พบผลลัพธ์ทั้งหมด 521 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเงินทดแทน: กรมแรงงานในฐานะผู้แทนกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 ให้อำนาจอธิบดีกรมแรงงานพิจารณาชี้ขาดอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ได้นั้น ถือได้ว่าอธิบดีกรมแรงงานกระทำในฐานะผู้แทนกรมแรงงานโดยตำแหน่งหน้าที่ ทั้งกรมแรงงานก็เป็นส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานโดยตรง โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมแรงงานซึ่งโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 215/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้ ไม่ถือเป็นลาภมิควรได้ แม้จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้กู้เงินจำเลย 5,000 บาท แต่ทำสัญญากู้กันไว้ 8,000 บาท โจทก์ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้จำเลยแล้วรวม 5,300 บาท ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์เรียกเงินต้นและดอกเบี้ยรวม 9,150 บาท โจทก์จำเลยได้ตกลงกันนอกศาลโดยจำเลยยอมให้โจทก์หักเงินจำนวน 5,300 บาท ออกจากทุนทรัพย์ในคดีและจำเลยยอมรับเงินเพียง 4,200 บาทแต่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลโดยโจทก์ยอมชำระเงินให้จำเลยเต็มตามฟ้องภายใน 1 เดือน ครั้นครบกำหนดตามยอมจำเลยไม่ยอมรับชำระเงิน 4,200 บาท แต่กลับขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ทำกันไว้ในศาลดังกล่าวจึงขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงิน 5,300 บาท ที่โจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยไปดังกล่าวดังนี้ เมื่อตามฟ้องปรากฏชัดอยู่แล้วว่า ที่จำเลยได้รับเงิน 5,300 บาท จากโจทก์ไว้ เพราะโจทก์ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลย (ชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวก็โดยอาศัยที่โจทก์เป็นหนี้เงินกู้จำเลยอยู่) จึงเป็นกรณีที่มีมูลอันจำเลยจะอ้างได้ตามกฎหมายไม่เป็นลาภมิควรได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 โจทก์จึงเรียกเงินที่ชำระไปดังกล่าวแล้วคืนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้ไม่เป็นลาภมิควรได้ แม้จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้กู้เงินจำเลย 5,000 บาท แต่ทำสัญญากู้กันไว้ 8,000 บาท โจทก์ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้จำเลยแล้วรวม 5,300 บาท ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์เรียกเงินต้นและดอกเบี้ย รวม 9,150 บาท โจทก์จำเลยได้ตกลงกันนอกศาล โดยจำเลยยอมให้โจทก์หักเงินจำนวน 5,300 บาท ออกจากทุนทรัพย์ในคดีและจำเลยยอมรับเงินเพียง 4,200 บาท แต่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลโดยโจทก์ยอมชำระเงินให้จำเลยเต็มตามฟ้องภายใน 1 เดือน ครั้นครบกำหนดตามยอมจำเลยไม่ยอมรับชำระเงิน 4,200 บาท แต่กลับขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ทำกันไว้ในศาลดังกล่าว จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงิน 5,300 บาท ที่โจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยไปดังกล่าว ดังนี้ เมื่อตามฟ้องปรากฏชัดอยู่แล้วว่า ที่จำเลยได้รับเงิน 5,300 บาทจากโจทก์ไว้ เพราะโจทก์ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลย (ชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวก็โดยอาศัยที่โจทก์เป็นหนี้เงินกู้จำเลยอยู่) จึงเป็นกรณีที่มีมูลอันจำเลยจะอ้างได้ตามกฎหมาย ไม่เป็นลาภมิควรได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 โจทก์จึงเรียกเงินที่ชำระไปดังกล่าวแล้วคืนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดจากยึดรถของผู้อื่นโดยเข้าใจผิดถึงหนี้สิน และความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง
รถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ น้องชายโจทก์เช่าไปขับรับจ้างชักลากไม้ให้บริษัทจำเลยที่ 3 โดยน้องชายโจทก์ได้เบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากจำเลยที่ 3 แล้วยังชักลากไม้ให้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ขอเบิกล่วงหน้าไปต่อมาโจทก์ต้องการใช้รถยนต์พิพาท จึงให้น้องชายโจทก์พาคนไปขับรถยนต์พิพาทไปเสียจากบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ควบคุมรถยนต์บรรทุกไม้รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ ได้ไปขอกำลังตำรวจติดตามไปยึดรถยนต์พิพาทไว้โดยคำนึงอยู่แต่อย่างเดียวว่าน้องชายโจทก์ยังติดค้างหนี้สินบริษัทจำเลยที่ 3 อยู่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 3 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระหว่างที่ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากผลของการละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 451 ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ติดตามรถยนต์พิพาทไปกับจำเลยที่ 1 และแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจอีกท้องที่หนึ่งยึดรถยนต์พิพาทไว้ เมื่อปรากฏว่าได้กระทำไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตใจจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดจากเจ้าหน้าที่บริษัทและตำรวจ ยึดรถของผู้อื่นโดยไม่ชอบ ศาลพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหาย
รถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ น้องชายโจทก์เช่าไปขับรับจ้างชักลากไม้ให้บริษัทจำเลยที่ 3 โดยน้องชายโจทก์ได้เบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากจำเลยที่ 3 แล้งยังชักลากไม้ให้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ขอเบิกล่วงหน้าไป ต่อมาโจทก์ต้องการใช้รถยนต์พิพาท จึงให้น้องชายโจทก์พาคนไปขับรถยนต์พิพาทไปเสียจากบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ควบคุมรถยนต์บรรทุกไม้ รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ ได้ไปขอกำลังตำรวจติดตามไปยึดรถยนต์พิพาทไว้โดยคำนึงอยู่แต่อย่างเดียวว่าน้องชายโจทก์ยังคิดค้างหนึ้สินบริษัทจำเลยที่ 3 อยู่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 3 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระหว่างที่ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากผลของการละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 451 ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ติดตามรถยนต์พิพาทไปกับจำเลยที่ 1 และแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจอีกท้องที่หนึ่งยึดรถยนต์พิพาทไว้ เมื่อปรากฏว่าได้กระทำไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตใจจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งมรดกของผู้ที่ออกจากที่ดิน: การครอบครองแทนและเจตนาไม่ครอบครอง
โจทก์จำเลยแบ่งมรดกที่ดินของบิดามารดาแล้วครอบครองร่วมกันมา โจทก์ออกจากที่ดินไปอยู่ลาว ถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ต่อมาเมื่อไม่ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะการครอบครอง โจทก์ฟ้องแบ่งที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันคุมขังสำหรับผู้ถูกควบคุมทั้งในฐานะภัยต่อสังคมและผู้ต้องหาอาญา
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 22 นอกจากจะมุ่งหมายให้พนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจมีอำนาจควบคุมและสอบสวนผู้เป็นภัยต่อสังคมเพื่อการอบรมแล้ว ยังให้อำนาจพนักงานสอบสวนควบคุมผู้นั้นเพื่อดำเนินคดีอาญาโดยไม่ต้องปฏิบัติตามวิธีการและกำหนดระยะเวลาควบคุมดังบัญญัติไว้ในกฎหมายอีกด้วย คดีนี้ นอกจากจำเลยจะถูกเรียกตัวมาสอบสวนเพื่ออบรมฐานเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมแล้ว ยังถูกตั้งข้อหาว่าได้กระทำผิดอาญาด้วย ดังนั้น การที่จำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ระหว่างนั้นต้องถือว่าถูกควบคุมไว้เพื่อสอบสวนคดีความผิดอาญาด้วยจึงชอบที่จะต้องหักวันคุมขังให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช่าสถานที่จอดรถ vs. ฝากทรัพย์: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากรถหายในสถานที่เช่า
โจทก์จอดรถยนต์ที่สถานบริการน้ำมันของจำเลย มอบกุญแจรถแก่คนของจำเลยโดยมีป้ายและใบเสร็จรับเงินข้อความว่าเช่าสถานที่ไม่รับผิดในทรัพย์สูญหาย เจตนาของคู่กรณีไม่ใช่เรื่องฝากทรัพย์กุญแจที่มอบเพื่อเคลื่อนย้ายรถไม่ใช่มอบให้ครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ไม่จดทะเบียนผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเดิม ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไม่ต้องผูกพันเกิน 3 ปี
เจ้าของที่ดินให้คนรับเหมาก่อสร้างตึกแถวยกให้เป็นของเจ้าของที่ดิน โดยผู้รับเหมาเรียกเงินช่วยค่าก่อสร้างแล้วเจ้าของที่ดินทำสัญญาให้เช่าตึกแถวโดยสัญญาเช่า 4 ฉบับ ฉบับละ 3 ปี สัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือการเช่านี้เป็นบุคคลสิทธิ ผูกพันคู่สัญญาเท่านั้นเจ้าของที่ดินขายตึกแก่โจทก์สัญญาเช่าผูกพันโจทก์เพียง 3 ปี แม้โจทก์จะทราบข้อสัญญาระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างโจทก์ก็ขับไล่ผู้เช่าเมื่อพ้น 3 ปีแรกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องซื้อขาย: การบรรยายรายละเอียดการชำระหนี้ด้วยเช็คที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ ไม่ทำให้ฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซื้อกาวลาเท็กซ์ไปจากโจทก์แล้วเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยนำเช็คซึ่งผู้มีชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันรับรองเช็คมาชำระหนี้ให้โจทก์แต่เช็คฉบับนั้นนำไปขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยรับเช็คนั้นคืนไปแล้วเพิกเฉย นั้นเป็นการบรรยายรายละเอียดว่า หนี้ค่ากาวลาเท็กซ์รายนี้จำเลยเคยชำระด้วยเช็คและนำไปขึ้นเงินไม่ได้เท่านั้น มิใช่เป็นฟ้องขอให้ชำระหนี้ตามเช็คฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม