คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนและการลวงขายสินค้าทำให้สาธารณชนสับสน
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 22 รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลย ให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกัน และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวง-ขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)และมาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีโจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อ รถจักรยานสามล้อ และอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าว โดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ที่ 1จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) และมาตรา 29 (2)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับมีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE"และ "TRADE MARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับ กับมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" โดยมีหยดน้ำ 3 หยด ใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับมีรูปดาว 5 ดวง อยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม 2 ชั้น ระหว่างวงกลม 2 ชั้น ซี่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้น มีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" และ "FIVE STAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว 5 ดวง นั้น ตามลำดับ กับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ 1 จุด โดยมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมชั้นนอก ในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVE STAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าว และมีหยดน้ำ 3 หยด อยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมาก โดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ใต้วงกลมนั้น มีตัวอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" อยู่ในวงกลมด้านบน และมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ 3 หยด อยู่ในรูปอาร์มนั้น ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2และของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง อาทิเช่น เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ที่ 2 มีวงกลมชั้นเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีวงกลม 2 ชั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"TRADE MARK" อยู่ด้านล่างของวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีอักษรโรมันคำว่า "FIVE STAR" อยู่ด้านล่างของวงกลม โดยมีรูปดาว 5 ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" อยู่ในรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 มีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ในรูปอาร์ม6 เหลี่ยม ก็ตาม แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย หากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า รถจักรยานตราจระเข้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ที่ 2 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน และเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่ 1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 1 และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวง-ขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่ 2 จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่ 2 ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 แล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันจนอาจทำให้เกิดความสับสนและหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกเมื่อ พ.ศ.2520 คือ อักษรโรมันกับอักษรภาษาไทยคำว่าCOOK กับ กุ๊ก โจทก์ได้ผลิตสินค้าน้ำมันพืชที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจำหน่ายและโฆษณาสินค้านั้นจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายของสาธารณชน ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนเมื่อ พ.ศ.2532 ในสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกก็เป็นอักษรโรมันและอักษรภาษาไทยเช่นเดียวกันคือ คำว่า COOK MATE กับ กุ๊คเมทโดยจำเลยไม่เคยผลิตน้ำมันพืชออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นเครื่องหมายประเภทคำ มีอักษรโรมันคำว่า COOKซ้ำกันและเขียนด้วยตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกัน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเขียนด้วยอักษรภาษาไทยว่า กุ๊ก ส่วนของจำเลยเขียนว่า กุ๊ค แต่การ-ออกเสียงในภาษาไทยทั้งสองคำก็ไม่ต่างกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียงหรือสำเนียงเรียกขานคำว่า COOK เป็นหลักเพราะเรียกขานและจดจำได้ง่าย การใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนที่พบเห็นสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้ เพราะสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าจำพวกเดียวกัน เครื่องหมายการค้าคำว่า COOK MATE และ กุ๊คเมท ของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า COOK และ กุ๊ก ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 16 นายทะเบียนจึงไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยได้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณและความแพร่หลายในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOK MATE และ กุ๊คเมท ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสนและเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสินค้าจำพวก42ทั้งจำพวกเมื่อพ.ศ.2520คือ อักษรโรมันกับอักษรภาษาไทยคำว่าCOOK กับกุ๊ก โจทก์ได้ผลิตสินค้าน้ำมันพืชที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจำหน่ายและโฆษณาสินค้านั้นจนเป็นที่รู้จัดแพ่งหลายของสาธารณชนส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนเมื่อพ.ศ.2532ในสินค้าจำพวก42ทั้งจำพวกก็เป็นอักษรโรมันและอักษรภาษาไทยเช่นเดียวกันคือคำว่าCOOKMATE กับกุ๊คเมท โดยจำเลยไม่เคยผลิตน้ำมันพืชออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวดังนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำมีอักษรโรมันคำว่าCOOK ซ้ำกันและเขียนด้วยอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเขียนด้วยอักษรภาษาไทยว่ากุ๊ก ส่วนของจำเลยเขียนว่ากุ๊คแต่การออกเสียงในภาษาไทยทั้งสองคำก็ไม่ต่างกันเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียงหรือสำเนียงเรียกขานคำว่าCOOK เป็นหลักเพราะเรียกขานและจดจำได้ง่ายการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนที่พบเห็นสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้เพราะสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOKMATE และกุ๊คเมท ของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOK และกุ๊ก ของCOOKที่ได้จดทะเบียนไว้จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา16นายทะเบียนจึงไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยได้การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณและความแพร่หลายในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตโจทก์ชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOKMATE และกุ๊คเมท ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนย่อมฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนของผู้อื่นได้ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา16วรรคสองเพียงแต่บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่รับจดทะเบียนไปให้ทราบตามวรรคหนึ่งของมาตรา16มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา19ทวิได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเหตุที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนนั้นโดยมิได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใช้สิทธิดำเนินคดีทางศาลโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทอันจดทะเบียนไว้ในประเทศฝรั่งเศสได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของส.ซึ่งนายทะเบียนได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วต่อมาส. ได้โอนให้จำเลยโจทก์ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและขอให้คณะกรรมการรอการวินิจฉัยไว้ก่อนซึ่งคณะกรรมการได้มีคำสั่งให้รอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไว้เพื่อรอคำพิพากษาของศาลการที่โจทก์คดีขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าของโจทก์แพร่หลายมาเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้วทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ไว้ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศต่างๆไม่น้อยกว่า90ประเทศจึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยผู้ที่จดทะเบียนไว้แล้วขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา41(1)โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องได้ โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นการที่โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา16วรรคสองอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามิใช่เป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามมาตรา22วรรคสี่(1)อันเป็นกรณีที่มีผู้คัดค้านการขอจดทะเบียนแล้วนายทะเบียนได้ให้คำวินิจฉัยกรณีนี้ไม่มีการคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์แต่เป็นเรื่องที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้โจทก์เองเพราะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนนั้นเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วกรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา22และไม่ตัดสิทธิของโจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงจะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนเมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของส. และต่อมาส. โอนสิทธิเครื่องหมายการค้าให้จำเลยโจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลโดยฟ้องจำเลยต่อศาลเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่สิ้นไป โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยเพราะได้ใช้มาก่อนซึ่งเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)โจทก์หาได้ฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าโจทก์ตามมาตรา29ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทยก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7427/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกันพอที่จะทำให้สาธารณชนสับสน สินค้าต่างประเภท และไม่มีเจตนาลวง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปใบหน้าคนทำครัวสวมหมวก มีมือข้างเดียวถือขวดโดยไม่มีส่วนแขน ลำตัว และเท้า แม้รูปส่วนของจำเลยจะประดิษฐ์ขึ้นแต่ก็มองได้ออกอย่างชัดเจนว่าเป็นคน ส่วนของโจทก์เป็นรูปตัวการ์ตูนทรงกระบอกรูปขวดมีหมวก ตา ปาก มือ และลำตัว ซึ่งดัดแปลงมาจากขวดของน้ำมันพืช สำหรับเครื่องหมายการค้าส่วนที่เป็นตัวอักษร ส่วนของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรโรมันคำว่า COOK เป็นอักษรเพียงพยางค์เดียว แต่ส่วนของจำเลยเป็นอักษรไทยคำว่า กุ๊กทอง มี 2 พยางค์ และอักษรโรมันคำว่า COLDEN COOK มี 3 พยางค์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน เพราะไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนั้นสินค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียวคือ น้ำมันพืชส่วนของจำเลยผลิตสินค้า ซอสถั่วเหลือง ซอสพริก น้ำปลา ซีอิ้วและเต้าเจี้ยวโดยไม่ได้ผลิตน้ำมันพืชแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7427/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและเจตนาในการหลอกลวงสาธารณชนเพื่อพิจารณาการละเมิดเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปใบหน้าคนทำครัวสวมหมวก มีมือข้างเดียวถือขวดโดยไม่มีส่วนแขน ลำตัว และเท้า แม้รูปส่วนของจำเลยจะประดิษฐ์ขึ้นแต่ก็มองได้ออกอย่างชัดเจน ว่าเป็นคน ส่วนของโจทก์เป็นรูปตัวการ์ตูนทรงกระบอกรูปขวด มีหมวก ตา ปาก มือ และลำตัว ซึ่งดัดแปลงมาจากขวดของน้ำมันพืช สำหรับเครื่องหมายการค้าส่วนที่เป็นตัวอักษร ส่วนของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรโรมันคำว่า COOK เป็นอักษรเพียงพยางค์เดียว แต่ส่วนของจำเลยเป็นอักษรไทยคำว่ากุ๊กทอง มี 2 พยางค์ และอักษรโรมันคำว่า COLDENCOOK มี3 พยางค์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน เพราะไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนั้นสินค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียวคือ น้ำมันพืช ส่วนของจำเลยผลิตสินค้า ซอสถั่วเหลือง ซอสพริก น้ำปลา ซีอิ้วและเต้าเจี้ยวโดยไม่ได้ผลิตน้ำมันพืชแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7210/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองเครื่องหมายที่ใช้ก่อนและคล้ายคลึงกัน การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้ารูปกรงนกประกอบอักษรโรมันคำว่าMACYS ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ และเครื่องหมายการค้ารูปนกบินประกอบอักษรโรมันคำว่า MACY'S ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน ต่างออกเสียงว่า เมซี่ส์ เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 สาระสำคัญของการเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงอยู่ที่คำว่า MACYS หรือMACY'S ฉะนั้นลูกค้าที่ซื้อสินค้าจะเรียกสินค้าของโจทก์ว่า เมซี่ส์ เหมือนกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงอาจทำให้ประชาชนผู้ซื้อสินค้าสับสนหรือหลงผิดในแหล่งกำเนิดและคุณภาพของสินค้าได้ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า MACY'S และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ยังต่างประเทศก่อนโจทก์ สินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่แพร่หลายมาประมาณ100 ปีแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่าMACY'S ดีกว่าโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย และจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยก็ตาม แม้คำฟ้องของโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ถอนคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกบินและคำว่า MACY'S ของโจทก์เท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ได้กล่าวอ้างถึงเครื่องหมายการค้ารูปกรงนกและคำว่า MACYS ที่ได้รับการจดทะเบียนมาในคำฟ้องด้วย จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MACY'S ของจำเลยที่ 1 ดีกว่าสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า MACYS ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและคำว่าMACY'S ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน และจำเลยที่ 1 ย่อมอาศัยสิทธิที่ตนได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้านั้น ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมจำเลยที่ 1 ชอบที่จะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 44ห้ามมิให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายอื่น แต่บทบัญญัติมิได้ห้ามคู่ความฝ่ายอื่นเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนนายทะเบียน ฉะนั้น ศาลจึงสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสองได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความสำหรับจำเลยที่ 1เป็นเงิน 4,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อคดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การกำหนดค่าทนายความดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเกินอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นจำนวน3,000 บาท ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลฎีกากำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7210/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิและความชอบธรรมในการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน
เครื่องหมายการค้ารูปกรงนกประกอบอักษรโรมันคำว่าMACYS ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ และเครื่องหมายการค้ารูปนกบินประกอบอักษรโรมันคำว่า MACY'S ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน ต่างออกเสียงว่า เมซี่ส์ เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 สาระสำคัญของการเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงอยู่ที่คำว่า MACYS หรือ MACY'S ฉะนั้นลูกค้าที่ซื้อสินค้าจะเรียกสินค้าของโจทก์ว่า เมซี่ส์ เหมือนกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1จึงอาจทำให้ประชาชนผู้ซื้อสินค้าสับสนหรือหลงผิดในแหล่งกำเนิดและคุณภาพของสินค้าได้ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า MACY'Sและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ยังต่างประเทศก่อนโจทก์ สินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่แพร่หลายมาประมาณ 100 ปีแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MACY'S ดีกว่าโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย และจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยก็ตาม
แม้คำฟ้องของโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ถอนคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกบินและคำว่า MACY'S ของโจทก์เท่านั้นแต่เมื่อโจทก์ได้กล่าวอ้างถึงเครื่องหมายการค้ารูปกรงนกและคำว่า MACYSที่ได้รับการจดทะเบียนมาในคำฟ้องด้วย จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MACY'S ของจำเลยที่ 1ดีกว่าสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า MACYS ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและคำว่า MACY'S ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน และจำเลยที่ 1 ย่อมอาศัยสิทธิที่ตนได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้านั้น ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม จำเลยที่ 1 ชอบที่จะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 44 ห้ามมิให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายอื่น แต่บทบัญญัตินี้มิได้ห้ามคู่ความฝ่ายอื่นเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนนายทะเบียน ฉะนั้น ศาลจึงสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสองได้
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความสำหรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อคดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การกำหนดค่าทนายความดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเกินอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นจำนวน 3,000 บาท ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ศาลฎีกากำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, สิทธิเครื่องหมายการค้า, การฟ้องซ้ำ, ความคล้ายคลึงเครื่องหมายการค้า, และความสุจริต
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ อ.ฟ้องคดีเป็นใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คน ลงชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก และมีรองกงสุลไทย ณ เมืองนั้นลงชื่อเป็นพยาน ใบมอบอำนาจของโจทก์จึงเชื่อได้ว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง ไม่มีเหตุอันควรสงสัยใบมอบ-อำนาจดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ อ.จะไม่เคยเดินทางไปบริษัทโจทก์ที่ประเทศมาเลเซีย และโจทก์ไม่ได้นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์2 คน มาเบิกความเป็นพยาน แต่จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และแม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะได้ทำขึ้นก่อนโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้แต่ข้อความในใบมอบอำนาจมีว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ.มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และดำเนินการจนถึงที่สุดในศาลไทยได้อ.จึงมีอำนาจฟ้องคดีผู้โต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปับลิกและกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้ว ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 164038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกและคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 163600 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่143673 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ)ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ.2515 โดยได้รับโอนจาก ฉ. และ ท. เมื่อ พ.ศ.2522 ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2519ก่อนจำเลยและบริษัท ล.ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ.2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือลูกมะกอก (ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDEN HORSE BRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเท่านั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อเห็นรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัวตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: การพิพาทระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศกับการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันในไทย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ อ. ฟ้องคดีเป็นใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คนลงชื่อต่อหน้าโนตารีปัปลิก และมีรองกงสุลไทย ณ เมืองนั้นลงชื่อเป็นพยาน ใบมอบอำนาจของโจทก์จึงเชื่อได้ว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง ไม่มีเหตุอันควรสงสัยใบมอบอำนาจดังกล่าวแต่อย่างใดดังนั้น แม้ อ. จะไม่เคยเดินทางไปบริษัทโจทก์ที่ประเทศมาเลเซียและโจทก์ไม่ได้นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คนมาเบิกความเป็นพยาน แต่จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น หนังสือมอบอำนาจนั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และแม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะได้ทำขึ้นก่อนโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้แต่ข้อความในใบมอบอำนาจมีว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ. มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และดำเนินการจนถึงที่สุดในศาลไทยได้ อ. จึงมีอำนาจฟ้องคดีผู้โต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปัปลิก และกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกขึ้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้วไม่อยู่ในบังคับที่จะต้อง ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 134038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวก และคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 16360 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 143373 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600 หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก(ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 โดยได้รับโอนจากฉ.และท.เมื่อพ.ศ.2522ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก(ลูกหนำเลียบ)ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ก่อนจำเลยและบริษัท ล. ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ. 2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือ ลูกมะกอก(ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42 ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDENHORSEBRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก 3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเท่านั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัว ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้
of 19