คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แปลก ศิงฆมานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้ระบุรับเงินแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิสืบพยานว่ายังไม่ได้ชำระเงินได้ หากมีการทำสัญญากำหนดชำระเงินภายหลัง
ตัวแทนของโจทก์ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลย ในสัญญาระบุไว้ด้วยว่าผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินแล้วต่อมาตัวแทนโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากันอีกฉบับหนึ่งมีใจความว่า ได้ตกลงขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลย แต่ยังไม่ได้ชำระราคาที่ดินต่อกันโดยผู้ขายยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อไปก่อนและผู้ซื้อจะชำระค่าที่ดินให้ภายในกำหนดวันที่ระบุไว้ ดังนี้ แม้ในสัญญาฉบับแรกจะได้ระบุไว้ว่าผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธินำสืบได้ว่าได้มีการตกลงทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งแก้ไขหนังสือสัญญาขายที่ดินเดิมในเรื่องเงินค่าที่ดินว่าจำเลยยังไม่ได้ชำระให้และจะชำระกันอย่างไร ไม่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การแก้ไขสัญญาและการนำสืบข้อตกลงเพิ่มเติม โดยตัวแทนของผู้ขาย
ตัวแทนของผู้ขายได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไว้กับผู้ซื้อฉบับหนึ่ง ระบุว่าผู้ขายได้รับค่าที่ดินแล้ว ต่อมาผู้ซื้อทำหนังสือสัญญาให้ตัวแทนผู้ขายอีกฉบับหนึ่งความว่า ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระค่าที่ดิน จะชำระให้ตามวันซึ่งกำหนดไว้ในหนังสือสัญญาฉบับหลังนี้ ประกอบกับผู้ขายได้ตั้งประเด็นไว้ในคำฟ้องว่า ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคาที่ดิน ดังนี้ ผู้ขายมีสิทธิที่จะนำสืบถึงข้อตกลงในหนังสือสัญญาฉบับหลังได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์มาตรา 94
สัญญาฉบับหลังดังกล่าวนี้ถือได้ว่าตัวแทนทำในฐานะตัวแทนของผู้ขาย ถึงแม้ต่อมาตัวแทนถึงแก่กรรม ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาสิ้นสุดลง หนังสือสัญญาฉบับหลังนี้ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ หรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าพนักงานในการไปรษณีย์: พนักงานรถไฟที่รับส่งถุงไปรษณีย์ ไม่ถือเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการไปรษณีย์
จำเลยเป็นพนักงานของการรถไฟฯ ได้รับมอบหมายจากนายสถานีให้เป็นเสมียนเมล์มีหน้าที่รับส่งถุงไปรษณีย์และไปรษณีย์ภัณฑ์ให้แก่การไปรษณีย์ หามีผลให้จำเลยมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการไปรษณีย์ไม่ เมื่อจำเลยกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยเปิดและทำให้เสียหายแก่จดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 163

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน: การยกปืนเล็งจ้องแสดงเจตนาลงมือ แม้จะทำไม่สำเร็จ
จำเลยมีอาการเมาสุราไม่พอใจและโกรธผู้เสียหายที่สั่งให้จำเลยออกจากห้อง จึงกลับไปเอาปืนคาร์ไบน์มาหาผู้เสียหายยืนบนบันได ยกปืนซึ่งบรรจุกระสุนอยู่พร้อมที่จะยิงได้ขึ้นประทับบ่าเล็งจ้องไปที่ผู้เสียหายในระยะห่าง 5 เมตรเศษ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย: การป้องกันตัวที่ไม่สมเหตุสมผล
การที่จำเลยใช้มีดพับตัวมีดยาวราว 6 นิ้ว แทงผู้ตายที่หน้าอกอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญ แผลลึกถึง 5 นิ้วตัดหัวใจแสดงว่าตั้งใจแทงโดยแรง และผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะแผลนี้ฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า vs. ทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาจากบาดแผลและพฤติการณ์
จำเลยใช้มีดปลายแหลมยาวทั้งด้ามและใบมีดประมาณ 1 คืบเฉพาะตัวมีดยาวประมาณครึ่งคืบแทงผู้เสียหายที่หน้าอกอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญเพียงทีเดียวเป็นบาดแผลขนาด 1.5X1/2X1.5 เซนติเมตร แพทย์ลงความเห็นว่า แผลไม่ร้ายแรงที่จะทำให้ถึงแก่ความตายได้รักษาประมาณ 12 วันหาย ถ้าไม่มีโรคแทรก ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากบาดแผล, พฤติการณ์ และอาการเมาสุราของผู้กระทำ
จำเลยใช้มีดปลายแหลมยาวทั้งด้ามและใบมีดประมาณ 1 คืบเฉพาะตัวมีดยาวประมาณครึ่งคืบ แทงผู้เสียหายที่หน้าอก อันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญเพียงทีเดียว เป็นบาดแผลขนาด 1.5X1/2X1.5 เซนติเมตรแพทย์ลงความเห็นว่า แผลไม่ร้ายแรงที่จะทำให้ถึงแก่ความตายได้รักษาประมาณ 12 วันหาย ถ้าไม่มีโรคแทรก ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ยึดทรัพย์แล้วยังขอเฉลี่ยได้ หากทรัพย์ยึดไม่พอชำระหนี้และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่น
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นแม้จะได้ยึดทรัพย์อื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แล้ว แต่ถ้าเจ้าหนี้นั้นแสดงได้ว่าทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ของตนได้สิ้นเชิง และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ ก็ย่อมร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 897/2510)
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยวันใด กำหนดระยะเวลายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 เมื่อครบกำหนดสิบสี่วันในวันหยุดราชการ ผู้ร้องย่อมยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันรุ่งขึ้นซึ่งศาลเริ่มทำงานใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 158 ตอนท้าย เพราะเมื่อขายทอดตลาดแล้ว การขายก็เป็นอันเสร็จสิ้นไปไม่มีลักษณะหรือสภาพเป็นงานที่ต้องทำต่อ ๆ ไปอีก อันจะเป็นเหตุให้ถือว่าได้เริ่มการตั้งแต่วันขายทอดตลาดเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1809/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ หากทรัพย์ที่ยึดไว้ไม่เพียงพอชำระหนี้ และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่น
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นแม้จะได้ยึดทรัพย์อื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แล้ว แต่ถ้าเจ้าหนี้นั้นแสดงได้ว่าทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ของตนได้สิ้นเชิง และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ ก็ย่อมร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 897/2510)
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยวันใด กำหนดระยะเวลายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158 เมื่อครบกำหนดสิบสี่วันในวันหยุดราชการผู้ร้องย่อมยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันรุ่งขึ้นซึ่งศาลเริ่มทำงานใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 158 ตอนท้าย เพราะเมื่อขายทอดตลาดแล้ว การขายก็เป็นอันเสร็จสิ้นไป ไม่มีลักษณะหรือสภาพเป็นงานที่ต้องทำต่อ ๆ ไปอีก อันจะเป็นเหตุให้ถือว่าได้เริ่มการตั้งแต่วันขายทอดตลาดเป็นต้นไป(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1809/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: สิทธิในการฟ้องคดีใหม่ vs. การขอให้พิจารณาคดีใหม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพราะโจทก์จำเลยขาดนัดพิจารณา การที่โจทก์ร้องขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปหรือขอให้นัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนต่อไปโดยอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่จงใจขาดนัดนั้น ก็คือการขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่นั่นเอง
คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาโดยไม่จงใจ มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ได้เฉพาะใน 2 กรณี คือ ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ถ้าคู่ความที่ขาดนัดมาศาลภายหลังที่ศาลเริ่มต้นสืบพยานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไปบ้างแล้วและศาลเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่จงใจขาดนัด หรือมีเหตุอันสมควร ศาลจึงจะสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งถ้าเป็นจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยขาดนัดยื่นคำให้การด้วยก็ยอมให้ยื่นคำให้การได้ด้วย แต่ถ้าคู่ความที่ขาดนัดพิจารณานั้นคงขาดนัดตลอดไปจนศาลพิจารณาคดีฝ่ายเดียวไปเสร็จสิ้นแล้วและพิพากษาให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดีในประเด็นพิพาทคู่ความซึ่งแพ้คดีโดยไม่จงใจขาดนัด ยังมีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ได้ เว้นแต่จะต้องด้วยข้อห้ามตามกฎหมาย
การขอให้พิจารณาคดีใหม่ใน 2 กรณีดังกล่าวแล้ว กฎหมายกำหนดเวลาที่จะขอให้พิจารณาใหม่ไว้ทั้ง 2 กรณี และการขอให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องมีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเป็นหลักสำคัญข้อแรก ถ้าคดีไม่มีการพิจารณาฝ่ายเดียวแล้วคู่ความที่ขาดนัดจะขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ แม้คู่ความฝ่ายนั้นจะไม่จงใจขาดนัดก็ตาม
คำว่า 'ขาดนัดพิจารณา' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 ต้องถือตามมาตรา 197 วรรคสอง ถ้าคู่ความไม่มาศาลในวันที่ศาลเริ่มต้นสืบพยาน.โดยมิได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาล มาตรา 197 วรรคสอง ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา โดยไม่มีข้อที่ศาลจะต้องพิจารณาว่า คู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือ ไม่จงใจเพราะการขาดนัดโดยจงใจหรือไม่จงใจ จะกล่าวอ้างกันได้เฉพาะเมื่อมีการพิจารณาฝ่ายเดียวและมีการขอให้พิจารณาคดีใหม่เท่านั้น
เมื่อโจทก์จำเลยขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 197 วรรคสองและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามมาตรา 200 เสร็จสิ้นไปแล้ว ย่อมไม่มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว.อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ สิทธิของโจทก์มีอยู่ทางเดียวตามมาตรา 200 วรรคสอง คือ ฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความเท่านั้นไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ เพราะไม่มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว และที่ มาตรา 200 ให้สิทธิโจทก์ฟ้องใหม่ได้ ย่อมแสดงอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2515)
of 11