พบผลลัพธ์ทั้งหมด 521 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินระหว่างร้าง: การแยกกันอยู่ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก่อนประมวลกฎหมายแพ่งฯ ไม่ถือเป็นสินสมรส
สามีภริยาก่อนใช้บรรพ 5 พ.ศ.2477 ภริยาแยกไปอยู่ต่างหากจากสามี ไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกันอีกเลยจนสามีตาย กำหนดเวลาทิ้งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียในขณะนั้นอย่างมากเพียง 1 ปี 4 เดือน จึงถือเป็นการร้างกันแล้ว ทรัพย์สินที่เกิดในระหว่างร้างไม่เป็นสินสมรส สามีตายภริยาร้าง ไม่มีส่วนแบ่งสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดอาณาบริเวณการท่าเรือต้องชัดเจนตามกฎหมาย หากฟ้องไม่ระบุชัดเจน ศาลไม่สามารถลงโทษตามกฎหมายนั้นได้
ตาม พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย อาณาบริเวณที่เป็นเขตควบคุมบำรุงรักษาของการท่าเรือ ต้องกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกามีแผนที่แสดงไว้โดยชัดแจ้ง ฟ้องบรรยายเพียงว่าเหตุเกิดรถชนกันบนถนนการท่าเรือ ไม่ชัดพอว่าอยู่ภายในบริเวณการท่าเรือ จึงลงโทษตาม พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อกฎหมายต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นก่อน จึงจะอุทธรณ์ได้ แม้คดีขอเฉลี่ยทรัพย์
คดีที่พิพาทกันในชั้นขอเฉลี่ยทรัพย์นั้น ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความจะยกขึ้นอ้างอิงในการยื่นอุทธรณ์ได้ก็จะต้องเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำคัดค้านของโจทก์ที่คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อ้างว่า สัญญาจ้างว่าความที่พิพาททำขึ้นโดยฉ้อฉล แล้วกล่าวเสริมเพียงว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการขัดต่อศีลธรรมและมารยาทของทนายความตามกฎหมาย ดังนี้ ยังไม่เป็นการชัดแจ้งพอที่จะแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยกปัญหาว่าสัญญาจ้างว่าความที่พิพาทเป็นการขัดต่อกฎหมาย(พระราชบัญญัติทนายความและข้อบังคับว่าด้วยมารยาททนายความ)เป็นข้อคัดค้านต่อสู้ผู้ร้องด้วย ศาลจึงยกประเด็นเรื่อง สัญญาจ้างว่าความดังกล่าวเป็นการสมยอมหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยประการเดียว
คำคัดค้านของโจทก์ที่คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อ้างว่า สัญญาจ้างว่าความที่พิพาททำขึ้นโดยฉ้อฉล แล้วกล่าวเสริมเพียงว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการขัดต่อศีลธรรมและมารยาทของทนายความตามกฎหมาย ดังนี้ ยังไม่เป็นการชัดแจ้งพอที่จะแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยกปัญหาว่าสัญญาจ้างว่าความที่พิพาทเป็นการขัดต่อกฎหมาย(พระราชบัญญัติทนายความและข้อบังคับว่าด้วยมารยาททนายความ)เป็นข้อคัดค้านต่อสู้ผู้ร้องด้วย ศาลจึงยกประเด็นเรื่อง สัญญาจ้างว่าความดังกล่าวเป็นการสมยอมหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยประการเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อกฎหมายต้องยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นก่อน จึงอุทธรณ์ได้ แม้คดีขอเฉลี่ยทรัพย์
คดีที่พิพาทกันในชั้นขอเฉลี่ยทรัพย์นั้น ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความจะยกขึ้นอ้างอิงในการยื่นอุทธรณ์ได้ ก็จะต้องเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำคัดค้านของโจทก์ที่คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อ้างว่า สัญญาจ้างว่าความที่พิพาททำขึ้นโดยฉ้อฉล แล้วกล่าวเสริมเพียงว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการขัดต่อศีลธรรมและมารยาทของทนายความตามกฎหมาย ดังนี้ ยังไม่เป็นการชัดแจ้งพอที่จะแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยกปัญหาว่า สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทเป็นการขัดต่อกฎหมาย (พระราชบัญญัติทนายความ่และข้อบังคับว่าด้วยมารยาททนายความ) เป็นข้อคัดค้านต่อสู้ผู้ร้องด้วย ศาลจึงยกประเด็นเรื่องสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวเป็นการสมยอมหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยประการเดียว
คำคัดค้านของโจทก์ที่คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อ้างว่า สัญญาจ้างว่าความที่พิพาททำขึ้นโดยฉ้อฉล แล้วกล่าวเสริมเพียงว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการขัดต่อศีลธรรมและมารยาทของทนายความตามกฎหมาย ดังนี้ ยังไม่เป็นการชัดแจ้งพอที่จะแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยกปัญหาว่า สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทเป็นการขัดต่อกฎหมาย (พระราชบัญญัติทนายความ่และข้อบังคับว่าด้วยมารยาททนายความ) เป็นข้อคัดค้านต่อสู้ผู้ร้องด้วย ศาลจึงยกประเด็นเรื่องสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวเป็นการสมยอมหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยประการเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองอุทธรณ์/ฎีกา ต้องบันทึกครบหลักเกณฑ์ปัญหาสำคัญและอนุญาตให้สู้คดี
ข้อความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรีและในมาตรา 221 ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการรับรองให้คดีขึ้นสู้การพิจารณาของศาลที่สูงกว่านั้นมีบัญญัติไว้เป็นใจความอย่างเดียวกัน จึงย่อมอาจนำเหตุผลในฎีกาที่เกี่ยวกับมาตรา 221 มาเป็นหลักวินิจฉัยประกอบเทียบเคียงกันได้
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2,3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ตรี
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2,3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้อุทธรณ์/ฎีกา ต้องบันทึกครบถ้วนตามกฎหมาย มิฉะนั้นศาลสูงไม่รับพิจารณา
ข้อความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี และในมาตรา 221 ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่านั้นมีบัญญัติไว้เป็นใจความอย่างเดียวกัน จึงย่อมอาจนำเหตุผลในฎีกาที่เกี่ยวกับมาตรา 221 มาเป็นหลักวินิจฉัยประกอบเทียบเคียงกันได้
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "่ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2, 3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "่ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2, 3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว: ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนหากเห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบได้ตามสัญญา
ก่อนมีคำสั่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) ถ้าศาลเห็นว่าแม้จะได้ความตามคำร้องก็ไม่มีผลตามคำร้อง ศาลสั่งยกคำร้องได้ โดยไม่ต้องไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2020/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการแทงด้วยมีด: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตายในเวลากลางวัน มีโอกาสเลือกและแทงที่ท้องจนลึกเข้าช่องท้อง ถูกอวัยวะภายในเป็นบาดแผลถึงกับเลือดตกในมาก ผู้ตายถึงแก่ความตายในวันนั้นเอง เห็นได้ว่าจำเลยแทงได้มีเจตนาฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2020/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการแทงด้วยอาวุธมีด ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตายในเวลากลางวัน มีโอกาสเลือกและแทงที่ท้องจนลึกเข้าช่องท้อง ถูกอวัยวะภายในเป็นบาดแผลถึงกับเลือดตกในมาก ผู้ตายถึงแก่ความตายในวันนั้นเอง เห็นได้ว่าจำเลยแทงโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งริบของกลางต้องเป็นไปตามคำขอของโจทก์ การพิพากษาเกินคำขอเป็นเหตุให้ต้องแก้ไข
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความชัดว่าจำเลยได้ใช้รถไถ 3 คันของกลางในการกระทำผิด อันอยู่ในข่ายควรริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 หรือต้องริบเสียทั้งสิ้นตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 35 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ริบของกลางรายนี้ ศาลจะสั่งริบไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคต้น