พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อผลละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน แม้มีเหตุให้เบี่ยงเบนจากหน้าที่
ลูกจ้างได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลไร่ของนายจ้างให้ขับรถคันเกิดเหตุไปซื้อแหนบรถมาใส่รถของนายจ้างคันที่เสียลูกจ้างไปซื้อแหนบรถแล้วขณะขับกลับไร่ มีผู้ว่าจ้างให้ขับรถไปส่งมันสำปะหลังเมื่อส่งมันสำปะหลังแล้ว ขณะขับรถกลับไร่ได้เกิดชนกับรถของบุคคลอื่นโดยความประมาทของลูกจ้าง เช่นนี้ ถือว่ายังอยู่ในระหว่างปฏิบัติงานในทางการที่จ้างอยู่ นายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่เป็นป่าสงวน โจทก์รู้ข้อเท็จจริงแต่ยังชำระเงิน จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินคืน
โจทก์รู้ดีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาซื้อขายว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลย แต่เป็นป่าสงวนแห่งชาติซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้โจทก์ยังชำระเงินค่าที่ดินให้จำเลยโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมาย การตกทอดมรดก และข้อยกเว้นการรับมรดกตามพินัยกรรม
คู่ความยอมรับกันว่า ไม่มีอะไรที่จะต้องนำสืบกันต่อไปคงขอให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเพียงว่าพินัยกรรมสมบูรณ์โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น แล้วให้ศาลพิพากษาไปตามรูปคดี จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างสละประเด็นอื่น รวมทั้งประเด็นที่ว่ามรดกรายนี้มีพินัยกรรมหรือไม่แล้ว อันเป็นการยอมรับว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมฉบับที่จำเลยอ้างจริง เป็นแต่โต้เถียงกันว่าเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น การที่โจทก์ และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฎีกาว่า พินัยกรรมฉบับนั้นเป็นเพียงร่างพินัยกรรมยังไม่ได้ทำพินัยกรรมตัวจริงขึ้นเลยก็เท่ากับอุทธรณ์ฎีกาว่ามรดกรายนี้ไม่มีพินัยกรรมซึ่งเป็นประเด็นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างสละแล้วนั่นเองโจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างอีกได้
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนหนึ่งให้บุตรคนหนึ่งแต่บุตรผู้รับพินัยกรรมนั้นตายไปก่อนผู้ทำพินัยกรรมข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินตามพินัยกรรมนั้นจึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1699 ประกอบกับ มาตรา 1620 วรรคสอง ทรัพย์สินดังกล่าวต้องตกทอดแก่ผู้สืบสันดานของบุตรผู้รับพินัยกรรมซึ่งตายไปก่อนผู้ทำพินัยกรรมนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนหนึ่งให้บุตรคนหนึ่งแต่บุตรผู้รับพินัยกรรมนั้นตายไปก่อนผู้ทำพินัยกรรมข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินตามพินัยกรรมนั้นจึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1699 ประกอบกับ มาตรา 1620 วรรคสอง ทรัพย์สินดังกล่าวต้องตกทอดแก่ผู้สืบสันดานของบุตรผู้รับพินัยกรรมซึ่งตายไปก่อนผู้ทำพินัยกรรมนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้: การคืนโฉนดไม่ปลดเปลื้องความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697 เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้น การที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและการคืนโฉนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดตามสัญญา
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้นการที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: ปัญหาข้อเท็จจริง vs. ข้อกฎหมาย การฎีกาต้องจำกัดเฉพาะประเด็นข้อกฎหมาย
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายกล่าวคือ ถ้ายังโต้เถียงข้อเท็จจริงกันอยู่ไม่เป็นที่ยุติว่า จำเลยกระทำอย่างไรบ้างที่อ้างว่ากระทำเพื่อป้องกัน ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง แต่ถ้าข้อเท็จจริงได้ความยุติแล้วว่า จำเลยกระทำอย่างไร และคู่ความฎีกาโต้เถียงเพียงว่า การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมานั้น ถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้จึงจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: ปัญหาข้อเท็จจริง vs. ข้อกฎหมาย และขอบเขตการฎีกา
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่อาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายกล่าวคือ ถ้ายังโต้เถียงข้อเท็จจริงกันอยู่ไม่เป็นที่ยุติว่า จำเลยกระทำอย่างไรบ้างที่อ้างว่ากระทำเพื่อป้องกันย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง แต่ถ้าข้อเท็จจริงได้ความยุติแล้วว่าจำเลยกระทำอย่างไร และคู่ความฎีกาโต้เถียงเพียงว่า การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมานั้น ถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้จึงจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659-2660/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกระทง – ลักทรัพย์-พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน – จำเลยฎีกาได้ในความผิดที่ศาลล่างวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 4 ร่วมกับพวกกระทำผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนกระทงหนึ่งกับฐานต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน อีกกระทงหนึ่ง ให้ลงโทษฐาน พยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งเป็นกระทงหนัก วางโทษจำคุก 18 ปี มิได้กำหนดโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ไว้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เช่นนี้ จำเลยที่ 4 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานลักทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644-2645/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้แจ้งครอบครองก็ไม่ทำให้สภาพเปลี่ยนแปลง สัญญาเช่าตกเป็นโมฆะ
ที่ดินที่ทางราชการสงวนไว้สำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(3) แม้ผู้เข้าครอบครองจะได้แจ้งการครอบครองไว้ ก็ไม่ทำให้สภาพของที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเปลี่ยนแปลงไป ผู้ครอบครองนำที่ดินดังกล่าวให้ผู้อื่นเช่า สัญญาเช่าตกเป็นโมฆะ ผู้ครอบครองไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่หรือเรียกค่าเช่าจากผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามกฎหมายภาษีอากร ไม่รวมถึงอาหารสัตว์
คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(4)ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 ไม่มีบทนิยามให้มีความหมายโดยเฉพาะ ย่อมค้นหาความหมายได้โดยเปรียบเทียบจากบทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือจากบทมาตราอื่นๆ ของประมวลรัษฎากร
คำว่า 'อาหาร' ในบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ถ้าใช้เป็นคำกลางๆ หมายถึงอาหารสำหรับคนเท่านั้น หามีความหมายถึงอาหารสัตว์ด้วยไม่ คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' จึงหมายถึง อาหารคนแต่อย่างเดียว ถ้ากฎหมายประสงค์จะให้หมายถึงอาหารอย่างอื่น ก็จำเป็นจะต้องบัญญัติไว้ให้ชัดเป็นแห่ง ๆ ไปฉะนั้น อาหารสัตว์จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร'
คำว่า 'อาหาร' ในบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ถ้าใช้เป็นคำกลางๆ หมายถึงอาหารสำหรับคนเท่านั้น หามีความหมายถึงอาหารสัตว์ด้วยไม่ คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' จึงหมายถึง อาหารคนแต่อย่างเดียว ถ้ากฎหมายประสงค์จะให้หมายถึงอาหารอย่างอื่น ก็จำเป็นจะต้องบัญญัติไว้ให้ชัดเป็นแห่ง ๆ ไปฉะนั้น อาหารสัตว์จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร'