คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แปลก ศิงฆมานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: สิทธิใช้ทางรถยนต์เมื่อที่ดินถูกล้อม
สภาพแห่งทางจำเป็นนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินด้วยเท้าอย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมาย การตกทอดมรดก และข้อยกเว้นการรับมรดกตามพินัยกรรม
คู่ความยอมรับกันว่า ไม่มีอะไรที่จะต้องนำสืบกันต่อไปคงขอให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเพียงว่าพินัยกรรมสมบูรณ์โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น แล้วให้ศาลพิพากษาไปตามรูปคดี จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างสละประเด็นอื่น รวมทั้งประเด็นที่ว่ามรดกรายนี้มีพินัยกรรมหรือไม่แล้ว อันเป็นการยอมรับว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมฉบับที่จำเลยอ้างจริง เป็นแต่โต้เถียงกันว่าเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น การที่โจทก์ และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฎีกาว่า พินัยกรรมฉบับนั้นเป็นเพียงร่างพินัยกรรมยังไม่ได้ทำพินัยกรรมตัวจริงขึ้นเลยก็เท่ากับอุทธรณ์ฎีกาว่ามรดกรายนี้ไม่มีพินัยกรรมซึ่งเป็นประเด็นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างสละแล้วนั่นเองโจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างอีกได้
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนหนึ่งให้บุตรคนหนึ่งแต่บุตรผู้รับพินัยกรรมนั้นตายไปก่อนผู้ทำพินัยกรรมข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินตามพินัยกรรมนั้นจึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1699 ประกอบกับ มาตรา 1620 วรรคสอง ทรัพย์สินดังกล่าวต้องตกทอดแก่ผู้สืบสันดานของบุตรผู้รับพินัยกรรมซึ่งตายไปก่อนผู้ทำพินัยกรรมนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันและการคืนโฉนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดตามสัญญา
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้นการที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: การคืนโฉนดไม่ปลดเปลื้องความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697 เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้น การที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนวัด: ไวยาวัจกรต้องได้รับมอบอำนาจจากเจ้าอาวาสหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น
ไวยาวัจกรให้กู้เงินของวัดและทำสัญญาในฐานะไวยาวัจกรของวัด ซึ่งเท่ากับทำสัญญาในฐานะตัวแทนของวัด เมื่อจะฟ้องผู้กู้ให้ชำระหนี้ เจ้าอาวาสหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีแทนวัด ไวยาวัจกรซึ่งไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าอาวาสหรือผู้รักษาการแทนให้ดำเนินคดี หามีอำนาจฟ้องแทนวัดได้ไม่
เมื่อจำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้บางส่วน จำเลยไม่อุทธรณ์ โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระหนี้เต็มจำนวน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด (ข้อกฎหมายวรรคท้ายสรุปจากผลแห่งคำพิพากษา และโปรดสังเกตคำพิพากษาฎีกาที่ 678/2490 เทียบเคียง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ต้องยื่นภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ มิเช่นนั้นศาลไม่รับพิจารณา
แม้กระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์จะไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ คู่ความก็ชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้แล้วได้ การแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์โดยเพิ่มประเด็นขึ้นจากการอุทธรณ์ฉบับเดิมที่ศาลสั่งรับไว้แล้ว ก็ต้องถือว่าเท่ากับยื่นอุทธรณ์เหมือนกัน จึงต้องยื่นภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ต้องยื่นภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ มิเช่นนั้น ศาลไม่รับพิจารณา
แม้กระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์จะไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ คู่ความก็ชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้แล้วได้ การแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์โดยเพิ่มประเด็นขึ้นจากการอุทธรณ์ฉบับเดิมที่ศาลสั่งรับไว้แล้ว ก็ต้องถือว่าเท่ากับยื่นอุทธรณ์เหมือนกัน จึงต้องยื่นภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหาผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร หากจำเลยรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลไม่สามารถลงโทษฐานลักทรัพย์ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยสองคนฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ แม้ศาลจะมิได้สั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์ฟ้องเป็นคดีใหม่ และโจทก์ก็แถลงขอสืบพยานโดยมิได้แถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ก็ดี ศาลก็จะฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ก็กระทำผิดฐานลักทรัพย์ด้วย และพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์หาได้ไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษหลายกรรมต่างกันจากการยิงต่อเนื่อง ศาลฎีกาแก้ไขโทษโดยลงโทษแต่ละกรรมตามบทหนัก
จำเลยร่วมกันใช้ปืนยิงเป็น 2 ชุด ชุดแรก 3 นัดติดๆ กันกระสุนปืนถูกผู้ตายซึ่งยืนอยู่บนบันไดร้านตกลงไปข้างล่างถึงแก่ความตาย ชุดหลังยิง 10 กว่านัด ถูกพวกผู้เสียหายซึ่งอยู่ข้างล่างร้านที่พื้นดินได้รับอันตรายแก่กาย ไม่ถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน มิใช่กรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่ามีข้อตกลงให้ไถ่ถอนคืนได้ หากไม่ได้ทำตามรูปแบบสัญญาขายฝาก สัญญาเป็นโมฆะ
บิดาจำเลยได้ขายนาพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้โจทก์ทำหนังสือสัญญากันเองชำระราคากันแล้ว และบิดาจำเลยได้ส่งมอบนาพิพาทให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญาในสัญญาซื้อขายนั้นมีข้อความว่า เมื่อผู้ขายต้องการจะไถ่ถอนนาคืน จะยอมคิดดอกเบี้ยให้ผู้ซื้อร้อยละ 10 บาทต่อเดือนอันเป็นข้อสัญญาที่ให้ไถ่ถอนนาคืนเช่นสัญญาขายฝาก
เมื่อไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาขายฝากโดยถูกต้องจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ขายจะขอไถ่ถอนนาคืนโดยอาศัยสัญญานี้ไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 352/2492)
of 11