คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถนอม ครูไพศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คที่แท้จริงและการมีอำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้รับเช็คและผู้ถือเช็คมีสิทธิฟ้อง
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ช. เป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของ ช. ขอให้ธนาคารเรียกเก็บเงินจากจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย ช. จึงเป็นผู้ทรงเช็คในฐานะเป็นผู้มีเช็คไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงิน และเป็นผู้ถือเช็คฉบับนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค หรือฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีอันจะพึงจ่ายให้ได้นั้น สารสำคัญอยู่ที่วันที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็ค เมื่อวันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน ช.เป็นผู้ทรงเช็คช. จึงเป็นผู้เสียหาย แม้เดิมจำเลยจะได้ออกเช็คพิพาทให้ ว. ว. ก็มิใช่ผู้เสียหาย ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: สิทธิใช้ทางรถยนต์เมื่อที่ดินถูกล้อม
สภาพแห่งทางจำเป็นนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินด้วยเท้าอย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ใช้มีดแทงอวัยวะสำคัญและคำพูดกระตุ้น
จำเลยใช้มีดปลายแหลมใบมีดกว้าง 11/2 เซนติเมตรยาว 81/2 เซนติเมตรรวมทั้งด้ามยาว 1 คืบ แทงผู้เสียหายที่ท้องอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญจนตับฉีกขาด พร้อมกับพูดว่า"ลุง ฆ่าเสียเถิด" ประกอบกับนายแพทย์ผู้ตรวจบาดแผลว่าตับฉีกนี้ ถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงที จะมีเลือดออกทำให้ช่องท้องอักเสบอาจทำให้ถึงตายได้ เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการใช้มีดแทงอวัยวะสำคัญ ผู้กระทำผิดมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
จำเลยใช้มีดปลายแหลมใบมีดกว้าง 11/2 เซนติเมตร ยาว 81/2 เซนติเมตรรวมทั้งด้ามยาว 1 คืบ แทงผู้เสียหายที่ท้องอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญจนตับฉีกขาด พร้อมกับพูดว่า"ลุง ฆ่าเสียเถิด" ประกอบกับนายแพทย์ผู้ตรวจบาดแผลว่าตับฉีกนี้ ถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงที จะมีเลือดออกทำให้ช่องท้องอักเสบ อาจทำให้ถึงตายได้ เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งฟ้อง: การปฏิบัติตามกฎหมายสำคัญกว่าประเพณี
การส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ในคดีแพ่ง ผู้อุทธรณ์เป็นผู้มีหน้าที่จัดการนำส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา70 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 7 วัน แต่โจทก์มิได้ดำเนินการเกี่ยวกับการนำส่งสำเนาอุทธรณ์นี้แต่ประการใดศาลอุทธรณ์จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามมาตรา 132(1) แล้ว. โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์ได้ตกลงกับทนายจำเลยให้มารับสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลสั่งแล้วซึ่งเป็นประเพณีที่เคยปฏิบัติมา แต่ทนายจำเลยไม่มารับโจทก์มิได้เพิกเฉย ดังนี้ ถือว่ากรณีไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งฟ้อง การตกลงนอกกฎหมายไม่สามารถใช้แทนการปฏิบัติตามกฎหมายได้
การส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ในคดีแพ่ง ผู้อุทธรณ์เป็นผู้มีหน้าที่จัดการนำส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา70เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 7 วัน แต่โจทก์มิได้ดำเนินการเกี่ยวกับการนำส่งสำเนาอุทธรณ์นี้แต่ประการใดศาลอุทธรณ์จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามมาตรา 132 (1) แล้ว. โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์ได้ตกลงกับทนายจำเลยให้มารับสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลสั่งแล้ว ซึ่งเป็นประเพณีที่เคยปฏิบัติมา แต่ทนายจำเลยไม่มารับโจทก์มิได้เพิกเฉย ดังนี้ถือว่ากรณีไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีที่ศาลชั้นต้นขาดการวินิจฉัยประเด็นสำคัญ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้สมาคมจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ ตามจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ 2 ของสมาคมจำเลยที่มีอยู่ขณะผู้ตายถึงแก่กรรม โดยไม่วินิจฉัยให้เด็ดขาดลงไปว่าขณะผู้ตายถึงแก่กรรมมีจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ 2 เหลืออยู่เท่าใด ทั้งๆ ที่สมาคมจำเลยให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้แล้ว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา141(5) แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสมาคมจำเลยต้องจ่ายเงินให้โจทก์เต็มตามฟ้อง ศาลฎีกาย่อมแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะศาลชั้นต้นได้พิพากษาไว้ด้วยว่าให้สมาคมจำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไม่เกินคำขอท้ายฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาที่ไม่ชัดเจนในจำนวนสมาชิก ทำให้ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามจำนวนที่สัญญาระบุ
