คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพจน์ ถิระวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 589 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็ค, การรับรองการใช้เงิน, อายุความ, การผิดนัดชำระหนี้, ความรับผิดของผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทได้แก้วันที่ลงในเช็คสองครั้ง ครั้งสุดท้ายวันที่ 1 ธันวาคม 2513 โจทก์ฟ้องคดีเรียกเงินตามเช็ควันที่ 25 พฤศจิกายน 2514 จึงไม่พ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ตั๋วเงินถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002
ผู้สลักหลังเช็คเป็นประกันการใช้เงินตามเช็คนั้นต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกันกับผู้สั่งจ่ายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940, 967, 989
กำหนดเวลาที่ต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 เป็นเรื่องเงือนไขแห่งสิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลังโอนเช็คเท่านั้น ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้ทรงเช็คใช้สิทธิไล่ เบี้ยต่อผู้สลักหลังเช็คเป็นประกันซึ่งต้องผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลด้วย
โจทก์เพิ่งนำเช็คไปยื่นต่อธนาคาร เพื่อให้ใช้เงินหลังวันที่ลงในเช็คและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์เพราะเหตุผิดนัดแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหมิ่นประมาท แม้ผู้ถูกกล่าวหาเคยกระทำผิดก่อน ศาลฎีกาพิพากษายืนว่าการกระทำเป็นคนละตอนกัน
จำเลยทำการโฆษณาอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย และมีอำนาจฟ้องส่วนที่โจทก์เขียนบทความไปโฆษณาหนังสือพิมพ์ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการหมิ่นประมาทจำเลยหรือไม่ ก็เป็นการกระทำซึ่งแยกได้เป็นคนละตอนกับการกระทำของจำเลย ไม่มีผลให้โจทก์มิใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหมิ่นประมาท: ผู้เสียหายโดยตรง แม้ผู้ฟ้องเคยกระทำก่อน
จำเลยทำการโฆษณาอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย และมีอำนาจฟ้องส่วนที่โจทก์เขียนบทความไปโฆษณาหนังสือพิมพ์ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการหมิ่นประมาทจำเลยหรือไม่ก็เป็นการกระทำซึ่งแยกได้เป็นคนละตอนกับการกระทำของจำเลยไม่มีผลให้โจทก์มิใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ การให้ผู้อื่นยืมก่อนถือเป็นเจตนาทุจริต การปรับบทลงโทษตาม ป.อาญา ม.147
จำเลยเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหน้าที่รับเงินรายได้ต่างๆ ของการรถไฟฯ ได้รับเงินรายได้ไว้จำนวนหนึ่ง แล้วไม่นำส่งตามกำหนดเวลาที่มีระเบียบวางไว้โดยได้ให้ อ. ยืมเงินจำนวนนี้ไป ต่อมา อ. หนีไปจำเลยจึงรับใช้เงินดังกล่าวให้จนครบ ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยนำเงินที่จำเลยมีหน้าที่รักษาไว้ไปให้ผู้อื่นยืมใช้ก่อนถือได้ว่าเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ของตนเองและผู้อื่นโดยมีเจตนาทุจริตตั้งแต่เวลาที่จำเลยให้ผู้อื่นยืมไป การใช้เงินคืนในภายหลังเพียงเป็นเหตุบรรเทาโทษเท่านั้นและเมื่อพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา จึงถือได้ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 จะปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการปิดกั้นทางเข้าสถานที่เช่า
ผู้ให้เช่าปิดกั้นมิให้คนเข้าร้านที่โจทก์เช่าสถานที่ทำเป็นร้านค้าทำให้โจทก์เสียหาย เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมและคำนิยาม 'หลาน' ในบริบทของมรดกเมื่อเจ้ามรดกไม่มีบุตร
เจ้ามรดกทำใบมอบพินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้าพเจ้านาย ผ. ได้ยอมทำพินัยกรรมของข้าพเจ้าทั้งหมด คือ 1. นา 1 แปลง 2. สวน 1 แปลง 3. เรือน1 หลัง 4. วัว 2 ตัว ข้าพเจ้าขอมอบให้นายเซ่ม แทนน้อย ไว้รักษาเพื่อให้บุตรหลานต่อไป" เช่นนี้ เมื่อ ผ. เจ้ามรดกไม่มีบุตร คำว่า หลาน จึงหมายถึงลูกของโจทก์จำเลยที่มีชีวิตอยู่ทุกคน อันเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ข้อกำหนดในใบมอบพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2)(อ้างฎีกาที่ 941/2516)
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่ จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใดจะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว และพิพากษาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดผู้รับมรดกในพินัยกรรมโดยใช้คำว่า 'หลาน' และการแสดงเจตนาทำพินัยกรรม
เจ้ามรดกทำใบมอบพินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้าพเจ้านาย ผ... ได้ยอมทำพินัยกรรมของข้าพเจ้าทั้งหมด คือ 1. นา 1 แปลง ...... 2. สวน 1 แปลง...... 3. เรือน 1 หลัง..... 4. วัว 2 ตัว..... ข้าพเจ้าขอมอบให้นายเซ่ม แทนน้อย ไว้รักษาเพื่อให้บุตรหลานต่อไป...." เช่นนี้ เมื่อ ผ.เจ้ามรดกไม่มีบุตร คำว่าหลาน จึงหมายถึงลูกของโจทก์จำเลยที่มีชีวิตอยู่ทุกคน อันเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ ข้อกำหนดในใบมอบพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2) (อ้างฎีกา 941/2516)
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใด จะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและพิพากษาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131-146/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อและการให้สัตยาบันของตัวการต่อการกระทำของตัวแทน แม้จะผิดระเบียบ
กรรมการบริษัทโจทก์สองนายได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์เป็นตัวแทน มีอำนาจกระทำการในนามบริษัทโจทก์และลงนามในหนังสือสัญญาขายสินค้าแทนบริษัทโจทก์ได้ ฉะนั้นที่ ย.ได้ทำสัญญาให้เช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์ลงลายมือชื่อ ย.คนเดียวและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทโจทก์โดยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทโจทก์โดยชอบ
บริษัทจำเลยที่ 1 เคยให้ ท.แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือสัญญาเช่าซื้อจากบริษัทมิตซูบิซิและบริษัทโตโยต้า แล้วนำรถนั้นมาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้ ท.จะได้กระทำไปโดยผิดระเบียบ บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับ และในขณะที่ ท.ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ในนามบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อ ได้ลงลายมือชื่อประทับตราดุน ซึ่งเป็นตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 แทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็แสดงให้เห็นว่า ท.ได้เช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์มาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นการเช่าซื้อรถเป็นส่วนตัวของ ท. กับจำเลยที่ 2 เมื่อได้ส่งมอบรถกันแล้วมีหลักฐานทะเบียนรถว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถทั้ง 16 คัน และมีการต่อตัวถังทำเป็นรถยนต์รับส่งคนโดยสาร ทาสีรถเป็นสีเขียวเหลืองและตราของบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 ได้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง แล้วนำรถทั้งหมดไปใช้แล่นรับส่งคนโดยสารหาประโยชน์ในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า ท.กับ ข.ได้ใช้รถแล่นหาผลประโยชน์เป็นส่วนตัว เห็นได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือเอาประโยชน์ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถที่บริษัทโจทก์ได้นำมาฟ้อง แม้ ท.จะได้กระทำผิดข้อระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ถือว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ ได้ให้สัตยาบันต่อการกระทำของ ท.ซึ่งเป็นตัวแทนในการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตอบแทนแก่บริษัทโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุผิดสัญญาจากบริษัทจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131-146/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของตัวแทนที่เกินอำนาจ และการให้สัตยาบันของตัวการทำให้เกิดผลผูกพันตามสัญญา
กรรมการบริษัทโจทก์สองนายได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์เป็นตัวแทน มีอำนาจกระทำการในนามบริษัทโจทก์ และลงนามในหนังสือสัญญาขายสินค้าแทนบริษัทโจทก์ได้ฉะนั้น ที่ ย. ได้ทำสัญญาให้เช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์ลงลายมือชื่อ ย. คนเดียวและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทโจทก์โดยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทโจทก์โดยชอบ
บริษัทจำเลยที่ 1 เคยให้ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทมิตซูบิชิและบริษัทโตโยต้า แล้วนำรถนั้นมาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้ ท. จะได้กระทำไปโดยผิดระเบียบ บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับและในขณะที่ ท.ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ในนามบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อ ได้ลงลายมือชื่อประทับตราดุน ซึ่งเป็นตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 แทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็แสดงให้เห็นว่า ท. ได้เช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์มาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นเช่าซื้อรถเป็นส่วนตัวของ ท. กับจำเลยที่ 2 เมื่อได้ส่งมอบรถกันแล้วมีหลักฐานทะเบียนรถว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถทั้ง 16 คัน และมีการต่อตัวถังทำเป็นรถยนต์รับส่งคนโดยสาร ทาสีรถเป็นสีเขียวเหลือง และตราของบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 ได้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง แล้วนำรถทั้งหมดไปใช้แล่นรับส่งคนโดยสารหาประโยชน์ในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า ท. กับ ช. ได้ใช้รถแล่นหาผลประโยชน์เป็นส่วนตัวเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือเอาประโยชน์ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถที่บริษัทโจทก์ได้นำมาฟ้อง แม้ ท. จะได้กระทำผิดข้อระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ถือว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันต่อการกระทำของ ท. ซึ่งเป็นตัวแทนในการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 บริษัทจำเลยที่1 จึงมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตอบแทนแก่บริษัทโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุผิดสัญญาจากบริษัทจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้าจากความคล้ายคลึงกัน และการใช้โดยไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตราหัวสิงโตหน้าตรง ของจำเลยก็เป็นหัวสิงโตหน้าตรง อันเป็นจุดเด่นคล้ายกันมาก กรอบล้อมต่างกันบ้างเป็นส่วนปลีกย่อย ของโจทก์จดทะเบียนมากว่า 10 ปี โจทก์จำเลยขอจดทะเบียนใช้ในการค้าประเภทอื่นอีกซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน มีลูกค้าของโจทก์หลายคนหลงว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังนี้ เป็นการที่จำเลยละเมิดหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริต ต้องระงับการใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
of 59