พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละการครอบครองเช็คและการมีอำนาจฟ้องในฐานะผู้ทรงเช็ค
โจทก์รับเช็คพิพาทตามฟ้องจากจำเลยที่ 2 เช็คดังกล่าวมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงได้คืนเช็คพร้อมใบคืนเช็คให้จำเลยที่ 2 และรับเช็คที่จำเลยที่ 2 ออกให้ใหม่แทนเช็คพิพาท ดังนี้ ถือว่าโจทก์สละการครอบครองเช็คพิพาทรวมทั้งสิทธิเรียกร้องตามเช็คนั้นแล้ว โจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า หากำไร และประเด็นเบี้ยปรับ
เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยการปลูกตึกแถวสองชั้นรวม 10 คูหา ลงในที่ดินโฉนดหนึ่ง ส่วนอีก 3 โฉนดเดิมเป็นแหล่งเสื่อมโทรม โจทก์ได้ลงทุนปรับปรุงด้วยการถมดิน ทำถนนคอนกรีต สร้างสะพานข้ามคลองพร้อมทั้งเขื่อนสร้างอาคารพาณิชย์ 82 คูหา ตลาดสด 2 ตลาด และแผงคอนกรีต 300 แผง ซึ่งในการนี้โจทก์ได้ลงทุนไปนับสิบล้านบาท โดยการนำที่ดินไปจำนองและกู้เงินจากผู้อื่นมาเกือบห้าล้านบาท สร้างแล้วไม่นานก็ขายไป พฤติการณ์แสดงว่าเป็นการประกอบธุรกิจการค้าหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ แม้ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าต้องขาดทุนจากการขายเพราะมีอุปสรรคในการดำเนินการ สมมุติว่าเป็นความจริงก็เกิดจากการดำเนินงานผิดพลาดของโจทก์เอง และไม่มีข้อยกเว้นในประมวลรัษฎากรว่า กรณีเช่นนี้ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าทั้งหมด และในแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าท้ายฟ้องก็ระบุด้วยว่า เบี้ยปรับเรียกเก็บตามมาตรา 89 (21) อันเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอจดทะเบียนการค้าตามมาตรา 80 เมื่อศาลเห็นว่าควรเรียกเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าภายในกำหนด ศาลย่อมพิพากษาแก้ไขโดยให้จำเลยกำหนดเบี้ยปรับใหม่ตามมาตรา 89 (2) ได้ หานอกฟ้องนอกประเด็นไม่ เพราะเท่ากับเป็นการเพิกถอนการประเมินบางส่วน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าทั้งหมด และในแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าท้ายฟ้องก็ระบุด้วยว่า เบี้ยปรับเรียกเก็บตามมาตรา 89 (21) อันเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอจดทะเบียนการค้าตามมาตรา 80 เมื่อศาลเห็นว่าควรเรียกเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าภายในกำหนด ศาลย่อมพิพากษาแก้ไขโดยให้จำเลยกำหนดเบี้ยปรับใหม่ตามมาตรา 89 (2) ได้ หานอกฟ้องนอกประเด็นไม่ เพราะเท่ากับเป็นการเพิกถอนการประเมินบางส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คู่สัญญาต้องผูกพันตามสัญญาเมื่อมีการชำระหนี้ตามข้อตกลง แม้จะอ้างว่าไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง
โจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญากัน โดยจำเลยที่ 2 เช่าภาพยนตร์จากจำเลยที่ 1 ในราคา 450,000 บาท และชำระค่าเช่า 50,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 ไปในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือ 400,000 บาท ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 จ่ายเงินจำนวน 100,000 บาท กับเช็คเงินสดล่วงหน้างวดละ 60,000 บาท ต่อหนึ่งเดือนรวม 5 งวดให้แก่โ จ. ซึ่งเป็นคนกลางนำไปให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมิใช่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 หากแต่เป็นคู่สัญญาด้วย เพราะมีการตกลงกันถึงการชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ โจทก์จึงต้องถูกผูกมัดตามเนื้อความในสัญญานี้ โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ที่จะเกี่ยวข้องด้วย คงมีแต่สิทธิที่จะได้รับชำระเงินจากจำเลยที่ 2 แต่เพียงถ่ายเดียวหาได้ไม่ และเมื่อตามสัญญา จำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายเงินค่าเช่าให้ จ. เพื่อนำไปชำระหนี้ให้โจทก์ ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ตามมาตรา 369
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญา 3 ฝ่าย การชำระหนี้ผ่านคนกลาง และผลของการไม่ส่งมอบสิ่งตอบแทน
โจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญากัน โดยจำเลยที่ 2 เช่าภาพยนตร์จากจำเลยที่ 1 ในราคา 450,000 บาท และชำระค่าเช่า 50,000 บาทให้จำเลยที่ 1 ไปในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือ 400,000 บาท ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 จ่ายเงินจำนวน 100,000 บาทกับเช็คเงินสดล่วงหน้างวดละ 60,000 บาทต่อหนึ่งเดือน รวม 5 งวดให้แก่ จ. ซึ่งเป็นคนกลางนำไปให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมิใช่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 หากแต่เป็นคู่สัญญาด้วยเพราะมีการตกลงกันถึงการชำระหนี้จำนวน 400,000 บาทที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ โจทก์จึงต้องถูกผูกมัดตามเนื้อความในสัญญานี้โจทก์จะอ้างว่าตนไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใดๆ ที่จะเกี่ยวข้องด้วย คงมีแต่สิทธิที่จะได้รับชำระเงินจากจำเลยที่ 2 แต่เพียง ถ่ายเดียวหาได้ไม่ และเมื่อตามสัญญาจำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายเงินค่าเช่าให้ จ. เพื่อนำไปชำระหนี้ให้โจทก์ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ตามมาตรา 369
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากประมาททางอาญา: นายจ้างไม่ผูกพันตามคำพิพากษาอาญา
ศาลคดีอาญาพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ประมาททำให้ ส. บุตรโจทก์ตายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้าง โจทก์ไม่สืบพยานอื่นนอกจากอ้างคำพิพากษาคดีอาญาศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิด แต่ยกฟ้องจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำรถเช่าซื้อโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ ไม่ผูกพันเจ้าของรถ เจ้าของรถมีสิทธิเรียกคืนได้
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เอารถยนต์ของโจทก์ไปมอบให้จำเลยที่ 3 ยึดไว้เป็นประกันหนี้ของตนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ และไม่ปรากฏว่าโจทก์รู้เห็นด้วยกับการกระทำของจำเลยการจำนำนั้นไม่ผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของ การที่โจทก์ให้ป้ายวงกลมมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรถเพื่อไปติดหน้ารถ แต่จำเลยที่ 2 ไม่นำป้ายวงกลมดังกล่าวไปติด จะถือเป็นความผิดหรือประมาทเลินเล่อของโจทก์ยังไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่จำเป็นจะต้องติดตามดูแลการติดป้ายวงกลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถมีสิทธิติดตามเอารถคืนจากผู้ครอบครองโดยไม่สุจริต แม้มีการยึดไว้เป็นประกันหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอม
จำเลยที่ 1 โอนขายรถยนต์ให้โจทก์แล้วทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาจำเลยทั้งสองนำรถยนต์ไปมอบให้จำเลยที่ 3 ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยที่ 3 จะเชื่อโดยสุจริตว่า รถยนต์เป็นของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์มิได้ประมาทหรือเชิดให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ ย่อมมีสิทธิติดตามเอารถคืนได้ จำเลยทั้งสามต้องร่วมรับผิดในการส่งมอบรถคืนและใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์เพื่อชำระหนี้ ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย จึงจะสมบูรณ์
บันทึกการหักหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้เป็นสัญญาชำระหนี้ โดยการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะนิติกรรมที่จะต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299เมื่อมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ การโอนจึงถือว่าไม่บริบูรณ์ กรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทยังเป็นของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงนำยึดห้องแถวพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัคคีภัยทำให้สัญญาเช่าระงับ: การพิจารณาความเสียหายของอัคคีภัยต่อการสิ้นสุดสัญญาเช่า
บันทึกการหักหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้เป็นสัญญาชำระะหนี้โดยการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะนิติกรรมที่จะต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 เมื่อมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ การโอนจึงถือว่าไม่บริบูรณ์ กรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทยังเป็นของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงนำยึดห้องแถวพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเรื่องบุกรุกที่ดิน: ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์กรรมสิทธิ์ก่อนตัดสินว่ามีมูลความผิดอาญาหรือไม่
ในคดีอาญาเรื่องบุกรุก เพียงแต่จำเลยต่อสู้อ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยครอบครองแต่ผู้เดียวตลอดมา ถึงแม้เป็นที่ดินมือเปล่า จะถือว่าเป็นเรื่องพิพาทกันในทางแพ่งไม่มีมูลความผิดทางอาญาเสียเลยทีเดียวไม่ได้ ศาลต้องพิจารณาจากพยานโจทก์และพยานจำเลยเสียก่อนว่า ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะฟังได้หรือไม่ว่า ที่พิพาทเป็นของผู้เสียหาย เมื่อยังไม่ได้วินิจฉัยจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี