พบผลลัพธ์ทั้งหมด 521 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีความผิดต่อชีวิตที่เกิดหลังประกาศคณะปฏิวัติ (พ.ศ.2514) อยู่ในอำนาจศาลทหารตั้งแต่แรกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาฆ่าผู้อื่นต่อศาลพลเรือนแต่ขณะยื่นฟ้องนั้นปรากฏแต่แรกว่าขณะเกิดเหตุข้อหาความผิดต่อชีวิตคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา ดังนี้ศาลพลเรือนย่อมไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีความผิดต่อชีวิตภายหลังประกาศคณะปฏิวัติ อยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ฟ้องต่อศาลพลเรือน
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาฆ่าผู้อื่นต่อศาลพลเรือน แต่ขณะยื่นฟ้องนั้นปรากฏแต่แรกว่าขณะเกิดเหตุข้อหาความผิดต่อชีวิต คดีนี้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถเพื่อหารายได้เสริมไม่ถือเป็นการผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย หากผู้เอาประกันยังครอบครองรถและมีส่วนได้เสียในธุรกิจ
ผู้เอาประกันภัยรถยนต์นำรถเข้าร่วมวิ่งกับบริษัทรับขนโดยรับค่าจ้างเป็นรายเที่ยว ไม่ถือเป็นการรับจ้างหรือให้เช่ารถผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยเพราะยังครอบครองรถและมีส่วนเสียร่วมกับบริษัทรับขนอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิจากประกันภัยและการรับฝากทรัพย์ที่จำเลยต้องรับผิด
โจทก์ที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ช. แล้วเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ที่ 1 ระบุให้บริษัท ช. เป็นผู้รับประโยชน์ มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ก่อนบริษัท ช. แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์ รถที่เช่าซื้อสูญหายไป และโจทก์ที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 โดยตรงแล้ว จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาประกันภัยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงระหว่างกันแล้ว โจทก์ที่ 1 ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามมาตรา 880 มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในนามของตนเองจากลูกหนี้ของโจทก์ที่ 2 ได้ตามมาตรา 226 ส่วนโจทก์ที่ 2 ซึ่งฝากรถยนต์ไว้กับจำเลยและรถหายไป ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนที่ยังขาดอยู่จากจำเลยได้
ปั๊มของจำเลยปฏิบัติต่อลูกค้ามีพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมรับรถจากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ปั๊มนั้น จึงเป็นลักษณะรับฝากทรัพย์ตามมาตรา 657 ไม่ใช่ให้เช่าสถานที่เพื่อจอดรถ
ร. นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ไปทดลองขับดูก่อนที่จะซื้อและได้นำไปจอดฝากไว้กับจำเลย ถือได้ว่า ร. เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 2 โดยปริยาย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ปั๊มของจำเลยปฏิบัติต่อลูกค้ามีพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมรับรถจากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ปั๊มนั้น จึงเป็นลักษณะรับฝากทรัพย์ตามมาตรา 657 ไม่ใช่ให้เช่าสถานที่เพื่อจอดรถ
ร. นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ไปทดลองขับดูก่อนที่จะซื้อและได้นำไปจอดฝากไว้กับจำเลย ถือได้ว่า ร. เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 2 โดยปริยาย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานจ้างบกพร่อง ผู้รับจ้างต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย แม้ผู้ว่าจ้างจะยึดหน่วงค่าจ้างได้ แต่ต้องชำระส่วนที่เหลือ
งานที่ทำบกพร่องไม่เป็นไปตามสัญญา ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าจ้างที่หักค่าเสียหายออกแล้วแก่ผู้รับจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามอำนาจพิเศษมีผลผูกพัน คุ้มครองทรัพย์สินของรัฐ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร. 39/2517 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 13 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2519 นั้น เมื่อได้สั่งให้ทรัพย์สินของ ณ และภริยาที่ถูกอายัดหรือยึดไว้แล้วทั้งหมดตกเป็นของรัฐตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทก็ต้องถือว่าได้โอนมาเป็นของรัฐแล้วในทันทีที่มีคำสั่ง