พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม: การฟ้องละเมิดเครื่องหมายการค้าต้องระบุรายละเอียดเครื่องหมายการค้าของจำเลยให้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ประกอบกิจการค้าผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปนำเข้าด้ายและผ้า ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปหัวม้าและอักษรโรมัน คำว่า "JORDACHE" ใช้กับสินค้าของโจทก์ ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่โจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยประดิษฐ์ขึ้นมีรูปแบบลักษณะอย่างไรมีอักษรภาษาใดกำกับในรูปแบบนั้นด้วยหรือไม่ เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกใด แม้โจทก์จะได้ระบุหมายเลขคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้ในคำขอท้ายคำฟ้อง แต่โจทก์ก็มิได้แนบคำขอจดทะเบียนดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องและชี้ให้เห็นชัดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยส่วนใดไปคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ทำให้ฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ประกอบกิจการค้าผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป นำเข้าด้ายและผ้า ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปหัวม้าและอักษรโรมันคำว่า JORDACHE ใช้กับสินค้าของโจทก์ ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่โจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยประดิษฐ์ขึ้นมีรูปแบบลักษณะอย่างไรมีอักษรภาษาใดกำกับในรูปแบบนั้นด้วยหรือไม่ เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกใด แม้โจทก์จะได้ระบุหมายเลขคำขอจดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยไว้ในคำขอท้ายคำฟ้อง แต่โจทก์ก็มิได้แนบคำขอจดทะเบียนดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องและชี้ให้เห็นชัดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยส่วนใดไปคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6921/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้สาธารณชนหลงผิดและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำฟ้องบรรยายว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ทั้งสองเครื่องหมายการค้าหรือเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้และที่ยื่นขอจดทะเบียน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยโจทก์ได้แนบเอกสารเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และระบุรายละเอียดในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของจำเลยโดยแนบเอกสารมาท้ายฟ้องด้วย ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งจำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" กับอักษรไทยคำว่า "แจ็คสัน" และเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้าจากบริษัท จ. ส่วนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า แม้จะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนแต่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับกางเกงยีนที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ด.เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์ด้านหน้าดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์จะยังมิได้มีการจดทะเบียน โจทก์ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของ จำเลยได้ โดยนัยแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพิ่มอักษรโรมันตัว G เข้าไปที่ข้างท้ายคำว่า "JACKSON" อีก 1 ตัว ส่วนลักษณะการเขียนตัวอักษรและการวางตัวอักษรเหมือนกันสำเนียงเรียกขานคล้ายกันและโดยเฉพาะป้ายติดกางเกงยีนอักษรตัว G ปักด้วยด้ายสีขาวและ อยู่บนพื้นสีขาว ส่วนตัวอักษรอื่นอีก 7 ตัว คือ JACKSONปักด้วยด้ายสีดำ หาไม่เพ่งพินิจและสังเกตให้รอบคอบจะไม่เห็นตัวอักษร G ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยว่ามุ่งจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้รูปภาพคนใส่กางเกงยีนและสีสันบนป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยเหมือนกับป้ายยี่ห้อและป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์ทุกประการเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีเส้นตรงขีดอยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า "JACKSONG"แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นรายละเอียดปลีกย่อย สาระสำคัญและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "JACKSON"ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้าย กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนหลงผิด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปยื่นคำขอจดทะเบียน และนำไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6921/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้สาธารณชนหลงผิด แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
คำฟ้องบรรยายว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ทั้งสองเครื่องหมายเหมือนหรือเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้และที่ยื่นขอจดทะเบียน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยโจทก์ได้แนบเอกสารเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และระบุรายละเอียดในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของจำเลยโดยแนบเอกสารมาท้ายฟ้องด้วย ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งจำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"JACKSON" กับอักษรไทยคำว่า "แจ็คสัน" และเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้าจากบริษัท จ. ส่วนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า แม้จะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนแต่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับกางเกงยีนที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ด.เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSONG" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"JACKSON" มีรูปกีตาร์ด้านหน้าดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์จะยังมิได้มีการจดทะเบียน โจทก์ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพิ่มอักษรโรมันตัว G เข้าไปที่ข้างท้ายคำว่า"JACKSON" อีก 1 ตัว ส่วนลักษณะการเขียนตัวอักษรและการวางตัวอักษรเหมือนกันสำเนียงเรียกขานคล้ายกัน และโดยเฉพาะป้ายติดกางเกงยีนอักษรตัว G ปักด้วยด้ายสีขาวและอยู่บนพื้นสีขาว ส่วนตัวอักษรอื่นอีก 7 ตัว คือ JACKSON ปักด้วยด้ายสีดำ หาไม่เพ่งพินิจและสังเกตให้รอบคอบจะไม่เห็นตัวอักษร G ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยว่ามุ่งจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้รูปภาพคนใส่กางเกงยีนและสีสันบนป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยเหมือนกับป้ายยี่ห้อและป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์ทุกประการเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีเส้นตรงขีดอยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า "JACKSONG" แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นรายละเอียดปลีกย่อย สาระสำคัญและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "JACKSON" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนหลงผิด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปยื่นคำขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"JACKSON" กับอักษรไทยคำว่า "แจ็คสัน" และเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้าจากบริษัท จ. ส่วนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า แม้จะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนแต่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับกางเกงยีนที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ด.เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSONG" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"JACKSON" มีรูปกีตาร์ด้านหน้าดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์จะยังมิได้มีการจดทะเบียน โจทก์ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพิ่มอักษรโรมันตัว G เข้าไปที่ข้างท้ายคำว่า"JACKSON" อีก 1 ตัว ส่วนลักษณะการเขียนตัวอักษรและการวางตัวอักษรเหมือนกันสำเนียงเรียกขานคล้ายกัน และโดยเฉพาะป้ายติดกางเกงยีนอักษรตัว G ปักด้วยด้ายสีขาวและอยู่บนพื้นสีขาว ส่วนตัวอักษรอื่นอีก 7 ตัว คือ JACKSON ปักด้วยด้ายสีดำ หาไม่เพ่งพินิจและสังเกตให้รอบคอบจะไม่เห็นตัวอักษร G ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยว่ามุ่งจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้รูปภาพคนใส่กางเกงยีนและสีสันบนป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยเหมือนกับป้ายยี่ห้อและป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์ทุกประการเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีเส้นตรงขีดอยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า "JACKSONG" แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นรายละเอียดปลีกย่อย สาระสำคัญและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "JACKSON" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนหลงผิด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปยื่นคำขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCK จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ ขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว โจทก์หาจำต้องบรรยายในฟ้องว่า ผู้ใดเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 302/2530 ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่คดีที่ ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้ โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530 ของศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173วรรคสอง (1) โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCKBADHONNEF-RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบน คำว่า BIRKENSTOCKเป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ลเบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ ส่วนคำว่า BADHONNEF-RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศกับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลก สินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่าง ๆ มาเป็นเวลานานกว่า 25 ปี เป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่า BIRKENSTOCK คำว่า BIRK ในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่า BRIKENS คำว่า BRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่า BIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ หรือมิฉะนั้นก็มีเพียง 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่า BIRKENS หรือ BRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน 7 ตัวซึ่งเท่ากันกับคำว่า BIRKENS ซึ่งเป็น 2 พยางค์แรก และเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การออกเสียง 2 พยางค์แรกดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว บทบัญญัติมาตรา 21 และ 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้น ๆ รวมทั้งขึ้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21 และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา 22 ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากการจดทะเบียนโดยไม่สุจริตและสร้างความสับสนแก่สาธารณชน
เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้าอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCK จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย คำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว โจทก์หาจำต้องบรรยายในฟ้องว่า ผู้ใดเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 302/2530 ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่คดีที่ ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้ โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 302/2530 ของศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCK BAD HONNEF - RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบน คำว่า BIRKENSTOCK เป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ล เบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ ส่วนคำว่าBAD HONNEF - RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศ กับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลก สินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่าง ๆ มาเป็นเวลานานกว่า 25 ปี เป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่า BIRKENSTOCK คำว่า BIRKในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่า BRIKENS คำว่า BRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่า BIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ หรือมิฉะนั้นก็มี 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่าBIRKENS หรือ BRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน 7 ตัว ซึ่งเท่ากันกับคำว่าBIRKENS ซึ่งเป็น 2 พยางค์แรก และเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การออกเสียง 2 พยางค์แรก ดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วยดังนี้ เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว
บทบัญญัติมาตรา 21 และ 22 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจด-ทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้น ๆ รวมทั้งขั้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21 และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา 22ซี่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน90 วัน นับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 302/2530 ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่คดีที่ ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้ โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 302/2530 ของศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCK BAD HONNEF - RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบน คำว่า BIRKENSTOCK เป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ล เบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ ส่วนคำว่าBAD HONNEF - RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศ กับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลก สินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่าง ๆ มาเป็นเวลานานกว่า 25 ปี เป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่า BIRKENSTOCK คำว่า BIRKในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่า BRIKENS คำว่า BRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่า BIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ หรือมิฉะนั้นก็มี 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่าBIRKENS หรือ BRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน 7 ตัว ซึ่งเท่ากันกับคำว่าBIRKENS ซึ่งเป็น 2 พยางค์แรก และเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การออกเสียง 2 พยางค์แรก ดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วยดังนี้ เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว
