พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316-1319/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.บ.เฉพาะ และการกำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาซื้อขายล่าสุดของที่ดินในบริเวณเดียวกัน
ที่ดินของผู้ร้องคัดค้านถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พ.ศ.2509 เพื่อจัดสร้างพุทธมณฑลตามความประสงค์ของรัฐบาล และตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนให้ถือเอาราคาในวันที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองรายสุดท้ายในบริเวณพุทธมณฑลได้มอบอสังหาริมทรัพย์ให้กระทรวงมหาดไทยเข้าครอบครองเป็นเกณฑ์คำนวณทุกราย การจัดสร้างพุทธมณฑลนั้นเป็นโครงการของรัฐบาลกำหนดขึ้นโดยมีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญสืบไป ถือว่าเป็นประโยชน์ของรัฐอย่างหนึ่ง รัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการจัดสร้างพุทธมณฑล มีหน้าที่จัดสร้างพุทธมณฑลให้เป็นผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล คณะกรรมการได้ดำเนินการวางโครงการ แผนผัง หารายได้ และจัดซื้อที่ดินเข้าปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามโครงการ ตลอดจนเสนอรัฐบาลในการแต่งตั้งกรรมการสาขาเพื่อปฏิบัติงานแยกเป็นสัดส่วนไป โดยมีข้าราชการสังกัดต่างกระทรวงกันเป็นประธานคณะกรรมการเหล่านั้นทุกคณะ กิจการที่ดำเนินไปเป็นการกระทำในนามของรัฐบาลที่จัดให้ข้าราชการกระทรวงต่างๆ เข้าดำเนินงานรับผิดชอบคณะกรรมการได้แต่งตั้งกรรมการสาขาขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการดำเนินการและประสานงานจัดสร้างพุทธมณฑล มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานและคณะกรรมการสาขานี้ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นคณะหนึ่ง มีรองอธิบดีกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าคณะ ให้มีหน้าที่ดำเนินการจัดซื้อที่ดินโดยรับช่วงหน้าที่จากคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินสร้างพุทธมณฑลชุดก่อนมา และมีหน้าที่จัดสร้างถนน ขุดคูปลูกต้นไม้ในบริเวณพุทธมณฑล เจ้าหน้าที่คณะนี้ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามหน้าที่ตลอดมา อันแสดงว่าการซื้อและเข้าครอบครองที่ดินบริเวณจัดสร้างพุทธมณฑลในส่วนที่ซื้อไว้แล้วเป็นหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ จึงถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยในการรับมอบและเข้าครอบครองที่ดินในบริเวณพุทธมณฑลตามความหมายของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว โดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่ากรมใดจะมีหน้าที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐแห่งนี้ และเงินที่ใช้จ่ายจะได้มาจากงบประมาณแผ่นดินหรือไม่
เมื่อกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณพุทธมณฑลที่คณะกรรมการซื้อมา และราคาซื้อขายรายสุดท้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนทราบ ปรากฏตามทะเบียนของสำนักงานที่ดินว่าเป็นรายที่ บ. ขายให้กรมการศาสนาในราคาไร่ละ 1,500 บาท กรณีจึงกำหนดเงินค่าทดแทนแน่นอนได้ตามราคาที่ดินรายสุดท้ายดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายาอำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมพ.ศ.2509 มาตรา 5 ได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แจ้งให้ผู้ร้องคัดค้านซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งกำหนดไว้แน่นอนตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องคัดค้านปฏิเสธไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะวางเงินค่าทดแทนเพื่อมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497
เมื่อกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณพุทธมณฑลที่คณะกรรมการซื้อมา และราคาซื้อขายรายสุดท้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนทราบ ปรากฏตามทะเบียนของสำนักงานที่ดินว่าเป็นรายที่ บ. ขายให้กรมการศาสนาในราคาไร่ละ 1,500 บาท กรณีจึงกำหนดเงินค่าทดแทนแน่นอนได้ตามราคาที่ดินรายสุดท้ายดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายาอำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมพ.ศ.2509 มาตรา 5 ได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แจ้งให้ผู้ร้องคัดค้านซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งกำหนดไว้แน่นอนตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องคัดค้านปฏิเสธไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะวางเงินค่าทดแทนเพื่อมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะ vs. สิทธิภารจำยอม: การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะก่อนการซื้อขายย่อมมีผลเหนือสิทธิส่วนบุคคล
