พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายกันทำให้สับสน ห้ามจดทะเบียนซ้ำ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวและคอม้าลาย และคำว่าหัวม้าลายกับอักษรโรมันว่า HEAD ZEBRA ส่วนของจำเลยที่ 1 เป็นรูปม้าลายทั้งตัวยืนอยู่ในวงกลม และคำว่า ตราม้าลายและอักษรโรมันว่า ZEBRA BRAND สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 คือรูปม้าลายประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่า ตราม้าลาย เมื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันจะทำให้เกิดสับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้ อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่ 13 ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจย้อนสำนวนของศาลฎีกา แม้มิได้ฎีกาขอสืบพยานเพิ่มเติม หากจำเป็นต่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการ พิจารณาสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่ก็ตาม เมื่อคดีปรากฏว่ามีความจำเป็นที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยคดีเป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรม ศาลฎีกาก็คงมีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแก่คดีจนสิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบกับมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจย้อนสำนวนของศาลฎีกา แม้มิได้ขอให้สืบพยานใหม่ หากจำเป็นต่อความถูกต้องเที่ยงธรรม
แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการ พิจารณาสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่ก็ตามเมื่อคดีปรากฏว่ามีความจำเป็น ที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยคดีเป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมศาลฎีกาก็คงมีอำนาจ ย้อนสำนวน ไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแก่คดีจนสิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบกับมาตรา247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143-1144/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้เจ้าของเครื่องหมายเดิมยินยอมก่อนหน้า ก็ไม่อาจจดทะเบียนได้
เดิมโจทก์และ ส. ต่างเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ต่อมาโจทก์และส. ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์สิน โดย ส. ยินยอมให้โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ดังกล่าวแต่ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการขอจดทะเบียนนั้น ส. ได้โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ให้แก่บริษัทจำเลยซึ่งมี ส. เป็นกรรมการแล้วบริษัทจำเลยได้คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ของบริษัทจำเลยจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 16 วรรคแรกแล้วนายทะเบียนมี สิทธิที่จะไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้เพราะนอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเดียวกันหรือเกือบเหมือนกันดังเช่นที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18 แล้ว มาตรา 16 วรรคแรกมีเจตนารมณ์ต้องการคุ้มครองประโยชน์ของสาธารณชนเมื่อเครื่องหมายการค้าใดเข้าลักษณะที่บัญญัติไว้แล้วห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนโดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ก่อนมีสิทธิคัดค้านการจดทะเบียนของโจทก์หรือไม่รวมทั้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือผู้รับโอนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า เพื่อใช้ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนคือ 'ORAVIT-M' ออกสำเนียงว่า 'โอราวิท-เอ็ม'กับเครื่องหมายการค้าโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้คือ 'AROVIT' ออกสำเนียงว่า 'อะโรวิท' นั้นไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน.เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีสำเนียงเพียง 3 พยางค์และขึ้นต้นด้วยคำว่า 'อะ' ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนมีสำเนียงถึง 4 พยางค์ และขึ้นต้นด้วยคำว่า 'โอ' ไม่ทำให้ผู้เรียกขานสับสน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกัน สินค้าต่างประเภท ไม่ทำให้สับสน ไม่ละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเป็นภาพหัวสิงห์โตอยู่ในวงกลม แต่รูปวงกลมและส่วนประกอบอื่นๆผิดกันมากใช้กับสินค้าต่างจำพวกกัน ไม่เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ไม่มีลักษณะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: ต้องมีการโต้แย้งสิทธิ หรือความสุจริตในการใช้เครื่องหมาย
กรณีที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ นั้น ถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 16 ก็เป็นเรื่องนายทะเบียนมีหนังสือปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเพราะเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว หรือมีการโต้แย้งคัดค้านการขอจดทะเบียนตามมาตรา 22, 23 อันเป็นการโต้แย้งสิทธิกัน ส่วนกรณีที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 คือจดทะเบียนไว้โดยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น ก็ต้องมีการโต้แย้งสิทธิและทำเป็นคำฟ้องเช่นเดียวกัน (อ้างฎ๊กาที่ 232/2504)
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องมหายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องง่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้ เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องมหายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องง่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้ เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องมีการโต้แย้งสิทธิ หรือความเสียหายจากการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต
กรณีที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้านั้น ถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 16 ก็เป็นเรื่องนายทะเบียนมีหนังสือปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเพราะเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว หรือมีการโต้แย้งคัดค้านการขอจดทะเบียนตาม มาตรา22,23 อันเป็นการโต้แย้งสิทธิกัน ส่วนกรณีที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 คือจดทะเบียนไว้โดยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น ก็ต้องมีการโต้แย้งสิทธิและทำเป็นคำฟ้องเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่ 232/2504)
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันทำให้ประชาชนหลงผิด แม้ต่างจำพวกสินค้า ผู้ใช้สิทธิไม่สุจริตต้องรับผิด
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า TELLME อยู่ภายในวงรีสำหรับสินค้าจำพวก 48 ทั้งจำพวก ได้แก่ เครื่องหอม เครื่องสำอางโดยโจทก์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้กับสินค้าของโจทก์ไว้ก่อน ต่อมาจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า TELLME สำหรับสินค้าจำพวก 38 ทั้งจำพวก ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและแต่งกายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยเป็นคำประดิษฐ์ใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นอักษรโรมันคำเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวเขียน ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์ แม้ของโจทก์จะอยู่ในวงกลมรูปรีของจำเลยไม่มีเส้นกรอบ ก็หาใช่เป็นข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดอย่างใด ไม่สำเนียงที่เรียกขานไม่ว่าจะเป็นตัวพิมพ์หรือตัวเขียนก็อ่านว่า 'เทลมี'อย่างเดียวกัน และปรากฏว่าสินค้าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลาย โจทก์ได้แพร่ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เอกสารสิ่งพิมพ์และกระจายเสียงทางวิทยุซึ่งจำเลยมิได้ทำเลย ดังนี้ถือว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหลงผิด แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะผู้ซื้อหรือใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ผลิตขึ้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายกันทำให้ประชาชนหลงผิด แม้ต่างจำพวกสินค้า ถือเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า TELLME อยู่ภายในวงรีสำหรับสินค้าจำพวก 48 ทั้งจำพวก ได้แก่ เครื่องหอม เครื่องสำอาง โดยโจทก์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้กับสินค้าของโจทก์ไว้ก่อน ต่อมาจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า TELLME สำหรับสินค้าจำพวก 38 ทั้งจำพวก ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและแต่งกายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยเป็นคำประดิษฐ์ใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นอักษรโรมันคำเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวเขียน ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์ แม้ของโจทก์จะอยู่ในวงกลมรูปรีของจำเลยไม่มีเส้นกรอบ ก็หาใช่เป็นข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดอย่างใดไม่สำเนียงที่เรียกขานไม่ว่าจะเป็นตัวพิมพ์หรือตัวเขียนก็อ่านว่า 'เทลมี'อย่างเดียวกัน และปรากฏว่าสินค้าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลาย โจทก์ได้แพร่ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เอกสารสิ่งพิมพ์และกระจายเสียงทางวิทยุซึ่งจำเลยมิได้ทำเลย ดังนี้ถือว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหลงผิด แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย เพราะผู้ซื้อหรือใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ผลิตขึ้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อไปได้