คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ จามรมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 521 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าเนื่องจากสามีจงใจทิ้งร้างและไม่เลี้ยงดู แม้ภริยาจะกลับไปอยู่บ้านเดิมเป็นเวลานาน
ภริยาแยกไปอยู่บ้านเดิมได้ 25 ปี สามีไม่ได้ส่งเสียเลี้ยงดู เหตุที่แยกไปเพราะสามีบีบบังคับ เป็นการที่สามีจงใจทิ้งร้างภริยาและไม่เลี้ยงดูภริยา ภริยาหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395-1397/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอความคุ้มครองชั่วคราวก่อนบังคับคดีหลังศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ คดีถึงที่สุดแล้วไม่อาจฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวของโจทก์จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ขอให้ออกหมายจับจำเลยมากักขังเพราะไม่ยอมขนย้ายออกไป จำเลยขอให้ศาลงดการบังคับคดีไว้ก่อนเนื่องจากยังหาที่อยู่ใหม่ไม่ได้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะงด ให้ออกหมายจับ ดังนี้ จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้มีคำสั่งงดหรือเพิกถอนหมายจับไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เพราะคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยนั้นถึงที่สุดเพียงศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หลังจากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว สิทธิของจำเลยที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ย่อมหมดไปในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395-1397/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเพราะคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิขอคุ้มครองระหว่างพิจารณาจึงหมดไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวของโจทก์ จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ขอให้ออกหมายจับจำเลยมากักขังเพราะไม่ยอมขนย้ายออกไป จำเลยขอให้ศาลงดการบังคับคดีไว้ก่อนเนื่องจากยังหาที่อยู่ใหม่ไม่ได้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะงด ให้ออกหมายจับ ดังนี้ จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้มีคำสั่งงดหรือเพิกถอนหมายจับไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เพราะคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยนั้นถึงที่สุดเพียงศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หลังจากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว สิทธิของจำเลยที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ย่อมหมดไปในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินเวนคืนเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดิน อายุความใช้ไม่ได้ การต่อสู้เรื่องทางจำเป็นนอกประเด็น
ที่พิพาทเป็นที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ พ.ศ. 2485 และเป็นที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ในการกำจัดขยะมูลฝอย จึงมีลักษณะสำคัญครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1304(1) แล้ว ย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306
จำเลยให้การว่า จำเลยกับบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกมานาน จึงตกเป็นทางภารจำยอม ไม่ได้ต่อสู้ว่าเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ฎีกาของจำเลย ที่ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินเวนคืนเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดิน อายุความใช้ไม่ได้ การต่อสู้เรื่องทางจำเป็นต้องยกขึ้นในประเด็นที่ถูกต้อง
ที่พิพาทเป็นที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ พ.ศ.2485 และเป็นที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ในการกำจัดขยะมูลฝอย จึงมีลักษณะสำคัญครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1304 (1) แล้ว ย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306
จำเลยให้การว่า จำเลยกับบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกมานานจึงตกเป็นทางภารจำยอม ไม่ได้ต่อสู้ว่าเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ฎีกาของจำเลยที่ว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าแผงลอยก่อนก่อสร้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ใช่สัญญาเช่าสิ่งก่อสร้างตามกฎหมาย
ข้อตกลงตามสัญญามีว่า โจทก์จะขอเช่าแผงลอยซึ่งจำเลยยังไม่ได้ก่อสร้าง โดยโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นให้กับจำเลยในวันทำสัญญา เพื่อช่วยค่าก่อสร้างตลาดรายนี้เป็นข้อตกลงกันล่วงหน้า สัญญาฉบับนี้จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันตามธรรมดา หาใช่สัญญาเช่าสิ่งก่อสร้างตามบัญชีข้อ 1 ท้ายประมวลรัษฎากรไม่ แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ก็ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องฝากทรัพย์เสียหาย & ฟ้องละเมิดขาดรายละเอียด: จำเลยไม่ร่วมรับผิด
โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ฝากรถยนต์ไว้กับจำเลยที่ 1 โดยมีบำเหน็จค่าฝาก จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถที่จำเลยที่ 1 รับฝากออกไปขับทำให้รถเสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เพียงแต่กล่าวว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ไปขับประมาท เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ที่ 2 เสียหาย ฟ้องของโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องให้บังคับตามสัญญาฝากทรัพย์ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นเรื่องละเมิดฟ้องของโจทก์ที่ 1 ไม่เคลือบคลุม แต่สำหรับฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในการงานอะไร และการที่จำเลยที่ 2 นำรถของโจทก์ที่ 1 ออกไปขับเป็นการกระทำไปในทางการที่จำเลยที่ 1 จ้าง จึงเป็นฟ้องที่ขาดข้อความสำคัญที่จะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลอันเกิดแต่มูลละเมิดที่จำเลยที่ 2 ก่อให้เกิดขึ้น ศาลจะอาศัยฟ้องเช่นนี้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มิได้
ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่มีมติว่า การฟ้องขอให้ผู้รับฝากทรัพย์ใช้ค่าซ่อมรถยนต์ที่เกิดการเสียหายเนื่องจากความผิดของผู้รับฝาก เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และถือว่าวันสิ้นสุดสัญญาคือวันที่โจทก์ที่ 1 ได้รับรถยนต์คืนมา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17 - 18/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการฝากทรัพย์ และความรับผิดของผู้รับฝากต่อความเสียหายจากลูกจ้าง
โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ฝากรถยนต์ไว้กับจำเลยที่ 1 โดยมีบำเหน็จค่าฝาก จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถที่จำเลยที่ 1 รับฝากออกไปขับทำให้รถเสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เพียงแต่กล่าวว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ไปขับประมาท เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ที่ 2 เสียหาย ฟ้องของโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องให้บังคับตามสัญญาฝากทรัพย์ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นเรื่องละเมิดฟ้องของโจทก์ที่ 1 ไม่เคลือบคลุม แต่สำหรับฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในการงานอะไร และการที่จำเลยที่ 2 นำรถของโจทก์ที่ 1 ออกไปขับเป็นการกระทำไปในทางการที่จำเลยที่ 1 จ้างจึงเป็นฟ้องที่ขาดข้อความสำคัญที่จะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลอันเกิดแต่มูลละเมิดที่จำเลยที่ 2 ก่อให้เกิดขึ้น ศาลจะอาศัยฟ้องเช่นนี้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 มิได้
ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่มีมติว่า การฟ้องขอให้ผู้รับฝากทรัพย์ใช้ค่าซ่อมรถยนต์ที่เกิดการเสียหายเนื่องจากความผิดของผู้รับฝากเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 671 และถือว่าวันสิ้นสุดสัญญาคือวันที่โจทก์ที่1 ได้รับรถยนต์คืนมา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17-18/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสื่อมรถจากอุบัติเหตุไม่ใช่ค่าขาดประโยชน์ที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด
ค่าขาดประโยชน์ที่เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยไม่หมายความถึงค่าเสื่อมราคาของรถที่ถูกชน อันเป็นความเสียหายแก่ตัวทรัพย์โดยตรง การแปลความหมายตามธรรมดาของสัญญาเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลเท่านั้นที่จะวินิจฉัยชี้ขาด คู่ความจะแถลงรับกันโดยไม่ถูกต้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเงินทดแทน: กรมแรงงานในฐานะผู้แทนกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 ให้อำนาจอธิบดีกรมแรงงานพิจารณาชี้ขาดอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ได้นั้น ถือได้ว่าอธิบดีกรมแรงงานกระทำในฐานะผู้แทนกรมแรงงานโดยตำแหน่งหน้าที่ ทั้งกรมแรงงานก็เป็นส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานโดยตรง โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมแรงงานซึ่งโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 215/2517)
of 53