พบผลลัพธ์ทั้งหมด 589 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานและประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิด 2 กระทง
จำเลยตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 8 และมาตรา 12 อันเป็นความผิดตามมาตรา 43 และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512การกระทำผิดของจำเลยแยกได้เป็น 2 กระทง ต่างหากจากกันหาใช่เรื่องจำเลยได้กระทำผิดกระทงแรกแล้ว ไม่อาจกระทำความผิดกระทงหลังได้อีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินหลังมีประกาศคณะปฏิวัติ การพิพากษาต้องพิจารณาช่วงเวลาการกระทำผิดและการบรรยายฟ้อง
การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและมีโทษตามมาตรา 108 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ข้อ 11 นั้น จะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ แต่การกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนอยู่ก่อนซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 9 ประกอบด้วยมาตรา 108 เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษตามมาตรา 9 ประกอบด้วยมาตรา 108 จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดกฎหมายที่ดินต้องเกิดขึ้นหลังประกาศคณะปฏิวัติ การบรรยายฟ้องต้องชัดเจน
การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและมีโทษตามมาตรา 108 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ข้อ 11 นั้น จะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ แต่การกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนอยู่ก่อนซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 9 ประกอบด้วยมาตรา 108 เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษตามมาตรา 9ประกอบด้วยมาตรา 108 จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและผลกระทบต่อชื่อเสียง การแก้ไขข่าว และขอบเขตความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนในคอลัมน์ข่าวสังคม เมื่อจำเลยที่ 4 เขียนข้อความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 แล้วจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในข้อความที่ตนรวบรวมนำลงพิมพ์จะแก้ตัวว่ามีผู้รับผิดชอบในแผนกข่าวคอลัมน์ดังกล่าวนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นคนเขียนข้อความนั้นเอง จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่การดำเนินการพิมพ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการเอง ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดนี้อย่างใดและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือ โจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้อง เข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของ โจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือ โจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้อง เข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของ โจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดชื่อเสียงจากสื่อสิ่งพิมพ์: ความรับผิดของบรรณาธิการ ผู้เขียน และเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนในคอลัมน์ข่าวสังคม เมื่อจำเลยที่ 4 เขียนข้อความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในข้อความที่ตนรวบรวมนำลงพิมพ์จะแก้ตัวว่ามีผู้รับผิดชอบในแผนกข่าวคอลัมน์ดังกล่าวนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นคนเขียนข้อความนั้นเอง จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่การดำเนินการพิมพ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการเอง ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดนี้อย่างใดและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือโจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้องเข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือโจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้องเข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: เจ้าหน้าที่สามารถปรับค่ารายปีตามพฤติการณ์จริงได้ แม้มีค่ารายปีเดิม
การคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งต้องเสียในปีต่อมานั้นไม่จำต้องถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วแต่อย่างเดียวเป็นหลักพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินมีอำนาจที่จะแก้หรือคำนวณค่ารายปีของปีต่อมาเสียให้ถูกต้องตามพฤติการณ์และความเป็นจริงได้เมื่อโจทก์ได้ใช้ประโยชน์อาคารเพิ่มขึ้นจากชั้นเดียวเป็นสามชั้นค่ารายปีแห่งทรัพย์สินก็ย่อมเพิ่มขึ้นตามตัว
อาคารของโจทก์ โจทก์ใช้ประโยชน์เองโดยมิได้ให้ผู้อื่นเช่าการที่จะทราบถึงจำนวนเงินซึ่งอาคารของโจทก์สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ อันถือเป็นค่ารายปีนั้นจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับทรัพย์สินอื่นที่มีผู้เช่าอยู่และอยู่ใกล้เคียงกัน ทั้งมีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย
อาคารของโจทก์ โจทก์ใช้ประโยชน์เองโดยมิได้ให้ผู้อื่นเช่าการที่จะทราบถึงจำนวนเงินซึ่งอาคารของโจทก์สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ อันถือเป็นค่ารายปีนั้นจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับทรัพย์สินอื่นที่มีผู้เช่าอยู่และอยู่ใกล้เคียงกัน ทั้งมีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเรา, ฉุดคร่า, กักขัง: ความผิดหลายกระทงตามกฎหมายอาญา
จำเลยฉุดคร่าโจทก์ร่วมจากทางเดินพาเข้าไปในไร่อ้อยข้างทางห่างประมาณ 10 เส้นแล้วจึงข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 284 และ 310 กระทงหนึ่งกับเป็นความผิดตามมาตรา 276 อีกกระทงหนึ่ง ไม่ใช่เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่: การรับช่วงสิทธิและหน้าที่จากผู้ให้เช่าเดิมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรรมสิทธิ์
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินมาจากนาง น. ปลูกบ้าน เมื่อนาง น.ถึงแก่กรรมที่ดินส่วนที่จำเลยเช่าตกได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโจทก์ผู้รับมรดกที่ดินดังกล่าวย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่เมื่อไม่มีสัญญาต่างตอบแทนในระหว่างจำเลยและนาง น.ผู้ให้เช่าเดิมและเป็นการเช่าไม่มีกำหนดเวลา เช่นนี้ เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป และได้บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่: สิทธิและหน้าที่ของผู้รับมรดกที่ดินจากการเช่าเดิม
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินมาจากนาง น. ปลูกบ้าน เมื่อนาง น. ถึงแก่กรรมที่ดินส่วนที่จำเลยเช่าตกได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท โจทก์ผู้รับมรดกที่ดินดังกล่าวย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ เมื่อไม่มีสัญญาต่างตอบแทน ในระหว่างจำเลยและนาง น. ผู้ให้เช่าเดิม และเป็นการเช่าไม่มีกำหนดเวลา เช่นนี้ เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป และได้บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คโดยเจตนาทุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้จากการซื้อขายเบียร์
จำเลยบอกแก่พนักงานขายของบริษัทผู้เสียหายว่าเป็นผู้จัดการห้าง ท. ขอสั่งซื้อเบียร์และว่าจะออกเช็คให้ใช้เงินภายใน 1 เดือน พนักงานขายนำเบียร์ไปส่งให้ จำเลยเป็นผู้รับของและหยิบเช็คซึ่งมีลายมือชื่อของ ส. (ผู้สั่งจ่าย) อยู่ก่อนแล้ว มาลงวันที่กรอกข้อความและประทับตราของห้าง ท. แล้วมอบอำนาจให้พนักงานขาย โดยมอบเช็คให้ในห้องผู้จัดการ ฟังได้ว่า จำเลยร่วม ส.ออกเช็คให้บริษัทผู้เสียหาย เมื่อบริษัทผู้เสียหายนำเช็คไปเบิกเงินไม่ได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะบัญชีเงินฝากของห้าง ท.ที่ธนาคารหนึ่งปิดแล้ว และอีกธนาคารหนึ่งเงินในบัญชีเงินฝากของห้าง ท.มีไม่พอ จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3(1)