คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนก่อให้เกิดความสับสนและความเข้าใจผิดของผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีจุดเด่นอยู่ที่คำว่า AngelFace ซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์ เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่าAlla Puff ซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์เช่นกัน ส่วนคำว่า POND'S ของโจทก์กับคำว่า DUBARRY ของจำเลยเป็นตัวอักษรขนาดเล็กกว่าคำทั้งสองดังกล่าวและไม่เป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง อักษรโรมัน A ตัวแรกในคำว่าAlla ของจำเลยมีลักษณะการเขียนเหมือนกับอักษรโรมัน A ตัวแรกของคำว่าAngel ของโจทก์ และอักษรโรมันตัว P ในคำว่า Puff ของจำเลยก็คล้ายอักษรโรมันตัว F ในคำว่า Face ของโจทก์ ลักษณะการเขียนของตัวอักษรคำว่าAlla Puff และคำว่า Angel Face ก็คล้ายคลึงโดยลากเส้นตรงของตัวอักษรP และ F ยาวลงมาด้านล่างเหมือนกันและตัวอักษรมีขนาดเท่ากัน การวางตำแหน่งคำว่า DUBARRY เหนือคำว่า Alla Puff ก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกับคำว่าPOND'S ซึ่งอยู่เหนือคำว่า Angel Face นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยยังใช้กับสินค้าชนิดเดียวกัน ตลับแป้งของจำเลยมีขนาดเท่ากับตลับแป้งของโจทก์ รูปร่าง ลักษณะของตัวตลับแป้ง และฝาก็เหมือนกัน สีของตลับแป้งของจำเลยก็มีสีแดงเช่นเดียวกับตลับแป้งของโจทก์ ตัวอักษรโรมันที่ตลับแป้งก็ใช้สีทองเช่นเดียวกัน ผู้บริโภคหากมิได้สังเกตย่อมเกิดความสับสนและซื้อสินค้าผิดจากความประสงค์ได้ ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6316/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นทำให้เกิดความเสียหาย และศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายได้
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใดคงกล่าวอ้างแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีลักษณะแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนเท่านั้น จะแตกต่างกันส่วนไหน อย่างไร จึงเห็นได้ชัดเจนไม่ได้ระบุไว้ ดังนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งในฎีกาเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BEEBYFARRIS"และรูปหัวคนอินเดียนแดงกับกางเกงยีนของโจทก์มาตั้งแต่ปี 2525จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายเสื้อผ้ามานานถึงประมาณ 50 ปี ย่อมทราบว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน จำเลยทั้งสองนำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาทำการดัดแปลงใช้กับสินค้าประเภทกางเกงยีนเช่นเดียวกับโจทก์ จำเลยที่ 2 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของตนขึ้นเอง จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ากางเกงยีนในลักษณะเป็นตราสลากติดกับสินค้าเช่นเดียวกันกับการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะมีลักษณะของตัวอักษรคำว่า "Leeman" กับคำว่า "BEEBYFARRIS"กำกับอยู่แตกต่างกัน แต่คำว่า "Lee" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยกับคำว่า "BEE" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว ประกอบด้วยตัวอักษรเกือบเหมือนกันทุกตัวแตกต่างกันเฉพาะตัวอักษรตัวแรกระหว่าง L กับ B เท่านั้นเครื่องหมายทั้งสองอาจเรียกขานได้ว่า ตราศีรษะอินเดียนแดงเหมือนกันเมื่อใช้กับสินค้ากางเกงยีนเช่นเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยทั้งสองเป็นสินค้าของโจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองได้ทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์นำสืบว่าความเสียหายของโจทก์มีมากน้อยเพียงใดไม่ได้แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6316/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้เกิดความสับสน
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใด คงกล่าวอ้างแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีลักษณะแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนเท่านั้น จะแตกต่างกันส่วนไหน อย่างไร จึงเห็นได้ชัดเจนไม่ได้ระบุไว้ ดังนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งในฎีกา เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BEE BYFARRIS" และรูปหัวคนอินเดียนแดงกับกางเกงยีนของโจทก์มาตั้งแต่ปี 2525 จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายเสื้อผ้ามานานถึงประมาณ 50 ปี ย่อมทราบว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์มาก่อน จำเลยทั้งสองนำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาทำการดัดแปลงใช้กับสินค้าประเภทกางเกงยีนเช่นเดียวกับโจทก์ จำเลยที่ 2 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของตนขึ้นเอง จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ากางเกงยีนในลักษณะเป็นตราสลากติดกับสินค้าเช่นเดียวกันกับการใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ แม้จะมีลักษณะของตัวอักษรคำว่า "Lee man" กับคำว่า "BEE BYFARRIS" กำกับอยู่แตกต่างกัน แต่คำว่า "Lee" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยกับคำว่า "BEE" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว ประกอบด้วยตัวอักษรเกือบเหมือนกันทุกตัว แตกต่างกันเฉพาะตัวอักษรตัวแรกระหว่าง L กับ Bเท่านั้น เครื่องหมายทั้งสองอาจเรียกขานได้ว่า ตราศีรษะอินเดียนแดงเหมือนกันเมื่อใช้กับสินค้ากางเกงยีนเช่นเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยทั้งสองเป็นสินค้า /สินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์
เมื่อจำเลยทั้งสองได้ทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์นำสืบว่าความเสียหายของโจทก์มีมากน้อยเพียงใดไม่ได้แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต, ความเหมือน/คล้ายคลึง, การลวงสาธารณชน
โจทก์แสดงให้เห็นความเป็นมาของการใช้อักษรโรมันคำว่าRENOMA เป็นชื่อทางการค้าของ ช. บิดาของ ม.ประธานกรรมการใหญ่ของโจทก์ตั้งแต่ปี 2480 และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำดังกล่าวในประเทศฝรั่งเศสในปี 2502 และปี 2509 ตลอดจนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวในประเทศอื่น ๆในภายหลังและการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นของ ช. ให้โจทก์ จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันดังกล่าว ที่จำเลยอ้างว่าคิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นโดยต้องการให้มีความหมายว่า จำเลยไม่มีแม่อีกแล้วนั้น ก็ปรากฏตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าจำเลยได้ระบุว่าคำว่า RENOMA เป็นอักษรโรมันอ่านว่ารีโนมา แปลไม่ได้ และปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมีรูปลักษณะตรงกับรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กภายในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ รวมทั้งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัวด้วยการที่รูปลักษณะเครื่องหมายการค้าของจำเลยตรงกับรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนี้ หากจำเลยไม่เคยเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาก่อน ก็ยากที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า RENOMAซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย ปรากฏว่าจำเลยเคยเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศเช่น สิงคโปร มาเลเซีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง และหลังจากโจทก์ได้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA มาจากช.แล้ว โจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ ประมาณ30 ประเทศ และโจทก์ได้ส่งสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศในทวีป ต่าง ๆ สินค้าของโจทก์มีวางจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าโซโก้ใกล้สถานีรถไฟที่เมืองโกเบประเทศญี่ปุ่น และโจทก์ได้โฆษณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในนิตยสารและหนังสือต่าง ๆ ในประเทศต่าง ๆทั้งได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกงด้วยจึงเชื่อได้ว่าจำเลยซึ่งเคยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกง ได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในระหว่างที่เดินทางไปท่องเที่ยวเช่นนั้นแล้วจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามที่ได้เห็นมานั้นมายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของจำเลยมีรูปลักษณะRENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็ก ในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ แม้กระทั่งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรและเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "RENOMA" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วยจึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกับหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและการลวงสาธารณชน
โจทก์แสดงให้เห็นความเป็นมาของการใช้อักษรโรมันคำว่าRENOMA เป็นชื่อทางการค้าของ ซ.บิดาของ ม. ประธานกรรมการใหญ่ของโจทก์ตั้งแต่ปี 2480 และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำดังกล่าวในประเทศฝรั่งเศสในปี 2502 และปี 2509 ตลอดจนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวในประเทศอื่น ๆ ในภายหลังและการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นของ ซ.ให้โจทก์ จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันดังกล่าว ที่จำเลยอ้างว่าคิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นโดยต้องการให้มีความหมายว่า จำเลยไม่มีแม่อีกแล้วนั้น ก็ปรากฏตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าจำเลยได้ระบุว่าคำว่า RENOMA เป็นอักษรโรมันอ่านว่า รีโนมา แปลไม่ได้ และปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมีรูปลักษณะตรงกับรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กภายในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ รวมทั้งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัวด้วยการที่รูปลักษณะเครื่องหมายการค้าของจำเลยตรงกับรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนี้ หากจำเลยไม่เคยเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาก่อน ก็ยากที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย ปรากฏว่าจำเลยเคยเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง และหลังจากโจทก์ได้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA มาจาก ซ.แล้ว โจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ ประมาณ30 ประเทศ และโจทก์ได้ส่งสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศในทวีปต่าง ๆสินค้าของโจทก์มีวางจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าโซโกใกล้สถานีรถไฟที่เมืองโกเบประเทศญี่ปุ่น และโจทก์ได้โฆษณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในนิตยสารและหนังสือต่าง ๆ ในประเทศต่าง ๆ ทั้งได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกงด้วย จึงเชื่อได้ว่าจำเลยซึ่งเคยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกง ได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในระหว่างที่เดินทางไปท่องเที่ยวเช่นนั้น แล้วจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามที่ได้เห็นมานั้นมายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของจำเลยมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ ทุกประการ แม้กระทั่งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษร และเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "RENOMA" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันกับหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, การตกลง, ความคล้ายคลึงจนสับสน และสิทธิในการเพิกถอน
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันให้จำเลยเป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaโดยโจทก์จะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์จะเคยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaกับสินค้าของตนมาก่อนจำเลยโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaพร้อมลวดลายประดิษฐ์ของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCanonMattressในลักษณะที่มีลวดลายประดิษฐ์ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCannon-mattessพร้อมลวดลายประดิษฐ์และรูปเด็กนอนตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าอักษรโรมันคำว่าCanon-mattessเหมือนกับอักษรโรมันคำว่าCanonMattressของโจทก์แทบทุกตัวอักษร มีส่วนแตกต่างกันเฉพาะคำว่าMattessของจำเลยกับคำว่าMattressของโจทก์ เพราะของโจทก์มีอักษรโรมันตัวrอยู่ระหว่างตัวtกับ ตัวeส่วนของจำเลยนั้นไม่มีตัวrอยู่เลยและตัวอักษรMของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษรMของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆเช่น ลวดลายประดิษฐ์ก็คล้ายคลึงกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปเด็กนอนอยู่เหนือคำว่าCanon-mattessและมีคำอ่านว่าคานอนแมทเทส แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็คืออักษรโรมันคำว่าCanon-mattessซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฉะนั้น หากไม่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมาวางเปรียบเทียบกันดูทุกตัวอักษรแล้วประชาชนผู้ซื้อสินค้าก็ยากที่แยกแยะได้ว่าเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของโจทก์และเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของจำเลยฉะนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่าCanon-mattessของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: กรณีเครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันให้จำเลยเป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Carrena โดยโจทก์จะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์จะเคยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrena กับสินค้าของตนมาก่อนจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Carrena พร้อมลวดลายประดิษฐ์ของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ในลักษณะที่มีลวดลายประดิษฐ์ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCannon-mattess พร้อมลวดลายประดิษฐ์และรูปเด็กนอนตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าอักษรโรมันคำว่าCanon-mattess เหมือนกับอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ของโจทก์แทบทุกตัวอักษร มีส่วนแตกต่างกันเฉพาะคำว่า mattess ของจำเลยกับคำว่าMattress ของโจทก์ เพราะของโจทก์มีอักษรโรมันตัว r อยู่ระหว่างตัว t กับตัว e ส่วนของจำเลยนั้นไม่มีตัว r อยู่เลยและตัวอักษร M ของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษร m ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นลวดลายประดิษฐ์ก็คล้ายคลึงกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปเด็กนอนอยู่เหนือคำว่า Canon-mattess และมีคำอ่านว่า คานอนแมทเทส แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็คืออักษรโรมันคำว่า Canon-mattessซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฉะนั้น หากไม่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมาวางเปรียบเทียบกันดูทุกตัวอักษรแล้ว ประชาชนผู้ซื้อสินค้าก็ยากที่แยกแยะได้ว่าเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของโจทก์และเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของจำเลย ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่าCanon-mattess ของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมาย-การค้าจดทะเบียนของจำเลยดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมและโอกาสสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้จะมีอักษรโรมันคำว่า "FRUIT" และรูปผลไม้วางรอบกันอยู่เหมือนกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังมีอักษรโรมันคำว่า "OF THE LOOM" เป็นส่วนประกอบอีกด้วย เมื่อเรียกขานรวมกันแล้วเป็น 4 คำ หรือ 4 พยางค์ คือ "ฟรุ๊ตออฟเดอะลูม" ส่วนของจำเลยเรียกขานเพียงคำหรือพยางค์เดียวคือ "ฟรุ๊ต" หรือ "ฟรุ๊ตส" ดังนั้นอักษรโรมันที่เป็นส่วนประกอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจนบุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้นอกจากนั้นรูปผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยก็ยังต่างกันอีก ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า "FRUIT THE LOOM" และของจำเลยมีคำว่า "FRUIT" สำหรับรูปแบบแรก และมีคำว่า "FRUITS" สำหรับรูปแบบที่ 2 เป็นส่วนประกอบอีกภาคหนึ่งซึ่งแตกต่างกัน รูปลักษณะของเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์และจำเลยโดยส่วนรวมจึงแตกต่างกัน การเรียกขานก็แตกต่างกันด้วยดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายจะใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าครอบคลุมถึงกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกันโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจึงไม่คล้ายกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงและการสับสนหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้จะมีอักษรโรมันคำว่า "FRUIT" และรูปผลไม้วางรอบกันอยู่เหมือนกันแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังมีอักษรโรมันคำว่า"OFTHELOOM" เป็นส่วนประกอบอีกด้วย เมื่อเรียกขานรวมกันแล้วเป็น 4 คำ หรือ 4 พยางค์ คือ "ฟรุ๊ตออฟเดอะลูม" ส่วนของจำเลยเรียกขานเพียงคำหรือพยางค์เดียวคือ "ฟรุ๊ต"หรือ"ฟรุ๊ตส์"ดังนั้นอักษรโรมันที่เป็นส่วนประกอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน บุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้ นอกจากนั้นรูปผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยก็ยังต่างกันอีก ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า"FRUITTHELOOM" และของจำเลยมีคำว่า "FRUIT" สำหรับรูปแบบแรก และมีคำว่า "FRUITS" สำหรับรูปแบบที่ 2เป็นส่วนประกอบอีกภาคหนึ่งซึ่งแตกต่างกัน รูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยโดยส่วนรวมจึงแตกต่างกันการเรียกขานก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายจะใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าครอบคลุมถึงกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกันโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจึงไม่คล้ายกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีองค์ประกอบร่วมกัน หากมีความแตกต่างในรายละเอียดที่ทำให้ผู้บริโภคแยกแยะได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้จะมีอักษรโรมันคำว่า"FRUIT" และรูปผลไม้วางรอบกันอยู่เหมือนกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังมีอักษรโรมันคำว่า "OFTHELOOM" เป็นส่วนประกอบอีกด้วยเมื่อเรียกขานรวมกันแล้วเป็น 4 พยางค์ คือ "ฟรุ๊ตออฟเดอะลูม"ส่วนของจำเลยเพียงพยางค์เดียวคือ "ฟรุ๊ต"หรือ"ฟรุ๊ตส" อักษรโรมันที่เป็นส่วนประกอบจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน บุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้ รูปผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบก็ยังแตกต่างกันอีก ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า "FRUITOFTHELOOM" และของจำเลยมีคำว่า "FRUIT"สำหรับรูปแบบแรก และมีคำว่า "FRUITS" สำหรับรูปแบบที่สองเป็นส่วนประกอบอีกภาคหนึ่งซึ่งแตกต่างกัน การเรียกขานก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายจะใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าครอบคลุมถึงกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายแตกต่างกันโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เครื่องหมายการค้าจึงไม่คล้ายกัน
of 19