คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพจน์ ถิระวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 589 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1213/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นสัญญาต่ออายุสัญญาเช่าหลังผู้ให้เช่าเสียชีวิต ไม่ผูกพันทายาทผู้รับมรดก
หนังสือสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับนาย จ. ข้อ 5 ที่มีข้อความว่า เมื่อครบอายุสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่ายินยอมจดทะเบียนต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่ผู้เช่าอีกสิบปีตามสัญญาเดิม เป็นแต่เพียงคำมั่นของนาย จ. ว่าจะให้โจทก์เช่าต่อไปเท่านั้นยังมิได้ก่อให้เกิดสัญญาแม้สัญญาเช่าเดิมจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนไว้ คำมั่นนี้ก็ไม่มีผลผูกพันนาย จ. เพราะโจทก์ไม่ได้สนองรับก่อนนาย จ. ตาย และเมื่อโจทก์ได้รู้อยู่แล้วว่านาย จ. ตายก่อนสัญญาเช่าจะครบกำหนดสิบปี กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 360 ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 130 วรรคสอง มาใช้บังคับคำมั่นของนาย จ. ย่อมไม่มีผลบังคับ ไม่ผูกพันจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินส่วนที่โจทก์เช่าให้ต้องปฏิบัติตาม โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่จดทะเบียนต่ออายุสัญญาเช่าให้โจทก์อีกสิบปีไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3, 4/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการสำแดงเท็จและนำเข้าสินค้าโดยไม่ผ่านศุลกากร
มีผู้ส่งสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยาน โดยสายการบินของบริษัท อ. จำเลยร่วมกับพวกเพทุบายนำสินค้านั้นเข้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าของบริษัท อ. ในเขตศุลกากรโดยไม่ชอบ และกำลังจะนำสินค้านั้นออกจากคลังสินค้าเพื่อไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง อันเป็นการพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล แต่เจ้าพนักงานศุลกากรตรวจพบเสียก่อน ดังนี้ จำเลยจึงมี ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 9 มาตรา 6 และฉบับที่ 11 มาตรา 3 แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ด้วยเพราะจำเลยไม่ได้รับเอาสินค้านั้นไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่นำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการสำแดงเท็จและซ่อนสินค้า ศาลฎีกาพิพากษาว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
มีผู้ส่งสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานโดยสายการบินของบริษัท อ. จำเลยร่วมกับพวกเพทุบายนำสินค้านั้นเข้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าของบริษัท อ. ในเขตศุลกากรโดยไม่ชอบ และกำลังจะนำสินค้านั้นออกจากคลังสินค้าเพื่อไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง อันเป็นการพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล แต่เจ้าพนักงานศุลกากรตรวจพบเสียก่อน ดังนี้ จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 9 มาตรา 6 และฉบับที่ 11 มาตรา 3 แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ด้วยเพราะจำเลยไม่ได้รับเอาสินค้านั้นไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่นำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ฟังแล้ว
คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ออกเช็คที่พิพาทให้โจทก์ไว้เป็นการชำระค่าเช่าโฉนดที่ดิน เพื่อนำไปประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ธนาคาร จำเลยฎีกาว่ามูลหนี้ตามเช็คที่พิพาทต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องเพราะเป็นหนี้ที่เกิดจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนี้ เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้ฟังมา จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้น-อุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว คดีเช็ค
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกจำเลย 4 เดือน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยออกเช็คให้โจทก์เป็นการชำระค่าเช่าโฉนดที่ดิน จำเลยฎีกาว่ามูลหนี้ตามเช็คต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องเพราะเป็นหนี้ที่เกิดจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์.ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด จึงเป็นฎีกาที่โต้แย้งข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ ที่ดินมือเปล่า การซื้อขายที่ไม่สุจริต ผู้ซื้อไม่มีสิทธิ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เดิมเป็นของ ว. แต่จำเลยได้ครอบครองมาจนเกินเวลาที่ ว. จะได้คืนซึ่งการครอบครองแล้ว ว. ย่อมไม่มีสิทธิจะโอนขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์รู้เห็นว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ก่อนโจทก์และ ว. จะตกลงซื้อขายที่พิพาทกันและพฤติการณ์ที่จำเลยคัดค้านไม่ให้ ว. ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ถึงสองครั้ง แม้จำเลยมิได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 30 วันตามคำสั่งของอำเภอ แต่การที่เจ้าพนักงานที่ดินอำเภอทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทให้โจทก์และ ว. แล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้โจทก์ในวันเดียวกันย่อมส่อแสดงว่าโจทก์รับซื้อที่พิพาทโดยไม่สุจริตทั้งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทที่โจทก์ได้มา ก็มิใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนเช่นโฉนด จึงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299, 1300 มาปรับแก่กรณีหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1758/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินมือเปล่า และเจตนาทุจริตในการซื้อขาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เดิมเป็นของ ว. แต่จำเลยได้ครอบครองมาจนเกินเวลาที่ ว. จะได้คืนซึ่งการครอบครองแล้ว ว. ย่อมไม่มีสิทธิจะโอนขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์รู้เห็นว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ก่อนโจทก์และ ว. จะตกลงซื้อขายที่พิพาทกันและพฤติการณ์ที่จำเลยคัดค้านไม่ให้ ว. ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ถึงสองครั้ง แม้จำเลยมิได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 30 วันตามคำสั่งของอำเภอ แต่การที่เจ้าพนักงานที่ดินอำเภอทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทให้โจทก์และ ว. แล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้โจทก์ในวันเดียวกันย่อมส่อแสดงว่าโจทก์รับซื้อที่พิพาทโดยไม่สุจริตทั้งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทที่โจทก์ได้มา ก็มิใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนเช่นโฉนด จึงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299, 1300, มาปรับแก่กรณีหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1758/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดต่อความเสียหายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร: การประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการสายโทรเลขและขอบเขตความรับผิดของเจ้าของทรัพย์
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2 ไม่ตรวจตราดูแลในการขึงสายโทรเลขซึ่งอยู่เหนือสายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงสายโทรเลขจึงขาดลงมาพาดสายไฟฟ้าตรงที่ไม่มียางหุ้ม เพราะสายไฟฟ้านี้ใช้มานานจนยางที่หุ้มผุเปื่อยขาดโดยไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง จนเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกได้ ปลายสายโทรเลขที่ขาดนั้นทอดไปตกยังพื้นดินที่ถนน กระแสไฟฟ้าจึงแล่นตามสายโทรเลขนั้นดูดกระบือของโจทก์ที่เดินมาถูกสายโทรเลขถึงแก่ความตายแม้ตามปกติสายโทรเลขจะมีกระแสไฟฟ้าไม่เป็นอันตรายแก่บุคคลและสัตว์ แต่เห็นได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิด ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แม้จะมีข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 2 กับการไฟฟ้าฯ จำเลยที่ 1 ว่าในการขึงสายไฟฟ้าที่ผ่านสายโทรเลขให้ขึงอยู่สูงต่ำกว่ากันแค่ไหนจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2หลุดพ้นความรับผิดต่อโจทก์ แต่เมื่อได้ความว่าตรงจุดที่สายโทรเลขพาดกับสายไฟฟ้าซึ่งกระแสไฟฟ้ารั่วไหลได้นั้นเป็นสายไฟฟ้าที่อยู่ภายในช่วงที่ต่อจากหม้อวัดไฟเข้าไปยังบ้านของ น. ผู้ขอใช้ไฟ จึงถือไม่ได้ว่าสายไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรค 2 จำเลยที่ 1 จึงหาต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดต่อละเมิดจากสายโทรเลขขาด และข้อยกเว้นความรับผิดของเจ้าของทรัพย์
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2 ไม่ตรวจตราดูแลในการขึงสายโทรเลขซึ่งอยู่เหนือสายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงสายโทรเลขจึงขาดลงมาพาดสายไฟฟ้าตรงที่ไม่มียางหุ้มเพราะสายไฟฟ้านี้ใช้มานานจนยางที่หุ้มผุเปื่อยขาดโดยไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง จนเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกได้ ปลายสายโทรเลขที่ขาดนั้นทอดไปตกยังพื้นดินที่ถนน กระแสไฟฟ้าจึงแล่นตามสายโทรเลขนั้นดูดกระบือของโจทก์ที่เดินมาถูกสายโทรเลขถึงแก่ความตายแม้ตามปกติสายโทรเลขจะมีกระแสไฟฟ้าไม่เป็นอันตรายแก่บุคคลและสัตว์ แต่เห็นได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิด ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แม้จะมีข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 2 กับการไฟฟ้าฯ จำเลยที่ 1 ว่าในการขึงสายไฟฟ้าที่ผ่านสายโทรเลขให้ขึงอยู่สูงต่ำกว่ากันแค่ไหนจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2หลุดพ้นความรับผิดต่อโจทก์ แต่เมื่อได้ความว่าตรงจุดที่สายโทรเลขพาดกับสายไฟฟ้าซึ่งกระแสไฟฟ้ารั่วไหลได้นั้นเป็นสายไฟฟ้าที่อยู่ภายในช่วงที่ต่อจากหม้อวัดไฟเข้าไปยังบ้านของน. ผู้ขอใช้ไฟ จึงถือไม่ได้ว่าสายไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรค 2 จำเลยที่ 1 จึงหาต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากทรัพย์ vs. เช่าจอดรถ: การรับฝากรถยนต์โดยมีผลตอบแทนทำให้จำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษา
โจทก์นำรถยนต์ไปจอดในบริเวณปั๊มน้ำมันของจำเลย และได้มอบกุญแจรถยนต์ไว้ให้ลูกจ้างของจำเลย ลูกจ้างของจำเลยนำรถยนต์ของโจทก์เข้าไปเก็บในที่เคยเก็บรถยนต์ และโจทก์จ่ายค่ารับฝากให้จำเลยเมื่อมาเอารถคืนโดยได้ปฏิบัติเช่นนี้เป็นเวลานาน ถือว่าจำเลยได้ตกลงรับฝากรถยนต์ของโจทก์ไว้ในอารักขาของตน ตลอดเวลาที่รถยนต์ของโจทก์อยู่ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยอำนาจการครอบครองรถยนต์นั้นตกอยู่กับจำเลยที่จะจัดการเกี่ยวกับรถยนต์นั้นจนกว่าโจทก์จะมารับรถยนต์คืนไปจึงเป็นสัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ
เงื่อนไขตามใบเสร็จรับเงินและประกาศที่จำเลยที่ 4 ทำขึ้นเพื่อยกเว้นความรับผิดนั้น เมื่อโจทก์มิได้ตกลงยินยอมหรือลงชื่อรับรู้ด้วย เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์
of 59