คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า โดยพิจารณาจากองค์ประกอบและความหมายของคำ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมาย-การค้าที่ได้ถือคำอักษรโรมันเป็นสำคัญ คือของโจทก์เป็นคำว่า "DENTYNE" ส่วนของจำเลยเป็นคำว่า "DENT GUM" อักษรไทยเป็นเพียงคำทับศัพท์เพื่ออ่านออกเสียงตามอักษรโรมันว่า เดนทีน เดนท์กัม แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีคำว่า"เดนท์" และคำว่า "DENT" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งมีอักษรไทย 3 ตัวแรก และอักษรโรมัน 4 ตัวแรก ตรงกับอักษรไทยและอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยแยกเป็นคำ2 คำ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำคำเดียว คำว่า "DENT" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีความหมายว่า รอยเว้า รอยฟัน ทำเป็นรอยตอกเป็นรอย และคำว่า "GUM" มีความหมายว่า ยางไม้ กาวที่ทำจากยางไม้ส่วนคำว่า "DENTYNE" ของโจทก์เป็นคำที่ไม่มีความหมาย เครื่องหมายการค้าของจำเลยและโจทก์จึงมีคำและตัวอักษรแตกต่างกันอย่างเด่นชัด ทั้งเครื่องหมาย-การค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานแตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ก่อให้ความสับสนหลงผิด ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและขอบเขตการอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ขณะที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทและจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์เป็นระยะเวลาก่อนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอของโจทก์ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของจำเลยจึงอยู่ในบังคับของบทบัญญัติ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุดตามมาตรา 119 (2) และมาตรา 121 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 เมื่อคดีฟังได้ว่า ภายหลังจากที่จำเลยมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทแล้ว โจทก์ได้ใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำ-วินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้ารายพิพาทของโจทก์มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งปฏิเสธของจำเลย และให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ ตามมาตรา 19 ตรี (1)แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ดังนั้น คำวินิจฉัยและคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในประเด็นที่ว่าเครื่องหมายการค้าอักษรไทยคำว่า "กรีนนัท" อักษรโรมันคำว่า "Greennut" ของโจทก์ตามคำขอเลขที่223913 เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 19 เบญจ วรรคท้ายแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อกฎหมายได้กำหนดวิธีการอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับกรณีนี้ไว้แล้ว โจทก์จะดำเนินการคัดค้านว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยวิธีอื่น เช่น ฟ้องคดีต่อศาลอีกหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้าและการใช้คำสามัญ 'กุ๊ก' โดยไม่ทำให้สับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า กุ๊ก และ COOKประกอบด้วยรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัว แต่งตัวเป็นพ่อครัว ลำตัวคล้ายขวด มีมือสองข้างและเท้าสองข้าง คำว่า กุ๊ก และ COOK อยู่กลางลำตัว ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนเป็นรูปคนอยู่ภายในวงกลมค่อนซีก แม้จะแต่งตัวเป็นพ่อครัวแต่ก็มีเพียงครึ่งตัวท่อนบน มีมือสองข้างแต่ไม่มีเท้า มีอักษรประดิษฐ์คำว่า PRอยู่ที่หน้าอกของพ่อครัว ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวซึ่งมีขนาดใหญ่ มิได้อยู่ที่คำว่า กุ๊กพีอาร์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ารูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างจากรูปการ์ตูนลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจน ประกอบกับฉลากปิดสินค้าซอสปรุงรสตราพีอาร์ของจำเลยก็ไม่มีคำว่า กุ๊ก ปรากฏอยู่ แต่มีรูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวและระบุชื่อบริษัทจำเลยเป็นผู้ผลิตพร้อมที่อยู่ใต้รูปคนดังกล่าวเห็นได้อย่างเด่นชัด ทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือ น้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็น ซอส ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว และน้ำปลา ไม่มีน้ำมันพืช ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิด ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 คำว่า กุ๊กหมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊ก แต่เพียงผู้เดียว บุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่า กุ๊ก ได้จำเลยจึงนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนสับสน แม้มีคำว่า 'กุ๊ก' ใช้ได้ เพราะเป็นคำสามัญ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่ากุ๊กและCOOK ประกอบด้วยรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัวแต่งตัวเป็นพ่อครัวลำตัวคล้ายขวดมีมือสองข้างและเท้าสองข้างคำว่ากุ๊กและCOOK อยู่กลางลำตัวส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนเป็นรูปคนอยู่ภายในวงกลมค่อนซีกแม้จะแต่งตัวเป็นพ่อครัวแต่ก็มีเพียงครึ่งตัวท่อนบนมีมือสองข้างแต่ไม่มีเท้ามีอักษรประดิษฐ์คำว่าPRอยู่ที่หน้าอกของพ่อครัวลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวซึ่งมีขนาดใหญ่มิได้อยู่ที่คำว่ากุ๊กพีอาร์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ารูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างจากรูปการ์ตูนลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจนประกอบกับฉลากปิดสินค้าซอสปรุงรสตราพีอาร์ของจำเลยก็ไม่มีคำว่ากุ๊กปรากฎอยู่แต่มีรูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวและระบุชื่อบริษัทจำเลยเป็นผู้ผลิตพร้อมที่อยู่ใต้รูปคนดังกล่าวเห็นได้อย่างเด่นชัดทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือน้ำมันพืชเท่านั้นส่วนสินค้าของจำเลยเป็นซอสซีอิ๊วเต้าเจี้ยวและน้ำปลาไม่มีน้ำมันพืชยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525คำว่ากุ๊กหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่งฉะนั้นคำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปลไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่ากุ๊กแต่เพียงผู้เดียวบุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่ากุ๊กได้จำเลยจึงนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึง และความเป็นคำสามัญ
คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพ.ศ. 2525 หมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊กแต่เพียงผู้เดียว จำเลยจึงนำไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชนได้ แม้ใช้คำ 'กุ๊ก' ซึ่งเป็นคำสามัญได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัวแต่งตัวเป็นพ่อครัวลำตัวคล้ายขวดมีมือสองข้างและเท้าสองข้างคำว่ากุ๊กและCOOKอยู่กลางลำตัวส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปคนยิ้มสวนหมวกพ่อครัวครึ่งตัวยกมือข้างซ้ายชูนิ้วหัวแม่มือผูกหูกระต่ายที่คออย่างเด่นชัดใต้รูปดังกล่าวมีคำว่ากุ๊กอินเตอร์และINTERCOOKลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคำว่ากุ๊กอินเตอร์และINTERCOOKรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนเต็มตัวมีลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจนประกอบกับสลากปิดสินค้าปลากระป๋องรวมมิตรทะเลตรากุ๊กอินเตอร์ของจำเลยมีรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวพร้อมระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไว้ด้วยทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือน้ำมันพืชเท่านั้นส่วนสินค้าของจำเลยเป็นอาหารกระป๋องไม่มีน้ำมันพืชยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525คำว่ากุ๊กหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่งฉะนั้นคำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปลไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่ากุ๊กแต่เพียงผู้เดียวบุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่ากุ๊กได้จำเลยจึงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้โจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และสิทธิในการใช้คำทั่วไป (กุ๊ก) เพื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัว แต่งตัวเป็นพ่อครัว ลำตัวคล้ายขวด มีมือสองข้างและเท้าสองข้าง คำว่า กุ๊ก และ COOKอยู่กลางลำตัว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวยกมือข้างซ้ายชูนิ้วหัวแม่มือ ผูกหูกระต่ายที่คออย่างเด่นชัด ใต้รูปดังกล่าวมีคำว่ากุ๊กอินเตอร์ และ INTER COOK ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคำว่า กุ๊กอินเตอร์ และ INTERCOOK รูปคนครึ่งตัวดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนเต็มตัวมีลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจน ประกอบกับสลากปิดสินค้าปลากระป๋องรวมมิตรทะเลตรากุ๊กอินเตอร์ของจำเลยมีรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวพร้อมระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไว้ด้วย ทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือน้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นอาหารกระป๋อง ไม่มีน้ำมันพืช ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะทำให้สาธารณชนหลงผิด ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 คำว่า กุ๊กหมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊ก แต่เพียงผู้เดียว บุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่า กุ๊ก ได้จำเลยจึงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย จะร้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าเก่ากว่าย่อมคุ้มครอง แม้จำเลยจดทะเบียนภายหลัง
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่22รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลยให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันและให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้นเป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29วรรคสองซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ดังนั้นเมื่อปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่าโจทก์ที่1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดมีโจทก์ที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่2เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนโจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อรถจักรยานสามล้อและอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าวโดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่1เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่2ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใดโจทก์ที่1มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนโจทก์ที่1จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29(2) เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"และ"TRADEMARK"อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับกับมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"โดยมีหยดน้ำ3หยดใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้นส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้ายกับมีรูปดาว5ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม2ชั้นระหว่างวงกลม2ชั้นซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้นมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"และ"FIVESTAR"อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว5ดวงนั้นตามลำดับกับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ1จุดโดยมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมชั้นนอกในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK"อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR"ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าวและมีหยดน้ำ3หยดอยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมากโดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมใต้วงกลมนั้นมีตัวอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"อยู่ในวงกลมด้านบนและมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ3หยดอยู่ในรูปอาร์มนั้นซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2และของจำเลยที่1ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างอาทิเช่นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีวงกลมชั้นเดียวส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีวงกลม2ชั้นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK"อยู่ด้านล่างของวงกลมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีอักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR"อยู่ด้านล่างของวงกลมโดยมีรูปดาว5ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"อยู่ในรูปอาร์ม6เหลี่ยมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK"อยู่ในรูปอาร์ม6เหลี่ยมก็ตามแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยหากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เหมือนกันว่ารถจักรยานตราจระเข้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สืบสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ที่2ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่1โจทก์ที่2จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่1และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์ที่2เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่1และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แม้จำเลยที่1จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทการที่จำเลยที่1ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่1ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่2ซึ่งโจทก์ที่2ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่2จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่2ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่2แล้วซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายที่เหมือนกัน/คล้ายกันเป็นการละเมิดสิทธิและลวงสาธารณชน
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 22 รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลย ให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกัน และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) และมาตรา 29 วรรคสองซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อปรากฎจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่าโจทก์ที 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีโจทก์ที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อ รถจักรยานสามล้อ และอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าว โดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฎว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) และมาตรา 29(2) เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับที่อักษรโรมันคำว่า "THECROCODILE"และ "TRADEMARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับ กับมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า "THECROCODILEENGLANDLTD" โดยมีหยดน้ำ3หยดใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับมีรูปดาว 5 ดวง อยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม 2 ชั้น ระหว่างวงกลม 2 ชั้นซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้น มีอักษรโรมันคำว่า "THECROCODILE"และ "FIVESTAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว 5 ดวง นั้นตามลำดับ กับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ1 จุด โดยมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมชั้นนอกในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าว และมีหยดน้ำ3หยดอยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมากโดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยมใต้วงกลมนั้น มีตัวอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"อยู่ในวงกลมด้านบน และมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ3หยด อยู่ในรูปอาร์มนั้น ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 และของจำเลยที่ 1ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง อาทิเช่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีวงกลมชั้นเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีวงกลม 2 ชั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ด้านล่างของวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีอักษรโรมันคำว่า "FIVESTAR" อยู่ด้านล่างของวงกลม โดยมีรูปดาว 5 ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์มี 2 มีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"อยู่ในรูปอารม์ 6 เหลี่ยม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ในรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ก็ตามแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยหากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่ 2 และ จำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า รถจักรยานตราจระเข้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ที่ 2 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา 41|1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน และเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 1และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่ 2 จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่ 2ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 แล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนและการลวงขายสินค้าทำให้สาธารณชนสับสน
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 22 รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลย ให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกัน และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวง-ขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)และมาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีโจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อ รถจักรยานสามล้อ และอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าว โดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ที่ 1จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) และมาตรา 29 (2)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับมีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE"และ "TRADE MARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับ กับมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" โดยมีหยดน้ำ 3 หยด ใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับมีรูปดาว 5 ดวง อยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม 2 ชั้น ระหว่างวงกลม 2 ชั้น ซี่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้น มีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" และ "FIVE STAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว 5 ดวง นั้น ตามลำดับ กับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ 1 จุด โดยมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมชั้นนอก ในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVE STAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าว และมีหยดน้ำ 3 หยด อยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมาก โดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ใต้วงกลมนั้น มีตัวอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" อยู่ในวงกลมด้านบน และมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ 3 หยด อยู่ในรูปอาร์มนั้น ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2และของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง อาทิเช่น เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ที่ 2 มีวงกลมชั้นเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีวงกลม 2 ชั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"TRADE MARK" อยู่ด้านล่างของวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีอักษรโรมันคำว่า "FIVE STAR" อยู่ด้านล่างของวงกลม โดยมีรูปดาว 5 ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" อยู่ในรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 มีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ในรูปอาร์ม6 เหลี่ยม ก็ตาม แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย หากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า รถจักรยานตราจระเข้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ที่ 2 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน และเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่ 1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 1 และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวง-ขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่ 2 จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่ 2 ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 แล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
of 19