คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ จามรมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 521 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินต่างประเทศ: อำนาจตามกฎหมายไทยและหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต้องมีกฎหมายรองรับ
ผู้ใดจะยึดทรัพย์สินของบุคคลอื่นในประเทศไทยได้โดยชอบนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่อาศัยอำนาจของกฎหมายไทยหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลไทย
หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติตอบแทนกันระหว่างประเทศ ถ้าจะให้มีผลบังคับได้จะต้องมีกฎหมายไทยรับรองไว้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 เป็นเรื่องอำนาจของเจ้าพนักงานเกี่ยวกับการที่จะดำเนินคดีในศาลไทยเจ้าพนักงานหาอาจอาศัยอำนาจตามมาตรานี้ยึดทรัพย์ของผู้ใดเพื่อส่งไปให้รัฐบาลต่างประเทศสำหรับใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีในศาลต่างประเทศไม่
โจทก์เป็นชาวต่างประเทศถูกคนร้ายชิงทรัพย์ เจ้าพนักงานตำรวจจับคนร้ายได้พร้อมด้วยเงินตราต่างประเทศที่ถูกชิงทรัพย์ไปเป็นของกลาง ศาลพิพากษาคดีอาญาให้คืนเงินของกลางแก่โจทก์แล้ว จำเลยคือกรมตำรวจและเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินของกลางให้โจทก์ การที่โจทก์ถูกศาลสั่งให้ส่งตัวข้ามแดนไปตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 นั้น พระราชบัญญัติดังกล่าวหาได้บัญญัติเกี่ยวกับการส่งพยานหลักฐานไปให้ศาลต่างประเทศด้วยไม่ ทั้งคำพิพากษาของศาลที่ให้ส่งตัวโจทก์ไปให้รัฐบาลต่างประเทศก็มิได้สั่งให้ส่งพยานหลักฐานใด ๆ ไปด้วย เมื่อจำเลยไม่สามารถอ้างและนำสืบให้เห็นว่ามีอำนาจตามกฎหมายใดที่จะยึดเงินของกลางไว้ เพื่อส่งให้รัฐบาลต่างประเทศตามที่รัฐบาลต่างประเทศขอมา ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยคืนเงินของกลางแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินต่างประเทศโดยเจ้าพนักงานไทย ต้องอาศัยอำนาจกฎหมายไทยหรือคำสั่งศาลเท่านั้น
ผู้ใดจะยึดทรัพย์สินของบุคคลอื่นในประเทศไทยได้โดยชอบนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่อาศัยอำนาจของกฎหมายไทย หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลไทย
หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติตอบแทนกันระหว่างประเทศ ถ้าจะให้มีผลบังคับได้จะต้องมีกฎหมายไทยรับรองไว้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 เป็นเรื่องอำนาจของเจ้าพนักงานเกี่ยวกับการที่จะดำเนินคดีในศาลไทย เจ้าพนักงานหาอาจอาศัยอำนาจตามมาตรานี้ยึดทรัพย์ของผู้ใด เพื่อส่งไปให้รัฐบาลต่างประเทศสำหรับใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีในศาลต่างประเทศไม่
โจทก์เป็นชาวต่างประเทศถูกคนร้ายชิงทรัพย์ เจ้าพนักงานตำรวจจับคนร้ายได้พร้อมด้วยเงินตราต่างประเทศที่ถูกชิงทรัพย์ไปเป็นของกลาง ศาลพิพากษาคดีอาญาให้คืนเงินของกลางแก่โจทก์แล้ว จำเลยคือกรมตำรวจและเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินของกลางให้โจทก์ การที่โจทก์ถูกศาลสั่งให้ส่งตัวข้ามแดงไปตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 นั้น พระราชบัญญัติดังกล่าวหาได้บัญญัติเกี่ยวกับการส่งพยานหลักฐานไปให้ศาลต่างประเทศด้วยไม่ ทั้งคำพิพากษาของศาลที่ให้ส่งตัวโจทก์ไปให้รัฐบาลต่างประเทศก็มิได้สั่งให้ส่งพยานหลักฐานใดๆ ไปด้วย เมื่อจำเลยไม่สามารถอ้างและนำสืบให้เห็นว่ามีอำนาจตามกฎหมายใดที่จะยึดของกลางไว้ เพื่อส่งให้รัฐบาลต่างประเทศตามที่รัฐบาลต่างประเทศขอมา ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยคืนเงินของกลางแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะที่เหมาะสม
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถบรรทุกนำมาร่วมกิจการขนส่งกับห้างจำเลยที่ 4 ลูกจ้างผู้ขับรถคันนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 และที่ 4
เมื่อได้ความว่าห้างจำเลยที่ 4 ยังประกอบการขนส่งสาธารณะอยู่ แม้ใบอนุญาตขนส่งจะหมดอายุแล้ว ห้างจำเลยที่ 4 ก็ยังไม่พ้นความรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างกระทำลงในการขนส่งนั้น
แม้ผู้ตายจะมีอายุ 64 ปี แต่ร่างกายยังแข็งแรงไม่เจ็บป่วยยังสามารถประกอบอาชีพได้ ถ้าหากผู้ตายไม่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายเสียก่อนย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผู้ตายจะมีชีวิตต่อไปอีกมากกว่า 2 ปี โจทก์ซึ่งเป็นภริยาไม่มีรายได้อย่างอื่นนอกจากเงินเดือนที่ผู้ตายมอบให้เดือนละ 5,000 บาทตามพฤติการณ์ดังกล่าวที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเดือนละ 2,000 บาทเป็นเวลา 4 ปี เป็นเงิน 96,000 บาท จึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าทำละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดด้วยกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะพึงชดใช้แก่โจทก์ลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้างและค่าขาดไร้อุปการะจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถบรรทุกนำมาร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 4 ลูกจ้างผู้ขับรถคันนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 และที่ 4
เมื่อได้ความว่าห้างจำเลยที่ 4 ยังประกอบการขนส่งสาธารณะอยู่ แม้ใบอนุญาตขนส่งจะหมดอายุแล้ว ห้างจำเลยที่ 4 ก็ยังไม่พ้นความรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างกระทำลงในการขนส่งนั้น
แม้ผู้ตายจะมีอายุ 64 ปี แต่ร่างกายยังแข็งแรงไม่เจ็บป่วยยังสามารถประกอบอาชีพได้ ถ้าหากผู้ตายไม่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายเสียก่อนย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผู้ตายจะมีชีวิตต่อไปอีกมากกว่า 2 ปี โจทก์ซึ่งเป็นภริยาไม่มีรายได้อย่างอื่นนอกจากเงินเดือนที่ผู้ตายมอบให้เดือนละ 5,000 บาท ตามพฤติการณ์ดังกล่าวที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเดือนละ 2,000 บาท เป็นเวลา 4 ปี เป็นเงิน 96,000 บาท จึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าทำละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดด้วย กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะพึงชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายที่ดินโดยไม่แจ้งตามสัญญา ไม่ถึงขั้นต้องคืนที่ดิน
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อศาลมีว่า โจทก์ให้ที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 จะนำไปขายโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนไม่ได้ ดังนี้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ก็ไม่มีข้อสัญญาว่าจะต้องคืนที่ดินให้โจทก์ตามเดิม โจทก์จึงฟ้องเรียกคืนที่พิพาทกลับมาเป็นของตนอันเป็นข้อนอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความข้อตกลงการขายที่ดิน และขอบเขตการฟ้องเรียกคืน
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อศาลมีว่า โจทก์ให้ที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 จะนำไปขายโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนไม่ได้ดังนี้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ก็ไม่มีข้อสัญญาว่าจะต้องคืนที่ดินให้โจทก์ตามเดิม โจทก์จึงฟ้องเรียกคืนที่พิพาทกลับมาเป็นของตนอันเป็นข้อนอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาขายฝาก: หลักฐานการจดทะเบียนสำคัญกว่าสัญญา หากระบุเวลาในเอกสารจดทะเบียน แม้สัญญายังไม่ได้ระบุ
หลักฐานการจดทะเบียนเป็นหลักฐานสำคัญเพราะสัญญาขายฝากจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เมื่อปรากฏตามเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและหน้าโฉนดว่า การขายฝากมีกำหนดเวลา 4 เดือน แม้ตัวสัญญาขายฝากจะมิได้กรอกกำหนดเวลาลงไป ก็ฟังได้ว่าการขายฝากมีกำหนดเวลา โจทก์ขอไถ่เมื่อพ้นกำหนดแล้วจึงไถ่ไม่ได้
เมื่อศาลรับฟังพยานเอกสารที่จำเลยอ้าง คือเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โฉนดที่ดิน เชื่อว่าคู่สัญญากำหนดเวลาขายฝากไว้มีกำหนดเวลา 4 เดือน จึงมิใช่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาขายฝาก และไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก: หลักฐานการจดทะเบียนสำคัญกว่าสัญญา หากระบุระยะเวลาไม่ตรงกัน ให้ใช้ตามที่จดทะเบียน
หลักฐานการจดทะเบียนเป็นหลักฐานสำคัญเพราะสัญญาขายฝากจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเมื่อปรากฏตามเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและหน้าโฉนดว่า การขายฝากมีกำหนดเวลา 4 เดือน แม้ตัวสัญญาขายฝากจะมิได้กรอกกำหนดเวลาลงไป ก็ฟังได้ว่าการขายฝากมีกำหนดเวลา โจทก์ขอไถ่เมื่อพ้นกำหนดแล้วจึงไถ่ไม่ได้
เมื่อศาลรับฟังพยานเอกสารที่จำเลยอ้างคือเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโฉนดที่ดิน เชื่อว่าคู่สัญญากำหนดเวลาขายฝากไว้มีกำหนดเวลา 4 เดือน จึงมิใช่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาขายฝาก และไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะกรณีเสียชีวิต: มารดาและบุตรผู้เยาว์
จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ ท. ตายมารดาของ ท. กับบุตรผู้เยาว์ของ ท. ซึ่งมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพราะขาดอุปการะตามกฎหมายมารดา ท. เรียกค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นระยะเวลา 10 ปี ไม่เป็นระยะเวลาที่นานเกินไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกและการทำสัญญาจะขายที่ดินมรดก ทำให้สิทธิในการเรียกร้องแบ่งมรดกสิ้นสุดลง
โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องกัน ต่างเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินพิพาทแต่โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินมรดกส่วนของตนให้จำเลยจนได้มีการโอนโฉนดเป็นชื่อจำเลยไปแล้วโจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกนั้นอีกไม่ได้
of 53