คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ จามรมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 521 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นที่ฝ่ายชายอายุไม่ครบ 17 ปี ไม่เป็นโมฆะ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยเหตุเพราะจำเลยผิดสัญญาหมั้น จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1) ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานะเมิดจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดไปจากคำฟ้องของโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีเสียใหม่ ให้ถูกต้องตามประเด็นแห่งคดีได้
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 โดยฝ่ายชายมีอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์นั้น หาตกเป็นโมฆะไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบ คือการสมรสที่ฝ่าฝืนผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445 ในเรื่องอายุทำนองเดียวกับมาตรา 1489 ก็มิได้บัญญัติให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับบัญญัติว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นมีอำนาจต้องขอต่อศาลได้ และไม่ได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งให้เพิกถอนโดยเด็ดขาดด้วย แต่ให้อำนาจศาลที่จะเพิกถอนเสียก็ได้เท่านั้น คงมีแต่เฉพาะในเรื่องการผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(2),(3),(4) และ (5) เท่านั้นที่ให้ถือว่าเป็นโมฆะ
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 เป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องหรือเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ศาลล่างยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยเสียเองโดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้จึงไม่ชอบ
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ร. และเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ร.ย่อมต้องได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสีย และมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นที่ฝ่ายชายอายุไม่ถึง 17 ปี และการเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายทางกายชื่อเสียง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยเหตุว่าเพราะจำเลยผิดสัญญาหมั้นจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439(1) ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดจากจำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดไปจากคำฟ้องของโจทก์กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีเสียใหม่ให้ถูกต้องตามประเด็นแห่งคดีได้
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435โดยฝ่ายชายมีอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์นั้น หาตกเป็นโมฆะไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบ คือ การสมรสที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(1) ในเรื่องอายุทำนองเดียวกัน มาตรา 1489 ก็มิได้บัญญัติให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับบัญญัติว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นมีอำนาจร้องขอต่อศาลได้ และไม่ได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งให้เพิกถอนโดยเด็ดขาดด้วย แต่ให้อำนาจศาลที่จะเพิกถอนเสียก็ได้เท่านั้น คงมีแต่เฉพาะในเรื่องการผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(2)(3)(4)และ (5) เท่านั้นที่ให้ถือว่าเป็นโมฆะ
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 เป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องหรือเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ศาลล่างยกประเด็นนข้อนี้ขึ้นวินิจฉํยเสียเองโดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้จึงไม่ชอบ
