายประเภท ส่วนคำว่า ไลท์ กับคำว่าไลออนนั้นมีความหมายแตกต่างกันมากทั้งคำว่าไลท์ ก็อ่านออกเสียงพยางค์เดียว ส่วนคำว่า ไลออน อ่านออกเสียงสองพยางค์เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าที่ปรากฎที่เสื้ออันเป็นสินค้าของโจทก์ กับที่เสื้ออันเป็นสินค้าของจำเลยแล้วเห็นได้ชัดว่าลักษณะตัวอักษร สี แบบ และขนาดแตกต่างกันมากเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนกล่าวได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์
of 19