คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถนอม ครูไพศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายสุราและผลผูกพันของสัญญาค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญากันว่าจำเลยที่ 1 ต้องทำสุราออกขายไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท และยอมเสียภาษีสุราไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท เดือนใดเสียภาษีสุราต่ำกว่าจำนวนดังกล่าวนี้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับเท่ากับสุรา ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที และจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินค่าภาษีหรือเงินอื่นใดที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำสุราออกขายได้ตามจำนวนดังกล่าว และค้างชำระเงินค่าปรับเป็นจำนวนนับล้านบาท โจทก์ยอมได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยผลแห่งข้อสัญญา หาใช่ว่าจะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งซึ่งออกตามกฎหมายเฉพาะกฎหมายสุราจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ไม่
เบี้ยปรับตามสัญญาก็คือ ค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าเพื่อชดใช้แก่กันหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่ากระทำในฐานะกรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว และยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับรองการทำสัญญาดังกล่าวของกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญา แม้ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จะมีว่ากรรมการจะต้องลงนามร่วมกัน 2 คน จึงจะทำการแทนบริษัทได้ ก็เป็นเรื่องการจำกัดอำนาจกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 อันเป็นคนละกรณีกับการกระทำโดยทางตัวแทน
ในกรณีที่การบอกเลิกสัญญาไม่ทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วระงับสิ้นลง จนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้นั้น แม้เจ้าหนี้ได้บอกเลิกสัญญากับลูกหนี้ก็หาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหาย: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดของนิติบุคคล
ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ 32 วรรค 2 ว่า "กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ" ดังนั้น การที่จะถือว่ากรมตำรวจโจทก์ได้รู้ถึงเรื่องการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อ อธิบดีกรมตำรวจโจทก์ หรือผู้ทำการแทนรู้เรื่องการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือว่าเมื่อประธานกรรมการสอบสวนรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตือถือว่าโจกท์รู้ด้วยหาได้ไม่ เพราะตามระเบียบราชการนั้นเจ้าหน้าที่ชั้นสูงจะต้องพิจารณาก่อนว่าเรื่องราวและความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่เสนอไปนั้นถูกต้องหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำผิดของนิติบุคคล
ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ 32วรรคสองว่า"กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ" ดังนั้นการที่จะถือว่ากรมตำรวจโจทก์ได้รู้ถึงเรื่องการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่ออธิบดีกรมตำรวจโจทก์หรือผู้ทำการแทนรู้เรื่องการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือว่าเมื่อประธานกรรมการสอบสวนรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องถือว่าโจทก์รู้ด้วยหาได้ไม่ เพราะตามระเบียบราชการนั้นเจ้าหน้าที่ชั้นสูงจะต้องพิจารณาก่อนว่าเรื่องราวและความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่เสนอไปนั้นถูกต้องหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้เมื่อคำพิพากษาเดิมวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว
จำเลยเคยยื่นคำร้องในคดีก่อนอ้างว่าที่พิพาทเป็นที่ดินในโฉนดของโจทก์ซึ่งจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโฉนดของโจทก์ ความจริงจำเลยเข้าไปอาศัยและทำนาโดยอาศัยสิทธิการเช่าของบุคคลอื่นที่เช่าที่ดินไปจากโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์ โดยต่างคนต่างครอบครองตามแนวเขตที่ดินของตนไม่ปรปักษ์กันดังนี้ คำพิพากษาคดีก่อนจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องผูกพันในคำพิพากษานั้นว่า ที่พิพาทไม่ได้อยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีหลังและนำสืบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจึงรับฟังไม่ได้
แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อคำพิพากษาวินิจฉัยมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลย จำเลยย่อมอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้หากเคยถูกตัดสินแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่อยู่ในโฉนด
จำเลยเคยยื่นคำร้องในคดีก่อนอ้างว่าที่พิพาทเป็นที่ดินในโฉนดของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปกปักษ์ขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโฉนดของโจทก์ ความจริงจำเลยเข้าไปอาศัยและทำนาโดยอาศัยสิทธิการเช่าของบุคคลอื่นที่เช่าที่ดินไปจากโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์ โดยต่างคนต่างครอบครองตามแนวเขตที่ดินของตนไม่ปรปักษ์กัน ดังนี้ คำพิพากษาคดีก่อนจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องผูกพันในคำพิพากษานั้นว่า ที่พิพาทไม่ได้อยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีหลังและนำสืบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจึงรับฟังไม่ได้
แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อคำพิพากษาวินิจฉัยมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลย จำเลยย่อมอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมของเด็กอายุ 14 ปี กับการอยู่กินฉันสามีภริยา ไม่เป็นความผิด
เด็กหญิงอายุ 14 ปี เต็มใจไปอยู่กับจำเลยเพื่อเป็นสามีภริยาจำเลยไม่มีภริยา ไม่เป็นการอนาจาร ไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากปืนจากผู้มีใบอนุญาต ไม่ถือเป็นการครอบครองปืนผิดกฎหมาย
รับฝากปืนจากผู้ได้รับอนุญาตให้มี เป็นการครอบครองไว้เพื่อไม่ให้สูญหาย ไม่เป็นการมีปืนตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 4(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักสินเดิมออกจากสินสมรสในคดีหย่า โดยไม่ต้องฟ้องแย้ง
จำเลยให้การว่ามีสินเดิมเป็นเงินซึ่งได้นำไปซื้อที่ดินสินสมรส ในการพิพากษาให้แบ่งทรัพย์โดยการหย่าตามคำพิพากษา ศาลพิพากษาให้หักสินสมรสใช้สินเดิมก่อนได้ โดยไม่ต้องฟ้องแย้งหรือขอหักไว้ในคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาซื้อขายที่ดินโดยนิติกรรมพิเศษ: การระบุวันสิ้นสุดชัดเจนทำให้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 158-159 ใช้ไม่ได้
บันทึกเปรียบเทียบที่โจทก์จำเลยลงชื่อไว้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2517 มีข้อความว่า ให้จำเลยขายที่ดินคืนให้โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี ถ้าพ้นกำหนด 1 ปี (19 มีนาคม 2518) ยังไม่มีการซื้อขายที่ดินคืนก็ให้ยกเลิกข้อตกลง การที่ระบุข้อความในวงเล็บว่า '19 มีนาคม 2518' ไว้ก็ด้วยเจตนาที่จะกำหนดวันสิ้นสุดแห่งระยะเวลา 1 ปี ให้เป็นที่แน่นอน เป็นข้อยกเว้นโดยนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 จะนำวิธีการกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158,159 มาใช้บังคับไม่ได้ต้องถือว่าวันที่ 19 มีนาคม 2518 เป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิขอซื้อที่ดินคืน เมื่อโจทก์ขอซื้อคืนในวันที่ 20 มีนาคม 2518 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะซื้อคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดระยะเวลาในสัญญาซื้อขาย: การระบุวันสิ้นสุดที่แน่นอนมีผลเหนือวิธีการนับตามกฎหมาย
บันทึกเปรียบเทียบที่โจทก์จำเลยลงชื่อไว้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2517 มีข้อความว่า ให้จำเลยขายที่ดินคืนให้โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี ถ้าพ้นกำหนด 1 ปี (19 มีนาคม 2518) ยังไม่มีการซื้อขายที่ดินคืนก็ให้ยกเลิกข้อตกลง การที่ระบุข้อความในวงเล็บว่า "19 มีนาคม 2518" ไว้ก็ด้วยเจตนาที่จะกำหนดวันสิ้นสุดแห่งระยะเวลา 1 ปี ไว้เป็นที่แน่นอน เป็นข้อยกเว้นโดยนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 จะนำวิธีการกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158, 159 มาใช้บังคับไม่ได้ ต้องถือว่าวันที่ 19 มีนาคม 2518 เป็นวันสิ้นสุดระยะเวาลาที่โจทก์มีสิทธิขอซื้อที่ดินคืน เมื่อโจทก์ขอซื้อคืนในวันที่ 20 มีนาคม 2518 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะซื้อคืน
of 47