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ร.และเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นร. ย่อมต้องได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสียง และมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คที่แท้จริงและการมีอำนาจฟ้องคดีเช็ค - บุตรช่วยค้าขายไม่ใช่ผู้เสียหาย
ส. เป็นบุตร จ. ช่วย จ. ค้าขายอยู่ในร้าน จำเลยออกเช็คจ่ายเงินสดชำระหนี้ให้แก่ร้าน ขณะที่จำเลยนำเช็คมาชำระหนี้นั้น จ. และ ส. อยู่พร้อมหน้ากัน จำเลยมอบเช็คให้ ส. แต่ก่อนที่ ส. จะรับเช็คไว้ ส. ได้ให้ จ. ตรวจดูเช็คนั้นแล้ว ต่อมาเมื่อเช็คถึงกำหนดจ่ายเงิน ส. ได้ใช้ให้คนนำเช็คไปเบิกเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ถือได้ว่า จ. เจ้าของร้านผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นผู้ทรงเช็ค ส. เป็นเพียงผู้เก็บรักษาเช็คไว้แทน จ. เท่านั้น ส. ไม่ใช่ผู้ทรงเช็ค ส. ก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย การที่ ส. ไปร้องทุกข์เป็นผู้เสียหายเสียเองจึงไม่ชอบ และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คที่แท้จริง: การกำหนดตัวผู้เสียหายในคดีเช็ค และอำนาจฟ้อง
ส. เป็นบุตร จ. ช่วย จ. ค้าขายอยู่ในร้าน จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินสดชำระหนี้ให้แก่ร้าน ขณะที่จำเลยนำเช็คมาชำระหนี้นั้น จ. และ ส.อยู่พร้อมหน้ากันจำเลยมอบเช็คให้ส.แต่ก่อนที่ส. จะรับเช็คไว้ ส. ได้ให้จ. ตรวจดูเช็คนั้นแล้ว ต่อมาเมื่อเช็คถึงกำหนดจ่ายเงิน ส. ได้ใช้ให้คนนำเช็คไปเบิกเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ถือได้ว่า จ. เจ้าของร้านผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นผู้ทรงเช็ค ส. เป็นเพียงผู้เก็บรักษาเช็คไว้แทน จ. เท่านั้น เมื่อ ส. ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คส.ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายการที่ส. ไปร้องทุกข์เป็นผู้เสียหายเสียเองจึงไม่ชอบ และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเพื่อกันเช็คขาดอายุความ ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายอาญา
การแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเรื่องจำเลยออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คว่า ผู้แจ้งเกรงว่าเช็คฉบับดังกล่าวจะขาดอายุความจึงมาแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบเพื่อกันเช็คขาดอายุความ ผู้แจ้งยังไม่ประสงค์จะร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนแต่อย่างใดโดยผู้แจ้งจะไปติดต่อด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่งก่อน หากไม่ได้ผลจะมาร้องทุกข์อีกครั้งในภายหลัง ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาผู้เสียหายมุ่งหวังผลกำไรจากการซื้อขาย ไม่ใช่หลอกลวงให้เชื่อว่าจะได้ของจากสโมสรฯ ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง
จำเลยอ้างว่า จำเลยมีสิทธินำของจากสโมสรท่าเรือมาขายได้ในราคาถูก ถ้าผู้เสียหายจะซื้อ จำเลยคิดเอาแต่ค่าช่วยจัดการ ผู้เสียหายเห็นว่ามีกำไรดี จึงมอบเงินให้จำเลยไปซื้อ ต่อมาจำเลยบอกว่าเอาของมาให้ไม่ได้ และจะเอาของนั้นไปขายที่อื่นแล้วนำผลกำไรมาให้ผู้เสียหายก็ไม่ว่ากระไร แล้วจำเลยก็นำผลกำไรมาให้ปฏิบัติกันอย่างนี้หลายครั้ง ครั้งสุดท้ายที่จำเลยยังไม่ทันได้คืนทุนและกำไรให้ผู้เสียหายก็น่าจะเป็นเพราะถูกจับเสียก่อนตามพฤติการณ์ดังนี้แสดงว่า ผู้เสียหายมุ่งเอาผลกำไรที่จำเลยขายของที่ซื้อมานั้นโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า จำเลยจะได้ซื้อของนั้นมาจากที่ใด ดังนั้นแม้จำเลยจะบอกแก่ผู้เสียหายว่ามีสิทธิออกของจากสโมสรท่าเรือแต่ผู้เดียวซึ่งไม่เป็นความจริง และสโมสรท่าเรือไม่มีชื่อร้อยเอกสุพรที่รับผิดชอบในการออกของตามที่จำเลยอ้างก็ตาม ก็หาใช่เป็นข้อสำคัญที่จะถือว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายอันจะเป็นผิดฐานฉ้อโกงไม่ หากแต่เป็นเรื่องที่จำเลยไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ได้รับรองไว้ต่อผู้เสียหายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทเสียผลประโยชน์จากการแก้ไขสลักหลัง และธนาคารประมาทเลินเล่อเรียกเก็บเงิน
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมระบุจ่ายให้บริษัท พ.บริษัทพ. สลักหลังลอยให้โจทก์ โจทก์ใช้ตรายางประทับด้านหลังเช็คมีข้อความว่าเพื่อฝากเข้าบัญชีของโจทก์เท่านั้น แล้วลงชื่อมอบให้พนักงานของโจทก์ไปฝากเข้าบัญชี พนักงานของโจทก์ได้ลบข้อความที่โจทก์ใช้ตรายางประทับ ทำให้การสลักหลังของโจทก์กลายสภาพเป็นสลักหลังลอย แล้วยักยอกเช็คนั้นไปมอบให้ อ.แล้วอ. นำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคารจำเลยเพื่อให้เรียกเก็บเงิน จำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นแล้วปรากฏว่าการลบถ้อยคำสลักหลังของโจทก์มีร่องรอยที่เห็นได้ชัดเจน เป็นการแก้ไขในส่วนสำคัญ เช็คพิพาทย่อมเสียไปตามมาตรา 1007 อ. จะถือประโยชน์จากเช็คพิพาทไม่ได้ธนาคารจำเลยรับเงินตามเช็คไว้เพื่อ อ. โดยความประมาทเลินเล่อ ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 1000 จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเช็คพิพาทอันแท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญากู้ - การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ จำเลยต่อสู้ว่าสัญญากู้อำพรางการที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยหักกับหนี้ที่จำเลยกู้เงินโจทก์จำนวนหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่นำสืบพยานก่อน แต่เอกสารกู้มีความว่า จำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนแล้วจำเลยให้การทำนองว่าแปลงหนี้โดยเอาหนี้เก่าหักกับหนี้ค่าเช่ามาทำเป็นสัญญากู้ ไม่เป็นการแสดงว่าหนี้ตามสัญญากู้ไม่สมบูรณ์จึงสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอท้ายฟ้องเพิ่มเติมทุนทรัพย์ต้องไม่เป็นการตั้งทุนทรัพย์ใหม่นอกประเด็นฟ้องเดิม
ที่พิพาทตามคำฟ้องเดิมซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกทำรั้วล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์ที่ 1 มีราคาเพียง 1,000บาทเท่านั้น แต่เมื่อทำแผนที่กลางจำเลยนำชี้นอกเหนือออกไปจากที่พิพาทตามคำฟ้องเดิมคิดเป็นราคา 4,000 บาท และระบุไว้ในแผนที่กลางว่าที่พิพาทตามคำฟ้องเดิมกับที่จำเลยชี้นอกเหนือออกไปนั้น เป็นที่พิพาทในคดีทั้งหมด ดังนี้ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง เพราะเป็นการนอกประเด็นในคำฟ้องและข้อต่อสู้ ฉะนั้น การที่โจทก์ขอแก้คำขอท้ายฟ้องเพิ่มเติมทุนทรัพย์จาก 1,000 บาทเป็น 5,000 บาท และขอเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม จึงเป็นการตั้งทุนทรัพย์ขึ้นใหม่ อันเป็นทุนทรัพย์นอกที่พิพาทและนอกคำฟ้อง ไม่ใช่เป็นการขอเพิ่มราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(1) การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: แม้เลียนแบบแต่โจทก์มิได้จดทะเบียนภายใน 5 ปี ไม่มีสิทธิขอห้ามหรือเรียกคืนสินค้า
อ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เบิกความว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดส่งใบรับรองภาษาอังกฤษของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีเจ้าหน้าที่ลงนามรับรอง พร้อมกับคำแปล นอกจากนี้ใบมอบอำนาจซึ่งมีคำแปลประกอบก็ปรากฏว่า ท. ประธานกรรมการบริษัทโจทก์ เป็นผู้มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ อ. ฟ้องคดีนี้ มี ม.ผู้จัดการหอการค้ารับรองลายเซ็นชื่อ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นรับรองลายเซ็นของผู้จัดการหอการค้าฯ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวรับรองลายเซ็นชื่อของเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารแท้จริง และมิได้เถียงว่าคำแปลไม่ถูกต้อง จึงเป็นการเพียงพอที่จะให้ฟังได้ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้แทนได้ และคดีหาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบการแปลเอกสารนั้นอีกไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ (กล่อง)สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้กับสินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคแรกและกรณีไม่ต้องด้วยวรรคสองเพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
of 53