พบผลลัพธ์ทั้งหมด 589 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืนโดยสภาพ แม้ใช้ยิงไม่ได้ ก็มีผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และพกพาในเมืองโดยไม่มีเหตุอันสมควร มีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 4(1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 3 พ.ศ.2501 มาตรา 3 บัญญัติว่า "อาวุธปืนหมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลม หรือเครื่องกลไกอย่างใดซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนนั้นๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง" มิได้บัญญัติว่าอาวุธปืนจะต้องใช้ยิงได้จึงจะเป็นอาวุธปืนและแม้ส่วนหนึ่งส่วนใดที่รัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวงก็ถือว่าเป็นอาวุธปืนด้วย ดังนั้น การที่จำเลยมีปืนพกสั้นออโตเมติก ชนิดประกอบขึ้นเองขนาด .22 ไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ แม้ปืนดังกล่าวไม่อาจใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้จำเลยก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490มาตรา 7 และปืนดังกล่าวเป็นอาวุธโดยสภาพ เมื่อจำเลยพาไปในเมืองและทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ด้วย (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืนโดยสภาพ แม้ใช้ยิงไม่ได้ ก็มีผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และพกพาในเมืองโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผิดประมวลกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 4 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 3 พ.ศ.2501 มาตรา 3 บัญญัติว่า "อาวุธปืนหมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแกส หรืออัดลม หรือเครื่องกลไกอย่างใดซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงาน และส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฏกระทรวง" มิได้บัญญัติว่าอาวุธปืนจะต้องใช้ยิงได้หรือจะเป็นอาวุธปืนและแม้ส่วนหนึ่งส่วนใดที่รัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญ และได้ระบุไว้ในกฏกระทรวงก็ถือว่าเป็นอาวุธปืนด้วย ดังนั้น การที่จำเลยมีปืนพกสั้นออโตเมติก ชนิดประกอบขึ้นเองขนาด .22 ไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ แม้ปืนดังกล่าวไม่อาจใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ จำเลยก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 7 และปืนดังกล่าวเป็นอาวุธโดยสภาพ เมื่อจำเลยพาไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ด้วย (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีของบริษัทต่างชาติมีสาขาในไทย: ดอกเบี้ยเงินกู้, การจำหน่ายกำไร, และอากรแสตมป์
โจทก์ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกา และมีสาขาที่กรุงเทพ ดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ เมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย เสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้บัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65 ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65 ทวิ ดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5 ของสาขากรุงเทพฯ แต่ละปี ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสอง ทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทย การส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ จะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตาม แต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศ ก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปี คิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าว จึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากร ตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญ เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับกรณีนี้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย เสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้บัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65 ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65 ทวิ ดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5 ของสาขากรุงเทพฯ แต่ละปี ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสอง ทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทย การส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ จะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตาม แต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศ ก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปี คิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าว จึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากร ตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญ เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับกรณีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศประกอบกิจการในไทย การจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ และอากรแสตมป์
โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกาและมีสาขาที่กรุงเทพดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฏากรมาตรา 76ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆเมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยต่างประเทศ: การมีตัวแทนในไทยไม่ถือเป็นภูมิลำเนา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ตั้งจำเลยที่ 5 เป็นตัวแทนในประเทศไทยเพื่อดูแลกิจการและผลประโยชน์ของจำเลย โดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ฐานละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ตั้งตัวแทนดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่มีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยหรือเลือกเอาประเทศไทยเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการ อันทำในประเทศไทยด้วย โจทก์จึงไม่มี อำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ต่อศาลในประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การฟ้องจำเลยต่างประเทศ แม้มีตัวแทนในไทย ต้องมีสำนักงานหรือเลือกไทยเป็นภูมิลำเนา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ตั้งจำเลยที่ 5 เป็นตัวแทนในประเทศไทยเพื่อดูแลกิจการและผลประโยชน์ของจำเลยโดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ฐานละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ตั้งตัวแทนดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่มีสำนักงานสาขาอยู่ประเทศไทยหรือเลือกเอาประเทศไทยเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำในประเทศไทยด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ต่อศาลในประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: ผลผูกพันจากคำพิพากษาเดิม, การครอบครองปรปักษ์, และความยินยอมในการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์จำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกอันจะกล่าวอ้างพิสูจน์สิทธิใหม่ และพิพากษายกฟ้อง ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การอุทธรณ์คำสั่งนี้และฎีกาต่อมา จึงเป็นการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 1 ข้อ 2ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยาคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยาคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมกับคู่ความที่ไม่ใช่โจทก์โดยตรง และการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์ จำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกอันจะกล่าวอ้างพิสูจน์สิทธิใหม่ และพิพากษายกฟ้อง ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การอุทธรณ์คำสั่งนี้และฎีกาต่อมา จึงเป็นการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ตามบัญญัติไว้ในตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยา คำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยา คำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันปล้นทรัพย์จนถึงแก่ความตาย แม้ไม่ได้ลงมือทำร้ายเอง ก็ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ
ในการปล้นทรัพย์และทำร้ายเจ้าทรัพย์กับพวกถึงแก่ความตายนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระทำร้ายผู้ตาย ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ เพราะมิใช่กรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 และมิใช่เหตุอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นเป็นประกันหนี้: ข้อบังคับบริษัทจำกัดไม่ขัดขวางการโอนเมื่อกรรมการลงนามอนุมัติ
โจทก์ ที่ 3 ลงชื่อมอบใบหุ้นในบริษัทจำกัดที่โจทก์ถือไว้แก่ธนาคาร โดยให้โอนหุ้นที่มอบไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ได้ เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้แก่ธนาคารตามกำหนด ธนาคารโอนหุ้นเป็นของธนาคารและโอนต่อไปยังผู้อื่นได้ตามข้อสัญญานั้น ข้อบังคับของบริษัทที่ว่ากรรมการอาจปฏิเสธการโอนหุ้นได้นั้น ไม่ได้บังคับว่ากรรมการต้องอนุมัติก่อนจึงจะโอนหุ้นได้ เมื่อกรรมการลงชื่อในใบโอนหุ้นแล้ว จะปฏิเสธการโอนภายหลังย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คู่สัญญาโอนหุ้นมีสัญชาติอเมริกัน ตกลงกันว่าได้ทำสัญญาตามกฎหมายอเมริกันให้บังคับตามกฎหมายอเมริกัน ข้อสัญญานี้บังคับได้
คู่สัญญาโอนหุ้นมีสัญชาติอเมริกัน ตกลงกันว่าได้ทำสัญญาตามกฎหมายอเมริกันให้บังคับตามกฎหมายอเมริกัน ข้อสัญญานี้บังคับได้