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างทางพิพาทเพื่อเป็นทางเข้าออกสำหรับที่ดินทุกแปลงที่เจ้าของเดิมแบ่งแยกขาย และโจทก์ได้ใช้ทางนี้ตลอดมาเป็นเวลานานกว่า10 ปี จึงกลายสภาพเป็นทางภารจำยอม อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทได้ โดยไม่ให้จำเลยปิดกั้น ฉะนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะได้ความว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้วอันเป็นเหตุที่จำเลยจะปิดกั้นไม่ได้ ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลย ทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม เพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลย ทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม เพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะ vs. ทางภารจำยอม: สิทธิใช้ทางเมื่อเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นสาธารณะ แม้จะอยู่ในโฉนดจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างทางพิพาทเพื่อเป็นทางเข้าออกสำหรับที่ดินทุกแปลงที่เจ้าของเดิมแบ่งแยกขายและโจทก์ได้ใช้ทางนี้ตลอดมาเป็นเวลานานกว่า10 ปี จึงกลายสภาพเป็นทางภารจำยอม อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทได้ โดยไม่ให้จำเลยปิดกั้น ฉะนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะได้ความว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้ว อันเป็นเหตุที่จำเลยจะปิดกั้นไม่ได้ ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลยทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิมเพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลยทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิมเพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งริบของกลางเกินคำขอ และสิทธิในการได้รับคืนทรัพย์สินของผู้ไม่กระทำผิด
ศาลชั้นต้นสั่งให้ริบไขควงของกลางซึ่งโจทก์มิได้ขอให้ริบอันเป็นการเกินคำขอ ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 เมื่อจำเลยไม่ได้กระทำผิด ก็ชอบที่จะสั่งคืนเหล็กไขควงซึ่งมิใช่เป็นทรัพย์อันมีไว้เป็นความผิดแก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดผู้รับมรดกที่เป็นหลานในพินัยกรรม ต้องสามารถระบุตัวผู้รับได้แน่นอน
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมมีข้อกำหนดว่า หากข้าพเจ้าถึงแก่กรรมทรัพย์มรดกทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนี้หรือจะเกิดมีขึ้นในอนาคต ให้ ส. เป็นผู้จัดการมรดกและรวบรวมเอาจัดการศพและทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพเจ้าตามสมควร ส่วนที่เหลือนอกนั้นให้จัดการแบ่งปันแก่หลานๆ ของข้าพเจ้า นั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้ามรดกไม่มีลูก และเจ้ามรดกมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 3 คน คือ ป. ผ. และ ท. โดยเจ้ามรดกเป็นคนสุดท้อง ฉะนั้น หลานตามข้อกำหนดในพินัยกรรมจึงหมายถึงลูกของพี่ของเจ้ามรดกดังกล่าวที่มีชีวิตอยู่ทุกคน อันเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ เป็นผู้รับพินัยกรรม ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้ผู้อื่นโดยภริยา และความยินยอมของสามี ไม่สร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างสามีกับผู้รับ
ภริยาโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และโจทก์เป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะสามี ถึงหากที่ดินนั้นจะเป็นของโจทก์และภริยาร่วมกัน เมื่อเอกสารมีข้อความชัดแจ้งว่าภริยาโจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลย กรณีก็ต้องบังคับตามข้อความในเอกสาร ที่โจทก์ให้ความยินยอมก็เป็นเพียงอนุญาตให้ภริยาทำการผูกพันสินบริคณห์ได้เท่านั้น โจทก์หามีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับจำเลยด้วยไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ทรัพย์สินแก่จำเลย และไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้ผู้อื่น และความยินยอมของคู่สมรส ไม่ทำให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ยกและผู้รับ
ภริยาโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และโจทก์เป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะสามีถึงหากที่ดินนั้นจะเป็นของโจทก์และภริยาร่วมกัน เมื่อเอกสารมีข้อความชัดแจ้งว่าภริยาโจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลย กรณีก็ต้องบังคับตามข้อความในเอกสาร ที่โจทก์ให้ความยินยอมก็เป็นเพียงอนุญาตให้ภริยาทำการผูกพันสินบริคณห์ได้เท่านั้น โจทก์หามีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับจำเลยด้วยไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ทรัพย์สินแก่จำเลย และไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีทำเอกสารปลอม: การวินิจฉัยความเสียหายและขอบเขตการอุทธรณ์
ข้อความในเอกสารซึ่งจำเลยปลอมลายมือชื่อของ จ. ผู้เสียหาย น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ฟ้องว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย แม้จำเลยรับสารภาพ แต่ศาลเห็นว่าไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ศาลก็พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงว่า จำเลยปลอมลายมือชื่อ จ. ผู้เสียหายลงในเอกสารคำร้อง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ จ. ผู้เสียหาย และ น.พนักงานเจ้าหน้าที่ศาลแขวงพิพากษาว่า ที่โจทก์อ้างว่าอาจจะเกิดความเสียหายแก่ จ. นั้น โจทก์มิได้บรรยายว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใด จึงไม่อาจจะพิเคราะห์ได้. ส่วนที่อ้างว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ น. นั้น ตามคำร้องไม่อาจทำให้ น.เสียหาย พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกา ศาลฎีการับวินิจฉัยข้อที่ว่า ฟ้องที่เกี่ยวกับ จ.นั้นสมบูรณ์หรือไม่ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายและรับวินิจฉัยข้อที่ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ จ.หรือไม่เพราะศาลแขวงยกฟ้องด้วยข้อกฎหมาย แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องด้วยข้อเท็จจริง โดยได้วินิจฉัยว่ายังไม่เกิดความเสียหายแก่ จ. โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการเสียหายแก่ จ. ส่วนข้อที่ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่น.หรือไม่นั้น ศาลแขวงยกฟ้อง โดยฟังว่าไม่อาจทำให้น. เสียหาย โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์โต้แย้ง แม้โจทก์จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงว่า จำเลยปลอมลายมือชื่อ จ. ผู้เสียหายลงในเอกสารคำร้อง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ จ. ผู้เสียหาย และ น.พนักงานเจ้าหน้าที่ศาลแขวงพิพากษาว่า ที่โจทก์อ้างว่าอาจจะเกิดความเสียหายแก่ จ. นั้น โจทก์มิได้บรรยายว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใด จึงไม่อาจจะพิเคราะห์ได้. ส่วนที่อ้างว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ น. นั้น ตามคำร้องไม่อาจทำให้ น.เสียหาย พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกา ศาลฎีการับวินิจฉัยข้อที่ว่า ฟ้องที่เกี่ยวกับ จ.นั้นสมบูรณ์หรือไม่ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายและรับวินิจฉัยข้อที่ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ จ.หรือไม่เพราะศาลแขวงยกฟ้องด้วยข้อกฎหมาย แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องด้วยข้อเท็จจริง โดยได้วินิจฉัยว่ายังไม่เกิดความเสียหายแก่ จ. โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการเสียหายแก่ จ. ส่วนข้อที่ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่น.หรือไม่นั้น ศาลแขวงยกฟ้อง โดยฟังว่าไม่อาจทำให้น. เสียหาย โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์โต้แย้ง แม้โจทก์จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีปลอมแปลงเอกสาร: ความเสียหายที่ต้องพิสูจน์ และขอบเขตการอุทธรณ์
ข้อความในเอกสารซึ่งจำเลยปลอมลายมือชื่อของ จ. ผู้เสียหายน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงโจทก์ฟ้องว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย แม้จำเลยรับสารภาพแต่ศาลเห็นว่าไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ศาลก็พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงว่า จำเลยปลอมลายมือชื่อ จ. ผู้เสียหายลงในเอกสารคำร้อง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ จ. ผู้เสียหายและ น.พนักงานเจ้าหน้าที่ศาลแขวงพิพากษาว่า ที่โจทก์อ้างว่าอาจจะเกิดความเสียหายแก่ จ. นั้น โจทก์มิได้บรรยายว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใด จึงไม่อาจจะพิเคราะห์ได้. ส่วนที่อ้างว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ น. นั้น ตามคำร้องไม่อาจทำให้ น.เสียหาย พิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกา ศาลฎีการับวินิจฉัยข้อที่ว่า ฟ้องที่เกี่ยวกับ จ.นั้นสมบูรณ์หรือไม่ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายและรับวินิจฉัยข้อที่ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ จ.หรือไม่เพราะศาลแขวงยกฟ้องด้วยข้อกฎหมาย แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องด้วยข้อเท็จจริง โดยได้วินิจฉัยว่ายังไม่เกิดความเสียหายแก่ จ.โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการเสียหายแก่ จ.ส่วนข้อที่ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่น.หรือไม่นั้น ศาลแขวงยกฟ้องโดยฟังว่าไม่อาจทำให้น. เสียหาย โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์โต้แย้งแม้โจทก์จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงว่า จำเลยปลอมลายมือชื่อ จ. ผู้เสียหายลงในเอกสารคำร้อง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ จ. ผู้เสียหายและ น.พนักงานเจ้าหน้าที่ศาลแขวงพิพากษาว่า ที่โจทก์อ้างว่าอาจจะเกิดความเสียหายแก่ จ. นั้น โจทก์มิได้บรรยายว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใด จึงไม่อาจจะพิเคราะห์ได้. ส่วนที่อ้างว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ น. นั้น ตามคำร้องไม่อาจทำให้ น.เสียหาย พิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกา ศาลฎีการับวินิจฉัยข้อที่ว่า ฟ้องที่เกี่ยวกับ จ.นั้นสมบูรณ์หรือไม่ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายและรับวินิจฉัยข้อที่ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ จ.หรือไม่เพราะศาลแขวงยกฟ้องด้วยข้อกฎหมาย แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องด้วยข้อเท็จจริง โดยได้วินิจฉัยว่ายังไม่เกิดความเสียหายแก่ จ.โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการเสียหายแก่ จ.ส่วนข้อที่ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่น.หรือไม่นั้น ศาลแขวงยกฟ้องโดยฟังว่าไม่อาจทำให้น. เสียหาย โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์โต้แย้งแม้โจทก์จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คที่แท้จริงและอำนาจร้องทุกข์ในคดีเช็ค – เช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ช. เป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของ ช. ขอให้ธนาคารเรียกเก็บเงินจากจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย ช. จึงเป็นผู้ทรงเช็คในฐานะเป็นผู้มีเช็คไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงิน และเป็นผู้ถือเช็คฉบับนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีอันจะพึงจ่ายให้ได้นั้นสารสำคัญอยู่ที่วันที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็ค เมื่อวันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน ช. เป็นผู้ทรงเช็ค ช. จึงเป็นผู้เสียหาย แม้เดิมจำเลยจะได้ออกเช็คพิพาทให้ ว. ว. ก็มิใช่ผู้เสียหาย ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีอันจะพึงจ่ายให้ได้นั้นสารสำคัญอยู่ที่วันที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็ค เมื่อวันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน ช. เป็นผู้ทรงเช็ค ช. จึงเป็นผู้เสียหาย แม้เดิมจำเลยจะได้ออกเช็คพิพาทให้ ว. ว. ก็มิใช่ผู้เสียหาย ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน