คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ จามรมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 521 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิอาศัย: ศาลไม่อาจบังคับสิทธิเกินขอบเขตที่ตกลงกันไว้
เมื่อโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ถ้าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม จะนำคดีเรื่องเดียวกันที่ศาลชี้ขาดแล้วมาฟ้องขอให้ศาลบังคับเป็นอีกคดีหนึ่งโดยอ้างเหตุว่าจำเลยขัดขวาง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีเดิม ซึ่งยังมีผลบังคับได้อยู่ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันเองนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความอีกนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่ อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดข้อตกลงตามสัญญาที่ทำกันเอง เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในคดีเดิม ศาลย่อมวินิจฉัยให้ในคดีหลังเฉพาะในข้อที่ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ทำกันเองหรือไม่ และจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เท่านั้น
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพย์สิทธินั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่าง ๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำลยอาศัยให้แกโจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิอาศัย และขอบเขตการบังคับคดี การฟ้องร้องซ้ำซ้อน
เมื่อโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ถ้าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม จะนำคดีเรื่องเดียวกันที่ศาลชี้ขาดแล้วมาฟ้องขอให้ศาลบังคับเป็นอีกคดีหนึ่งโดยอ้างเหตุว่าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีเดิมซึ่งยังมีผลบังคับได้อยู่ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันเองนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความอีกนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดข้อตกลงตามสัญญาที่ทำกันเอง เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในคดีเดิม ศาลย่อมวินิจฉัยให้ในคดีหลังเฉพาะในข้อที่ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ทำกันเองหรือไม่ และจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เท่านั้น
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพยสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่างๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำเลยอาศัยให้แก่โจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องอาญาและการไต่สวนมูลฟ้อง: การอ้างมาตรา 83 และอำนาจศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) บัญญัติไว้เพียงว่าฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 หาใช่บทมาตราที่ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดทางอาญาไม่ หากแต่เป็นบทมาตราที่ใช้แก่ความผิดโดยทั่ว ๆ ไปว่า เมื่อมีความผิดโดยการกระทำร่วมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเกิดขึ้น ศาลจะต้องวางโทษบุคคลเหล่านั้นอย่างไร ฉะนั้นฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้แล้วว่าจำเลยทั้งสามได้สมคบกันสั่งจ่ายเช็ค เพียงแต่ไม่ได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ลงไว้ด้วย จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162(1) บัญญัติว่าถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของศาลเอง โดยตรงที่จะจัดการสั่งให้มีการไต่สวนมูลฟ้องขึ้นเสียก่อนที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณา ดังนั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาแม้โจทก์มิได้ขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องมาด้วย ศาลก็ย่อมสั่งและดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องไปตามกฎหมายได้ หาใช่เป็นการสั่งเกินคำขอของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องอาญาและการไต่สวนมูลฟ้อง: การอ้างมาตรากฎหมายและอำนาจศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) บัญญัติไว้เพียงว่า ฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 หาใช่บทมาตราที่ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดทางอาญาไม่ หากแต่เป็นบทมาตราที่ใช้แก่ความผิดโดยทั่วๆ ไปว่า เมื่อมีความผิดโดยการกระทำร่วมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเกิดขึ้น ศาลจะต้องวางโทษแก่บุคคลเหล่านั้นอย่างไร ฉะนั้น ฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้แล้วว่าจำเลยทั้งสามได้สมคบกันสั่งจ่ายเช็ค เพียงแต่ไม่ได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ลงไว้ด้วย จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 (1) บัญญัติว่า ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของศาลเองโดยตรงที่จะจัดการสั่งให้มีการไต่สวนมูลฟ้องขึ้นเสียก่อนที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณา ดังนั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องมาด้วย ศาลก็ย่อมสั่งและดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องไปตามกฎหมายได้ หาใช่เป็นการสั่งเกินคำขอของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนมีคำสั่งให้กักขัง จำเลยต้องแสดงเหตุผลที่ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาได้
โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ขอให้จับจำเลยมากักขังไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์จำเลยยังคงโต้เถียงกันอยู่ว่า จำเลยสามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หรือไม่ ศาลสมควรที่จะไต่สวนให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวฟังเป็นยุติเสียก่อนที่จะสั่งยกหรืออนุญาตตามคำร้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของผู้ปกครองต่อการละเมิดของบุตรผู้เยาว์ที่ขับรถโดยประมาทและไม่มีใบอนุญาต
การขับรถยนต์นั้นอาจจะเกิดการละเมิดเป็นอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 อายุ 19 ปี และไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาได้ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์มานานแล้วและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่แต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 2 ต้องไปทำงานและไปราชการต่างจังหวัดเป็นประจำ หาทำให้จำเลยที่ 2 พ้นจากหน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปชนรถยนต์โจทก์โดยประมาท อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน: การอ้างจำนวนเงินกู้ที่ต่างจากเอกสารไม่มีผลลบล้างสัญญา
การที่จำเลยอ้างว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ 1,000 บาท แต่ทำสัญญากู้ให้ไว้ 7,000 บาท เพื่อป้องกันมิให้ขาดส่งดอกเบี้ยนั้น เป็นเรื่องเต็มใจทำสัญญากู้ให้ไว้เช่นนั้น ไม่มีการใช้อุบายหลอกลวงแต่อย่างใด มาภายหลังจึงกล่าวอ้างขึ้นว่าความจริงกู้เงินกันเพียง 1,000 บาท คำกล่าวอ้างเช่นนี้หาอาจลบล้างหลักฐานเอกสารสัญญากู้ได้ไม่ ไม่ปรากฏชัดว่าเจ้าหนี้ลงจำนวนเงินสูงกว่าความจริง ฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์โดยมีเหตุผลอันสมควร แม้เจ้าของทรัพย์จะปฏิเสธ
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดแร่ซึ่งเก็บอยู่ในโกดังของบริษัทโจทก์ และแม้คนของโจทก์จะได้บอกให้จำเลยทราบว่าแร่นั้นมิใช่เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ตามแต่จำเลยกระทำไปโดยมีเหตุผลที่สมควรสำหรับบุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนอยู่ในบริษัทโจทก์ที่เข้าใจไปได้ว่าแร่ดังกล่าวยังคงเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้จงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนสินสอดเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส
สินสอดที่ฝ่ายชายนำมามอบให้แก่ฝ่ายหญิงในการแต่งงานตามประเพณีนั้น หากชายและหญิงไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันโดยไม่ใช่ความผิดของฝ่ายหญิง ฝ่ายชายไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเลิกบริษัท: นิติบุคคลต่างหากจากผู้ก่อตั้ง สัญญาประนีประนอมผูกพันเฉพาะคู่สัญญา
โจทก์ที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ 2 กับ ส. และพวกทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงกันจะก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่อีกบริษัทหนึ่ง เพื่อประกอบกิจการเดินรถแทนบริษัทโจทก์ที่ 2 ต่อมา ส. กับพวกได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่ เป็นบริษัทจำเลยโดยโจทก์มิได้ร่วมก่อตั้งด้วย ดังนี้ บริษัทจำเลยเป็นนิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่ของตนเองต่างหากจากผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท และมิได้เป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเพื่อขอให้เลิกบริษัทโดยอาศัยข้อตกลงในสัญญาฉบับนี้
of 53