พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายคล้ายกันจนทำให้ประชาชนหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้า
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GANTRISIN' ในสินค้าจำพวก 3 เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษาโรคมนุษย์ และได้ขายยาที่มีเครื่องหมายนี้มากว่า 10 ปีแล้ว จำเลยเพิ่งผลิตยาใช้เครื่องหมายการค้าว่า 'KANDICIN' ออกจำหน่ายได้ 2 ปี เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยเป็นอักษรโรมัน ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นลักษณะสำคัญ ลักษณะและจำนวนตัวอักษรไล่เรี่ยกัน มีสามพยางค์เท่ากัน การอ่านออกสำเนียงพื้นเสียงอักษรที่นำหน้าก็ดี พยางค์ที่ 2 และที่ 3 ก็ดี คล้ายกันและเหมือนกัน ของโจทก์อ่านออกเสียงได้ว่า 'กันทริสซิน'หรือ'การตริซิน' ของจำเลยว่า 'แคนดิซิน'หรือ'คานดิซิน' เป็นสำเนียงที่ใกล้เคียงคล้ายกันมาก เม็ดยา ขนาดและสีก็อย่างเดียวกัน ตัวอักษรที่พิมพ์ทับกันบนเม็ดยาก็คล้ายกัน และต่างก็ใช้กับยาปฏิชีวนะเหมือนกัน จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ เครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้ประชาชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้า เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค ถือเป็นการละเมิดสิทธิและลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE''GARDOL' และ'GARDENT'ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLDENT' ของจำเลยต่างขอจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำ โดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา การใช้อักษรตลอดจนการออกสำเนียงในการอ่านคล้ายคลึงกัน คำในพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า'COL' เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' ของโจทก์ และคำในพยางค์ท้ายมีคำว่า 'DENT' เช่นเดียวกับคำในพยางค์ท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GARDENT' ของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อให้เห็นถึงการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะเป็นการจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำสำหรับสินค้าจำพวก 48 ทั้งจำพวก ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกต หรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อย จึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามนัยแห่งมาตรา 16พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 มาตรา 4
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYMETOOTHPASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษร สีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYMETOOTHPASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษร สีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและบรรจุภัณฑ์ยา ต้องพิจารณาความแตกต่างโดยรวมและกลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า 'PENSTREP' และใช้คำว่า 'PENSTREP 41/2' ลงบนหีบห่อยาของโจทก์ จำเลยใช้คำว่า P-STREPTO ลงบนหีบห่อยาของจำเลย การอ่านออกเสียงชื่อยาทั้งสองขนานห่างไกลกันมาก รูปลักษณะการวางตัวอักษรบนกล่องยาก็ไม่เหมือนกัน แถบสีขาวบนหีบห่อยา ไม่ถือว่าเป็นรอยประดิษฐ์ของโจทก์ เพราะไม่เป็นสัญญลักษณ์พิเศษ นอกจากนั้น กล่องยาของจำเลยยังระบุชื่อห้างหุ้นส่วนของจำเลยไว้ชัดเจนยาของโจทก์จำเลยเป็นยาอันตราย บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่จะใช้ยานี้ ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอย ไม่มีทางที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาของจำเลยเป็นยาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดหลังยอมรับอำนาจคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า: สิทธิฟ้องสิ้นสุดเมื่อไม่นำคดีสู่ศาล
การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19 ทวิกฎหมายให้อุทธรณ์ได้ใน 2 กรณีคือ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งตามมาตรา 16, 18 หรือ 19 ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น ๆ ภายใน 90 วัน หรือเมื่อนายทะเบียนประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามมาตรา 21 แล้ว และมีผู้คัดค้าน ผู้ขอจดทะเบียนต้องยื่นคำโต้แย้งแล้วให้นายทะเบียนมีคำวินิจฉัย เมื่อนายทะเบียนวินิจฉัยแล้วภายใน 90 วัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้ หรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ โดยต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนถึงการนำคดีไปสู่ศาลใน 90 วันด้วย และให้นายทะเบียนรอฟังคำวินิจฉัยของศาล ถ้ามิได้อุทธรณ์ หรือมิได้นำคดีไปสู่ศาล สิทธิอุทธรณ์หรือสิทธินำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไปตามมาตรา 22
การนำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 22 หมายถึงการฟ้องผู้คัดค้านและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำวินิจฉัยเช่นนั้นต่อศาลมิใช่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เพราะแม้ฝ่ายหนึ่งจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ก็มีสิทธินำคดีไปฟ้องศาลได้โดยแจ้งแสดงหลักฐานให้นายทะเบียนทราบ และนายทะเบียนจะต้องรอฟังคำพิพากษาของศาล โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ใช้สิทธินำคดีมีข้อพิพาทไปฟ้องศาล คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 19 ตรี
ความในมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น หมายถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1) หรือคำสั่งตามมาตรา 19 ตรี(2)ซึ่งมีผลบังคับแก่คู่กรณีทุกฝ่าย
เมื่อผู้คัดค้านอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ผู้ขอจดทะเบียนมิได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาล เพื่อมิให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นย่อมเป็นการยอมรับให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านตลอดถึงคำขอจดทะเบียน กับคำแถลงโต้แย้งของผู้ขอจดทะเบียนที่ต่อสู้กับผู้คัดค้านในชั้นที่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยแล้วเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1)อย่างไร คำวินิจฉัยนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 19 เบญจ วรรคท้ายคู่กรณีไม่ว่าฝ่ายใด ไม่มีสิทธิจะฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยต่อศาลในกรณีเดียวกันอีกได้
การนำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 22 หมายถึงการฟ้องผู้คัดค้านและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำวินิจฉัยเช่นนั้นต่อศาลมิใช่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เพราะแม้ฝ่ายหนึ่งจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ก็มีสิทธินำคดีไปฟ้องศาลได้โดยแจ้งแสดงหลักฐานให้นายทะเบียนทราบ และนายทะเบียนจะต้องรอฟังคำพิพากษาของศาล โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ใช้สิทธินำคดีมีข้อพิพาทไปฟ้องศาล คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 19 ตรี
ความในมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น หมายถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1) หรือคำสั่งตามมาตรา 19 ตรี(2)ซึ่งมีผลบังคับแก่คู่กรณีทุกฝ่าย
เมื่อผู้คัดค้านอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ผู้ขอจดทะเบียนมิได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาล เพื่อมิให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นย่อมเป็นการยอมรับให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านตลอดถึงคำขอจดทะเบียน กับคำแถลงโต้แย้งของผู้ขอจดทะเบียนที่ต่อสู้กับผู้คัดค้านในชั้นที่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยแล้วเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1)อย่างไร คำวินิจฉัยนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 19 เบญจ วรรคท้ายคู่กรณีไม่ว่าฝ่ายใด ไม่มีสิทธิจะฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยต่อศาลในกรณีเดียวกันอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า: การอุทธรณ์และการนำคดีสู่ศาลตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19 ทวิ กฎหมายให้อุทธรณ์ได้ใน 2 กรณี คือ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งตามมาตรา 16, 18 หรือ 19 ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น ๆ ภายใน 90 วัน หรือเมื่อนายทะเบียนประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามมาตรา 21 แล้ว และมีผู้คัดค้าน ผู้ขอจดทะเบียนต้องยื่นคำโต้แย้งแล้วให้นายทะเบียนมีคำวินิจฉัย เมื่อนายทะเบียนวินิจฉัยแล้วภายใน 90 วัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้ หรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ โดยต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนถึงการนำคดีไปสู่ศาลใน 90 วันด้วย และให้นายทะเบียนรอฟังคำวินิจฉัยของศาล ถ้ามิได้อุทธรณ์หรือมิได้นำคดีไปสู่ศาล สิทธิอุทธรณ์หรือสิทธินำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไปตามมาตรา 22
การนำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 22 หมายถึงการฟ้องผู้คัดค้านและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำวินิจฉัยเช่นนั้นต่อศาลมิใช่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เพราะแม้ฝ่ายหนึ่งจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ก็มีสิทธินำคดีไปฟ้องศาลได้โดยแจ้งแสดงหลักฐานให้นายทะเบียนทราบและนายทะเบียนจะต้องรอฟังคำพิพากษาของศาล โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ใช้สิทธินำคดีมีข้อพิพาทไปฟ้องศาล คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 19 ตรี
ความในมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น หมายถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี (1) หรือคำสั่งตามมาตรา 19 ตรี (2) ซึ่งมีผลบังคับแก่คู่กรณีทุกฝ่าย
เมื่อผู้คัดค้านอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ผู้ขอจดทะเบียนมิได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาล เพื่อมิให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ย่อมเป็นการยอมรับให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านตลอดถึงคำขอจดทะเบียน กับคำแถลงโต้แย้งของผู้ขอจดทะเบียนที่ต่อสู้กับผู้คัดค้านในชั้นที่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยแล้วเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี (1) อย่างไร คำวินิจฉัยนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย คู่กรณีไม่ว่าฝ่ายใด ไม่มีสิทธิจะฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยต่อศาลในกรณีเดียวกันอีกได้
การนำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 22 หมายถึงการฟ้องผู้คัดค้านและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำวินิจฉัยเช่นนั้นต่อศาลมิใช่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เพราะแม้ฝ่ายหนึ่งจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ก็มีสิทธินำคดีไปฟ้องศาลได้โดยแจ้งแสดงหลักฐานให้นายทะเบียนทราบและนายทะเบียนจะต้องรอฟังคำพิพากษาของศาล โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ใช้สิทธินำคดีมีข้อพิพาทไปฟ้องศาล คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 19 ตรี
ความในมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น หมายถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี (1) หรือคำสั่งตามมาตรา 19 ตรี (2) ซึ่งมีผลบังคับแก่คู่กรณีทุกฝ่าย
เมื่อผู้คัดค้านอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ผู้ขอจดทะเบียนมิได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาล เพื่อมิให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ย่อมเป็นการยอมรับให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านตลอดถึงคำขอจดทะเบียน กับคำแถลงโต้แย้งของผู้ขอจดทะเบียนที่ต่อสู้กับผู้คัดค้านในชั้นที่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยแล้วเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี (1) อย่างไร คำวินิจฉัยนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย คู่กรณีไม่ว่าฝ่ายใด ไม่มีสิทธิจะฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยต่อศาลในกรณีเดียวกันอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อวินิจฉัยการละเมิดสิทธิ
สลากเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปิดที่ฝากล่องใส่ตะไบนอนไปตามส่วนยาวของกล่อง ตอนส่วนบนสลากของโจทก์เป็นรูปตะไบ 2 อันไขว้ทับกันเป็นเส้นทะแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางระหว่างโคนตะไบมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ ยู.เอส.เอ. เป็นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ส่วนของจำเลยเป็นรูปตะไบ 2 อันวางอยู่ห่างกันหันปลายตะไบเข้าหากัน โคนตะไบถ่างออกจากกันตรงกลางระหว่างโคนตะไบเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวต่อลงไปทางส่วนกลางของสลากของโจทก์เป็นรูปผู้ชายกำลังยืนใช้ตะไบถูเหล็ก ส่วนของจำเลยเป็นรูปโรงงานมีควันไฟกำลังออกจากปล่องของโรงงานรูปทั้งสองบนสลากดังกล่าวนี้มีลักษณะเด่นเห็นได้ชัดเจนที่สุด ไม่มีทางที่จะทำให้เห็นได้เลยว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีลักษณะไปในทางเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และไม่ชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันหรือเกือบเหมือนกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน การที่จำเลยไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และการที่จำเลยสั่งตะไบที่มีเครื่องหมายการค้าตามหมาย จ.11 มาขาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า รูปจรเข้ ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด เป็นละเมิด
