พบผลลัพธ์ทั้งหมด 589 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมฉบับหลังไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถเพิกถอนพินัยกรรมเดิมได้
ต.ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองทั้งต้นฉบับและคู่ฉบับรวมสามฉบับ เก็บต้นฉบับไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอหนึ่งฉบับคู่ฉบับมอบให้บุคคลอื่นเก็บไว้ ต่อมาต. ขอต้นฉบับที่เก็บไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอคืนมาเก็บไว้เอง โดยมิได้กระทำการใดๆที่เห็นได้ว่าเป็นการทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมฉบับนั้นกับคู่ฉบับอีกสองฉบับ และได้ร่างพินัยกรรมขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่งแต่ ต.และพยานยังมิได้ลงลายมือชื่อ ดังนี้ แม้การกระทำดังกล่าวจะเป็นการแสดงเจตนาของ ต ว่าจะทำพินัยกรรมฉบับใหม่ และจะไม่ใช้พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองฉบับเดิมก็ตาม แต่พินัยกรรมฉบับหลังได้ทำขึ้นโดยมีรายการไม่ครบถ้วน เพราะต.และพยานยังมิได้ลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นโมฆะ ไม่มีผลเพิกถอนพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองฉบับเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานชิงทรัพย์ที่ผิดวรรคตามประมวลกฎหมายอาญา การพิจารณาอัตราโทษที่ถูกต้อง
ความผิดฐานชิงทรัพย์ จะปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคแปด ย่อมไม่ถูกต้องเพราะความในบทบัญญัติมาตรานี้มีเพียง 5 วรรคเท่านั้นและที่ลงโทษจำคุก 12 ปีนั้นอยู่ในระวางโทษของวรรคสี่แต่เมื่อการชิงทรัพย์รายนี้เพียงแต่กระทำในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธ จึงเข้าเกณฑ์ของวรรคสอง ไม่ใช่วรรคสี่โทษที่ลงแก่จำเลยนั้นจึงเกินอัตราไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานชิงทรัพย์ผิดมาตรา: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสมกับพฤติการณ์ความผิด
ความผิดฐานชิงทรัพย์ จะปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคแปด ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะความในบทบัญญัติมาตรานี้มีเพียง 5 วรรคเท่านั้น และที่ลงโทษจำคุก 12 ปีนั้นอยู่ในระวางโทษของวรรคสี่ แต่เมื่อการชิงทรัพย์รายนี้เพียงแต่กระทำในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธ จึงเข้าเกณฑ์ของวรรคสอง ไม่ใช่วรรคสี่ โทษที่ลงแก่จำเลยนั้นจึงเกินอัตราไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราเหยื่อหลายราย ศาลฎีกายืนโทษจำคุกฐานกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลย 3 คนกับพวกจับตัวนางสาว ส.และเด็กหญิง บ.ลงจากเรือนไปยังทุ่งนาแล้วผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายทั้งสองบนคันนาห่างกันราว 2 วา โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำชำเรา ส. อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ตามที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติกรรมหนึ่งแล้วร่วมกับจำเลยที่ 3 กับพวกกระทำชำเรา บ. อันเป็นความผิดตามมาตรา 276 ตามที่แก้ไขอีกกรรมหนึ่ง. การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ดังนี้ แยกออกได้เป็นความผิด 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราหลายกรรมต่างกัน ศาลมีอำนาจลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด
จำเลย 3 คนกับพวกจับตัวนางสาว ส.และเด็กหญิง บ.ลงจากเรือนไปยังทุ่งนาแล้วผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายทั้งสองบนคันนาห่างกันราว 2 วา โดยจำเลยที่ 1และที่ 2 กระทำชำเรา ส. อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 ตามที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติกรรมหนึ่งแล้วร่วมกับจำเลยที่ 3 กับพวกกระทำชำเรา บ. อันเป็นความผิดตามมาตรา 276 ตามที่แก้ไขอีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยที่ 1ที่ 2 ดังนี้ แยกออกได้เป็นความผิด 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และผลของการตกลงรอฟังคำพิพากษา
โจทก์เป็นผู้เสียหายในคดีที่ผู้ว่าคดีศาลแขวงเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีอาญา โจทก์จำเลยจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีนั้น เพราะถือว่าผู้ว่าคดีฟ้องคดีที่โจทก์เป็นผู้เสียหายนั้นเอง (อ้างฎีกาที่ 1134-1135/2509)
โจทก์จำเลยตกลงกันในคดีนี้ว่าขอให้ศาลรอฟังคำพิพากษาถึงที่สุดของคดีอาญาเสียก่อนถ้าผลที่สุดของคดีอาญาเป็นอย่างไร โจทก์จำเลยจะถือตาม ดังนี้ เมื่อศาลใน คดีอาญาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้ประมาท โจทก์จะรื้อฟื้นข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาท ขอให้สืบพยานในข้อนี้ขึ้นอีกหาได้ไม่
โจทก์จำเลยตกลงกันในคดีนี้ว่าขอให้ศาลรอฟังคำพิพากษาถึงที่สุดของคดีอาญาเสียก่อนถ้าผลที่สุดของคดีอาญาเป็นอย่างไร โจทก์จำเลยจะถือตาม ดังนี้ เมื่อศาลใน คดีอาญาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้ประมาท โจทก์จะรื้อฟื้นข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาท ขอให้สืบพยานในข้อนี้ขึ้นอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และข้อตกลงรอฟังคำพิพากษาคดีอาญา
โจทก์เป็นผู้เสียหายในคดีที่ผู้ว่าคดีศาลแขวงเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีอาญา โจทก์จำเลยจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีนั้น เพราะถือว่าผู้ว่าคดีฟ้องคดีที่โจทก์เป็นผู้เสียหายนั้นเอง(อ้างฎีกาที่ 1134-1135/2509)
โจทก์จำเลยตกลงกันในคดีนี้ว่าขอให้ศาลรอฟังคำพิพากษาถึงที่สุดของคดีอาญาเสียก่อนถ้า ผลที่สุดของคดีอาญาเป็นอย่างไร โจทก์จำเลยจะถือตาม ดังนี้ เมื่อศาลในคดีอาญาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้ประมาทโจทก์จะรื้อฟื้นข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาท ขอให้สืบพยานในข้อนี้ขึ้นอีกหาได้ไม่
โจทก์จำเลยตกลงกันในคดีนี้ว่าขอให้ศาลรอฟังคำพิพากษาถึงที่สุดของคดีอาญาเสียก่อนถ้า ผลที่สุดของคดีอาญาเป็นอย่างไร โจทก์จำเลยจะถือตาม ดังนี้ เมื่อศาลในคดีอาญาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้ประมาทโจทก์จะรื้อฟื้นข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาท ขอให้สืบพยานในข้อนี้ขึ้นอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องคดีภาษีอากร: โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาล หรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีภาษีอากร: โจทก์ฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทนและอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลหรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากร เป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องคดีภาษีอากร: การฟ้องจำเลยที่เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทนและอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2)บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลหรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้หาขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่