คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพจน์ ถิระวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 589 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบรายละเอียดการซื้อขายโดยตัวแทน ไม่ถือเป็นการนำสืบนอกฟ้อง และผลการรับผิดของตัวแทนและผู้ถูกมอบหมาย
ในคดีฟ้องเรียกให้ชำระเงินค่าซื้อวัสดุก่อสร้างที่ค้างชำระโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ติดต่อขอซื้อไปจากโจทก์ แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า จำเลยได้มอบให้ ก. เป็นตัวแทนมาติดต่อขอซื้อไปจากโจทก์ดังนี้ เป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการติดต่อขอซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์อันเป็นมูลแห่งหนี้ ซึ่งเกี่ยวแก่ประเด็นแห่งคดีโดยตรง มิใช่เป็นการนำสืบนอกข้อหาในคำฟ้องอันจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1025/2516)
เมื่อ ก. สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างในฐานะตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของเจ้าของสิทธิที่ถูกละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงานสอบสวน
บุตรโจทก์ถูก ส.ขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย โจทก์จัดการแทนบุตรที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(2) จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้นได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดยไม่ชอบ เพื่อช่วยเหลือ ส. มิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้นดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้ชัดเจน
บุตรโจทก์ถูก ส.ขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย โจทก์จัดการแทนบุตรที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้น ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดยไม่ชอบ เพื่อช่วยเหลือ ส. มิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง. จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,200
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้น ดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตในคดีอื่น
แม้คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อ ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตแล้ว ศาลก็อาจสั่งให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีนั้นอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ก็ยังสามารถให้นับโทษต่อได้
แม้คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตแล้ว ศาลก็อาจสั่งให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีนั้นอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากเจตนาไม่เป็นสาธารณูปโภค แม้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการก็ไม่ทำให้ขาดอายุความ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตันและตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนครพ.ศ.2496 มีว่า รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องได้ที่ดินไว้ใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐสำหรับจัดให้มีการดำเนินกิจการโรงงานเนื้อสัตว์เพื่อจัดให้ประชาชนได้มีเนื้อสัตว์ที่ปราศจากโรค เพียงพอแก่การบริโภคอันเป็นโครงการของการท่าเรือ แต่ตามความจริงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 หาได้มีโครงการจัดทำกิจการโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ การเวนคืนจึงมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และการเวนคืนเพื่อกิจการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเป็นการค้า ก็ไม่เป็นกิจการอันเป็นสาธารณูปโภค ย่อมไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา 5 ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ากิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นกิจการของบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ซึ่งเป็นเอกชน การเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชน จะถือว่าการดำเนินกิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2495 มาตรา3 ก็ไม่ได้ดุจเดียวกัน
โจทก์จำเลยได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญมาตั้งแต่ปี 2498 ในระหว่างพิจารณา โจทก์ได้เสนอขอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาว่า พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตัน และตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร พ.ศ.2496 เป็นโมฆะ อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2511 ว่าไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน โจทก์จึงได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2511 กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 179,176 กล่าวคือเมื่อคำหาหรือคำกล่าวอ้างของโจทก์ถูกยกเสียโดยเหตุอนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจพิจารณา และกำหนดอายุความในเรื่องนั้นได้สิ้นสุดลงในระหว่างที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาคดีอยู่ หรือว่าภายหลังที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดตัดสินคดีอายุความเหลือเวลาไม่ถึงหกเดือน ก็ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำชี้ขาดตัดสินนั้น ฉะนั้นแม้โจทก์จะยื่นฟ้องเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่บังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ
แม้จะได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญแล้วแต่โจทก์ก็ได้เสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในปัญหาว่าพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์ด้วยจะถือว่าโจทก์ยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิใช่กิจการสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์เอกชน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตันและตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนครพ.ศ.2496 มีว่า รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องได้ที่ดินไว้ใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐสำหรับจัดให้มีการดำเนินกิจการ โรงงานเนื้อสัตว์เพื่อจัดให้ประชาชนได้มีเนื้อสัตว์ที่ปราศจากโรค เพียงพอแก่การบริโภคอันเป็นโครงการของการท่าเรือ แต่ตามความจริงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 หาได้มีโครงการจัดทำกิจการโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ การเวนคืนจึงมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และการเวนคืนเพื่อกิจการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเป็นการค้า ก็ไม่เป็นกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคย่อมไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2477 มาตรา 5 ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ากิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นกิจการของบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ซึ่งเป็นเอกชนการเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชน จะถือว่าการดำเนินกิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477มาตรา5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2495มาตรา3 ก็ไม่ได้ดุจเดียวกัน
โจทก์จำเลยได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญมาตั้งแต่ปี 2498 ในระหว่างพิจารณา โจทก์ได้เสนอขอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาว่า พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตัน และตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร พ.ศ.2496 เป็นโมฆะ อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2511 ว่าไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน โจทก์จึงได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18กันยายน 2511 กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 179, 176 กล่าวคือเมื่อคำหาหรือคำกล่าวอ้างของโจทก์ถูกยกเสียโดยเหตุอนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจพิจารณา และกำหนดอายุความในเรื่องนั้นได้สิ้นสุดลงในระหว่างที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาคดีอยู่ หรือว่าภายหลังที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดตัดสินคดีอายุความเหลือเวลาไม่ถึงหกเดือน ก็ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำชี้ขาดตัดสินนั้น ฉะนั้นแม้โจทก์จะยื่นฟ้องเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่บังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ
แม้จะได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญแล้วแต่โจทก์ก็ได้เสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในปัญหาว่าพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์ด้วยจะถือว่าโจทก์ยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเครื่องจักรและปรับบทลงโทษฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
เครื่องจักรเลื่อยวงเดือน เครื่องจักรเลื่อยสายพานเครื่องจักรใช้เจาะไม้และเครื่องจักรไสไม้ ซึ่งจำเลยใช้ในการตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก ไม้ยาง โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ข้อ 4 จึงต้องริบ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 4)พ.ศ.2503 มาตรา 18(อ้างฎีกาที่ 1572/2505)
ความผิดฐานตั้งโรงงานไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติโรงงานมีอัตราโทษปรับสถานเดียว จึงเบากว่าความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก ไม้ยาง โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกและปรับ ต้องปรับบทลงโทษฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก ไม้ยาง โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยฐานตั้งโรงงานไม่ได้รับอนุญาต วางโทษปรับ 5,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมา ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเครื่องจักรที่ใช้ในการตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการปรับบทลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
เครื่องจักรเลื่อยวงเดือน เครื่องจักรเลื่อยสายพานเครื่องจักรใช้เจาะไม้และเครื่องจักรไสไม้ ซึ่งจำเลยใช้ในการตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก ไม้ยาง โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 116 ข้อ 4 จึงต้องริบ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 4)พ.ศ.2503 มาตรา 18 (อ้างฎีกาที่ 1572/2505)
ความผิดฐานตั้งโรงงานไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติโรงงานมีอัตราโทษปรับสถานเดียว จึงเบากว่าความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก ไม้ยาง โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกและปรับ ต้องปรับบทลงโทษฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก ไม้ยาง โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยฐานตั้งโรงงานไม่ได้รับอนุญาต วางโทษปรับ 5,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมาศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทในการขับรถแซง ทำให้เกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บแก่ผู้อื่น ศาลพิจารณาความรับผิดทางอาญา
การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจและทรัพย์สินของโจทก์ร่วมและบุคคลอื่นนั้นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย และไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายมีสิทธิจะอุทธรณ์ฎีกาตามลำพังได้
ปัญหาที่ว่า ตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมา จะถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 หรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นไปทีเดียว โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยขับรถยนต์แซงรถบรรทุกหินซึ่งจอดอยู่ที่ขอบถนนด้านซ้ายในเส้นทางของรถจำเลย ล้ำเข้าไปในเส้นทางของรถโจทก์ร่วมที่กำลังสวนทางมา และตรงที่เกิดเหตุมีเส้นแบ่งแนวจราจรเป็นเส้นทึบคู่ห้ามขับรถคร่อมไปตามเส้นหรือล้ำออกนอกเส้นทางไปทางขวา เพื่อป้องกันอันตราย เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกันในเส้นทางของรถโจทก์ร่วม โดยจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอกับวิสัยและพฤติการณ์โดยมองไปข้างหน้าว่ามียานพาหนะอื่นใดสวนทางมาหรือไม่หรือหากมองไม่เห็น เพราะมีส่วนโค้งของถนนหรือสะพานบังอยู่ก็ชอบที่จะชะลอรถให้ช้าลงเมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้วจึงค่อยแซงรถที่จอดอยู่ขึ้นไป ดังนี้นับว่าเป็นความประมาทของจำเลยหาใช่อุบัติเหตุไม่
of 59