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้สมาคมจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ ตามจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ 2 ของสมาคมจำเลยที่มีอยู่ขณะผู้ตายถึงแก่กรรม โดยไม่วินิจฉัยให้เด็ดขาดลงไปว่าขณะผู้ตายถึงแก่กรรมมีจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ 2 เหลืออยู่เท่าใด ทั้งๆ ที่สมาคมจำเลยให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้แล้ว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา141 (5) แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสมาคมจำเลยต้องจ่ายเงินให้โจทก์เต็มตามฟ้อง ศาลฎีกาย่อมแก้ให้ถูกต้องได้เพราะศาลชั้นต้นได้พิพากษาไว้ด้วยว่าให้สมาคมจำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไม่เกินคำขอท้ายฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตหน้าที่เจ้าพนักงาน: การเบิกความต่อศาลไม่ใช่หน้าที่โดยตรงจากการจับกุมผู้ต้องหา
การปฏิบัติการของเจ้าพนักงานคนหนึ่งคนใดจะเป็นการกระทำในหน้าที่หรือไม่ ย่อมเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดอำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตามระเบียบหรือคำสั่งของทางราชการ
เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดส่วนการฟ้องร้องผู้กระทำความผิดหรือไม่ย่อมอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจะต้องไปเบิกความเป็นพยานหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของพนักงานอัยการและศาล มิใช่ว่าเมื่อตำรวจคนใดได้จับผู้กระทำความผิดแล้วจะต้องไปเบิกความเป็นพยานต่อศาลเสมอไปจนถือว่าเป็นหน้าที่
การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมผู้กระทำความผิดมีหน้าที่ต้องเบิกความต่อศาลตามความสัจจริงในฐานะเป็นพยานในคดีที่ผู้กระทำความผิดถูกฟ้องนั้น เป็นหน้าที่อย่างเดียวกับประชาชนทั่วๆ ไป หาใช่เป็นหน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากการที่เป็นเจ้าพนักงานผู้จับกุมผู้กระทำความผิดไม่ หน้าที่ที่ต้องเบิกความตามความสัจจริง จึงไม่เป็นการกระทำการในหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะ แม้จำเลยจะเรียกและรับเงินจากผู้อื่นเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานดังกล่าวให้เบิกความผิดไปจากความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบิกความในฐานะพยานไม่ใช่หน้าที่โดยตรงตามกฎหมาย การรับสินบนเพื่อเบิกความเท็จจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
การปฏิบัติการของเจ้าพนักงานคนหนึ่งคนใดจะเป็นการกระทำในหน้าที่หรือไม่ ย่อมเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดอำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตามระเบียบหรือคำสั่งของทางราชการ
เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดส่วนการฟ้องร้องผู้กระทำความผิดหรือไม่ย่อมอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจะต้องไปเบิกความเป็นพยานหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของพนักงานอัยการและศาล มิใช่ว่าเมื่อตำรวจคนใดได้จับผู้กระทำความผิดแล้วจะต้องไปเบิกความเป็นพยานต่อศาลเสมอไปจนถือว่าเป็นหน้าที่
การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมผู้กระทำความผิดมีหน้าที่ต้องเบิกความต่อศาลตามความสัจจริงในฐานะเป็นพยานในคดีที่ผู้กระทำความผิดถูกฟ้องนั้น เป็นหน้าที่อย่างเดียวกับประชาชนทั่วๆ ไป หาใช่เป็นหน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากการที่เป็นเจ้าพนักงานผู้จับกุมผู้กระทำความผิดไม่ หน้าที่ที่ต้องเบิกความตามความสัจจริง จึงไม่เป็นการกระทำการในหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะแม้จำเลยจะเรียกและรับเงินจากผู้อื่นเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานดังกล่าวให้เบิกความผิดไปจากความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
of 47