และคำสั่งดังกล่าวระบุว่าการจะคืน ทรัพย์สินใดซึ่ง ณ และภริยา หรือบุคคลใดได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ จะต้องพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจของคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเสียก่อน หากมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามคำสั่ง ก็ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้ขาดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวนี้ได้บัญญัติวิธีการที่จะชี้ขาดข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากคำสั่งไว้โดยเฉพาะและเป็นคำสั่งที่ออกมาตามอำนาจแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2519 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่กำหนดเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยในขณะนั้น ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ซึ่งตราขึ้นภายหลังก็ยังบัญญัติให้มีผลใช้บังคับต่อไป ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการได้ชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกฯ อายัดทรัพย์สินและโอนกรรมสิทธิ์เป็นของรัฐ คดีไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากมีกระบวนการชี้ขาดเฉพาะ
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช2519 นั้น เมื่อได้สั่งให้ทรัพย์สินของ ณ. และภริยาที่ถูกอายัดหรือยึดไว้แล้วทั้งหมดตกเป็นของรัฐตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทก็ต้องถือว่าได้โอนมาเป็นของรัฐแล้วในทันทีที่มีคำสั่งและคำสั่งดังกล่าวระบุว่าการจะคืนทรัพย์สินใดซึ่ง ณ.และภริยา หรือบุคคลใดได้มาโดยสุจริตและโดยชอบจะต้องพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจของคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเสียก่อน หากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามคำสั่ง ก็ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้ขาดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวนี้ได้บัญญัติวิธีการที่จะชี้ขาดข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากคำสั่งไว้โดยเฉพาะและเป็นคำสั่งที่ออกมาตามอำนาจแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่กำหนดเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยในขณะนั้นทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517ซึ่งตราขึ้นภายหลังก็ยังบัญญัติให้มีผลใช้บังคับต่อไปดังนั้น เมื่อคณะกรรมการได้ชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสัตยาบันนิติกรรมหลังเหตุข่มขู่สิ้นสุด ผลของการบอกล้างสัญญา
จำเลยอ้างว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงกับโจทก์เนื่องจากถูกข่มขู่ บันทึกดังกล่าวเป็นโมฆียะ แต่ปรากฏว่าหลังจากเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะตามที่จำเลยอ้างนั้นสิ้นไปแล้ว จำเลยได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อีกโดยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดว่าจะบอกล้างบันทึกข้อตกลงในภายหลัง ต้องถือว่าจำเลยให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสัตยาบันนิติกรรมหลังเหตุข่มขู่สิ้นสุด ผลคือจำเลยไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญา
จำเลยอ้างว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงกับโจทก์เนื่องจากถูกข่มขู่ บันทึกดังกล่าวเป็นโมฆียะ แต่ปรากฏว่าหลังจากเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะตามที่จำเลยอ้างนั้นสิ้นไปแล้ว จำเลยได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อีกโดยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดว่า จะบอกล้างบันทึกข้อตกลงในภายหลัง ต้องถือว่าจำเลยให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่สมบูรณ์: ลายพิมพ์นิ้วมือผู้กู้ต้องมีพยานรับรอง 2 คน การฟ้องบังคับคดีจึงตก
ลายพิมพ์นิ้วมือผู้กู้มีพยานลงลายมือชื่อรับรองคนเดียวโจทก์ลงชื่อในสัญญากู้ในช่องผู้ให้กู้ไม่ได้เป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือผู้กู้ไม่ชอบด้วย มาตรา 9 วรรค 3 ฟ้องบังคับคดีแก่ผู้กู้ไม่ได้ เป็นเหตุลักษณะคดีแม้โจทก์ฎีกาฝ่ายเดียว ศาลก็พิพากษายกฎีกาโจทก์และยกฟ้องผู้ค้ำประกันด้วย