พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกสืบสาย: สิทธิทายาทโดยชอบธรรม การครอบครองร่วม และอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ อ.เจ้ามรดกตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง โดยเมื่อ อ.วายชนม์ ที่พิพาทตกได้แก่ ย.บุตรของ อ. ย.วายชนม์ มรดกส่วนของ ย.ตกได้แก่ ค.ยายของโจทก์ ค.วายชนม์ ตกได้แก่ ช. และตกได้แก่โจทก์ เมื่อ ช.มารดาโจทก์วายชนม์ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตลอดมาเช่นเดียวกันกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. สาย ล.บุตรของ อ.อีกคนหนึ่ง เพียงสองคนเท่านั้น ไม่มีทายาทอื่นเกี่ยวข้อง จึงฟ้องขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิรับมรดกสืบทอดมาจาก ย.ทวดของโจทก์ ซึ่งมีการรับมรดกของ อ.เป็นทอด ๆ กันมาตามบัญชีเครือญาตท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้ ย.จะวายชนม์ก่อน อ.ก็ตาม เมื่อ ย.บุตร อ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดก อ.แทนที่ ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของ ค.โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ.เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่น ๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทแล้ว คงเหลือผู้มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่
แม้ ย.จะวายชนม์ก่อน อ.ก็ตาม เมื่อ ย.บุตร อ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดก อ.แทนที่ ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของ ค.โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ.เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่น ๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทแล้ว คงเหลือผู้มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำเนาเอกสารสัญญาเช่าซื้อเพียงพอต่อการพิสูจน์คดี ไม่ต้องส่งต้นฉบับ
จำเลยมิได้ปฏิเสธความถูกต้องของสำเนาเอกสารสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบส่งต้นฉบับเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหนี้ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์
เจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่าได้โอนหนี้ไปยัง อ. แล้วและต่อมา อ. มีหนังสือแจ้งมายังลูกหนี้ว่าได้รับโอนหนี้แล้ว ดังนี้ การโอนหนี้มิได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่สมบูรณ์ อ.แจ้งไปยังเจ้าหนี้เดิมให้เจ้าหนี้เดิมเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้เอาเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจและสัญญาค้ำประกัน: การปิดอากรแสตมป์และผลของการไม่ฟ้องลูกหนี้ตามสัญญา
โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องเพียงคดีเดียว กิจการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ เช่น การแต่งทนาย ถอนฟ้อง ยอมความ อุทธรณ์ฎีกา รวมตลอดถึงการรับเงินในคดี ล้วนเป็นแต่กิจการเฉพาะคดีนั้นทั้งสิ้น จึงไม่ใช่ใบมอบอำนาจทั่วไป คงปิดอากรแสตมป์เพียง 5 บาท
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้น การค้ำประกันยังไม่ระงับ
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้น การค้ำประกันยังไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจและหนังสือรับสภาพหนี้ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ การค้ำประกันไม่ระงับแม้เจ้าหนี้ไม่ฟ้องตามกำหนด
โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องเพียงคดีเดียว กิจการต่างๆ ที่ระบุไว้ เช่น การแต่งทนาย ถอนฟ้อง ยอมความ อุทธรณ์ฎีกา รวมตลอดถึงการรับเงินในคดี ล้วนแต่เป็นกิจการเฉพาะคดีนั้นทั้งสิ้น จึงไม่ใช่ใบมอบอำนาจทั่วไป คงปิดอากรแสตมป์เพียง 5 บาท
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้นการค้ำประกันยังไม่ระงับ
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้นการค้ำประกันยังไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1689/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายจากการกระทำของผู้เช่า แม้ครอบครองแฟลต
จำเลยสร้างแฟลตให้คนเช่า ซึ่งอาจทิ้งของและน้ำลงบนที่ดินของโจทก์ถัดไป แม้จำเลยจะครอบครองและอยู่อาศัยในแฟลต แต่ได้มีผู้เช่าแยกเป็นส่วนสัดซึ่งเป็นผู้ทำละเมิด จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม มาตรา 436 ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าก่อนการเสียชีวิตของผู้ขายและสิทธิเรียกร้องในการจดทะเบียน
ส. ขายที่ดินมือเปล่าแก่โจทก์ส่งมอบให้ครอบครองแล้วระหว่าง ส.ประกาศรังวัดแบ่งขายส. ตาย จำเลยผู้เป็นทายาทกลับคัดค้านต่ออำเภอ โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนได้ คดีไม่ใช่ฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ไม่ขาดอายุความ 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหนีตามและอยู่กินฉันสามีภริยา ไม่เข้าข่ายความผิดฐานอนาจาร หากไม่มีเจตนาทางเพศ
หญิงอายุ 17 ปี หนีบิดามารดาตามจำเลยไปอยู่กินเป็นสามีภริยากัน แต่ไม่มีเงินให้ตามที่บิดามารดาหญิงเรียกร้อง มิใช่เพื่อการอนาจารไม่เป็นความผิดตามมาตรา 319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร: พิจารณาความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมและประโยชน์สูงสุดของเด็ก
ตามปกติอำนาจปกครองย่อมอยู่กับบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นภริยาว่า จำเลยทะเลาะกับโจทก์แล้วหนีออกจากบ้านไปอาศัยอยู่ที่อื่น ขอให้บังคับจำเลยให้ส่งบุตรคืนแก่โจทก์ ก็เป็นการฟ้องเพื่อจะใช้อำนาจปกครองนั่นเอง แต่ศาลจะให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดาก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) หากกรณีส่อแสดงว่าการให้บุตรอยู่กับมารดาจะเป็นการเหมาะสมกว่า(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1225/2508) เมื่อได้ความว่าบุตรอายุเพียง2 ปี ยังไร้เดียงสาและได้อยู่กับจำเลยด้วยดีคลอดมา ไม่ปรากฏข้อบกพร่องเสียหาย การให้บุตรอยู่กับจำเลยระยะนี้บุตรจะได้รับความอบอุ่นมากกว่าอยู่กับโจทก์ และจำเลยก็รับว่าไม่รังเกลียดที่จะให้โจทก์เยี่ยมเยียน จึงควรให้บุตรอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลยผู้เป็นมารดาไปก่อน หากมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปโจทก์ก็ชอบที่จะเรียกร้องเอาบุตรคืนได้ ชั้นนี้ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินเจ้าของร่วมหลังศาลยกฟ้องเดิม: สิทธิในการจัดการมรดกยังคงมี
น. เคยฟ้องจำเลยขอรับโฉนดที่ดินซึ่ง น. กับจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันไปแบ่งแยก ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิ น. ตาย โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก น. เรียกโฉนดจากจำเลยไปจดทะเบียนจัดการมรดกแบ่งที่ดินต่อไปได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