บทบัญญัติมาตรา 21 และ 22 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจด-ทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้น ๆ รวมทั้งขั้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21 และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา 22ซี่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน90 วัน นับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายในฟ้องว่าผู้ใดเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม คดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยมิใช่คดีที่ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1) โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCKBADHONNEF-RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบนคำว่าBIRKENSTOCKเป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ลเบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ส่วนคำว่าBADHONNEF-RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศกับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลกสินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่างๆมาเป็นเวลานานกว่า25ปีเป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนการที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่าBIRKENSTOCK คำว่าBIRK ในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่าBRIKENS คำว่าBRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่าBIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือมิฉะนั้นก็มีเพียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่าBIRKENS หรือBRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน7ตัวซึ่งเท่ากันกับคำว่าBIRKENS ซึ่งเป็น2พยางค์แรกและเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์การออกเสียง2พยางค์แรกดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วยดังนี้เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว บทบัญญัติมาตรา21และ22แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้นๆรวมทั้งขึ้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา22ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน90วันนับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งสิทธิเครื่องหมายการค้า 'Natty' กรณีใช้ก่อนและมีความคล้ายคลึงจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
ตามคำฟ้องโจทก์อาศัยสิทธิตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ดังนี้ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์อ้างว่าได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์ไปขอจดทะเบียนโดยไม่ชอบ หาใช่จำเลยที่ 2ผู้เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 3 ไม่ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES"และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า"SHOES" อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกันแต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้แปลว่าหรูสมาร์ทโก้ เหมือนกันอักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกันเมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกัน แม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้วการที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้เป็นการจงใจใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า "Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty"มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความเหมือนและคล้ายคลึงจนลวงสาธารณชน แม้ใช้กับสินค้าต่างชนิดในกลุ่มเดียวกัน
ตามคำฟ้องโจทก์อาศัยสิทธิตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของดังนี้ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์อ้างว่าได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์ไปขอจดทะเบียนโดยไม่ชอบ หาใช่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 3 ไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES" และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า "SHOES"อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกัน แต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้ แปลว่า หรู สมาร์ท โก้เหมือนกัน อักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกันแม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้ เป็นการจงใจใช้เครื่องหมาย-การค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า"Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES" และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า "SHOES"อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกัน แต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้ แปลว่า หรู สมาร์ท โก้เหมือนกัน อักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกันแม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้ เป็นการจงใจใช้เครื่องหมาย-การค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า"Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนก่อให้เกิดความสับสนและความเข้าใจผิดของผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีจุดเด่นอยู่ที่คำว่า AngelFace ซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์ เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่าAlla Puff ซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์เช่นกัน ส่วนคำว่า POND'S ของโจทก์กับคำว่า DUBARRY ของจำเลยเป็นตัวอักษรขนาดเล็กกว่าคำทั้งสองดังกล่าวและไม่เป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง อักษรโรมัน A ตัวแรกในคำว่าAlla ของจำเลยมีลักษณะการเขียนเหมือนกับอักษรโรมัน A ตัวแรกของคำว่าAngel ของโจทก์ และอักษรโรมันตัว P ในคำว่า Puff ของจำเลยก็คล้ายอักษรโรมันตัว F ในคำว่า Face ของโจทก์ ลักษณะการเขียนของตัวอักษรคำว่าAlla Puff และคำว่า Angel Face ก็คล้ายคลึงโดยลากเส้นตรงของตัวอักษรP และ F ยาวลงมาด้านล่างเหมือนกันและตัวอักษรมีขนาดเท่ากัน การวางตำแหน่งคำว่า DUBARRY เหนือคำว่า Alla Puff ก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกับคำว่าPOND'S ซึ่งอยู่เหนือคำว่า Angel Face นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยยังใช้กับสินค้าชนิดเดียวกัน ตลับแป้งของจำเลยมีขนาดเท่ากับตลับแป้งของโจทก์ รูปร่าง ลักษณะของตัวตลับแป้ง และฝาก็เหมือนกัน สีของตลับแป้งของจำเลยก็มีสีแดงเช่นเดียวกับตลับแป้งของโจทก์ ตัวอักษรโรมันที่ตลับแป้งก็ใช้สีทองเช่นเดียวกัน ผู้บริโภคหากมิได้สังเกตย่อมเกิดความสับสนและซื้อสินค้าผิดจากความประสงค์ได้ ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์แล้ว