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับจอบเป็นรูปจรเข้หันข้างตามยาว หัวไปทางขวา ปลายปัดลงเล็กน้อย ส่วนจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับจอบเป็นรูปจรเข้หันข้างตามยาวในลักษณะเช่นเดียวกัน หันหัวไปทางซ้าย ปลายทางปัดขึ้นเล็กน้อย อยุ่ในช่องว่างตอนกลาง ของรูปโจทก์ ซึ่งเว้นว่างไว้กว่า 1 ใน 3 และมีหนังสือภาษาอังกฤษตอนบนเหนือรูปโลกและภาษาจีนใต้รูปโลกแปลว่า ลูกโลกจรเข้ และมีภาษีไทยเหนือภาษาอังกฤษว่า ลูกโลกจรเข้ ทั้งหมดนี้อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเห็นรูปจรเข้ได้เด่นชัดกว่ารูปโลก ทำให้ผู้ซื้อจอบไม่เห็นข้อแตกต่างระหว่างจอบของโจทก์และและของจำเลยแล้ว ก็เห็นได้ว่าเครื่องหมายของจำเลยเลียนรูปและลักษณะจรเข้ของโจกท์ เป็นการลวงสาธารณชนให้หลงเข้าใจผิด เป็นละเมิดต่อโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบรูปจรเข้ในเครื่องหมายการค้าจอบ ทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับจอบเป็นรูปจรเข้หันข้างตามยาว หัวไปทางขวา ปลายหางปัดลงเล็กน้อย ส่วนจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับจอบเป็นรูปจรเข้หันข้างตามยาวในลักษณะเช่นเดียวกัน หันหัวไปทางซ้ายปลายหางปัดขึ้นเล็กน้อย อยู่ในช่องว่างตอนกลางของรูปโลก ซึ่งเว้นว่างไว้กว่า 1 ใน 3 และมีหนังสือภาษาอังกฤษตอนบนเหนือรูปโลกและภาษาจีนใต้รูปโลกแปลว่าลูกโลกจรเข้และมีภาษาไทยเหนือภาษาอังกฤษว่า ลูกโลกจรเข้ทั้งหมดนี้อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเห็นรูปจรเข้ได้เด่นชัดกว่ารูปโลก ทำให้ผู้ซื้อจอบไม่เห็นข้อแตกต่างระหว่างจอบของโจทก์และของจำเลยแล้ว ก็เห็นได้ว่าเครื่องหมายของจำเลยเลียนรูปและลักษณะจรเข้ของโจทก์เป็นการลวงสาธารณชนให้หลงเข้าใจผิด เป็นละเมิดต่อโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกันจนทำให้ประชาชนหลงผิด ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนได้ แม้เป็นคำประดิษฐ์
โจทก์ใช้คำประดิษฐ์ขึ้นเป็นอักษรโรมันว่า +PHENERGAN+ สำหรับยารักษาโรคจำพวกหนึ่งที่โจทก์ผลิตขึ้นจำหน่าย และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับคำ ๆ นี้ไว้แล้ว ต่อมานายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นคำว่า +PHENAGIN ในจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ดังนี้ เมื่อพิจารณาถึงการเรียงลำดับตัวอักษรตลอดจนสำเนียงที่เรียกขานอันเป็นคำของภาษาต่างประเทศแล้ว ย่อมเห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองนี้มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกัน อันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดได้ ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนการจัดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเสียได้ และในการพิจารณาดังกล่าวนั้น จะพิจารณาแต่เฉพาะการอ่านออกเสียงหรือสำเนียงที่เรียกขานแต่อย่างเดียวย่อมไม่ได้ต้องพิเคราะห์ถึงเหตุอื่น ๆ ด้วย.
เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าที่สำเร็จรูปแล้ว ไม่จำต้องไปพิเคราะห์ถึงส่วนประกอบอื่นใดอีก.
เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าที่สำเร็จรูปแล้ว ไม่จำต้องไปพิเคราะห์ถึงส่วนประกอบอื่นใดอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนของเครื่องหมายการค้าเพื่อการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า มาตรา 17 และการไม่นำอายุความมาใช้
กรณีที่นายทะเบียนสั่งการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จะนำอายุความตามมาตรา 29 วรรคต้นมาใช้ไม่ได้ เพราะกรณีต่างกัน
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอย (หอยแครง) ไม่ใช่รูปนกยูง (ยูงรำแพน) ดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันกับรูปนกยูงของโจทก็พอดี ลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนของโจทก์ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2405)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดไว้เดิมเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)
หลักเกณฑ์ที่ว่าถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้น ใช้เฉพาะในกรณีที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เจ้าของเครื่องหมายรายหนึ่งไว้แล้ว เจ้าของอีกรายหนึ่งที่เครื่องหมายการค้าคล้ายกันได้มาขอจดบ้าง ถ้าเครื่องหมายรายหลังนี้คล้ายกันจนถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 16 ก็ห้ามมิให้รับจดทะเบียนให้ กรณีจึงต่างกับกรณีตามมาตรา 17
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอย (หอยแครง) ไม่ใช่รูปนกยูง (ยูงรำแพน) ดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันกับรูปนกยูงของโจทก็พอดี ลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนของโจทก์ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2405)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดไว้เดิมเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)
หลักเกณฑ์ที่ว่าถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้น ใช้เฉพาะในกรณีที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เจ้าของเครื่องหมายรายหนึ่งไว้แล้ว เจ้าของอีกรายหนึ่งที่เครื่องหมายการค้าคล้ายกันได้มาขอจดบ้าง ถ้าเครื่องหมายรายหลังนี้คล้ายกันจนถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 16 ก็ห้ามมิให้รับจดทะเบียนให้ กรณีจึงต่างกับกรณีตามมาตรา 17